Group Blog
สิงหาคม 2559

 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยวอยุธยา - ชวนไปชมนิทรรศการ "มัดหมี่ สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย" SACICT บางไทร - ตอนที่ 2
สถานที่ท่องเที่ยว : นิทรรศการ "มัดหมี่ สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย" ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  SACICT บางไทร - ตอนที่ 2, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 8' 55.34" N 100° 31' 15.91" E







ตั้งใจไว้ว่าจะรีบโพสกระทู้พาเที่ยว  นิทรรศการ “มัดหมี่ สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย” ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ บางไทร ให้เสร็จก่อนวันเฉมิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม แต่ท่าทางความฝันจะเลือนรางเหลือเกินครับ พึ่งจะเขียนได้ตอนเดียวเท่านั้นเองนี่ก็ปาเข้าไปวันที่ 4 แล้วครับ ยังไงก็จะพยายามเร่งนะครับ




นิทรรศการ “มัดหมี่ สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย”

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  บางไทร

ตอนที่ 2





เริ่มกันด้วยผ้าจากอินโดนีเซียอีกผืนนะครับ ผ้าฮิงกิส







ผ้าฮิงกิสเป็นผ้ามัดหมี่จากเกาะซุมบาตะวันออก ถือเป็นผ้าเอนกประสงค์ของสุภาพบุรุษคล้ายผ้าขาวม้าของไทย นอกจากจะนำมานุ่งห่มแล้วยังใช้ประโยชน์อื่นๆได้หลายอย่าง


ลวดลายที่ปรากฏบนผ้าเกิดจากการมัดหมี่เส้นยืนซึ่งตามภูมิปัญญาโบราณของชาวเกาะซุมบาตะวันออกนั้นใช้เชือกจากพืชตระกูลกล้วยนำมามัดกับเส้นด้ายจึงทำให้ลวดลายที่ได้อาจจะมีผิดจากแบบไปบ้างแต่ก็ทำให้ผ้าผืนนั้นเป็นเอกลักษณ์มีเพียงผืนเดียวในโลก ภายหลังเมื่อชาวญี่ปุ่นเอากรรมวิธีมัดหมี่แบบญี่ปุ่นโดยการใช้แม่พิมพ์ไม้มาเผยแพร่ การมัดหมี่แบบเดิมจึงหมดไปจากเกาะซุมบาตะวันออก


ลวดลายมัดหมี่ของผ้าฮิงกิสจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ แต่ส่วนมากจะทำลวดลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในโลกวิญญาณ ชีวิตหลังความตาย รูปสัตว์และลวดลายเรขาคณิต


ผ้าฮิงกิสเป็นผ้าหน้าแคบ ประมาณ 40-60 เซนติเมตร เผื่อการนุ่งห่มได้จะต้องทอให้ยาวเป็น 2-3 เท่าของความกว้างนิยมทำลวดลายชุดเดียวกัน การนำมานุ่งห่มจะตัดผ้าออกครึ่งหนึงแล้วนำมาเพลาะตามยาว ลวดลายของผ้าฮิงกิสจึงมีลวดลายที่ซ้ำกันทั้งด้านซ้ายและขวา





ผ้าฟูดาลู (FuDalu) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์



เป็นผ้ามัดหมี่ชนิดหนึ่งของเผ่าทีโบลี (T’boli) อาศัยอยู่บริเวณทะเลสาบซาบู (Sebu) จังหวัด South Cotabato เกาะมินดาเนา ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายในเผ่าทีโบลี ทอจากใยสัปปะรด หน้าแคบเพราะใช้กี่เอว มีความกว้างประมาณ 35 – 45 เซนติเมตรเท่านั้น เป็นผ้าที่ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ เชื่อกันว่าผ้าฟูดาลูเป็นผ้าศักดิ์สิทธิ์ ลวดลายทั้งหมดเกิดจากความฝันหรือการดลใจของพระเจ้า (Dream weaving) เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเทพเจ้าบนสวรรค์กับมนุษย์โลก เชื่อกันอีกว่าผู้ทอไม่ได้คิดลวดลายเองแต่เกิดจากการดลใจของพระเจ้า ลวดลายส่วนมากจะเป็นลายคล้ายขนนกหรือต้นสนต่อๆกันอย่างเป็นระเบียบ






ผ้ารีโบโซ่ สหรัฐเม็กซิโก



เป็นผ้าที่เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของสตรีชาวเม็กซิกัน ผ้ารีโบโซ่แบบดั้งเดิมมีลักษณะคล้ายผ้าขาวม้าของไทย เป็นผ้าหน้าแคบเพราะใช้กี่เอวในการทอ ต่อมาได้มีการขยายขนาดกี่ทำให้ทอผ้าได้หน้ากว้างขึ้น ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น


ผ้ารีโบโซ่มีการทำลวดลายทั้งการมัดหมี่ที่เส้นยืนและมัดหมี่แบบสองทาง (ทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง) สีที่นิยมมัดย้อม เช่น สีดำ สีน้ำเงินเข้ม สีม่วง สีแดง สีม่วง และสีเขียว ส่วนเส้นใยก็มีทั้งเส้นใยฝ้าย ถ้าเป็นผ้ารีโบโซ่ของกลุ่มชนที่อยู่บนภูเขาสูงก็จะเป็นเส้นใยขนสัตว์ ผ้ารีโบโซ่ที่ทอมาจากเส้นไหมจะใช้สวมใส่ในงานพิธีสำคัญๆเท่านั้น เมื่อทอผ้ารีโบโซ่เสร็จเรียบร้อยแล้วอาจจะนำไปตกแต่งชายหรือประดับขนนกอีกก็ได้






ผ่าซิ่นคอร์เทส สาธารณรัฐกัวเตมาลา



เป็นผ้าซิ่นชนิดหนึ่งของประเทศกัวเตมาลา ใช้ผ้าแจสแป (Jaspe) ที่ทำให้เกิดลวดลายด้วยการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ” มาเย็บเพลาะต่อกันเป็นผืนเดียว สีสันและลวดลายบนผ้าจะเป็นตัวกำหนดประเภทของการใช้งาน ซึ่งในภาษากัวเตมาลาคำว่าแจสแปแปลว่า “การมัดหมี่”ปกติแล้วผ้าซิ่นคอร์เทสจะทอด้วยเส้นใยจากฝ้ายเป็นหลัก กลุ่มชนซึ่งอาศัพอยู่บนที่สูงมีอากาศหนวเย็นตลอดปีจะใช้เส้นใยจากขนสัตว์มาทอเป็นผ้าซิ่นคอร์เทส ส่วนผ้าซิ่นคอร์เทสที่ทอจากเส้นใยจากไหมจะนำมาตัดเย็บชุด “ซอเบรฮุยพิลส์” (Sobrehulpils) สำหรับสวมใส่ในโอกาสพิเศษ จะมีลักษณะคล้ายเครื่องแต่งกายของเผ่าปกาเกอญอ ในประเทศไทย






เสื้อคลุมสตรี สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน


สาธารณรัฐอุซเบกิสถานตั้งอยู่บริเวณเอเชียกลาง เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในเส้นทางสายแพรไหมระหว่างประเทศจีนกับยุโรป ดังนั้นกรรมวิธีการทอ การมัดหมี่ และลวดลาย ของประเทศต่างๆจึงมารวมกันอยู่ที่อุซเบกิสถานด้วย

ขั้นตอนการมัดหมี่ของอุซเบกิสถานมีวิธีการที่สลับซับซ้อนมากเริ่มต้นด้วยการมัดเส้นใยที่ไม่ต้องการให้ติดสีด้วยเส้นใยฝ้ายที่มีขนาดใหญ่และหนาเป็นลวดลายแล้วแต่จินตนาการของผู้มัดแล้วจึงนำขี้ผึ้งละลายป้ายทับลงไปเพื่อจะแน่ใจว่าสีจะไม่ติดส่วนที่มัดด้วยฝ้าย แล้วน้ำไปย้อมสี ถ้าต้องการจะทำลวดลายสีอื่นๆก็จะต้องทำขึ้นตอนนี้ซ้ำๆกันจนกว่าจะเสร็จ จึงจะนำไปต้มเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายออกหมดแล้วจึงแกะเส้นฝ้ายที่ทำการมัดเอาไว้ แล้วจึงนำเส้นยืนนี้ไปตัดออกตามความยาวที่พอใจแล้วทอด้วยกี่เอวจึงทำให้ได้ผ้าที่หน้าแคบมาก เวลาจะนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มจะต้องนำผ้าสองผืนมาเย็บเพลาะติดกัน


เอกลักษณ์ของผ้ามัดหมี่ของประเทศอุซเบกิสถานที่แตกต่างไปจากผ้ามัดหมี่ของประเทศอื่นๆนั้นไม่ได้อยู่ที่ลวดลายและเทคนิค แต่อยู่ที่ขั้นตอนหลังการทอเป็นผืนแล้ว ผู้ทอจะนำไข่ขาวมาทาให้ทั่วผืนผ้า ผึ่งให้แห้งแล้วเอาท่อนไม้กลมทุบด้วยความแรงเท่าๆกัน เชื่อกันว่าไข่ขาวที่เคลือบผืนผ้าจะทำปฎิกิริยากับเส้นใยทำให้ผ้านุ่ม เรียบ






ผ้าปูดาลาบันก้า (Pou Dala Bunga) เกาะซูวา (Sava) เกาะโรตี (Roti) และเกาะเนา (Nadao สาธารณรัฐอินโดนีเซีย



ปูดาลาบันก้า มีความหมายว่า ผ้าโสร่งมัดหมี่ เป็นภาษาของชาวเกาะโรตี เป็นเครื่องแต่งกายประจำเผ่าของชาวเกาะที่ใส่ไนงานเฉลิมฉลองทั้งชายและหญิง โดยผู้ชายจะใช้ผ้ามัดหมี่ขนาดสั้นนุ่งเป็นโสร่งและใช้ผ้ามัดหมี่อีกสองผืนใช้พาดไหล่ ส่วนผู้หญิงจะใช้ผ้ามัดหมี่นุ่งแบบยาวหรือ “ซาเลนดัง” (Salendang) โดยชายผ้าด้านบนใช้เคียนอกปล่อยชายผ้านุ่งยาวกรอมเท้าซึ่งจะต้องใช้ผ้ามัดหมี่ 3-4 ผืนมาเย็บต่อกันตามความสูงของผู้สวมใส่เพราะเป็นผ้าที่ทอจากกี่เอวจึงมีขนาดหน้าผ้าที่แคบ







ผ้าปูดาลาบันก้า ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืนเพราะได้รับอิทธิพลมาจากผ้า “ผ้าปาโตลา” ของอินเดีย จากการค้าขายของบริษัทดัทช์ อีส อินเดีย ผ้าปูดาลาบันก้าแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่จะเป็นลายเรขาคณิต ลายเถาไม้ ส่วนผ้าที่ได้รับอิทธิพลจากผ้าปาโตลาจะมีลายงู ลายดอกไม้ และลายนก





ผ้าซัมป๊วตโฮล ราชอาณาจักรกัมพูชา






ผ้าซัมป๊วตโฮลเป็นผ้านุ่งของทั้งบุรุษและสตรี (ซัมป๊วต หรือ สมพรต แปลว่าผ้านุ่ง) ใช้กรรมวิธีมัดหมี่เส้นพุ่งโดยได้รับอิทธิพลการมัดหมี่มาจากอินเดียโดยตรง มีเอกลักษณ์พิเศษคือการทอใช้ตะกอตั้งแต่สามตะกอขึ้นไปทำให้ได้ผ้าเนื้อแน่น สีด้านหนึ่งเข้มกว่าอีกด้านหนึ่ง นิยมใช้สีหลัก 5 สี คือ สีดำ สีแดง สีฟ้า สีเหลือง และสีเขียว






ผ้าซัมป๊วตโฮลจองกระเบน ราชอาณาจักรกัมพูชา


เป็นผ้านุ่งที่ใช้สำหรับบุรุษนิยมนุ่งในพิธีสำคัญๆทอด้วยกรรมวิธีมัดหมี่มีลักษณะเป็นผืนผ้าสี่เหลี่ยมยาว มีความยาวประมาณ 3-4 หลา ใช้นุ่งแบบโจงกระเบน โครงสร้างของผ้าจะแบ่งออกเป็นสามส่วน


1. ส่วนท้องผ้า เป็นส่วนที่มีพื้นที่มากที่สุด เป็นช่วงลายหลัก ลวดลายมัดหมี่ที่นิยม เช่น ลายดอกไม้ ลายเครือเถา ลายตาราง เป็นต้น

2. เชิงผ้าหรือขอบผ้า จะเป็นส่วนที่ขนาบกับส่วนท้องผ้าไปตลอดผืน ขอบผ้าจะนิยมมัดลายเป็นแถบมีเส้นกั้นพื้นที่เป็นลายโคมหรือลายกรวยเชิง

3. ชายผ้า ส่วนนี้ไม่นิมมัดหมี่เป็นลายแต่จะทำเป็นเส้นแถบเล็กๆ หมายถึงการจบลายของผ้า

ต่อมาโครงสร้างผ้านี้ได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมการทอและการแต่งกายของผู้คนในภาคอีสานของไทย อีกทั้งยังเป็นลายผ้าต้นแบบดั้งเดิมก่อนที่จะทำการสลายลายจนกลายมาเป็น “ผ้าซิ่นโฮล” ของสตรีในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์






ผ้ากาซือริ (Gasuri) ประเทศญี่ปุ่น






กาซือริ (Gasuri) หรือ คาซือริ แปลว่า การมัดย้อมเส้นใยให้เป็นรูปก่อนการทอ ซึ่งตรงกับคำว่า มัดหมี่ ในภาษาไทย การทอผ้ามัดกาซือริมีทั้งการมัดหมี่ที่เส้นพุ่ง (Yoko Gasuri) และการมัดหมี่ที่เส้นยืน (Tate Gasuri) และการมัดหมี่ทั้งสองทาง (Yoko – Tate Gasuri) ซึ่งการมัดหมี่นั้นเกิดขึ้นในญี่ปุ่นประมาณศตวรรษที่ 12-13 ในช่วงอาณาจักรริวคิวซึ่งปัจจุบันคือเมืองโอกินาวาซึ่งอยู่ใต้สุดของญี่ปุ่นแล้วค่อยๆแพร่ขยายความนิยมไปทางตอนเหนือ






ผ้ากาซือริมีทั้งที่ทอจากผ้าไหมและผ้าฝ้าย ทอจากกี่เอว มีวิธีการมัดหลายแบบ เอกลักษณ์ของผ้ากาซือริคือจะต้องมีการคำณวนขนาดที่จะนำไปตัดกิโมโนะเสียก่อนจึงจะลงมือทอ







โฮลพิดาน


ผ้าโฮลปิดาน หรือ ปิดาน หรือ โฮลปฎาน (โฮล – ปะ – ดาน) เป็นผ้าโฮลหรือผ้ามัดหมี่ชนิดหนึ่งในวัฒนธรรมของประเทศกัมพูชา นิยมทอด้วยไหมใช้กรรมวิธีมัดหมี่ที่เส้นพุ่ง เป็นผ้าที่ทอขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ขึงเพดานของศาสนสถานเหนือเศียรพระพุทธรูป ชาวกัมพูชามีคติความเชื่อว่าการถวายผ้าปิดานเป็นพุทธบูชาจะได้กุศลสูงสุด ผู้ทอจึงใช้ความประณีตในการทอ ลวดลายที่ตกแต่งจึงเป็นลวดลายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ นิยมทอลวดลายพุทธประวัติ ชาดก หรือพระธาตุเจดีย์ และลวดลายที่เป็นมงคล






ผ้าโจงมัดหมี่ท้องพรรณ ราชอาณาจักรกัมพูชา



ผ้าท้องพรรณเป็นผ้าที่ทอขึ้นในราชอาณาจักรกัมพูชาสำหรับบุรุษนุ่งแบบโจงกระเบน ถือว่าเป็นผ้าปูม หรือสมปักปูมแบบหนึ่ง ต่างกันตรงที่บริเวณท้องผ้าไม่มีลายแต่ย้อมเป็นสีพื้นเรียบๆ บางครั้งอาจจะเรียกตามสีของท้องผ้า เช่น ผ้าท้องน้ำเงิน เป็นต้น


สีพื้นบนท้องผ้าเกิดจากการมัดหมี่เส้นพุ่ง ทอยกสามตะกอ โดยมีการสลับกับการมัดลายขนาดใหญ่บริเวณขอบผ้าหรือสังเวียนผ้า เช่น ลายหมากจับ หรือลายไล่เขมร มีลายช่อแทงท้องพุ่งเข้าสู่ท้องผ้าทั้งสี่ด้าน และมีลายกรายเชิงถึง 3 ชั้น จำนวนชั้นของลายมัดหมี่กรวยเชิงแสดงถึงความสำคัญของผู้สวมใส่






ผ้าสมปักปูมลายราชวัตร ราชอาณาจักรกัมพูชา



ผ้าสมปักปูม ใช้เรียกชื่อผ้าทอด้วยไหมในประเทศกัมพูชาสำหรับบุรุษนุ่งเป็นโจงกระเบนใช้กรรมวิธีมัดหมี่ที่เส้นพุ่ง ผ้าสมปักปูมที่เห็นทั้งหมดนี้มีความงดงาม ถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วนของการทอ เป็นผ้าที่ส่งเข้ามาถวายเป็นราชบรรณการแก่ราชสำนักสยาม มีสังเวียนขนาบตามความยามป้าทั้งสองด้าน มีลายช่อแทงท้อง ส่วนท้องผ้าเป็นมัดหมี่ลายราชวัตร และมีลายกรวยเชิงเฟื่องอุบะ 3 ชั้น






ลายราชวัตร หรือลายสี่เหลียมย่อมุมไม้สิบสอง ลายสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบหก หรือลายสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ เป็นการเรียกลายเหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มิได้มีแต่กรรมวิธีมัดหมี่เท่านั้น กรรมวิธีการทอแบบอื่นๆก็มีลายราชวัตรอยูด้วย เช่น ผ้ายกลายราชวัตรจากเกาะยอ สงขลา หรือผ้ายกดอกราชวัตร จากผ้ากลุ่มอีสานใต้






ผ้ามัดหมี่ สาธารณรัฐอินเดีย



ผ้ามัดหมี่เป็นวัฒนธรรมของประเทศอินเดียมานานกว่า 1000 ปี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบว่าวัฒนธรรมการมัดหมี่มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จากภาพจิตรกรรมทีถ้ำอาชันต้า (Ajanta) ถือกันได้ว่าอินเดียเป็นต้นแบบของผ้ามัดหมี่ของหลายๆประเทศในเอเชีย โดยประเทศเหล่านั้นรับวัฒนธรรมมัดหมี่ผ่านการค้าและศาสนาฮินดู







ผ้าปาโตลา (Patola) สาธารณรัฐอินเดีย



ผ้าปาโตลาเป็นผ้ามัดหมี่ที่ทอขึ้นในแคว้นคุดชราด หรือ กุจารัฐ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยนผืนผ้ามีความยาว 4-6 หลา ใช้กรรมวิธีการมัดหมี่แบบสองทางคือทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ทำให้เกิดลวดลายที่คมชัด สวยงาม ถือเป็นสุดยอดของผ้ามัดหมี่ นิยมสีสด เช่น แดง เขียว เหลือง สีคราม






ผ้าปาโตลาเผยแพร่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมๆกับการค้ากับชมพูทวีปและการเผยแพร่ศาสนาฮินดู ในอินโดนีเซียผ้าปาโตลาถูกสงวนไว้สำหรับราชสำนักเท่านั้น ในกัมพูชา ลาว และไทยรับเอารูปแบบ กรรมวิธี และลวดลายของผ้าปาโตลาเข้ามาใช้กับผ้าพื้นเมือง






และทั้งหมดนี่ก็คือผ้ามัดหมี่จากกลุ่มประเทศเอเชียที่นำมาจัดแสดงไว้ บล็อกท่องเที่ยวคราวหน้าจะเป็นตอนสุดท้าย - ผ้ามัดหมี่ในประเทศไทยครับ





อีกช่องทางหนึ่งในการติดตามการท่องเที่ยวแบบตามใจทนายอ้วนครับ



ทนายอ้วนพาเที่ยว - ChubbyLawyer Tour



https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/






Chubby Lawyer Tour …………… เที่ยวไป...........ตามใจฉัน






SmileySmileySmiley




Create Date : 08 สิงหาคม 2559
Last Update : 8 สิงหาคม 2559 13:51:48 น.
Counter : 7042 Pageviews.

21 comments
  
สวยทุกผืนเลยค่ะ
โดย: touch the sky วันที่: 8 สิงหาคม 2559 เวลา:14:44:16 น.
  
งานฝีมืองดงามทุกผืนเลยครับ
โดย: แมวเซาผู้น่าสงสาร วันที่: 8 สิงหาคม 2559 เวลา:20:05:58 น.
  
สวยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกจ๊ะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 8 สิงหาคม 2559 เวลา:22:30:54 น.
  
สวยทุกผืนเลยนะคะ

ขอบคุณที่แวะไปอวยพรน้องเมฆด้วยค่ะ
โดย: zungzaa วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:7:35:18 น.
  
สวยนะคะ คนชอบผ้าคงชมเพลินไปเลย
ปล.แหนมย่างกับไส้กรอกอีสาน ซื้อมาเยอะค่ะ
แต่กินคนเดียวเลยใส่จานแค่นั้นค่ะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:9:12:44 น.
  
งานสวยมากเลยค่ะพี่

ช่วงนี้น้องมีนงานยุ่ง
เพิ่งได้เข้ามาอ่านบล๊อกพี่ๆ

แวะมาทักทายด้วนค่ะ
โดย: together_ws วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:12:59:04 น.
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:14:07:41 น.
  
ผ้าสวยเนอะ คนไทยมีฝีมือจริง ๆ
โดย: Close To Heaven วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:14:20:32 น.
  
สวยคะเอาผ้าไหมไทย
อยากได้ชุดกิโมโนมาใส่สักชุดจังนะคะ
อ้าว โหวตไม่ได้คะ

ขออภัยค่ะ ระบบจะไม่บันทึกการโหวตนี้
เพราะได้บันทึกคะแนนโหวตให้ Blog นี้
ในสาขา Travel Blog ในวันที่ผ่านมาไปแล้วค่ะ
โดย: Mitsubachi วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:15:32:35 น.
  
ตอนที่ 1 อยู่ไหนคะ คุณบอล

วิจิตรงดงามกันคนละแบบ สวยมาก ดูแลรักษาดีมากค่ะ

ช่วงนี้มีนิทรรศการงานแสดงเกี่ยวกับผ้า ฉลองพระองค์ หลายที่ พี่ถามเจ้าหน้าที่แล้ว เค้าไม่ให้ถ่ายภาพ เลยคิดว่า อาจจะไม่ไปดูค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Music Blog ดู Blog
mastana Literature Blog ดู Blog
lovereason Literature Blog ดู Blog
อุ้มสี Travel Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


** ที่พี่เคยถาม เคยไปมา มัสยิด ถ่ายรูปภายในได้ค่ะ ยกเว้นตอนกำลังทำพิธี
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:19:32:49 น.
  
แวะมาเยี่ยมค่า
โดย: Hathi วันที่: 10 สิงหาคม 2559 เวลา:9:19:08 น.
  
ผ้าสวยนำมาตัดเป็นชุดก็งามมากกกเลยค่า
พุทราเป็นคนชอบผ้าแบบนี้นะ
และบางทีก็ใส่ผ้าไทยไปทำงานด้วยค่า
โดย: prizella วันที่: 10 สิงหาคม 2559 เวลา:14:35:38 น.
  
ผ้าสวยๆ ทั้งนั้นเลย เป็นงานที่น่าไปมากค่ะ
โดย: sawkitty วันที่: 10 สิงหาคม 2559 เวลา:17:51:22 น.
  
ลวดลายสวยงามมากๆ เลยค่า
เห็นแล้วเอามาประยุกต์ตัดกับชุดแั่นตามสมัย
สวยและปังมากๆ เลยคา ชอบๆ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog
ซองขาวเบอร์ 9 Food Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Art Blog ดู Blog
Opey Diarist ดู Blog
mastana Literature Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog



โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 10 สิงหาคม 2559 เวลา:20:53:18 น.
  
ต๋าได้ฟังข่าวประชาสัมพันธ์งานนี้แต่ยังไม่มีโอกาสไปชมเองค่ะคุณบอล
ขอบคุณคุณบอลมากนะคะที่นำภาพมาให้ชม
งดงามมากค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Food Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Book Blog ดู Blog
ซองขาวเบอร์ 9 Food Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog

...................................

โดย: Sweet_pills วันที่: 10 สิงหาคม 2559 เวลา:21:17:22 น.
  
มาชวนเที่ยวชุมพรครับผม...เมืองเล็กแต่มีมนต์เสน่ห์นะขอบอก...ต้องลองสัมผัสดูนะคร้าบ....อิอิ
โดย: สมาชิกหมายเลข 3322300 วันที่: 11 สิงหาคม 2559 เวลา:1:17:30 น.
  
อยากใส่มากเลยค่ะ สวยบาดใจ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 สิงหาคม 2559 เวลา:10:23:56 น.
  
โอ้ววววว ผ้าทอมัดหมี่ เจ้าขา สวยจังเลย
ไม่อยากจะคิด ไม่อยากถามถึงราคาของแต่ละผืนเลย
ิยิ่งเป็นผ้าไหมแพรว่า ราคาเรือนแสนเชียวคะ

ช่วงนี้เขาพากันนุ่งซิ่นแต่งไทย อยากไปรื้อเข็มขัด สร้อยเงิน เงินออกมา
แต่คงจะดำปิ๊ดปี๋ ลืมเลือนไปแล้วคะ เอามาแต่งพร้อมกับนุ่งซิ่น

แต่ตอนนี้ไปไล่ตามชมผ้ามัดหมี่ และผ้าทอมือแต่ละผืน ได้ความรู้มากคะ
แต่ตอนนี้ดวงตาของพี่หญิง ตะลึงจนตาลายยยย แล้วคร้าาาา
โดย: บ่งบ๊ง วันที่: 11 สิงหาคม 2559 เวลา:19:55:08 น.
  
สวยงามมากครับ
ไม่น่าเชื่อนะครับ จากประโยชน์เริ่มแรกของการทอผ้าผืนแรก
ที่ไว้กันร้อน หนาว เหลือบยุงลิ้น ถูกแต่งเติมความหมายให้กลายเป็น
ของที่มีคุณค่ามาก ขนาดบ่งบอกถึงสถานะของผู้ครอบครองได้เลยทีเดียว

โลกแห่งสมมุติหลอมเราจนกลายเป็นเนื้อเดียวกับมัน
จนเราลืมโลกของความเป็นจริงไปเลยนะครับ
โดย: หมุนตามไมล์ วันที่: 14 สิงหาคม 2559 เวลา:0:01:30 น.
  
ตามมาชมต่อค่ะ สวยมากๆเช่นเคย ไม่กล้าถามราคาเลยค่ะ
โดย: touch the sky วันที่: 14 สิงหาคม 2559 เวลา:17:16:07 น.
  
แวะมาชมผ้างาม ๆ ค่า
โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 15 สิงหาคม 2559 เวลา:12:37:45 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 157 คน [?]