บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 มกราคม 2554
 

เช้าๆกับแสงสีฟ้าทำอารมณ์เราดี [EN]

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง [ Light therapy shows promise for seniors' depression ] = "พบการรักษาด้วยแสงได้ผลดีกับอาการซึมเศร้าในคนสูงอายุ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ > [ Reuters ] 


  • [ therapy ] > [ เต่อ - ร้า - ปี่ ] > //www.thefreedictionary.com/therapy > noun = การรักษา(พยาบาล); คำนี้มาจากภาษากรีก เดิมแปลว่า การรักษาด้วยยา

  • [ therapist ] > noun = นักบำบัดโรค

  • [ therapeutic ] > adjective = เกี่ยวกับการรักษาโรค


.


  • [ promise ] > [ พร้อม(เสียงสั้น) - หมิส - s ] > //www.thefreedictionary.com/promise > noun, verb = (คำมั่น)สัญญา ทำสัญญา รับปาก บอกใบ้ว่ามีความหวังหรือน่าจะสำเร็จ 

  • คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส และละตินตามลำดับ; ศัพท์เดิม 'pro-' = ไปทางข้างหน้า; 'mittere' = ส่ง; รวม = ส่ง(สัญญา)ไปข้างหน้า หรือยื่นมือไปข้างหน้า เพื่อ(ยืนยันการ)ทำสัญญา

  • [ promising ] = [ show promise ] = มีความหวัง น่าจะสำเร็จ


.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า แสงจ้า (bright-light) ตอนเช้าช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าหน้าหนาวได้ผลดี, การศึกษาใหม่พบว่า แสงจ้าตอนเช้า หรือการตื่นมา "รับอรุณ (รับแสงแดดตอนเช้า)" ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าในคนสูงอายุได้ดีเช่นกัน

.

การศึกษาทำในคนสูงอายุ 89 คนที่มีโรคซึมเศร้า สุ่มให้รับแสงจ้ากับไม่ให้รับแสง 3 สัปดาห์พบว่า อาการดีขึ้นพอๆ กับการให้ยาต้านซึมเศร้า

.

การรักษาทำโดยให้ไปอยู่ใกล้กล่องแสงจ้า (light box) ทุกวัน เช่นเดียวกับการรักษาโรคซึมเศร้าหน้าหนาว หรือซึมเศร้าตามฤดูกาล (seasonal affective disorder) ซึ่งพบมากขึ้นในช่วงก่อนฤดูหนาวและฤดูหนาว

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ เมื่อช่วงเวลารับแสงแดดหรือแสงสว่างลดลง คนเรามีแนวโน้มจะมีอาการซึมเศร้ามากขึ้น

.

มีความเป็นไปได้ว่า การรักษาด้วยแสง หรือการ "รับอรุณ (รับแสงจ้าในช่วงเช้า เช่น ออกไปนอกบ้านรับแสงแดดอ่อน อยู่ในบ้านใกล้กล่องแสงจ้า ซึ่งทำจากหลอดไฟจ้าวางติดกันเป็นแผง มีแผ่นกรองแสงช่วยกระจายแสง-กัน UV) จะใช้รักษาอาการซึมเศร้าทั่วไป (non-seasonal depression) ได้ด้วย

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ โรคซึมเศร้าน่าจะเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง และแสงสว่างน่าจะไปมีผลต่อสารเคมีที่ใช้ส่งสัญญาณในสมอง หรือสารสื่อประสาท เช่น ซีโรโทนิน (serotonin) ฯลฯ โดยไปทำให้สมดุลที่เสีย หรืออาการ "เสียศูนย์" พลิกกลับไปในทางที่ดีขึ้น

.

อ.ดร.ริตซีท ลีเวิร์ส จิตแพทย์จากสถาบัน GGZ inGeest และศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัย VU อัมสเตอร์ดัม เดนมาร์ก หัวหน้าคณะนักวิจัยกล่าวว่า

.

คนไข้ซึมเศร้าจำนวนมากไม่ยอมกินยา และอีกส่วนหนึ่งยอมกินยา แต่กินไม่ครบกำหนด, นอกจากนั้นการใช้ยาในคนสูงอายุยังเสี่ยงต่ออาการข้างเคียงจากยา เช่น ง่วงเหงา ซึมเซา ฯลฯ มากกว่าผู้ใหญทั่วไป

.

การวิจัยใหม่ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะใช้มาตรการที่ไม่ใช้ยาในการรักษา หรือบรรเทาอาการซึมเศร้าได้

.

อ.ลีเวิร์ส แนะนำว่า ข้อควรระวัง คือ คนที่เป็นโรคตา เช่น เบาหวานขึ้นตา ฯลฯ ควรปรึกษาหารือกับหมอก่อนใช้กล่องแสง

.

การศึกษานี้ใช้กล่องแสงจ้า (light-therapy box) ซึ่งให้แสงสีฟ้าอ่อน (pale blue light) ใช้ทุกเช้าติดต่อกัน 3 สัปดาห์กับกลุ่มทดลองที่คัดเลือกโดยวิธีสุ่มทางสถิติ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้แสงสีฟ้า แต่ให้แสงสลัวๆ สีแดง เรียกว่า "กลุ่มควบคุม (control)"

.

กลุ่มที่ได้รับแสงจ้าตอนเช้าพบว่า 58% มีอาการดีขึ้น เทียบกับกลุ่มควบคุมดีขึ้น 34% (เป็นผลจากฤทธิ์ยาหลอก - placebo หรือการได้รับยาที่ไม่มีผลในการรักษา) และมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้


  1. ระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin หรือที่บางท่านเรียกว่า "เมลาโตนิน") เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตอนเย็น > ทำให้นอนหลับดีขึ้น

  2. ระดับฮอร์โมนเครียด (stress hormone - cortisol) ต่ำลง > แสดงว่า ความเครียดน่าจะลดลง


.

กล่องแสงบำบัดซึมเศร้าหรือกล่องแสงจ้ามีราคา $100-$500 = 3,000-15,000 บาท ทำจากหลอดไฟ เช่น ฟลูออเรสเซนต์ หลอด LED ฯลฯ วางเรียงกัน เพื่อให้สว่างจ้า และมีแผ่นกรองแสง เช่น แผ่นแก้วขาวขุ่น แผ่นพลาสติกฝ้า ฯลฯ กั้น เพื่อป้องกันรังสี UV

.

การใช้กล่องแสงจ้าอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง (side effects) เช่น ปวดหัว แสบตา ปวดตา คลื่นไส้ รู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่านหรือเครียดง่าย (irritability) ได้ในคนส่วนน้อย ฯลฯ, คนส่วนใหญ่ (ประมาณ 70-80%) ของคนไข้ซึมเศร้าหน้าหนาวจะมีอาการดีขึ้นมาก

.

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป

.

ทว่า... บอกเป็นนัยว่า การตื่นเช้ามารับแสงแดดอ่อนยามเช้า(แสงแดดมีแสงสีฟ้าปนอยู่แล้ว) ซึ่งที่ดีมาก คือ ใส่เสื้อแขนสั้น-กางเกงขาสั้น และออกกำลังกลางแจ้ง เช่น เดินเร็ว 15-30 นาที ไทชิ(ชี่กง) มวยจีน โยคะ ฯลฯ น่าจะทำให้คนเรามีอารมณ์ดีขึ้น ซึมเศร้าหรือเครียดน้อยลง

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

ที่ มา                               




  • Thank [ Reuters ] & Reuters linkage > SOURCE: bit.ly/gxvNZC Archives of General Psychiatry, January, 2011. 



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 10 มกราคม 2554.




  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.









Free TextEditor


Create Date : 10 มกราคม 2554
Last Update : 10 มกราคม 2554 7:55:21 น. 0 comments
Counter : 964 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com