บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 ธันวาคม 2553
 

วิธีป้องกันสติแตกหลังวิกฤติ(PTSD)

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'When the news break the journalists: PTSD' = "เมื่อข่าว (เครียดๆ) ทำนักข่าวสติแตก: PTSD (โรคเครียดหลังวิกฤติ)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง [ Reuters ]

.

ศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจตอนนี้ได้แก่


  • news (noun) = ข่าว

  • break (verb) = ทำให้แตก ในที่นี้หมายถึงสติแตก เพี้ยน เป็นบ้า คลุ้มคลั่ง

  • PTSD / posttraumatic stress disorder (noun) = โรค (ความผิดปกติ) เครียดหลังวิกฤติ


.


คำ 'journal' มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า เดิมแปลว่า กลางวัน รายวัน = บันทึกประจำวัน หนังสือพิมพ์รายวัน ทำให้คำนี้คล้ายกับคำว่า 'daily' = (หนังสือพิมพ์)รายวัน


ส่วนคำ 'journalist' ให้สังเกตว่า คำที่ลงท้ายด้วย '-ist' = นัก... เช่น physics = วิชาฟิสิกส์, physicist = นักฟิสิกส์ ฯลฯ


.


เรื่องของเรื่อง คือ คุณคริส เครเมอร์ (อาจเป็นชื่อสมมติ) อายุ 62 ปี เคยเข้าไปทำข่าวสงครามอย่างใกล้ชิดเมื่อ 30 ปีก่อน... ต่อมาเจ้านายขอให้ไปทำข่าวที่อิหร่านในเดือนเมษายน 1980 หรือ พ.ศ. 2523


วงการข่าวส่วนใหญ่นิยมใช้ชื่อสมมติ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว ยกเว้นเป็นบุคคลสาธารณะ เช่น นักการเมือง ผู้บริหาร ฯลฯ นิยมใช้ชื่อจริง เพื่อเน้นการตรวจสอบ ป้องกันทุจริต หรือผู้ให้ข่าวยินดีให้ใช้ชื่อจริง เพื่อเป็นอุทาหรณ์ (ตัวอย่างเหตุการณ์)


.


คราวนี้คุณเครเมอร์ได้อยู่ในเหตุการณ์วิกฤติเลย คือ ถูกผู้ก่อการร้าย (มือปืน) จับเป็นตัวประกันพร้อมกับคนอเมริกันอีก 25 คน


หลังถูกจับ 2 วันก็มีอาการเจ็บหน้าอกคล้ายกับจะเป็นโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคกลัวที่แคบ (claustrophobia) ทำให้ตกใจง่าย และกลัวจนเข้าไปในที่แคบๆ เช่น ลิฟต์ โรงหนัง ฯลฯ ไม่ได้


.


ผลการสำรวจทำในปี 2003 หรือ พ.ศ. 2546 พบว่า ผู้สื่อข่าวสงครามเป็นโรค PTSD หรือโรคเครียดหลังวิกฤติมากกว่า 1/4


ทหารผ่านศึกเวียดนาม 30% มีปัญหาสติแตก (mental breakdown) สูงเป็น 4 เท่าของประชากรทั่วไป... คนทั่วไปมีโอกาสสติแตกประมาณ 7.5% หรือ 100 คนมีโอกาสสติแตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต 7-8 คน


.


อ.นพ.แอนโตนี ฟายสไตน์ จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา กล่าวว่า ชีวิตนักข่าวสงคราม (รวมวิกฤติทางการเมืองของพวกหัวรุนแรง แบ่งเป็นสีๆ ในไทยด้วย) มีโอกาสเครียดจากวิกฤติสูงกว่าคนทั่วไป ทั้งทางกายและทางใจ


การขอความช่วยเหลือจาก "มืออาชีพ" เช่น นักจิตวิทยา เภสัชกร-พยาบาล-หมอใกล้บ้าน ฯลฯ มีส่วนช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้น หรือผ่อนหนักเป็นเบาได้


.


จุดอ่อนอย่างหนึ่งของนักข่าวสงคราม คือ เป็นสังคมแบบ "ผู้ชาย (macho)" ซึ่งความ "อด" กับความ "ทน" มากเกินไป ไม่ค่อยกล้าออกปากขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพ เพราะกลัวคนอื่นมองว่า เป็นพวกใจเสาะ เปราะบาง


การไม่ขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพเพิ่มเสี่ยงติดเหล้า หรือยาเสพติดมากขึ้น


.


นักข่าวที่มีประสบการณ์โดนสะเก็ดระเบิดในอิรักบางท่านเครียดจนไม่กล้าออกจากบ้าน ฝันร้ายบ่อยจนตกใจตื่นทุกคืน


การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การเข้าไปใกล้ชิดเหตุการณ์ร้ายๆ หรือภาวะวิกฤติที่มีการใช้ความรุนแรง พบเห็นคนเจ็บ ทุกข์ทรมาน ตาย โดยเฉพาะเหยื่อที่เป็นเด็กๆ จะทำให้โอกาสสติแตกเพิ่มขึ้น


.


กลุ่มเสี่ยงสติแตกหลังภาวะวิกฤติมากๆ ได้แก่ นักข่าว, หมอ-พยาบาล-เสนารักษ์ (หมอทหาร)-ทีมกู้ชีพ (ช่วยชีวิต), นักดับเพลิง-ผจญเพลิง, ตำรวจ, ทหาร


อ.ดร.แมตติว เจ. ฟรีดแมนแนะนำว่า ทางออกที่ดี คือ ไม่ควรเสี่ยง "เก็บกด-อดทน (shut down)" มากจนเกินไป ขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพ


.


เทคโนโลยีการทำข่าวทุกวันนี้ทำให้มี "พยาน (witnesses) / ผู้เห็นเหตุการณ์" จำนวนมากทั่วโลก เนื่องจากมีการบันทึกวิดีโอ-ภาพนิ่ง-เสียงจริงๆ ถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ ไปอย่างกว้างขวาง


สถิติจากหน่วยงานด้านทหารผ่านศึกสหรัฐฯ พบว่า พยานหรือผู้เห็นเหตุการณ์จะเสี่ยงโรคเครียดหลังวิกฤติ (PTSD) ไม่เท่ากัน... ผู้ชายเสี่ยง 8%, ผู้หญิงเสี่ยง 20%


.


ทางที่ดี คือ ไม่สนับสนุน ไม่หมกมุ่นกับกลุ่มหัวรุนแรง ('partisan' ศัพท์นี้มาจาก 'part' หรือการแบ่งเป็นก๊ก เป็นเหล่า เป็นกลุ่มหัวรุนแรง) หรือพวกบ้าอุดมการณ์ตกขอบ ประเภท "ข้าฯ ฟังแต่ข่าวสีเดียวกัน ไม่ฟังข่าวอื่นเลย"


นิยามของโรคเครียดหลังวิกฤติ (PTSD) ที่สำคัญได้แก่ เป็นหลังวิกฤติ นานอย่างน้อย 1 เดือน และมีลักษณะต่อไปนี้ และมักจะมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย


(1). re-living > ฝังใจ หวนกลับไปคิดถึงเหตุการณ์ (flashback) บ่อยๆ แบบหมกมุ่น (พายเรือในอ่าง หรือกบวนในกะลา - ไม่ออกนอกอ่างหรือกะลา)


บางคนฝันร้ายแบบสยดสยอง (nightmare) ซึ่งอาจตกใจตื่นมาเหงื่อแตก ใจสั่นได้, หรือเมื่อมีเหตุการณ์ชวนให้นึกถึงเรื่องเดิมแล้ว... สติทำท่าจะแตก เช่น ตกใจมาก ใจสั่นมาก เครียดสุดๆ ฯลฯ


(2). avoidance > หลีกหนี


ตัวอย่างเช่น เจอระเบิดมา เห็นเลือด-เนื้อ-สมองกระจาย เลยกลัวกลิ่นเนื้อไปหมด... สติแตก หรือเฉยเมย จนชีวิตขาดการมองโลกในด้านดี


(3). revved up > หวาดระแวงภัย กลัวอันตรายตลอดเวลา


.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การได้พูดคุยกับมืออาชีพ (talk therapy) เช่น นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช ฯลฯ ทำให้อาการดีขึ้นถึง 86% ไปอย่างน้อย 1 ปี

.

อ.อีลานา นิวแมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยทัลซา โอกลาโฮมา สหรัฐฯ กล่าวว่า ชีวิตนักข่าวสงครามนั้น "สาหัส" มากกว่าที่คิด เนื่องจากเสี่ยงต่อการถูกลักพาตัว ถูกฆ่า บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการทำข่าว

.

การไม่หมกมุ่นกับความรุนแรง เช่น ไม่ติดตามข่าวสงคราม ข่าวการเมืองในไทย ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้ ฯลฯ มากเกินไป โดยเฉพาะช่วงก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง มีส่วนช่วยป้องกันโรคสติแตกหลังวิกฤติได้

.

การไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริมกลุ่มหัวรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นค่ายใดสีใด มีส่วนช่วยให้บ้านเมืองร่มเย็น เป็นสุข และลดความรุนแรงในบ้านเมืองให้น้อยลงได้

.

และถ้าท่านมีอาการที่บ่งชี้ว่า อาจเป็นโรคเครียดหลังวิกฤติ (PTSD)... การเปิดใจ เข้าไปปรึกษามืออาชีพ เช่น นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช เภสัชกร หมอใกล้บ้าน ฯลฯ หรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ เช่น ครูบาอาจารย์ ฯลฯ น่าจะปลอดภัยกว่าการปิดใจ ไม่ขอความช่วยเหลือใคร

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 

...

 > [ Twitter ]


ที่ มา                               




  • Thank > [ Reuters ]



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 ธันวาคม 2553.




  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor


Create Date : 18 ธันวาคม 2553
Last Update : 18 ธันวาคม 2553 17:33:10 น. 0 comments
Counter : 1151 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com