บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
19 สิงหาคม 2553
 

อาหารเสริมแคลเซียมที่ไม่ใช่นม




อาหารเสริม
แคลเซียมที่ไม่ใช่นมหลายรายการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (คิดเป็นร้อยละ /%)
ได้มากกว่านม, ทว่า... จะต้องกินเท่าไร จึงจะได้แคลเซียมเท่านม,
เรื่องนี้มีคำตอบจากวารสารโภชนาการคลินิก (ajcn), ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ ajcn ]; [ ajcn ]; [ ajcn ]



ตารางข้างล่างนี้ แสดงส่วนบริโภค (serving / เสิร์ฟ), ปริมาณแคลเีซียม
(มิลลิกรัม), อัตราการดูดซึม (ร้อยละ/%),
ปริมาณแคลเซียมที่น่าจะดูดซึมได้จริง (มิลลิกรัม),
และขนาดเสิร์ฟที่เทียบเท่านม 240 มิลลิลิตร (มล./ml.) ตามลำดับ [ ajcn ]; [ ajcn ]



...


[ ajcn ]


ตารางที่ 1: แสดงแคลเซียมที่ดูดซึมได้จากอาหารประเภทต่างๆ
[ ajcn ]; [ ajcn ]; [ ajcn ]



...


แคลเซียมในนม
ดูดซึมได้ประมาณ 32.1%, ทว่า... นมวัวก็มีจุดเด่นที่มีปริมาณแคลเซียมสูง
(300 มก./mg. = โยเกิร์ต / อาหารจากพืชที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ (% =
ร้อยละของแคลเซียมที่ดูดซึมได้)



ตารางนี้เปรียบเทียบนม-ฟรุตพั้นช์ (แช่ในน้ำดองแคลเซียม) = 240 มล.;
ผลิตภัณฑ์จากพืช = 1/2 ถ้วยมาตรฐาน =
ประมาณฝ่ามือผู้ใหญ่ผู้หญิงที่มีความหนาเท่าข้อนิ้วมือข้อปลาย (กรณีผัก =
85 กรัม); เนย 1.5 ออนซ์ = 45 กรัม



...


ตารางที่ 2:
เปรียบเทียบนมกับอาหารจากพืช; หน่วย mg. = มิลลิกรัม = มก.; % =
ร้อยละของแคลเซียมที่ดูดซึมได้จริง; n =
จำนวนหน่วยที่กินแล้วได้รับแคลเซียม = นม 1 แก้ว ]





  • นม-โยเิกิร์ต 300 mg. > 32.1% = 96.3 mg. > n = 1




  • ปวยเล้งจีน(ผักโขม) 347 mg. > 8.4% = 29 mg. > n = 3.3 


  • บรอคโคลี 35 mg. > 61.3% = 21.5 mg. > n = 4.5

  • ถั่วแดง 40.5 mg. > 24.4% > 9.9 mg. > n = 9.7 



... 


จากตารางที่ 2
จะเห็นว่า อาหารจากพืชส่วนใหญ่ต้องกินปริมาณมากกว่านมหลายเท่า
จึงจะได้แคลเซียมที่ดูดซึมได้เท่ากัน เช่น ปวยเล้งจีน = 3.3 เท่า
(บรอคโคลีฝรั่งมีแคลเซียมน้อยกว่านี้), บรอคโคลี 4.5 เท่า, ถั่วแดง 9.7
เท่า



จะเห็นว่า นมวัวยังเป็นทางเลือกที่ดี ซึ่งถ้ากินนมไม่ได้... วิธีที่น่าลอง
คือ ให้เริ่มทีละน้อยจาก 1 ช้อนโต๊ะทุก 4 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ เพิ่ม 1
ช้อนโต๊ะทุกๆ 2-3 วัน



...


หรือจะเริ่มจาก 1/4 กล่อง, วันละ 2 ครั้ง แล้วค่อยๆ เพิ่มคราวละ 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ 2-3 วันก็ได้



คนไทยส่วนใหญ่จะดื่มนมขนาดไม่เกิน 200 มิลลิลิตร หรือเกือบ 1 กล่องหลังฝึกแบบนี้ 2 สัปดาห์



...


ถ้าตารางที่ 1
ดูน่าปวดหัว (คลิกที่ลิ้งค์จะเข้าไปชมภาพใหญ่ได้)... วิธีที่ง่ายกว่า คือ
ให้ลองเปรียบเทียบว่า จะต้องกินอาหารกี่หน่วยบริโภค-เสิร์ฟ-ประมาณ 1 ฟายมือ
จึงจะได้แคลเซียมเท่านม 1 แก้ว (แถวแนวดิ่ง-ขวามือสุด)



อาหารต่อไปนี้จำนวนเท่ายิ่งน้อยยิ่งมีแคลเซียมมาก หรือจะคิดว่า
จำนวนเท่าเป็นตัวหารของนม 1 แก้วก็ได้ เช่น ถั่วแดง 9.7 ส่วน = นม 1 แก้ว
> 1 ส่วน = นม 1/9.7 แก้ว (ประมาณ 1/10 แก้ว)



...



  • โยเกิร์ต (นมเปรี้ยวมีแคลเซียมต่ำกว่าโยเิกิร์ตมาก) > 1 เท่า



  • ถั่ว > ถั่วแดง 9.7 / ถั่วขาว 3.9 เท่า


  • ผัก > บรอคโคลี 4.5 / ใบ
    กะหล่ำดอก 1 / ปวยเล้งจีน (ผักโขม) 3.3 / ปวยเล้งฝรั่ง (ผักโขม) 16.3 /
    สาหร่ายทะเล 3.2 เท่า (สาหร่ายทะเลมีระดับสารหนูค่อนข้างสูง
    ไม่ควรกินทุกวัน)

  • มัน > มันฝรั่งหวาน 9.8 เท่า

  • เต้าหู้ >1.2 (เต้าหู้แต่ละชนิดมีแคลเซียมไม่เท่ากัน; ชนิดแข็งมักจะมีแคลเซียมสูงกว่าชนิดอ่อน)



...


ถ้าเปรียบเทียบเป็นเท่าแบบนี้... จะเห็นว่า อาหารที่มีแคลเซียมพอๆ กับนม คือ ใบกะหล่ำดอกกับเต้าหู้



พืชตระกูลกะหล่ำมีสารต้านอนุมูลอิสระ-สารพฤกษเคมี (สารคุณค่าพืชผัก) สูง,
ยิ่งมีแคลเซียมสูงแล้วยิ่งน่ากิน, ทว่า... ไม่ควรกินขนาดสูงติดต่อกันทุกวัน
เนื่องจากอาจกดการทำงานของต่อมธัยรอยด์ได้



...


ถ้าไม่กิน
นม... ควรกินนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม (ชนิดที่แนะนำ คือ เสริมวิตามิน D
ซึ่งดูได้จากตารางโภชนาการข้างกล่อง) และงา (ต้องทุบ
เนื่องจากคนเราย่อยเปลือกงาไม่ได้ และถ้าเคี้ยวงาบ่อยๆ
อาจทำให้ฟันสึกได้ง่าย)



พืชผักส่วนใหญ่ต้องกินประมาณ 4-5 เท่าของนมจึงจะได้แคลเซียมพอๆ กับนม(วัว),
นมถั่วเหลือง-น้ำเต้าหู้ส่วนใหญ่มีแคลเซียมต่ำ (ประมาณ 8%
ของที่ผู้ใหญ่ต้องการใน 1 วัน), นมหรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมที่แนะนำ
คือ มีปริมาณแคลเซียม 25-35% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน
(ดูได้จากตารางโภชนาการข้างกล่อง)



...


การศึกษาในไทยเร็วๆ นี้พบว่า คนไทยส่วนหนึ่งมีระดับวิตาิมิน D ต่ำ โดยเฉพาะคนสูงอายุต่ำมากกว่า 20% หรือ 1/5



คนที่เสี่ยงต่อการมีระดับวิตามิน D ต่ำ ทำให้การดูดซึมแคลเซียมตกต่ำลงไปอย่างมากมายได้แก่


(1). คนสูงอายุ


(2). คนที่ทายากันแดดหรือใส่เสื้อผ้าปกปิดไปทั่วตัว


(3). ได้รับแสงแดดอ่อนน้อยกว่า 10-15 นาที/วัน


(4). คนที่มีโรคตับ หรือไตเรื้อรัง เช่น ไตเสื่อมจากเบาหวาน ฯลฯ



...


วิธีซื้อประกันสุขภาพง่ายๆ ได้แก่


(1). รับแสงแดดอ่อนตอนเช้าหรือเย็น 10-15 นาที/วัน (นานกว่านี้ถ้าสูงอายุ ไม่แข็งแรง หรือมีโรคเรื้อรัง)


(2). กินวิตาิิมินรวมแบบไม่แพงที่มีวิตามิน D (มีขายเป็น 100 เม็ดที่ร้านขายยา) มากินพร้อมอาหารที่มีไขมันวันละ 1 เม็ด (ไม่ถึง 1 บาท)


(3). กินปลา-สาหร่ายทะเล 2 ครั้ง/สัปดาห์


(4).
กินนมไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมที่มีการเติมวิตามิน D ลงไป
(ดูได้จากตารางโภชนาการข้างภาชนะบรรจุ) 2 แก้ว/วัน หรือ 2 กล่อง/วัน
(การดูดซึมวิตามิน D ต้องอาศัยไขมันขนาดต่ำๆ ช่วยทำละลาย
และนำเข้าสู่กระแสเลือด จึงควรกินพร้อมอาหาร)



...


สูตรง่ายๆ
ที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงไปนาน ไม่หักง่ายตอนอายุมาก
(ถ้ากระดูกต้นขาบริเวณใกล้สะโพกหักตอนสูงอายุ มีโอกาสเสียชีวิต 15-20% ใน 3
ปี) คือ แคลเซียม + แสงแดดอ่อน + วิตามิน D + ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
โดยเฉพาะเดินช้า-เดินเร็ว-ขึ้นลงบันได (ดีที่สุด คือ ลงทุนไว้ก่อนอายุ 30
ปี)



ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



... 


 > [ Twitter ]


ที่มา                                                         







  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 สิงหาคม 2553.




  • ข้อมูล
    ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค
    ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล
    ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.











Free TextEditor


Create Date : 19 สิงหาคม 2553
Last Update : 19 สิงหาคม 2553 1:38:35 น. 1 comments
Counter : 1421 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ
 
 

โดย: แม่น้องกะบูน วันที่: 19 สิงหาคม 2553 เวลา:21:14:50 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com