กินอย่างประหยัด
ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ ได้มีสารคดีเกี่ยวกับพระกรณียกิจมากมายทางโทรทัศน์ รวมไปถึงสัมภาษณ์ผู้ที่เคยทำงานรับใช้พระองค์ท่าน เช่น หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ซึ่งมีคำสอนหลายๆ อันที่ผมว่าเราน่าจะเอามาใช้ แต่ก่อนอื่นเรามาดูพระประวัติโดยย่อของท่านกัน
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระนามแรกประสูติตามที่โรงพยาบาลตั้งถวายคือ May ซึ่งเป็นเดือนที่พระองค์ประสูติ ต่อมาเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา มหิดล (คำว่า "วัฒนา" ในพระนาม ทรงตั้งตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ
พระองค์ทรงมีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี (ท้อง) และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02.54 น. สิริพระชนมายุ 84 พรรษา
พระประวัติอ้างอิงจาก //th.wikipedia.org
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ได้เล่าให้ฟังว่า สมัยท่านตามเสด็จไปดูงาน ท่านมักได้รับคำสอนที่ว่า เวลาทานอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารราคาถูก แำพง อาหารแบบไหนก็ตามต้องทานให้หมด บุฟเฟ่ต์ก็เช่นกันตักมาแล้วต้องทานให้หมด ไม่ใช่คิดว่าเสียเงินแล้วต้องตัก เยอะๆ
ถ้าพูดถึงคำสอนที่ชอบ คงไม่พ้นการ "กินอย่างประหยัด" กินอย่างประหยัดไม่ได้หมายถึงห้ามกินอาหารราคาแำพง แต่หมายถึง ซื้อมาแล้วกินให้หมด ไม่ว่าอาหารนั้นจะราคาถูกหรือแำพงก็ตาม ลองคิดดูเล่นๆ ว่า 1 คนกินข้าวเหลือ 1 คำ ถ้า 1 ล้านคน ก็ 1 ล้านคำ ในโลกนี้ยังมีคนอดอยากอีกมาก เราควรนึกถึงจุดนี้ด้วย ไม่ควรกินเหลือทิ้งขว้าง
แต่ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยทานข้าวแบบทิ้งๆ ขว้างๆ เห็นแล้วก็เสียดายแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอ้พวกที่ชอบบอกว่า "ข้าเป็นคนดี รักพระเจ้าพี่นาง" แต่ไม่นำคำสอนท่านมาใช้ ที่คุนหมิงเห็นหลายคนละ เจริญจริงๆ ท่าน...
โทษของการกินเหลือ เท่าที่ผมสรุปได้ 1.สิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ - เนื่องจากสั่งอาหารมามากเกินความต้องการ (ห่อกลับบ้านได้ก็จะดีครับ สำหรับข้อนี้) 2.อาหารเหลือส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน - มาจากก๊าซในอาหารที่ทานไม่หมด 3.อาจโดนปรับ - บางแห่งมีกฎข้อนี้ แต่เราอาจไม่ทันได้สังเกต โดยเฉพาะพวกบุฟเฟ่ต์
Create Date : 05 พฤษภาคม 2551 |
|
37 comments |
Last Update : 5 พฤษภาคม 2551 13:23:04 น. |
Counter : 2298 Pageviews. |
|
 |
|
ไม่ค่อยจะดีเท่าไร
อย่างข้าวกล่อง ถ้าอยู่บ้าน
จะกินได้สองรอบเลย
กินไม่หมดเก็บเข้าตู้ไว้ก่อน
แต่ถ้าไปทำงานบางที
กินไม่หมดก็คือกินไม่หมดอ่ะ
แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่กินของแพงอยู่แล้ว
มื้อละ 20 บาทขาดตัว น้ำไปกดตู้
เอาที่ทำงานแทน