Group Blog
สิงหาคม 2565

 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยวอยุธยา - วัดมเหยงคณ์ อยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดมเหยงคณ์ อยุธยา, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 21' 49.11" N 100° 35' 41.67" E

 




บล็อก  “ท่องเที่ยวไทย”  ในบล็อกนี้เจ้าของบล็อกยังคงขอกลับไปคง  concept  การท่องเที่ยวแบบเดิมๆนะครับ  คือ  การไปเที่ยวชม  วัดเก่าๆ  โบราณสถานต่างๆ  ครับ
 



 
 
บล็อก 
 “ท่องเที่ยวไทย”   ใน  entry  นี้ก็ขอพาๆไปเที่ยวสวย ๆ  ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากันอีก  1  บล็อกครับ  วันนี้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากทั้งในเรื่องความสวยงามและแปลกตาของโบราณสถาน  และยังมีชื่อเสียงในการที่เป็นวัดสายกรรมฐานที่มีคนไปปฎิบัติธรรมกันเยอะมากอีกด้วยครับ
 
 






วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา 
 




 

วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา  เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย   ตั้งอยู่  หมู่ที่  5   ตำบลหันตรา  อำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  อยู่นอกเกาะเมืองมาทางทิศตะวันออก  ถ้าเดินทางมาจากถนนสายเอเชียแยกเข้าสู่ถนนโรจนะเพื่อมุ่งเข้าเกาะเมือง  พอมาถึงเจดีย์วัดสามปลื้มเลี้ยวขวาอ้อมวงเวียนมาตามถนนระยะทางประมาณ  1.5  กิโลเมตร ก็จะถึงทางเข้า  วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา   อยู่เยื้องๆกับวัดกุฎีดาวเลยครับ  ตัว  วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา  จะต้องเข้าซอยมาอีกนิดนึงครับ
 
 











วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา   เป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่มาก  และเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกเผาทำลาย  แต่ปรักหักพังไปตามกาลเวลาจึงยังคงหลงเหลือรายละเอียดในการประดับตกแต่งอยู่มาก
 
 
 


ในสมัยอยุธยา 
วัดมเหยงคณ์  เคยเป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระที่เคยสำคัญยิ่ง  ประวัติการสร้าง  วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา   แตกออกเป็น  2  ทาง  คือ
 
 




ทางแรก  ตามพงศาวดารเหนือได้บันทึกไว้ว่าเมื่อประมาณปี  พ.ศ 1844 – 1853  พระนางกัลยาณี  มเหสีของพระเจ้าธรรมราชา  กษัตริย์องค์ที่ 8  ของกรุงอโยธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์   (ยังมีบันทึกต่อไปว่าพระนางกัลยาณีได้สร้าง  วัดมเหยงคณ์  ได้สร้างขึ้นคู่กันกับวัดกุฏีดาว  ซึ่งสร้างโดยพระสวามี  คือ  พระเจ้าธรรมราชา  กษัตริย์องค์ที่ 8  ของกรุงอโยธยา)  นั่นแสดงว่าวัดมเหยงคณ์สร้างในสมัยอโยธาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาอย่างน้อย  40  ปี
 
 



 
(เจ้าของบล็อกเคยเล่าเรื่อง  เมืองอโยธยา  ให้ฟังแล้วใน  
บล็อก  วัดอโยธยา  อยุธยา  เล่าสั้นๆอีกทีก็คือ  ก่อนที่จะตั้งกรุงศรีอยุธามีเมืองเก่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะเมืองอยู่แล้ว  ชื่อ  เมืองอโยธยา  มีวัดเก่าที่สำคัญหลายวัดที่มีหลักฐานว่าเก่าแก่กว่าสมัยอยุธยาตอนต้น  เช่น  วัดกุฏีดาว  วัดอโยธยา  และวัดมเหยงคณ์)
 

 
 

ทางที่สอง   พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา  บันทึกเอาไว้ว่า  ศักราช 786  มะโรงศก  หรือปี  พ.ศ. 1967  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า  หรือ  เจ้าสามพระยา  กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา  เป็นผู้สร้าง  วัดมเหยงคณ์  และ  พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ  กล่าวว่าศักราช 800  มะเมียศก หรือปี  พ.ศ.1981 สมเด็จบรมราชาธิราชเจ้า  หรือ  เจ้าสามพระยา เป็นผู้สร้าง  วัดมเหยงคณ์  (ปีศักราชอาจะมีเหลื่อมล้ำไปบ้างเล็กน้อยนะครับ  เพราะว่าคนที่บันทึกก็ไม่ได้เกิดในสมัยที่มีการสร้าง  หรือจากปากคำที่บอกเล่ากันต่อๆลงมาก็อาจจะมีเลื่อนเคลื่อนไปบ้าง  อีกประการหนึ่งการนับปีในสมัยก่อนกันในสมัยที่เขียนพงศาวดารอาจจะนับผิดกันไปนิดๆหน่อยๆ  ทำให้ปีศักราชเคลื่อนไปได้)
 



 
 
จากการศึกษาวิเคราะห์  พิจารณาหลักฐาน  สันนิษฐานว่า 
วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา  ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอโยธยา  น.ณ ปากน้ำ  สำรวจ  วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา  กับ  วัดกุฎีดาว  พบว่าโครงสร้างชั้นในพระเจดีย์มีการ  “ก่ออิฐแบบอิงลิชบอนด์”   (อิงลิชบอนด์  - English  Bond  คือ  เทคนิคการก่ออิฐโดยให้ด้านสันออกมาแถวหนึ่งและด้านยาวออกมาแถวหนึ่งสลับกันไป)  แสดงว่า  วัดมเหยงคณ์  กับ  วัดกุฏีดาว  น่าจะสร้างในสมัยเดียวกัน



 
 
ต่อมา 
วัดมเหยงคณ์  ชำรุดทรุดโทรม  สมเด็จบรมราชาธิราชเจ้า  หรือ  เจ้าสามพระยา  ทรงเห็นว่าเป็นวัดเก่าแก่  จึงบูรณะและสร้างเพิ่มเติมให้ใหญ่โตจากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว 
 
 
 
 
 
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  สมัย  
พระภูมิมหาราช หรือ  พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  วัดมเหยงคณ์  ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่  ตรงกับปีฉลู  เอกศก  พ.ศ. 2252  พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  เสด็จทอดพระเนตรการปฏิสังขรณ์อยู่เนืองๆ  จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้นบนเกาะแห่งหนึ่งทางด้านใต้นอกกำแพงวัด ลักษณะเป็นอาคารตึก  2  ชั้น แบบเดียวกับ  ตำหนักกะมะเลียน  ข้างวัดกุฎีดาว  และตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์  ที่วัดพุทไธสวรรค์
 



 
และเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก  เมื่อปี  พ.ศ.  2112  พระเจ้าบุเรงนอง  ทรงตั้งทัพหลวงบัญชาการอยู่  ณ  
วัดมเหยงคณ์  โดยปิดล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง  9  เดือน
 




ตามแนวภาษาศาสตร์  
วัดมเหยงคณ์  มาจากภาษาบาลีว่า  มหิยังคณ์  แปลว่า  ภูเขาหรือเนินดิน  ซึ่งหากพิจารณาภูมิประเทศของ  วัดมเหยงคณ์  ก็จะเห็นว่าส่วนพุทธาวาสตั้งอยู่บนเนินสูง  จึงอาจจะเป็นที่มาของชื่อวัดแห่งนี้   นอกจากนั้น  มเหยงคณ์   ยังเป็นชื่อสถานที่และพระธาตุสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศศรีลังกา  เรียกว่า  มหิยังคณ์เจดีย์  อีกด้วย
 




 
เมื่อเดินผ่านประตูกำแพงแก้วรอบเขตพุทธาวาสชั้นแรกเข้าไปดูจะแปลกตากว่าวัดอื่นๆที่เจ้าของบล็อกเคยพาไปเที่ยวมา  เพราะ 
วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา   จะมี  ทางเดินฉนวน  ยาวตลอดจากประตูกำแพงแก้วชั้นที่  1  ยาวผ่านกำแพงแก้วชั้นที่  2  ถึงหน้าพระอุโบสถเลยครับ  ทางเดินฉนวน  นี้  มีไว้สำหรับเป็นทางเดินของ  ฝ่ายใน  หรือ  ผู้หญิง 
 












 
ที่เราเคยได้เห็นในภาพยนตร์เรื่อง 
สุริโยไท  กันมาบ้าง  ....  ถ้ายังคงจำได้  .....  เป็นฉากแรกๆ  ของภาพยนตร์  ที่พระสุริโยไทเสด็จฯขึ้นจากกระบวนเรือเพื่อไปยังพระราชยานคานหาม  หรือตอนกลางๆ  ค่อนไปทางท้ายๆเรื่องที่ท้าวศรีสุดาจันทร์เสด็จฯลงเรือเพื่อไปทอดพระเนตรขุนวรวงศาทำการคล้องช้างสำคัญเป็นเหตุให้ถูกปลงพระชนม์โดยขุนพิเรนทรเทพ  (ต่อมาได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็น  สมเด็จพระมหาธรรมราชา)














 
 


ทางเดินฉนวน  มีเอาไว้ทำไมครับ .....  สมัยก่อนอะไรที่เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ถือเป็นเรื่อง  ต้องห้าม  ห้ามพูดถึง  ห้ามมอง  ....  ฝ่ายในทั้งที่เป็นเจ้า  และไพร่  ก็ถือว่าเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์  เวลา  ฝ่ายใน  เดินทางไปไหนๆ  นอกพระราชวัง  จึงต้องมีการ  กั้นฉนวน  มิให้คนทั่วไปมองเห็น  แต่  ทางเดินฉนวน  ที่  วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา   สร้างไว้เป็นการถาวร  ไม่ได้เป้นการชั่วคราวเป็นคราวๆไป  แสดงว่าคงจะมี  ฝ่ายใน  เดินทางมาทำบุญที่ที่  วัดมเหยงคณ์   บ่อยครั้งทีเดียว











 
 
 

พระอุโบสถ


 
ตั้งอยู่บนฐานสูง 2 ชั้น ลดหลั่นกัน ขนาดพระอุโบสถกว้าง  18  เมตร ยาว  36.8  เมตร  นับว่าเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รอบพระอุโบสถมีกำแพงแก้วล้อมไว้ชั้นหนึ่งนอกเหนือไปจากกำแพงแก้วที่ล้อมรอบเขตพุทธาวาส
 
 



พระอุโบสถตั้งอยู่บนฐานแอ่นโค้งเป็นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบของอาคารที่นิยมก่อสร้างในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย  จากการศึกษาพบว่าพระอุโบสถสร้างทับซ้อนอยู่บนอาคารเดิมในสมัยอยุธยาตอนต้น  มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  มีประตูเข้าทางทิศตะวันออก  (ด้านหน้า)   3 ช่อง    ทิศตะวันตก  (ด้านหลัง)  2 ช่อง  ที่ด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถมีมุขกลางยื่นออกมา  มุขด้านหน้าพระอุโบสถจะตรงกับประตูด้านหน้าบานตรงกลาง  คงสร้างตามความเชื่อที่ว่าเป็นประตูสำหรับเทวดาเหาะลงมาเพื่อสักการะพระประธานในพระอุโบสถ  เหมือนกับที่  วัดใหญ่สุวรรณราม  จังหวัดเพชรบุรี  (เพราถ้าจะอธิบายว่าประตูบานตรงกลางเป็นประตูทางเข้าพระอุโบสถสำหรับพระมหากษัตริย์ก็คงจะไม่สมจริงนัก  เพราะไม่มีทางเสด็จฯ ขึ้นมาทางประตูนี้ได้เลย  หรือจะบอกว่าเสด็จฯ ด้วยช้างหรือม้าก็คงไม่ได้อีก  เพราะว่าม้าก็คงไม่สูงถึงขนาดหน้ามุขหน้า  หรือว่าถ้าเป็นช้างก็คงเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่เพราะพื้นที่บริเวณหน้ามุขหน้าไม่พอที่จะให้ช้างเข้ามาเดินได้แน่ๆ)








 
 
 







ส่วนมุขด้านหลังพระอุโบสถคงมีลักษณะคล้ายๆ  จรนำท้ายพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพญช  สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป  สิ่งเคารพ  หรืออัฐิเจ้านาย   
















 
หน้าต่างพระอุโบสถเป็นรูปสี่เหลี่ยมมี  6  ช่อง อยู่ทางด้านเหนือและด้านใต้ละ 3 ช่อง  เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1.10  เมตร




















 
ภายในพระอุโบสถมีแท่นฐานชุกชี  2 แท่น  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน  แต่ได้หักล้มเป็นท่อนๆ  เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นามว่า 
หลวงพ่อหินทรายศักดิ์สิทธิ์ 
 
 
 





















รอบพระอุโบสถมีใบเสมาเป็นหินสีเขียว หนา 20 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร สูง 2 เมตร





 
 
 
 
 
 
เมื่อเดินมาทางด้านหลังพระอุโบสถถัดนอกเขตกำแพงแก้วชั้นใน  จะเป็น 
พระเจดีย์ประธาน  เป็นเจดีย์ช้างล้อม
 
 


 
องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณมีผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ  32  เมตร  ประดับด้วยประติมากรรมรูปช้างโผล่ออกมาครึ่งตัวอยู่ภายในซุ้มจระนำด้านละ  20  เชือก  รวม  80  เชือก โดยช้างแต่ละหัวมีความแตกต่างกัน  โดยช้างแต่ละเชือกสูง  1.05  เมตร ประดับห่างกันเชือกละ  80  เซนติเมตร
 
 


 
ที่ฐานประทักษิณมีบันไดขึ้นทั้ง  4  ด้าน  กึ่งกลางด้านทั้งสี่  เหนือฐานประทักษิณมีกำแพงแก้วล้อมรอบองค์เจดีย์ 
 
 
 


องค์เจดีย์ประธาน  เป็นแบบลังกาเหมือนเจดีย์ช้างล้อม  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย  สุโขทัย  ฐานชั้นล่างของพระเจดีย์เป็นฐานเขียง  3  ชั้น  ถัดขึ้นมาจะมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบองค์เจดีย์ รวม  20  ซุ้ม  ถัดขึ้นไปมีมาลัยเถา  3  เส้น    องค์ระฆังและบัลลังก์  ส่วนยอดที่เป็นของเดิมหักพังลงบนลานประทักษิณ  ที่เห็นในปัจจุบันเป็นงานบูรณปฏิสังขรณ์สมัยปัจจุบัน  กล่าวได้ว่าเป็นเจดีย์ช้างล้อมเพียงไม่กี่องค์ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา  และเป็นเพียงองค์เดียวที่มีศักราชการสร้างชัดเจน  
 
 




รูปแบบของเจดีย์องค์นี้น่าจะมีความสัมพันธ์กับศิลปะสุโขทัย  เช่น  ลักษณะของซุ้มทรงวงโค้งหรือแบบหน้านางที่ครอบช้างแต่ละเชือก  ซุ้มพระที่ล้อมรอบอยู่ด้านล่างขององค์เจดีย์แลดูคล้ายกับที่พบในเจดีย์วัดช้างล้อม  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
 
 



เจดีย์ที่มีรูปปั้นช้างล้อมรอบลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลมากจากเจดีย์ในลังกาทวีป  ที่เรียกกันว่า  เจดีย์ช้างล้อม  ซึ่งไม่ค่อยเห็นในอยุธยา  สมเด็จพระเจ้าบรมเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าคงเอาแบบอย่างมาจากพระเจดีย์ชัยของพระเจ้าทุษฐคามินีมหาราชในลังกาทวีปซึ่งทรงช้างชื่อกุณฑลทำสงครามได้ชัยชนะได้ครองราชสมบัติ  มีโอกาสทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลังกาให้รุ่งเรืองยิ่งในสมัยพระองค์




 
 
การสร้างเจดีย์ที่มีฐานช้างล้อมน่าจะเกี่ยวข้องกับกระแสพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  หรือ  เจ้าสามพระยา  และอาจเกี่ยวข้องกับกลุ่มพระภิกษุทีเรียกว่า  สิงหลนิกาย  หรือ  นิกายป่าแดงหลวง  ของเชียงใหม่ที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระองค์ด้วย
 
 



จากการศึกษาของ 
อาจารย์ฉัตตริน  เพียรธรรม  พบว่า 
 
 
 

เจดีย์ช้างล้อมวัดมเหยงคณ์มีรูปแบบที่มีความใกล้เคียงกับสถูปที่มีหัตถีปราการ  (ช้างล้อม)  ในศิลปะลังกาหลายประการโดยเฉพาะรูปแบบของเจดีย์ที่อ้วนเตี้ยมีองค์ระฆังขนาดใหญ่ไม่คอดที่เอว  และประเด็นการมีรูปแบบของฐานประทักษิณที่มีสัดส่วนเตี้ย มีขนาดกว้างขวางเพื่อให้เป็นที่เดินประทักษิณของศาสนิกชนจำนวนมาก ล้อมรอบด้วยกำแพงที่มีรูปประติมากรรมช้างล้อม ซึ่งสามารถแสดงความหมายทางประติมานวิทยาของหัตถีปราการได้ใกล้เคียงกับสถูปที่มีในศิลปะลังกามากกว่าเจดีย์ช้างล้อมศิลปะอื่นที่พบในดินแดนประเทศไทย แม้รูปแบบบางประการของเจดีย์วัดมเหยงคณ์จะไม่พบในสถูปที่มีหัตถีปราการในศิลปะลังกา แต่ก็ยังเป็นการนำเอารูปแบบที่พบในศิลปกรรมลังกาอื่น ๆ มาใช้เพื่อตอกย้ำความเป็นลังกา เช่น การทำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปในผังกลมล้อมรอบฐานเจดีย์ที่มีการประดับกรอบซุ้มหน้านางแบบลังกาและเจาะจงทำพระพุทธรูปปางสมาธิแบบที่นิยมทำในลังการวมทั้งการทำซุ้มครอบช้างที่ล้อมเจดีย์ที่เป็นซุ้มกรอบหน้านางแบบลังกาแต่ก็เป็นการดัดแปลงลดรูปจากรูปแบบศิลปะอยุธยาท้องถิ่นจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง หลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งศิลาจารึกหลายหลัก คัมภีร์ต่าง ๆ เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์, ตำนานมูลศาสนาฉบับวัดป่าแดง, คัมภีร์สัทธัมมสังคหะ ก็ต่างสนับสนุนความสัมพันธ์ทางศาสนาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับลังกาในช่วงเวลาดังกล่าว ว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด มีการเดินทางติดต่อกันจนถึงส่งพระภิกษุไปศึกษาพุทธศาสนาในลังกาและกลับมาเผยแผ่ในกรุงศรีอยุธยาจนรุ่งเรืองไม่ต่างกับแคว้นอื่น ๆ ร่วมสมัย สอดคล้องกับผลการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ
 
 















นอกจากสิ่งที่น่าสนใจที่ได้พาไปชมแล้ว  วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา  ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ  น่าไปเดินชมอีกมากครับ  เช่น  เจดีย์ราย  ทั้งที่อยู่ในกำแพงแก้วชั้นนอก  และที่อยู่นอกกำแพงแก้ว  บ่อน้ำข้างพระอุโบสถ  วิหารด้านหน้าพระอุโบสถ  2  หลัง















 
 
 
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน  วัดมเหยงคณ์  พระนครศรีอยุธยา  เป็นโบราณสถานของชาติตั้งแต่วันที่  8 มีนาคม  พ.ศ. 2484   ได้เข้าไปบูรณะ  ดำเนินการขุดแต่งและปฏิบัติงานตามโครงการบูรณะฟื้นฟูดินแดนกลุ่มอโยธยา  
 
 






ขอขอบคุณท่านผู้มีรายนามต่อไปนี้ที่ทำให้การท่องเที่ยวของเรามีสาระมากขึ้นครับ


 
 
วัดมเหยงคณ์ ตามรอยอารยธรรมประวัติศาสตร์และโบราณคดี - journeyjournal24.com

 
วัดมเหยงคณ์ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา - th.readme.me

 
วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา – Supawan

 
เจดีย์ประธานวัดมเหยงคณ์ – ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน)

 
วัดมเหยงคณ์ – thai.tourismthailand.org

 
วัดมเหยงคณ์ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) – วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วัดมเหยงคณ์ – ตะลอนเที่ยว.คอม

  
เจดีย์ช้างล้อมวัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบและความสัมพันธ์กับสถูปที่มีหัตถีปราการในศิลปะลังกา - ฉัตตริน เพียรธรรม

 
วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา – ธรรมไทย

 
วัดมเหยงค์ – watportal.com

 
อ๒๐.วัดมเหยงคณ์ ลังกาวงศ์ก่อนอยุธยาใช่หรือไม่ – ทางแก้ว
 





 
 









137138139






 



Create Date : 15 สิงหาคม 2565
Last Update : 15 สิงหาคม 2565 13:32:13 น.
Counter : 1951 Pageviews.

21 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณtanjira, คุณThe Kop Civil, คุณtoor36, คุณกะว่าก๋า, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณJohnV, คุณปัญญา Dh, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณkae+aoe, คุณเริงฤดีนะ, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณnonnoiGiwGiw

  
สวยงาม อเมซิ่งไทยแลนด์
ได้อ่านประวัติศาสตร์แบบผ่าน ๆ ไปด้วย ได้อรรถรสมากค่ะ

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:13:09:12 น.
  
ภาพสวยดีคุณบอล

โดย: หอมกร วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:13:34:57 น.
  
สวัสดีค่ะคุณบอล..

เมื่อเดือนที่แล้ว น้องสาวก็ไปถือบวชที่วัดนี้คะ..

เมื่อปีก่อน ก็ไปเที่ยวกับครอบครัว

จิต
โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:13:53:41 น.
  
เพิ่งไปปฏิบัติธรรม
ที่วัดมเหยงค์
เมื่อวันเกิดปีนี้
ประทับใจ...ชอบชอบ
โดย: อุ้มสี วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:14:17:12 น.
  
สวัสดีค่ะคุณบอล

คุณบอลถ่ายรูปออกมาสวยจังค่ะ

เมื่อสองวันก่อนพี่ไปสิงห์บุรีมาค่ะ
ไปวัดพระนอน กับวัดพิกุลทอง
ไม่ได้เดินอะไรเยอะค่ะ อากาศร้อน
ไหว้พระแล้วเดินออก 555

สุขกายสบายใจนะคะคุณบอล
โดย: tanjira วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:14:32:23 น.
  
คุณบอลถ่ายภาพสวยมากครับ พอมาดูภาพวัดเทียบกับหนังสุริโยไท อ่านประวัติศาสตร์ไปด้วย ทำให้ย้อนกลับไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองสมัยอยุธยาเลยครับ ถ้าไม่โดนสงคราม น่าจะสวยมาก ๆ เลยนะครับ
โดย: The Kop Civil วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:19:00:59 น.
  
ที่นี่เคยไป จำทางเดินได้ ตรงจุดที่เก็บเงินดูไม่ค่อยเป็นทางการเท่าไหร่ด้วย แถมคนท้องถิ่นเข้าฟรีอีกต่างหาก คนต่างชาติชอบวัดนี้เยอะเหมือนกัน
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:19:10:45 น.
  
ผังของวัดสวยมากเลยนะครับคุณบอล
วางผังเป็นระเบียบดีมาก

คุ้นตาเหมือนว่าผมจะเคยไปวัดมเหยงคณ์
แต่เพราะไปอยุธยานานมาก
จนไม่แน่ใจเลยครับว่าเคยไปแล้วหรือยัง

ผมเองก็ไม่ได้นั่งสมาธิครับคุณบอล
นั่งแล้วชอบฟุ้งซ่าน
ผมเลยวาดภาพแทนครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:19:45:00 น.
  
วัดสวย
โดย: เจ้าหญิงไอดิน วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:20:30:50 น.
  
สวยงามมากครับ
โดย: JohnV วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:22:15:05 น.
  
ตามมาเที่ยวยุดยา ไหว้พระด้วยครับ
วัดนี้ ไปมาแล้ว

โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:22:47:08 น.
  
เมื่อพฤหัสฯที่แล้วต๋าไปสำนักปฏิบัติธรรมวัดมเหยงคณ์มาค่ะคุณบอล
ตอนเข้าชมวิหารถ้ำพระปรินิพพานเห็นเขตก่อสร้างด้านซ้ายมือ
ทราบจากป้ายว่าเป็นอุโบสถ ปราสาทพระบรมธาตุเจดีย์
และมหาวิหาร อยู่ในอาคารเดียวกัน

คุณบอลพูดถึงพระอุโบสถที่ตั้งอยู่บนฐานแอ่นโค้งเป็นรูปท้องเรือสำเภา
ทำให้นึกถึงอุโบสถใหม่ที่กำลังสร้างนี้ดูเหมือนฐานมีความโค้งด้วยค่ะ
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงคงเป็นการก่อสร้างที่คงรูปแบบสมัยอยุธยาตอนปลายไว้นะคะ

ขอบคุณคุณบอลสำหรับประวัติและภาพสวยๆค่ะ
โอกาสหน้าคงได้เที่ยวในส่วนโบราณสถานของวัดมเหยงคณ์ด้วยค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 15 สิงหาคม 2565 เวลา:23:05:53 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 สิงหาคม 2565 เวลา:5:18:56 น.
  
ตามเที่ยวด้วยค่ะ
โดย: kae+aoe วันที่: 16 สิงหาคม 2565 เวลา:8:17:51 น.
  
วัดเก่าแก่และสวยงาม
อุ้มสี เคยมาปฎิบัติธรรม 4-5 วัน ที่สำนักวิป้สนา
กลางๆเดือนที่แล้ว
ช่วงวันเกิดเธอ
สาธุค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 16 สิงหาคม 2565 เวลา:12:47:31 น.
  
ช่วงนี้ถ่ายภาพหยดน้ำสนุกเป็นพิเศษเลยครับคุณบอล
เชียงใหม่ฝนตกเกือบทุกวันครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 สิงหาคม 2565 เวลา:13:44:13 น.
  
เอ้าาา

อ่านจบโหวตหมด!!!!! เดี๋ยวหลังเที่ยงคืนผมมาใหม่นะครับพี่บอล ฮ์ออออ วันนี้ manage ไม่ดีเลย
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 16 สิงหาคม 2565 เวลา:15:57:31 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 สิงหาคม 2565 เวลา:5:32:19 น.
  
ตามเที่ยวค่ะ
โดย: kae+aoe วันที่: 17 สิงหาคม 2565 เวลา:8:23:52 น.
  
สัวสดีครับพี่บอล ผมกลับมาโหวตตามสัญญาครับ
ทีแรกว่าจะกลับมาโหวตหลังเที่ยงคืน แต่เมื่อวานดังกินกุ้งฝอยทอดเข้าไป คือรู้ครับว่าแพ้แต่มันดูน่ากินมาก เลยกิน กินไปครึ่งนึงรู้เรื่อง!!!!!
เรื่องใหญ่เลยครับ 5555555

วัดมเหยงคณ์ ผมเคยไปแน่ ๆ ครับ ภาพที่พี่บอลถ่ายมารูปสวยมาก ๆ
รูปที่เป้นระเบียงยาวๆ ผมมีรูปถ่ายกับเพื่อนที่ระเบียงด้วยครับ ได้มาอ่านบล๊อกพี่บอลอีก คิดถึงตอนมัธยมเลย แถมเพิ่งรู้ว่า วัดมเหยงคณ์สร้างก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาอีก เก่าแก่มาก ๆ เลยครับ
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 17 สิงหาคม 2565 เวลา:10:25:36 น.
  
คิดถึงกุ้งเผาที่ยุดยาแว้ววววว
โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 17 สิงหาคม 2565 เวลา:11:22:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]