Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
ธรรมเนียมการเคลื่อนศพ (เดือ มา - đưa ma หรือ đưa tang )







แต่เดิมมาวันเคลื่อนศพไปส่งที่สุสานนั้นถือเป็นวันสำคัญของงานศพแบบเวียตนาม
โดยทั่วไปมักพูดติดปากว่า ดี-เดือ-มา ( Ði đưa ma )
แปลว่า ไปส่งศพซึ่งถ้าจะนับกันไปการไปส่งศพหรือไปร่วมในพิธีเคลื่อนศพนั้นถือกันว่าให้เกียรติคนตาย
และยังให้ความสำคัญกับเจ้าภาพของงานด้วย
ญาติทางไกล หรือมิตรสหาย ลูกหลาน จะต้องกลับมาให้ทัน
คืนสุดท้ายที่ศพตั้งอยู่ที่บ้าน และอยู่จนถึงวันรุ่งขึ้นเพื่อส่งศพที่สุสาน
จึงจะเรียกว่ารักกันจริง และถือว่าเป็นผู้รู้ธรรมเนียม



การเคลื่อนศพแบบเวียตนามนั้นมีข้อแตกต่างกันไปตามแต่ในชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดนครพนมในขบวนเคลื่อนศพนั้นริ้วขบวนจะต้องประกอบไปด้วย (เรียงจากหน้าสุดไปหลังสุดของขบวน)

1.ริ้วขบวนธง ตั้ง 2 แถว (2 ข้าง) ขนานกันไป
(โดยธงคู่สุดท้ายที่ถือชิดกับรถศพที่สุดจะเป็นธงตระกูลเขยหรือสะใภ้)



2.พวงหรีดของสมาคมหมู่บ้าน
(ในภาพงานศพชุดนี้เป็นสมาคมหมู่บ้านต้นผึ้ง-ดอนโมง หรือสังกัดศาลเจ้าพ่อแท่งฮว่าง)



3.หญิงม่ายโปรยกระดาษเงิน-กระดาษทอง และข้าวสาร
(เพื่อซื้อทาง และเป็นสัญลักษณ์ให้วิญญาณเดินทางกลับบ้านได้ถูกต้องเมื่อมีการเชิญวิญญาณกลับมาร่วมพิธีต่าง ๆ หลังจากนี้)



4.กลองและฆ้อง เดินขนาบ 2 ข้าง
(ปัจจุบันจะอยู่บนรถยนต์นำหน้า คนโปรยกระดาษ)



5.รถเข็นคันเล็กที่มีรูปผู้ตาย กระถางธูป ป้ายวิญญาณ ถาดผลไม้ แจกันดอกไม้ ตะเกียง
เกิมอุ๊บและที่ท้ายของรถจะติด หลา-เจี่ยว
(ป้ายสีแดง=หนังสือเดินทางของผู้ตาย) รถเล็กคันนี้พัฒนามาจากเก้าอี้หามเรียกว่า
“Linh Xa - ลิง ซา” โดยจะเป็นที่สถิตของวิญญาณในการเดินทางไปสุสาน
 มีนัยว่าวิญญาณจะได้ไม่ต้องเดินไป แต่จะนั่งเก้าอี้หาม
หรือในปัจจุบันนี้เป็นการนั่งรถคันเล็ก ๆ นี้ไปสุสาน



6.หลาน และเหลน ทั้งหลานนอกและหลานใน ที่ผูกผ้าสีขาว และที่ผูกผ้าสีแดงไว้ทุกข์จะเดินตามรถคันเล็กนี้ แต่ปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายว่าธรรมเนียมตรงนี้หายไปคือมักจะนิยมไปเดินตามรถศพเสียเป็นส่วนใหญ่



7.ผู้อาวุโสตีกรับไม้ เดินนำ คอยให้จังหวะการลากจูงรถส่งศพ (แซ ดอน รอง) ของเหล่าชายฉกรรจ์



8.ลูกชายคนโตจะเป็นผู้เดินถอยหลังกั้นศพ
แต่ถ้าลูกชายคนโตเสียชีวิตไปแล้ว หลานชายคนโตสืบสกุล (เจ๋า ดึ๊ก โตน-ลูกชายของลูกชายคนโต) จะเป็นผู้เดินถอยหลังกั้นศพแทน
แต่ปัจจุบันลูกชายส่วนใหญ่จะเข้าร่วมเดินถอยหลังด้วย

แท้จริงแต่ดั้งเดิมมาการเดินถอยหลังแบบนี้จะนิยมเดินเฉพาะงานศพผู้เป็นแม่
 เนื่องจากโดยปกติแล้วคนเป็นพ่อมักจะเสียชีวิตก่อนคนเป็นแม่
ตอนพ่อเสียจะถือว่าเดินไปส่ง จึงต้องเดินตามหลังศพ
และพอแม่เสียตามพ่อไปจึงจะเดิมกั้นหน้าศพเป็นนัยว่าไปรับแม่เพื่อให้ไปอยู่กับพ่อ
Bố đi đưa -Mẹ đi tiễn
ฟังดูอาจ งง งง นะครับ
แต่ทั้งนี้ไม่มีสิ่งใดถูกหรือผิด ผมขอเล่าไว้สำหรับคนที่อยากรู้ที่มาที่ไปเท่านั้น
เพราะในปัจจุบันก็เดินกันได้ตามใจอยู่แล้ว
ยิ่งบางชุมชนที่เคลื่อนศพโดยใช้รถยนต์ธรรมเนียมตรงนี้ก็หายไปแล้ว



9.ลูกชายที่รู้ธรรมเนียมรู้ตำแหน่ง รวมทั้งลูกสาว ลูกสะใภ้
ที่สวมชุดไว้ทุกข์ที่ขาว จะเดินตามรถส่งศพ
ตรงนี้ก็จะมีลูก ๆ กางร่มให้แม่ตนเองด้วย
เพราะแต่ละคนสูงอายุแล้วเดี๋ยวเป็นล้มพับไปจะยุ่งกันใหญ่



10.ขบวนเดินเท้าของชาวบ้านที่มาร่วมส่งศพ ปัจจุบันมีคนเดินในขบวนน้อยมาก โดยส่วนใหญ่มักจะไปคอยที่ศาลาสุสานไม่เดินกันให้ร้อนแล้ว ยกเว้นคนที่รักใคร่
และยังถือธรรมเนียมร่วมเดินส่งศพครั้งสุดท้าย



ลองดูเทียบกับสมัยก่อน ภาพนี้น่าจะไม่ต่ำกว่า 40 - 50 ปี



ปัจจุบันการเดินในขบวนก็ไม่เคร่งครัดนัก เอาจุดใหญ่ ๆ ถูกต้องเป็นใช้ได้ ใครอยากเดินตรงไหนก็เดิน ไม่มีใครว่าใครเพราะผู้รู้ก็ตายไปเกือบหมดแล้ว
อีกอย่างคนสมัยนี้มีความเป็นตัวของตัวเองสูง
เมื่อมีคนกล้าบอก กล้าแนะนำ แล้วเขาไม่ทำตาม
คนบอกคนพูดก็เลิกพูดเลิกแนะนำไปในที่สุด



เมื่อเดินทางมาถึงสุสานก็จะเข้าไปทำพิธี

ดี ด่าง ( Ði Ðàng)

พิธีนี้เมื่อก่อนจะทำเมื่อขบวนหยุดพักการเคลื่อนศพข้างทางที่ใกล้จะถึงสุสานเพื่อพักดื่มน้ำไปพร้อมกัน

ดี ( Ði) แปลว่า ไป
ด่าง หรือ เดือง ( Ðàng) แปลว่า ทาง หรือถนน

กล่าวโดยสรุป พิธี ดี ด่าง นี้เดิมจะทำที่ข้าง ๆ ถนน โดยเจ้าภาพ
จะเป็นผู้บริจาคเงินก้อนใหญ่ให้กับสมาคมหมู่บ้าน
เพื่อขอบคุณที่มาช่วยจัดการเคลื่อนศพผู้ตาย โดยจะมีเครือญาติ หรือมิตรสหายที่สนิทสนมแต่ละตระกูลร่วมแสดงน้ำใจโดยการบริจาคเงิน สมทบเข้าไปด้วยโดยจะมีการขานชื่อ และประกาศให้ทุกคนทราบว่าได้ยอดเงินรวมกันเท่าไร โดยเงินส่วนนี้จะไปใช้ในสาธารณกุศลหรืองานที่เกี่ยวกับส่วนรวมของหมู่บ้าน
กระซิบให้ทราบกันครับว่าเงินส่วนนี้แต่ละหมู่บ้านมีมากบางแห่งมีเป็นหลักล้านทีเดียวเชียว




การบริจาคเงินในการ ดี ด่างนี้ เปรียบได้กับการร่วมกันซื้อทาง ส่งศพให้ไปถึงสุสานโดยลุล่วงนั้นเอง
นอกจากนี้ทางเจ้าภาพที่หัวสมัยใหม่ก็จะมีการบริจาคเงินช่วยสาธารณกุศลต่าง ๆ
 เช่นโรงเรียนในชุมชน
สมาคมไทยเวียตนาม โรงพยาบาลที่ผู้ตายรักษาตัว
โดยเงินที่นำมาบริจาคนี้เป็นเงินที่คนร่วมทำบุญขณะตั้งศพไว้ที่บ้านนั้นเอง
เรียกว่าบุญต่อบุญครับ



เมื่อเสร็จจากพิธี ดี ด่าง ก็จะเป็นการอ่านประวัติ อ่านคำไว้อาลัย
ทั้งภาษาไทย และภาษาเวียตนาม ของสมาคมหมู่บ้านร่วมกับลูกหลาน
ในการนี้ผมก็ได้รับมอบหมายให้อ่านคำไว้อาลัยภาษาเวียตนามให้ปู่เป็นครั้งสุดท้าย
ผมไม่ได้แต่งเอง แต่มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
ท่านกรุณาแต่งให้ตามคำร้องขอของผม



โดยท่านจับเอาตัวผมมาฝึกซ้อมออกเสียงให้ถูกต้องเสียหลายชั่วโมง
ผมเองนั้นไม่เคยเรียนภาษาเวียตนามแบบเป็นเรื่องเป็นราวเลยเป็นแต่สนทนาแบบชาวบ้าน ๆ
ได้เพราะเคยอยู่กับยายตอนเด็ก ๆ
และอาศัย เรียนรู้เองตามเวปไซด์ ตามตำรา ที่พอจะหาได้
รวมทั้งสอบถามจากพ่อ แม่ บ้าง เวลาที่ท่านอารมณ์ดี
จึงทำให้พออ่านออกเขียนได้บ้าง

เมื่อเสร็จพิธีที่ศาลานี้การเดินทางระยะสุดท้ายจริง ๆ ก็มาถึงแล้ว
ศพจะถูกเคลื่อนออกจากศาลาไปทำพิธีกันภายในหมู่ญาติสนิทที่หลุมศพ
ถึงตรงนี้แขกส่วนใหญ่ก็จะเดินทางกลับกันครับ









Create Date : 02 ตุลาคม 2554
Last Update : 4 มิถุนายน 2560 17:03:36 น. 32 comments
Counter : 5742 Pageviews.

 
สถานการณ์น้ำท่วมที่กรุงเทพ
สร้างความแตกตื่นจริงๆนะครับพี่
ที่เชียงใหม่ไม่มีการกักตุนอาหารเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:20:53:20 น.  

 
การโผกผ้าขาวที่หน้าผาก เคยเห็นชาวจีนที่บ้านผม (ดำเนินฯ) แต่เป็นงานศพเมื่อ 40-50 ปีมาแล้วครับ ปัจจุบันไม่เห็นแล้ว


โดย: Insignia_Museum วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:21:56:48 น.  

 
อ้อคุณพี่พีร์ครับ

ในสมัยก่อนเห็นคนเฒ่าคนแก่หรือป้าผมเขาเล่าให้ฟังน่ะครับว่า

ลูกชายจะใส่ชุดผ้าขาวแบบนี้แหละครับ

และก็ผูกผ้าปล่อยปมกระต่ายยาวไปด้านหลัง

และก้อมีการถือไม้เท้าด้วยครับ

ไม่ทราบว่าอยู่ที่นาจอกมีไม้เท้าสำหรับชั้นลูกมั้ยครับ

ไม่เชิงว่าเป็นไม่เท้าครับแต่เป็นไม้คล้ายไม้ไผ่

จับไว้ในมือแสดงให้แขกรุ้ว่านี่คือลูกชายของผู้ตายครับ

ส่วนลูกสาวก็แบบในภาพแหละครับ ใส่ชุด หมวกแหลม

เพียงแต่เดี๋ยวนี้เลิกใส่ชุดแล้วครับ ผูกผ้าอย่างเดียว

เลิกไม้เท้าแล้วครับ

อ้อเท่าที่จำได้งานล่าสุดที่ผมไปพอบรรจุศพเข้าโลง

ก็เคาะอะไรไม่รู้น่ะครับ ป๊อก ป๊อก เหมือนกับพระจีน

สวดกงเต็ก แต่งานไม่ได้นิมนต์พระมาครับ

ให้คนเฒ่าคนแก่ทำ และก็มีเกิวโด่ยครับ จากเวียดนาม

เดี๋ยวนี้บ้านผมให้พระมาสวดพระอภิธรรมปนกับ

ประเพณีพุทธหมดแล้วครับ






โดย: บอส IP: 223.206.217.90 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:22:28:10 น.  

 
ขอแก้ครับ

เฉพาะชั้นลูกชายครับที่ถือไม้เท้า


โดย: บอส IP: 223.206.217.90 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:22:33:53 น.  

 
ด่างบ้านผมว่าเรียกว่าเดื่องครับ


โดย: บอส IP: 223.206.217.90 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:22:46:57 น.  

 
ผมลองไปหาดูภาพพิธีศพแบบออริจินัล

อยู่ในเวียดนามมาน่ะครับ

ที่นั่นเขาจัดงานซับซ้อนมากครับ

ผมดูผมยังงงเลยทั้งพิธีแบบมหายานเอยแบบ

ธรรมเนียมเวียดนามเดิมเอยครับ

บางทีผ้าเด่ตางอาจจะผิดไปเพราะเพี้ยนไปกับศาสนา

น่ะครับ

แต่ที่เวียดนาม ชั้นเหลนเขาใส่สีเหลืองอ่ะครับ


โดย: บอส IP: 223.206.217.90 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:23:23:12 น.  

 
ที่เวียดนามเกิวโด่ยเต็มครับ

เหนงานไหนก็มีแต่เกิวโด่ยครับ

อ้อลิมบอกไปที่นั่นนับถือมหายานครับคุณพี่พีร์

อยู่เวียดนาม


โดย: บอส IP: 223.206.217.90 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:23:27:11 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่พีร์






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:6:06:59 น.  

 
เข้ามาตามต่อค่ะ

ลำตะคองยังพอไปได้ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:8:14:41 น.  

 
ตอบคุณบอส
ไม้เท้าไม้ไผ่ที่ว่าแถวนี้ไม่มีเลยครับไม่เคยเห็นเลย

ถ้านับถือมหายานพิธีก็จะเอนไปทางนั้นมาก
คงจะมีรายละเอียดมากมายเกินกว่าพิธีปกติ
ของชุมชนที่นับถือผี และศาลเจ้าแบบคนเวียตนามในไทย

เกิ่วโด๋ย แถวนี้ถ้าจะมีก็จะเป็นแบบเขียนเองต้องไป
จ้างคนมีความรู้เขียนซึ่งนานนนที่ก็จะพบในงานคนที่เสียชีวิตตอนอายุมาก ๆ แต่แบบสำเร็จที่ซื้อจากเวียตนามนั้นก็เริ่มมีในระยหลัง ๆ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ขลังอ่ะครับ


โดย: peeradol33189 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:10:05:51 น.  

 
สวัสดีตอนสายครับ

งานศพนี่เป็นเรื่องที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับครอบครัวของตัวเอง แต่เมื่อต้องมีการจัดงานก็ขอพยายามทำให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม ประเพณี เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำให้เป็นครั้งสุดท้ายครับ
ปล.น้ำใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้วครับ ได้แต่เตรียมตัว
เท่าที่จะทำได้ครับ รักษาสุขภาพนะครับ


โดย: multiple วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:10:13:09 น.  

 
ขอแชร์ด้วยคนนะครับ

1. เรื่องลูกชายถือไม้เท้า อันนี้ที่โพนบกบ้านผมมีครับ แต่เลิกได้ประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว แต่ก่อนลูกชายทุกคนจะต้องถือไม้เท้าในงานศพของพ่อกับแม่ งานศพพ่อใช้ไม้เท้าที่ทำจากไม้ไผ่ งานศพแม่ใช้ไม้เท่าที่ทำจากต้นทองหลางด่าง (อันนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจชื่อในภาษาไทยของต้นไม้ชนิดนี้ เพราะภาษาเวียดนามเค้าเรียกว่า cây vông) นอกจากจะถือไม้เท้าแล้ว ลูกชายจะมีหมวกเป็นวงกลมคล้านมงคลของนักมวย ซึ่งทำมาจากหยวกหล้วยตากแห้งหรือฟางข้าวใส่อยู่บนหัวด้วย อีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือเชือกที่สานมาจากหยวกกล้วยใช้มัดที่เอวแทนเข็มขัด (ลองหาดูในหนังเกาหลีโบราณอ่ะครับมีลักษณะคล้ายๆ กัน) เชือกมัดเอวนี้ปู่บอกว่ามันมีความหมาย เพราะสมัยก่อนชุดไว้ทุกข์เค้าจะตัดใหญ่มาก มันหลวม เลยต้องหาเชือกมามัด อีกทั้งยังมีความหมายเป็นนัยก็คือว่าเปรียบเสมือนสายสะดือครับ ***เรื่องไว้ผมลองหารูปได้แล้วจะเอาให้ดูกันนะครับ***

2. ประเพณีแต่ละที่มันก็ไม่เหมือนกัน ผมเข้าใจแล้วแหละครับว่าทำไมปู่ผมถึงบอกว่าขนาดหมู่บ้านอยู่ติดกันแต่พิธีกรรม+ประเพณีจะแตกต่างกันมันก็เป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก

3.ข้อดีของประเพณีแบบเวียดนามคือมันไม่เกี่ยวกับศาสนา ทำให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะขนาดพิธีกรรมตามความเชื่อแบบเวียดนามอย่างเดียวยังซับซ้อนวุ่นวายได้ขนาดนี้ ถ้าทำพิธีทางศาสนารับรองครับซับซ้อนยกกำลังสอง **อันนี้ก็แล้วแต่ประเพณีนิยมนะคร๊าบบบ ^^

4.บทความเรื่องต่อไปของผมจะเป็นเรื่อง "โห่นหว่าเวี๋ย เรื่องที่ลูกหลานเวียดนามรุ่นใหม่ไม่เข้าใจ" เรื่องนี้ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะขอเวลาหน่อยนะครับ กำลังประชุมสังคยาความรู้กับปู่อยู่ครับ ไงก็ฝากชื่อผลงานไว้ก่อนนะครับ ^^

5. คุณบอสครับ นี่ชื่อเฟสบุคผมนะครับ เผื่อมีไรจะได้ไว้คุยกัน "พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส" ลิงค์ตามนี้นะครับ //www.facebook.com/profile.php?id=100001574475899


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 113.22.68.106 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:10:26:51 น.  

 
มาบ้านคุณพีร์วันนี้ได้ความรู้กลับไปเต็มๆค่ะ


ตอนนี้ป้าอยู่ในช่วงลี้น้ำค่ะ หนีขึ้นมาอยู่บนแฟลตชั้น 5 ดินแดงตั้งแต่วันที่ 8 ค่ะ
ก็หวังว่าน้ำคงไม่ตามป้าขึ้นมาค่ะ 555

ป้าเคลื่อนย้ายแม่ออกนอกหมู่บ้านแบบทุลักทุเลน้ำครึ่งแข้งแล้วค่ะ
ก่อนทิ้งบ้านป้าก็ยกข้าวของเท่าที่พอจะยกไหว

อะไรจะเกิดต้องยอมให้เกิดค่ะ แรกๆก็เครียด แต่ตอนนี้พอทำใจได้แล้วค่ะ



โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:10:51:01 น.  

 
ไอ้เรื่องหมวกคล้ายมงคลผมก็ไม่แน่ใจนะครับ

ว่าอยู่ท่าบ่อสมัยก่อนมีมั้ย

ผมถามญาตอมาแค่นี้อ่ะครับ

อ้อคุณพัชรพงษ์ครับ

ที่โพนบกชั้นเหลนคาดผีสีอะไรครับผ้าคาดศรีษะน่ะครับ


โดย: บอส IP: 223.205.9.151 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:18:49:57 น.  

 
คาดผ้านะครับ ไม่ใช่คาดผีพิมผิดอ่ะครับ


โดย: บอส IP: 223.205.9.151 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:18:50:46 น.  

 
คุณพีร์ครับที่ว่าจัดแบบมหายาน

อยู่ที่เวียดนามนะครับ

ที่เวียดนามต่างที่ก็จัดต่างกันน่ะครับ


โดย: บอส IP: 223.205.9.151 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:18:52:44 น.  

 
ที่หิ้งไหว้บรรพบุรุษบ้านย่าผมก็มีเกิ่วโด๋ยคลุมครับ


โดย: บอส IP: 223.205.9.151 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:18:55:25 น.  

 
ที่โพนบกชั้นเหลนใช้ผ้าคาดหัวสีแดงครับ ธรรมเนียของคนเวียดนามกลาง ส่วนใหญ่ใช้สีนี้แหละครับ ชั้นโหลนถึงใช้สีเหลือง แต่ตามราจริงๆ ชั้นเหลนใส่สีเหลืองจึงจะถูกต้อง แต่บางพื้นก็ปรับเปลี่ยน เพราะเป็นนัยที่ว่ามีเหลนก็ถือว่าโชคดีแล้วเลยให้ชั้นเหลนใส่สีแดงแทนสีเหลือง และเพื่อเป็นการบอกว่าคนที่ตายอายุมากแล้วครับ นี่เป็นที่มาว่าทำไมที่นครพนมชั้นเหลนจึงใช้ผ้าคาดหัวสีแดงครับ แต่ทั้งนี้ที่เวียดนามเองบางพื้นที่ชั้นเหลนก็คาดหัวด้วยผ้าแดงนะครับ โดยเฉพาะในเขตภาคกลางของเวียดนาม ส่วนเวียดนามใต้ มีการใช้ผ้าคาดหัวสีฟ้าด้วยครับ หลากหลายรูปแบบมากๆ เล่นเอาจนปวดหัวเลยแหละครับ

ป.ล.เฟสบุคของคุณบอสใช้ชื่อ อภิสิทธิ์ ตันติศิริโรจน์ หรือเปล่าครับ ถ้าใช้ผมจะได้รับแอดอ่ะครับ ^^ ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้นะครับ


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 1.55.169.77 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:22:00:29 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่พีร์







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 ตุลาคม 2554 เวลา:6:02:45 น.  

 
แล้วเวียดนามเหนือล่ะครับคาดผ้าสีอะไรครับชั้นเหลน ที่ท่าบ่อชั้นเหลนสีเหลือง. คนเวียดนามในท่าบ่อมาจากเวียดนามตอนเหนือ คือ. ฮานอย นามดิ่งครับคุณพงษ์


โดย: บอส IP: 180.214.209.125 วันที่: 15 ตุลาคม 2554 เวลา:13:28:23 น.  

 
ปล ท่าบ่อ จังหวัดหนองคายครับ


โดย: บอส IP: 180.214.209.125 วันที่: 15 ตุลาคม 2554 เวลา:13:40:26 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:5:58:16 น.  

 
คุณบอสกับคุณต้อม แลกเปลี่ยนความรู้กันไปมา
ทำให้ผมพลอยได้อัพเดตเรื่องราวไปด้วย
ขอบคุณมาก ๆ คร้าบบบ

ปล.ผลงานเรื่องต่อไปของคุณต้อมจะรออ่านครับ


โดย: peeradol33189 วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:15:21:12 น.  

 
อ้อที่เวียดนาม

ทางภาคกลางก็มีธงครับ

แต่ไม่ใช่ธงขาวดำเหมือนที่นี่นะครับ

เป็นธงหลากสีอ่ะครับ


โดย: บอส IP: 49.48.115.60 วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:17:50:34 น.  

 
ตอนนี้อิสานน้ำเริ่มท่วมเหมือนกันนะครับพี่พีร์
ที่เชียงใหม่ฝนตกอีกรอบ
ผมว่าชาวบ้านก็ใจตุ่มๆต๋อมๆอีกแล้วครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:18:38:27 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่พีร์






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:6:24:08 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:6:06:30 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 ตุลาคม 2554 เวลา:6:06:14 น.  

 
กรุงเทพคงต้องยอมรับความจริงว่า
น้ำจะต้องท่วมใบ้าง
แต่ถ้ายอมให้น้ำผ่านเมือง
น้ำในพื้นที่อื่นๆ
จะลดลงเร็วมากครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 ตุลาคม 2554 เวลา:17:46:36 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 ตุลาคม 2554 เวลา:6:13:34 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่พีร์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 ตุลาคม 2554 เวลา:6:05:54 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 ตุลาคม 2554 เวลา:6:09:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Gia Huy - Peeradol
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
แจกฟรีแบ๊คกราว
Friends' blogs
[Add Gia Huy - Peeradol's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.