Group Blog
ธันวาคม 2564

 
 
 
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยวอยุธยา - นิทรรศการสืบสานงานสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ
สถานที่ท่องเที่ยว : นิทรรศการสืบสานงานสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 8' 57.61" N 100° 31' 22.19" E

 



ช่วงนี้ถึงจะผ่อนคลาย  lockdown  ลงบ้างแล้ว  แต่ที่บ้านเจ้าของบล็อกก็ยังปฎิบัติตัวเหมือนเดิมครับ  คือ  ออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็น  ถ้าออกนอกบ้าน  พอกลับมาก่อนเข้าประตูบ้านจะต้องพ่นแอลกอฮอร์ทั้งตัว  ถูเจลทีมือถึงข้อศอก  แล้วก็รีบเข้าไปล้างมือด้วยสบู่พร้อมกับร้องเพลง  “ช้าง  ช้าง  ช้าง”  2 รอบ  และอาบน้ำ  สระผม  เพราะที่บ้านมีทั้งผู้สูงอายุและเด็กต่ำกว่า  12  ปี  อย่างที่คุณหมอบอกครับ  ถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบแล้วก็สามารถติดเชื้อได้  ตอนนี้มีสายพันธุ์ใหม่อีกด้วย  ต้องระมัดระวังตัวให้มากเข้าไว้จะดีที่สุดครับ
 
 



ช่วงนี้ก็ยังคงเป็นการเอาสถานทีท่องเที่ยวที่ไปเที่ยว  ถ่ายรูปเอาไว้นานแล้วแต่ยังไม่ได้เอามาโพส  มาโพสลงบล็อกตามเคยครับ  ถือเป็นการเคลียร์โฟลเดอร์รูปที่ถ่ายเก็บไว้ด้วยครับ
 




 
Entry  ที่แล้วพาไปเที่ยวอยุธยามานะครับ  พอดีเหลือบไปเห็นรูปในอีก  2  โฟลเดอร์ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในอยุธยาด้วยครับ  เลยคิดว่าน่าจะเอา  entry  นี้มาโพสก่อนสถานที่ท่องเที่ยวที่อื่นครับ
 



 
 

**** เจ้าของบล็อกออกตัวไว้ก่อนว่า  เจ้าของบล็อกเกิดมาในช่วงเวลาที่ข่าวในพระราชสำนักเผยแพร่ข่าวพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  รัชกาลที่  9  และ  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เสด็จพระราชดำเนินไปในที่ทุรกันดารเพื่อเยี่ยมเยียนราษฏรเสมอๆ  ดังนั้นเวลาออกพระนามของทั้งสองพระองค์เจ้าของบล็อกจะมีน้ำตาคลอๆอยู่เสมอ  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงในการที่ทรงพระราชทานชีวิตให้กับพสกนิกรชาวไทยหลายหมู่หลายเหล่า  กว่าเจ้าของบล็อกจะเขียนดราฟต์บล็อกนี้เสร็จก็เล่นเอาเจ้าของบล็อกร้องไห้ไปหลายยกครับด้วยความคิดถึงทั้งสองพระองค์ครับ ****
 
 



 

นิทรรศการสืบสานงานสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 


ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ 


บางไทร  อยุธยา




 
 

นิทรรศการสืบสานงานสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง  จัดแสดงอยู่ใน  หอสุพรรณ – พัสตร์  ชั้น  2  ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ  บางไทร  อยุธยา 








 
 











พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  รัชกาลที่  9  และ  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฏรครั้งแรกในปี  พ.ศ.  2491  จากนั้นเป็นต้นมาก็ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฏรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย   ทรงเห็นว่าราษฏรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ต้องพึ่งฟ้าพึ่งฝน  คราวใดที่ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลราษฏรก็ได้รับความเดือดร้อนลำบาก 
 
 

 
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ทรงเห็นว่าราษฎรน่าจะมีอาชีพเสริมเพื่อช่วยเหลือให้ราษฏรมีรายได้อีกทาง  เพื่อทำให้ราษฏรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น







 




 
ในปี  พ.ศ. 2494  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  รัชกาลที่  9  และ  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฏรในภาคอีสานหลายจังหวัดต่อเนื่องกันเป็นเวลาถึง  19  วัน  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ได้ทอดพระเนตรเห็นสตรีชาวบ้านนุ่งผ้าซิ่นไหมงดงามมารับเสด็จฯ 
 
 



ในปี  พ.ศ.  2513  เกิออุทกภัยจากน้ำในแม่น้ำศรีสงครามหลากท่วมท้น  จนบ้านเรือนและไร่นาของราษฏรในจังหวัดนครพนมได้รับความเสียหายและราษฏรได้รับความเดือดร้อน  ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรที่ประสบภัย  ที่บ้านท่าบ่อสงคราม  ตำบาลท่าบ่อสงคราม  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  เพื่อพระราชทานสิ่งของอุปโภคบริโภคเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ทอดพระเนตรเห็นสตรีชาวบ้านที่มารับเสด็จฯ  ต่างนุ่งซิ่นไหมลวดลายสวยงาม  ทรงซักถามราษฏรจนได้ความว่า  “ราษฎรทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้ใช้เองในครอบครัว  ไม่ได้ทอขาย  เพราะราคาถูก  ไม่คุ้มกับแรงและเวลาในการทอ”





จีงทรงเห็นว่าในการที่จะพระราชทานความช่วยเหลือในระยะยาวเพื่อที่ราษฏรจะได้มีอาชีพเสริมที่ยั่งยืนควรจะเป็นสิ่งที่ราษฏรคุ้นเคยและทำกันอยู่ทั่วไป  ไม่ต้องจัดหาครูมาฝึกหัด  ใช้วัตถุดิบที่ราษฏรมีอยู่แล้วในท้องถิ่น   เช่น  การทอผ้ามัดหมี่ 









 



 





12  สิ่งที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ทรงทำให้  “ผ้าไหมไทย”  เป็นที่นิยม
 



 
1. การทอผ้าไหมเป็นงานที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม  เครื่องมือในการทอผ้าไหมชาวบ้านก็มีอยู่กับตัวแล้ว  ภูมิปัญญาก็มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น  และวัตถุดิบ  ตัวไหม  และ  ใบหม่อน  ซึ่งเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงหนอนไหมก็สามารถหาได้ในชุมชน 


2. ทรงส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไหมพันธุ์พื้นเมือง  และมอบหมายให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทำการวิจัยเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ไหมพื้นเมืองให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น


3. ทรงอนุรักษ์ลายผ้าไหมโบราณโดยทรงกำชับคณะทำงานที่ลงพื้นที่ไปเก็บตัวอย่างผ้าไหมโบราณจากชาวบ้านว่า  “แม้แต่ผ้าที่ใช้ถูบ้านก็อย่าได้ละเลย ....”  เพราะชาวบ้านมักจะนำผ้าซิ่นเก่าๆไปทำผ้าสำหรับทำความสะอาดบ้าน


4. ผ้าไหมโบราณมีความกว้างของหน้าผ้าไม่เท่ากัน  เพราะ  “กี่”  สำหรับทอผ้าในแต่ละท้องถิ่นมีความกว้างไม่เท่ากัน  ทรงค่อยๆพระราชทานคำแนะนำแก่ชาวบ้านให้ขยายหน้าผ้าให้เป็น  1  เมตร  เท่ากันทุกพื้นที่


5. พระราชทานคำแนะนำในการทอผ้าไหมมัดหมีให้ทอเป็นลวดลายยาว  2  เมตร  และทอผ้าพื้นในผืนเดียวกันต่อไปอีก  2  เมตร  เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ซื้อจะได้นำไปตัดเสื้อผ้าได้ทันที  ดังที่เราเคยเห็นกันในปัจุจุบันว่าผ้าไหมมัดหมี่จะมีส่วนที่เป็นลวดลายและส่วนที่เป็นผ้าพื้นอยู่ในผืนเดียวกัน


6. ผ้าแพรวา  เคยนิยมทอแบบหน้าแคบมากๆ  ประมาณ  1 หรือ  2  คืบ  เพราะนิยมทำเป็นผ้าสไบเท่านั้น  ทรงพระราชทานคำแนะนำให้ขยายหน้าผ้าออกเป็น  1  เมตร  เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น  และสามารถจำหน่ายได้ในจำนวนที่มากขึ้นด้วย


7. พระราชทานโอกาสให้ผู้นำกลุ่มทอผ้ามาอบรมเพิ่มเติมเรื่องเทคนิคการย้อมผ้า  เพื่อที่จะได้ผ้าที่มีสีติดทนทาน  ขายได้ราคาดี


8. พระราชทานคำแนะนำให้ผู้ทอผ้าไหมทดลองใช้โทนสีที่อยู่ในสมัยนิยม


9. ทรงจัดประกวดผ้าไหมลายใหม่ๆ  ณ  พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  ทุกๆปี  เพื่อเป็นการสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้แก้ผู้ทอให้มีความคิดสร้างสรรค์สร้างลายผ้าไหมใหม่ๆ


10. พระราชทานกำลังใจแก่ผู้ทอผ้าอยู่เสมอมิได้ขาด  ดังที่จะเห็นได้จากที่ทรงประทับนั่งราบกับพื้นเพื่อตรวจงานผ้าไหมทอมือและมีพระปฎิสันถารกับผู้ทออย่งเป็นกันเองเป็นเวลานานๆ   


11. ทรงนำผ้าไหมจากโครงการศิลปาชีพไปตัดเป็นฉลองพระองค์  เคยพระราชทานสัมภาษณ์ไว้ว่า  “ชาวบ้านเค้าจะได้ภูมิใจว่าเค้าทอผ้าให้พระราชินีใส่ ...”


12. ทรงตั้ง  “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ”  ในปี  พ.ศ.  2519  เพื่อจะเป็นศูนย์กลางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสมาชิกทั้งในและนอกประเทศ
 










 





ก่อนที่เราจะไปรู้จักผ้ามัดหมี่  เรามาทำความรู้จักกับ 
“น้อนหนอมไหม”  กันก่อนดีกว่าครับ
 


 
ไหมไทยพันธุ์พื้นบ้าน  (Thai Native Silkworms Varieties)  เป็นหนอนไหนประเภทที่กินใบหม่อนเป็นอาหาร  (Mulberry  Silkworms  -- Bombyx mori)  เป็นชนิดที่ออกไข่ตลอดปี  (Polyvoltine Type) 
 



 
1. ไหมไทยพันธุ์พื้นบ้านถึงแม้ตัวจะเล็ก  แต่มีความแข็งแรง  ทนต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมได้ดี  ให้รังไหมสีเหลืองทอง  และเป็นรังไหมชนิดเดียวที่มีความแวววาวตามธรรมชาติ 


2. เส้นไหมที่ได้จากไหมไทยพันธุ์พื้นบ้านจะขนาดเล็ก  มีความละเอียดและมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่า  เมื่อนำเส้นไหมหลายๆเส้นมารวมกันเป็นเส้นไหม 1 เส้นในการทอผ้า  ผ้าที่ได้จากการทอไหมไทยพันธุ์พื้นบ้านจะมีความแวววาว  สะท้อนแสงได้  อันเป็นเอกลักษณ์ของไหมไทยเท่านั้น


3. เส้นไหมของไหมไทยพันธุ์พื้นบ้านมีความละเอียด  นุ่ม  เมื่อนำมาทอเป็นผ้าไหมจะได้ผ้าไหมที่นุ่ม  ไม่ยับง่าย


4. นอกจากไหมไทยพันธุ์พื้นบ้านจะให้ประโยชน์คือเส้นไหมที่ใช้ในการทอผ้าแล้ว  เส้นไหมและรังไหมทีเป็นของไหมไทยพันธุ์พื้นบ้านยังมีกรดอะมิโนถึง  18  ชนิด  และมีสารซิริซิน  ซึ่งมีสีเหลือง   ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อีกหลายชนิดมาก  เช่น  สบู่ใยไหม  ครีมบำรุงผิว













 
 
ผ้ามัดหมี่  เป็นเทคนิคการทอผ้าชนิดหนึง  ซึ่งแตกต่างจากการทอผ้าทั่วไปคือมีการย้อมเส้นไหมให้เป็นลวดลายตามที่ได้กำหนดไว้  เรียกว่า การผูกลาย  ก่อนจะนำไปทอ  โดยใช้เชือกกล้วย  หรือ  เชือกด้วย  “มัด”  เส้นไหมเป็นเปลาะๆ  ที่เรียกว่า  “หมี่” 
 


 
ลวดลายของผ้าไหมมัดหมี่จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆ  เพราะลวดลายที่ชาวบ้านคิดสร้างสรรค์ขึ้นจะได้มาจากสิ่งรอบๆตัวและจินตนาการ 
 


 
โดยทั่วไปในภาคอีสานของไทย  จะมีผ้าไหมมัดหมี่อยู่  2  ชนิด   
 



 
1. หมี่รวด  หรือ  หมี่หว่าน  หมายถึงผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอดเป็นลวดลายเดียวกันทั้งผืน


2. หมี่คั่น  หมายถึงผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอเป็นลวดลายสลับกับสีพื้นเป็นระยะๆ





 





จากการรวบรวมลายผ้าไหมมัดหมี่จากส่วนต่างๆในประเทศไทย  สามารถจำแนก 
“แม่ลาย”  ได้ดังนี้
 





 
1. ลายหมี่ข้อ  เป็นลายที่เกิดจากการมัดหมี่ที่เส้นพุ่งเป็นข้อสั้นๆตามแนวนอน  ซึ่งแบ่งออกเป็น  “หมี่ข้อตรง”  คือเป็นลายข้อมัดขนานตรงกันทั้งผืน  และ  “หมี่ข้อหว่าน”  คือมัดเป็นข้อสับหว่างกันทั้งผืน


2. ลายหมี่โคม  เป็นลวดลายคล้ายพุ่มหรือโคม  เกิดจากการมัดเส้นพุ่งเป็นแนวทึบลดหลั่นกันโดยมีส่วนกลางยาวที่สุด  เช่น  ลายหมี่โคมห้า  คือมัดทึบลดหลั่นกันห้าแถว  หรือ  ลายหมี่โคมเจ็ด    คือมัดทึบลดหลั่นกันเจ็ดแถว 


3. ลายหมี่กง  มีลักษณะคล้ายกับลายหมี่โคม  แต่มัดเฉพาะหัวกับท้าย ให้ตรงกลางเป็นลายโปร่ง


4. ลายหมี่บักจับ  เป็นลวดลายคล้ายนกบินกลางอากาศ  โดยมัดเป็นเส้นทึบสามเส้นที่มีความสมมาตรกัน  มีเส้นกลางมีความยาวเป็นสามเท่าของเส้นที่ขนาบทั้งสองข้าง


5. ลายหมี่ดอกแก้ว  มีลักษณะเป็นลายดอกไม้มีเจ็ดกลีบ  เกิดจากการมัดหมี่เจ็ดแถวลดหลั่นกันแบบสมมาตร  โดยที่สามเส้นกลางจะยาวเท่ากัน  เรียกว่าดอกแก้วทึบ  หรือเส้นกลางมัดเฉพาะหัวท้าย  เรียกว่าดอกแก้วโปร่ง


6. ลายหมี่ขอ  เป็นลายคล้ายตะขอ  โดยมัดหมี่  21-23  ลำเป็นเส้นทึบให้เป็นแนวม้วนหัวท้ายไปคนละด้าน 


7. ลายหมี่ใบไผ่  มีลักษณะคล้ายใบไม้เรียวยาว  ทแยงขึ้นไปคนละทาง  ทอสลับกับไหมสีพื้นเป็นระยะๆ






 
 










พูดแบบไม่อายเลยนะครับ  ตอนไปชมนิทรรศการเจ้าของบล็อกเดินน้ำตาคลอตาอยู่ตลอดเวลา  ด้วยความคิดถึงพระองค์ท่าน  ถึงตอนที่ทำดราฟต์บล็อกน้ำตาก็ยังคลอ  ร้องไห้บ้างเป็นระยะๆ  ครับ   


























 
132132132​​​​​​​

 



Create Date : 06 ธันวาคม 2564
Last Update : 6 ธันวาคม 2564 11:42:04 น.
Counter : 1171 Pageviews.

26 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณmultiple, คุณเริงฤดีนะ, คุณกะว่าก๋า, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณKavanich96, คุณnewyorknurse, คุณหอมกร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณmariabamboo, คุณตะลีกีปัส, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณkatoy, คุณmcayenne94, คุณnonnoiGiwGiw, คุณกิ่งฟ้า, คุณเนินน้ำ, คุณkae+aoe, คุณอุ้มสี

  
พระพันปีท่านทรงช่วยชาวบ้าน ช่วยรักษาวัฒนธรรมไทยไว้ได้เยอะเลยครับ
เอาจริงๆ ถ้าไม่ได้พระองค์ท่าน ผ้าไทยอาจจะหายไปแล้วก็ได้ ถ้าทรงไม่เอามีประยุตให้ร่วมสมัย กลายมาเป็นชุดๆ ที่สาวๆ อยากใส่ ใส่แล้วสวยสง่ามาก ๆ นั่นแหละครับมรกดที่พระองค์ท่านอยากมอบให้กับชาวไทย

จากบล๊อก
ผมฉีดตั้งแต่วัน พฤ ไข้ขึ้นอยู่ 2 วัน ศุกร์ เสาร์ วันอาทิตย์กับวันจันทร์ ยังทำอะไรเยอะไม่ไหว ใช้แรงไม่ไหวเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว บางทีก็จะเป็นลม รู้สึกไม่เหมือนดิมตลอดเลย ที่สำคัญคือกินข้าวไม่ลงเลย ยิ่งไม่มีแรงไปกันใหญ่ แต่หมอก็บอกว่า เนี้ยแหละ กรรมของคนแข็งแรง ยิ่งสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงแค่ไหน ยิ่งมี effect เยอะแค่นั้น
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:14:13:36 น.
  
สวัสดี จ้ะ น้องบอล

ผ้าไหมที่นำมาแสดง สวยมาก ๆ เลย จ้ะ ได้ความรู้เรื่องผ้าไหม
มากมายเลย จ้ะ

เปี๊ยก ต้องบ่นแน่ เขาชอบเที่ยวเหมือนกัน แต่ดูไม่ค่อยสู้ น่าจะ
ดูผอมแห้งแรงน้อยตั้งแต่ตอนเป็นนักเรียนแล้ว จ้ะ

โหวดหมวด ท่องเที่ยว

โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:14:33:37 น.
  
อ.เต๊ะ ยังจำน้ำเสียงที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ของในหลวง ร.9 กับพระราชินี ที่มีพระกระแสรับสั่ง
กับ พสกนิกร ชาวไทยได้เสมอครับ เวลาที่ท่านทั้ง 2พระองค์เสด็จเยี่ยม พี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ

ร.9 จะทรงดูแล ด้านการชลประทาน วิศวกรรมต่างๆ พระราชินีก็ดูแลด้าน ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน

พี่น้องประชาชน ได้มีอาชีพทำกินอื่น เช่นงานหัตถกรรม งานฝีมือต่างๆได้ ก็เพราะ โครงการในพระราชดำริต่างๆมากมาย รวมทั้ง ศูนย์ศิลปาชีพนี่ก็ด้วยเลยนะครับ

ปล. เรื่อง กกน. ที่ อ.เต๊ะ ฝากให้คุณหมอ ตอนนี้ยังไม่รู้ ชะตากรรมเลยครับ ว่ายังนอนหนาวอยู่ในกล่อง หรืออิงแอบแนบชิดยอดดวงใจอยู่ เย้ย 555 ต้องรออีกหลายเดือน กว่าคุณหมอจะนัดเจอครับ

ขอบคุณที่แวะไปฟังเพลงด้วยกันนะครับ



โดย: multiple วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:16:25:39 น.
  
ท่านทำให้คนทั้งโลกสนใจในผ้าไทยเลยนะครับ

และผลพลอยได้คือ งานช่างอันวิจิตรก็ยังดำรงอยู่
ชาวบ้านก็มีงานทำ
เป็นโครงการที่น่าชื่นชมและน่าปลาบปลื้มจริงๆครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:18:01:43 น.
  
ด้วยความยินดีครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:20:43:56 น.
  
ผ้าไหมมัดหมี่งามมากครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:21:33:47 น.
  
สวัสดีครับคุณบอล

ตามมาเยี่ยมชมครับ ผ้าสวยมากๆ ยิ่งดูใกล้ๆ ยิ่งงามครับ

ขอบคุณที่ไปทักทายที่บล็อกครับ แล้วแวะไปอีกนะครับ ^^
โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:22:49:03 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 7 ธันวาคม 2564 เวลา:3:40:21 น.
  

สวัสดียามเช้าครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 ธันวาคม 2564 เวลา:6:18:45 น.
  
คุณบอลไปอยุธยาบ่อยนะ

โดย: หอมกร วันที่: 7 ธันวาคม 2564 เวลา:7:42:53 น.
  
ชอบคุณสำหรับคะแนนVote ค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 7 ธันวาคม 2564 เวลา:15:55:15 น.
  
สวัสดีค่ะ
ชอบนะคะผ้าไหม ทางอีสานนี่ลายสวย ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ
แต่ขี้เกียจรักษาน่ะค่ะ
----
จากบล็อก
จะนึกถึงตาอาร์ทก่อนเพื่อนเลย
ใครหนอ - ตาอารท์ เพื่อนที่ออสเตรเลียหรือเปล่าคะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 7 ธันวาคม 2564 เวลา:16:44:01 น.
  
สวยงาม เลอค่า แต่ดูแลยากค่ะ

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 7 ธันวาคม 2564 เวลา:17:14:58 น.
  
สวัสดีครับคุณบอล

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ
โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 7 ธันวาคม 2564 เวลา:22:32:30 น.
  
สวัสดียามเช้าครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 ธันวาคม 2564 เวลา:6:38:32 น.
  
สวัสดีมีสุขค่ะ

งานศิลปทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้
คงไว้ได้เพราะสมเด็จพระพันปีท่านจริงๆค่ะ
ไหมไทยไหมพื้นบ้าน
แพรวา มัดหมี่ น้ำไหล ไทลื้อ จกต่างๆ
หากไม่มีใครสนับสนุน ก็จะล้มหายตายจากไปหมด
ทั้งคนทำ คนผูกลาย คนเลี้ยงไหม

จะมีใครสืบสานงานหัตถกรรมไทยได้อย่างพระองค์ท่านอีกหรืเปล่านะคะ
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 8 ธันวาคม 2564 เวลา:8:34:12 น.
  
ตามมาเที่ยวด้วยคนค่ะ ผ้าไทยสวยๆทั้งนั้นเลย
โดย: Emmy Journey พากิน พาเที่ยว วันที่: 8 ธันวาคม 2564 เวลา:10:08:32 น.
  
แค่มาเม้นก็ดีใจแล้วครับพี่บอล ^^ ขอบคุณครับ
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 8 ธันวาคม 2564 เวลา:14:43:43 น.
  
ช่วงนี้ผมก็พาลูกไปทำกิจกรรม
ไม่ค่อยได้เล่นบล็อกครับคุณบอล
เช้าอัพบล็อกเสร็จ
กว่าจะเปิดคอมอีกที่บางทีก็ 6 โมงเย็นไปเลย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 ธันวาคม 2564 เวลา:21:21:30 น.
  
สวัสดียามเช้าครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 ธันวาคม 2564 เวลา:7:12:12 น.
  
พระอ้จฉริยภาพของสมเด็จพระพันปีหลวง
ทำให้ผ้าไหมไทยดังไกลไปทั่วโลก
พระองค์ท่านคู่บุญบารมีถูกที่ถูกเวลาจริงๆค่ะ
สมัยเด็กงานศิลปาชีพสนุกมาก
ศูนย์ศืลปาชีพบางไทร คึกคักรุ่งเรือง
เดี๋ยวนี้เงียบร้าง ขอบคุณภาพและเรื่องราวจากคุณบอล
โดย: mcayenne94 วันที่: 9 ธันวาคม 2564 เวลา:12:31:30 น.
  
สวัสดีค่ะคุณทนายขอบคุณที่ไปชมขนมปังหน้าหมูนะคะ ทำไม่ยากลองทำแล้วใช้หม้อทอดไร้น้ำมันจะดีมากค่ะกรอบอร่อยไม่มีมันปนเลยค่ะ

ตามมาชมศูนย์ศิปาชีพ คิดถึงพระองค์ท่านจริงๆท่านงามอ่อนหวานมากแล้วยังทรงช่วยเหลือชาวไทยผู้ยากไร้บนดอยภาคอิสานที่แห้งแล้งให้รู้จักทอผ้าไหมและพระองค์ท่านเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์ผ้าไหมไทยไปยังต่างแดนจนมีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้นะคะ

ผ้าไหมสวยงามมากค่ะเวลาสวมใสจะเบาสบายตัวมากๆค่ะปัจจุบันคนหันมานิยมใส่ผ้าไหมไทยแล้วนะคะ
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันโหวตค่ะ

โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 9 ธันวาคม 2564 เวลา:12:37:50 น.
  
ผ้าไทยสวยงามมากค่ะ
คลายล็อคดาวน์ แต่ไมมั่นใจในความปลอดภัยเลยค่ะ
โอมิครอนก็เข้ามาแล้วด้วย ต้องระมัดระวังกันต่อไป
โดย: เนินน้ำ วันที่: 9 ธันวาคม 2564 เวลา:13:18:28 น.
  
ช่วงพักยาวๆ
บางทีก็ทำให้ไม่อยากทำอะไรเลยนะครับ 555

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 ธันวาคม 2564 เวลา:15:32:17 น.
  
สวัสดียามเช้าครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 ธันวาคม 2564 เวลา:6:53:33 น.
  
ไปมาเหมือนกันจ้า
โดย: อุ้มสี วันที่: 12 ธันวาคม 2564 เวลา:22:52:03 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]