Group Blog
All Blog
|
ทนายอ้วนพาเที่ยวเมืองกรุง - วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เทเวศน์ สถานที่ท่องเที่ยว : วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เทเวศน์, กรุงเทพมหานคร ดุสิต Thailand พิกัด GPS : 13° 46' 20.24" N 100° 30' 6.68" E วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เทเวศน์ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 90 ต้นถนนศรีอยุธยา ปากคลองผดุงกรุงเกษม แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2400 ที่ตั้งวัดเนื้อที่ 20 ไร่ และยังมีที่ธรณีสงฆ์แปลงที่แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 94 ตารางวา มีหนังสือกรรมสิทธิ์ คือโฉนดที่ดินเลขที่ 8902 การเดินทางไปยัง วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ให้เลี้ยวจากถนนสามเสน เข้าถนนศรีอยุธยา ตรงแยกสี่เสาเทเวศร์ (ข้างๆหอสมุดแห่งชาติ) ที่จะลงไปแม่น้ำเจ้าพระยา ขับไปจนสุดถนน อาณาเขตของ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ทิศเหนือติดกับถนนศรีอยุธยา ตอนโค้งลงแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตท่าวาสุกรี ทิศใต้ติดกับปากคลองผดุงกรุงเกษม และตลาดเทวราช ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทิศตะวันออกติดกับถนนศรีอยุธยา และตลาดเทวราชของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตอภัยทานท่าน้ำวัดเทวราชกุญชร วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คนทั่วไปเรียกกันว่า วัดสมอแครง สันนิษฐานว่าชื่อ สมอ มาจากต้นสมอที่ขึ้นกระจายอยู่ภายในวัด แต่บางท่านสันนิษฐานว่าคำว่า สมอ เพี้ยนมาจากคำว่า ถมอ (ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่า หิน วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า ถมอแครง แปลว่า หินแกร่งหรือหินแข็ง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระเชษฐภคินีในรัชกาลที่ 1 ผู้ทรงเป็นต้นสกุลมนตรีกุล ตามลำดับ ในการบูรณะฯ นั้นได้รับการอุปถัมภ์โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ (ต้นสกุลกุญชร ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์สิ้นพระชนม์แล้ว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ พระโอรสทรงอุปถัมภ์ หลังจากนั้นเจ้านายผู้สืบสกุลกุญชรให้ความอุปถัมภ์โดยลำดับต่อมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร โดยทรงนำคำว่า เทวราช แปลว่าพระอินทร์ มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งแปลว่าช้าง รวมความแล้วแปลว่า ช้างพระอินทร์ สมัยพระบทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ปรากฏชัดว่า วัดสมอแครง ใช้เป็นสถานที่ฌาปนกิจศพของขุนนางฝ่ายวังหน้า เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงพระนคร และเป็นวัดในเขตความรับผิดชอบของวังหน้า ดังปรากฏหลักฐานในในหมายรับสั่งรัชกาลที่ 2 จุลศักราช 1183 (พุทธศักราช 2364) เลขที่ 2 ระบุว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงศพจมื่นจงขวา ขุนนางสังกัดพระอาลักษณ์ฝ่ายวังหน้า ณ วัดสมอแครง เมื่อวันแรม 6 ค่ำ พุทธศักราช 2364 ว่า "....ด้วยพระยาธารมารับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่าจะได้ชักศพจมื่นจงขวาบ้านอยู่ ณ คลองบางลำพู บ้านพระอาลักษณ์วังหน้า ไป ณ เมรุวัดสมอแครง ณ วันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ เพลาเช้า ครั้นเพลาบ่าย จะพระราชทานเพลิงนั้นให้ชาวพระคลังวิเสทรับเลกต่อพระสัสดี ต่อพันพุฒ พันเทพราช ๒๐ คน ถอยเอาเรือขนานลำหนึ่งไปรับศพที่บ้าน...." ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบูรณะซ่อมแซม วัดสมอแครง อีกครั้งหนึ่ง ดังปรากฏหลักฐานในราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่า "กรมหมื่นพิทักษ์เทเวศร์บูรณะวัดสมอแครงวัด ๑..." การซ่อมแซมวัดสมอแครงครั้งนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะตรงกับ พุทธศักราช 2392 เนื่องจากพบหลักฐานสมุดไทยร่างสารตรา หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 หมู่จุลศักราช 1211 (พุทธศักราช 2329) ระบุว่าเจ้าพระยาจักรีมีสารตราไปถึงพระยาพิษณุโลก พระยาสวรรคโลก พระยาสุโขทัย พระยาพิชัย พระยาพิจิตร พระยาแก้วกำแพงเพชร พระยาตาก พระยานครสวรรค์ พระยาเถิน ให้เกณฑ์ตัดไม้ขอนสักซ่อมแซมวัดมหาธาตุ วัดพรหมสุรินทร์ และวัดสมอแครงสาเหตุที่ต้องบูรณะวัดสมอแครงเนื่องจากพระอุโบสถเดิมมีขนาดไม่เพียงพอต่อการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพระอุโบสถวัดสมอแครงให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ดังความในร่างสารตราดังกล่าวว่า “ด้วย สมเต็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยารชิรญาณวโรรส พระมหาสมณะ ประ ทาน รายงาน บฏิถังขรณ์ ของพระครูสมุห์วรคณิศรสิทธิการ ผู้รั้งเจ้าอาวาสวัดเทวราชรุญชร มายัง กระทรวงธรรมการ ว่า พระครูสมุห์วรคณิศรสิทธิการ ได้เบิกเงินราย ทรงพระราชอุทิศ ๒,๐๐๐ บาท กับเงิน ผลประโยชน์ ขวง วัดเทวราชกุญชรอีก ๔,๗๘๘ บาท ๔ สตางค์ ไป จากกระทรวงธรรมการ แลเริยไรจาก ท่าน ที่ ทรง พระศรัทธา และ ศรัทธาได้ ๓,๕๐๔ บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๑๐,๙๒๙ บาท ๔ สตางค์ จักการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ กุฏิ ๓ หลัง ก่อถนนในวัต ๑๔ สายแล้วเสร็จ มีราย พระนาม และ นามผู้บริจาคทรัพย์ แจ้ง ต่อไปนี้ …” พระอุโบสถ มีขนาดใหญ่และสูง กว้าง 17 เมตร ยาว 36 เมตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ (ต้นสกุลกุญชร ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สร้างขึ้น มีเขตพัทธสีมา กว้าง 26 เมตร ยาว 43.50 เมตร มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์อยู่ทั้ง 4 มุม ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในปี พ.ศ. 2555 คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถานอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนและดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2556 นอกจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ยังทรงมีพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้พระอุโบสถบูรณะปฎิสังขรณ์พระอุโบสถของ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร โดยลำดับอีกด้วย ![]() ![]() ![]() พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานบนฐานชุกชี ขนาดหน้าตักกว้าง 4.35 เมตร สูงตั้งแต่พระเพลาถึงยอดเปลวรัศมี 5.65 เมตร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร พระราชทานนามว่า พระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 นอกจากนั้น เมตร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งล้านบาทถ้วนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถด้วย ประวัติของ พระพุทธเทวราชปฏิมากร คุณหลวงวรศักดิ์ภูบาล เล่าว่า .... “ในหลวงรัชกาลที่ 3 ทรงทราบมาว่ากรุงศรีอยุธยาพบพระทององค์ใหญ่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพระพิทักษ์เทเวศร ไปอันเชิญลงมายังพระนคร เสด็จในกรมฯ ได้ทรงต่อแพอันเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ล่องลงมา ครั้นถึงปากคลองเทเวศร์ แพเกิดดื้อฉุดเท่าไรก็ไม่มายังตำหนักแพ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพระพิทักษ์เทเวศร อันเชิญพระพุทธรูปนี้ขึ้นที่ วัดสมอแครง” สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระวินิจฉัยที่มาของ พระพุทธเทวราชปฏิมากร ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า “ ... หม่อมฉันไปทอดกฐินวัดเทวราชกุญชร สังเกตเห็นพระพักตร์พระพุทธรูปหล่อที่เป็นพระประธานในโบสถ์ เป็นลักษณะแบบพระสมัยทวารวดี แต่องค์พระเป็นพระแบบกรุงรัตนโกสินทร์ สืบตามได้ความว่า พระประธานองค์นั้นกรมพระพิทักษ์เทเวศร์อันเชิญลงมาจากเมืองลพบุรี ก็เข้าใจว่าคงได้แต่เศียรมาหล่อองค์ที่ในกรุงเทพ ฯ หม่อมฉันจำขนาด ไปตรวจดูที่เมืองลพบุรี เมื่อภายหลังก็พบกับแหล่งเดิม ว่าเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ วัดอื่นหามีที่ตั้งพระพุทธรูปขนาดใหญ่เท่านั้นไม่...” การถวายเครื่องสักการะแด่องค์พระพุทธเทวราชปฏิมากร นับว่าแปลกกว่าวัดอื่นๆ เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมถวาย “ผ้าไตร” แทนดอกไม้ธูปเทียน นับเป็นวัดแรกในประเทศไทยที่มีการนำผ้าไตรมาเป็นเครื่องสักการะพระพุทธรูปที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ให้ผลสัมฤทธิ์ตามที่ปรารถนา มาจนทุกวันนี้ ![]() เจ้าของบล็อกรู้สึกแปลกตาตั้งแต่ก้าวเข้าไปในพระอุโบสถแล้ว เมื่อลองพิจารณาดูดีๆ ก็คงเป็นเพราะว่า สีของภาพจิตกรรมผนัง ทำให้บรรยากาศในพระอุโบสถแปลกออกไปจากวัดแห่งอื่นๆ จิตรกรรมฝาผนังเป็นแบบไทยประเพณี แต่สีของภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็น สีน้ำเงินน้ำทะเล เป็นหลักครับ ซึ่งต่างจากจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณีที่จะมีพื้นสีแดงเป็นหลัก ด้านหลังพระประธาน ด้านข้างตอนบนเหนือช่องหน้าต่างทั้ง 2 ด้าน และด้านตรงข้ามกับพระประธาน เขียนภาพเหตุการณ์เหล่าเทพยดามาชุมนุมกัน ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านล่างระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพภิกษุกำลังปลงอสุภกรรมฐาน ส่วนจิตรกรรมที่ผนังตอนล่างระหว่างช่องประตูหน้าเป็นภาพทศชาติ เรื่อง สุวรรณสาม และด้านหลังเป็นภาพวัดเทวราชกุญชรเดิมก่อนที่จะมีการสร้างพระอุโบสถหลังนี้ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พระวิหาร ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ ภายในกำแพงแก้ว เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปต่างสมัย ทำด้วยทองเหลือง ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว สูง 43 นิ้ว จำนวน 9 องค์ ซึ่พระบามสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานแก่วัดเทวราชกุญชร (ปางสมาธิ ศิลปะสมัยทวารวดี ปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอู่ทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ปางลีลา ศิลปะสมัยสุโขทัย ปางสมาธิ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปางสมาธิ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง พระคันธารราษฎร์) ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์ไม้สักทองวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร อาคารพิพิธภัณฑ์สักทอง ลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ใช้เสาไม้สักทองทั้งหลัง ขนาดเสา 2 คนโอบที่มีอายุประมาณ 479 ปี พิพิธภัณฑ์ไม้สักทองวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ไม้สักทอง และเป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เมื่อครั้งที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อคั้งที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา ภายในจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งเท่าพระองค์จริงของสมเด็จพระสังฆราช 19 พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เปิดทุกวัน เวลา 07.00 - 18.00 น. ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่เอื้อเฟื้อข้อมูลทำให้การท่องเที่ยวของเรามีสาระมากขึ้นครับ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร – วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วัดเทวราชกุญชร – ท่องวัดผ่านเว็บ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร – ศูนย์กลางข้อมูลด้านศาสนา รักษ์วัดรักษ์ไทย : วัดเทวราชกุญชร สง่างามสมนาม “ช้างพระอินทร์” - mgronline.com ![]() ![]() ![]() เก็บไว้ตามรอยเที่ยววัดใน กทม. ด้วยคนค่ะ
โดย: Emmy Journey พากิน พาเที่ยว
![]() ดีจังคุณบอลได้ไปเที่ยวแถวนั้น เมื่อก่อนผมป้วนเปี้ยนแถวท่าน้ำเทเวศน์
ไปกินอาหารฝรั่ง 555 เชพไทยมาขายเอง แต่ไม่ได้เข้าวัดครีับ 555 โดย: ไวน์กับสายน้ำ
![]() ![]() สวัสดีครับ
มาเที่ยววัดด้วยครับ ภายในพระอุโบสถ งานตกแต่งและจิตรกรรมฝาผนังสวยมากครับ ขอให้มีความสุขเช่นกันครับ ![]() ![]() โดย: Sleepless Sea
![]() ![]() เป็นวัดใหญ่ที่สวยงามสง่ามากเลยนะครับคุณบอล
อาคารสูงโปร่ง ภายในก็สวยงามมากๆ เดินเป็นชั่วโมงได้สบายเลย เชียงใหม่วันนี้ร้อนมากเลยครับ ยังไม่ค่อยเหมือนจะมีฝนสักเท่าไหร่ แต่ร้อนอบอ้าวมาหลายวันแล้วล่ะครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() ภาพจิตรกรรมฝาผนังใช้สีน้ำเงินน้ำทะเลเป็นหลัก
ยิ่งทำให้สวยแปลกตาค่ะคุณบอล ขอบคุณคุณบอลที่พาเที่ยวนะคะ มีโอกาสน่าไปบ้างค่ะ ขอบคุณที่แวะชมเมนูบ้านต๋าค่ะคุณบอล ![]() โดย: Sweet_pills
![]() ![]() สวัสดีค่ะคุณบอล
วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร สวยค่ะ ภายในพระอุโบสถ ก็สวยงามมากเลยค่ะ พี่ชอบจิตรกรรมฝาผนังมากค่ะ ..... วาซาบิคงชินกับการอยู่ในบ้านไม่ออกไปไหนแล้วมั้งคะ เพราะอยู่นานเกิ๊น 555 อย่างเราๆนี่แหละค่ะ อยู่จนชินไม่อยากออกไปไหนค่ะ กว่าพี่จะงัดตัวเองออกไปได้ก็นานพอดูค่ะ แต่พอได้ออกไปแล้วก็คือต้องไปทุกวันค่ะ ขาดไม่ได้ 555 ตอนนี้สุขภาพของคุณบอลโอเคแล้วนะคะ เรื่องภูมิแพ้ น่ะค่ะ สุขกายสบายใจนะคะคุณบอล โดย: tanjira
![]() ขอบคุณมือเจิมโหวตค่ะ
วัดเทวราชกุญชร จริง ๆ ก็ไปแถวนั้นบ่อยนะคะ แต่ไม่ได้เข้าวัด มัวไปเดินตลาดแล้วก็ซื้อต้นไม้แถวนั้นค่ะ พูดแล้วเขินจัง 555 โดย: ฟ้าใสวันใหม่
![]() ![]() ของหมิงก็เพิ่งคุยไปครับ
พอจบเทอมครูก็ประชุมทางซูม พบครูทีละบ้าน หลังจากนั้นก็แจกสมุดพกครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() |
BlogGang Popular Award#19
![]() ทนายอ้วน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Friends Blog
|