Group Blog
กันยายน 2556

1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
ทนายอ้วนทัวร์ - ชวนไปเที่ยววัดสวยๆ ที่อยุธยากันอีกวัดหนึ่งนะครับ - วัดหน้าพระเมรุ
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดหน้าพระเมรู อยุธยา, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 21' 44.92" N 100° 33' 31.39" E







เมื่ออาทิตย์ก่อนอ่านอะไรต่ออะไรในเนทแล้วเจอว่าที่อยุธยามีร้านก๋วยเตี๋ยวหมูโบราณอยู่เจ้านึงชื่อ “ก๋วยเตี๋ยวหมูโบราณป้าพร” อ่านไป ดูรูปไปแล้วน้ำลายแตกฟอง พอวันเสาร์ก็เลยชวนคุณชายขับรถไปกินกัน แต่ว่าไอ้การจะชวนคุณชายขับรถไปกินก๋วยเตี๋ยวที่อยุธยาอย่างเดียวมันจะดูเป็นการไม่สมเหตุสมผลไปนิดส์นึงครับ เดี๋ยวคุณชายจะว่าเอาได้ว่ากะแค่ก๋วยเตี๋ยวหมูต้องถ่อไปกินถึงอยุธยา ก็เลยแต่งเรื่องไปว่าอยากไปไหว้พระ แล้วจะเลยไปกินก๋วยเตี่ยวด้วย คุณชายก็ตอบตกลง


พอถึงวันจริงเราก็แวะไหว้พระตามรายทางมาเรื่อยๆ ตั้งแต่วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง วัดสุวรรณดาราราม แวะกินก๋วยเตี๋ยวหมูโบราณร้านป้าพร พอขาจะกลับบ้านคุณชายเลยชวนแวะวัดหน้าพระเมรุครับ




วัดหน้าพระเมรุ



เราใช้เส้นทางรอบเกาะเมืองผ่านหน้าโรงพระยาบาลอยุธยา แวะซื้อโรตีสายไหมซะหน่อยนึงแล้ววิ่งรถตรงไปเรื่อยๆ จนอ้อมมาจนเจอพระราชวังโบราณ ให้มองทางซ้ายไว้จะมีป้ายบอกทางไปวัดหน้าพระเมรุโดยต้องข้ามสะพานข้ามคลองสระบัวหรือแม่น้ำลพบุรีเก่าไป พอข้ามสะพานไปก็ขับตรงไปอีกหน่อยเดียวก็ถึงลานจอดรถวัดหน้าพระเมรุทางซ้ายมือครับ


ตามตำนานกล่าวถึงวัดนี้ว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อจุลศักราช ๘๖๔ (พ.ศ. ๒๐๔๖) ประทานนามว่า “วัดพระเมรุราชิการราม” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆว่า "วัดพระเมรุ" แล้วทำไมถึงไดเพี้ยนมาเป็น วัดหน้าพระเมรุ ก็สุดจะเดาได้เหมือนกันครับ


เกร็ดประวัติศาสตร์กล่าวถึงวัดนี้เอาไว้ 2 ครั้ง ที่สำคัญๆ ครั้งที่ 1 คือเมื่อคราวทำสัญญาสงบศึกระหว่าง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลูกพลับพลาเป็นที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส (ปัจจุบันวัดหัสดาวาสเหลือเพียงซากเจดีย์)


อีกตอนหนึ่งเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พ.ศ ๒๓๐๓ พม่า เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาส พระเจ้าอะลองพญาทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในวัดพระเมรุราชิการามแตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัส ประชวรหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๐๓ พม่าเลิกทัพกลับไปทางเหนือหวังออกทางด่านแม่ละเมาะ แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง


วัดหน้าพระเมรูได้รับการบูรณะใหม่ในสมัยพระเจ้าบรมโกศและในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2378 และ พ.ศ. 2381 สิ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันจึงปะปนกันทั้งที่มีอยู่ก่อนแล้วในสมัยอยุธยา สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในสมัยปัจจุบัน


ที่สำคัญที่สุดเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่สองและยังคงสภาพที่ดีมากเนื่องจากพม่าได้ตั้งกองทัพอยู่ที่บริเวณวัดนี้


เมื่อเข้ามาถึงบริเวณวัด สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ พระอุโบสถ



 photo DSC05367_zps63df363e.jpg

 photo DSC05334_zps0a46e99c.jpg

 photo DSC05331_zps63c52d65.jpg

 photo DSC05332_zps27bd80e3.jpg


พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาตอนต้น ยาวประมาณ 41 เมตรครึ่ง (9 ห้อง) กว้างประมาณ ๑๖ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูงทำให้ตัวพระอุโบสถดูสูงใหญ่ตระการตา มีมุขทั้งด้านหน้า และด้านหลัง หน้าพระอุโบสถสู่ทิศใต้ หลังพระอุโบสถสู่ทิศเหนือ พระอุโบสถมีส่วนยาวและกว้างมาก ไม่มีหน้าต่างแต่เราจะไม่รู้สึกอับ หรือว่าอึดอัดเนื่องจากไม่มีอากาศเลย เพราะในพระอุโบสถมีอากาศถ่ายเท ไม่อับ และมีแสงพอที่จะถ่ายรูปได้โดยไม่ต้องใช้แฟลช แต่เดิมพระอุโบสถสร้างแบบมีเสาอยู่ภายใน ซึ่งเป็นแบบอย่างอยุธยาตอนต้น ต่อมาได้มีการขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ


 photo DSC05336_zpsdd4d6419.jpg

 photo DSC05352_zpsccd1441b.jpg

 photo DSC05349_zpseb0e2df0.jpg

 photo DSC05350_zps20f31c69.jpg



หน้าบันพระอุโบสถเป็นไม้สักแกะสลักรักปิดทองประดับกระจกเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาค ล่างลงไปมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค รายล้อมด้วยหมู่เทวดาประนมมืออยู่ 26 องค์ มีบังฐานและกระจัง ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

คติในการใช้รูปพระนารายณ์ประดับหน้าบันเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ เป็นพระนารายณ์อวตาร ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดหลวง


 photo DSC05357_zps325cd0cf.jpg

 photo DSC05359_zps9e04df5a.jpg



ประตูเข้าด้านหน้าอุโบสถมีถึง 3 บาน ช่องกลางซึ่งด้านบนประดับเป็นยอดปราสาทมีขนาดใหญ่ตามคติที่ว่าเป็นประตูสำหรับบุคคลสำคัญเท่านั้น ต่อมาได้รับการดัดแปลงให้กลายเป็นซุ้มหน้าต่างแทนประตู



 photo DSC05330_zps1fc4a24f.jpg



ช่องแสงที่เข้ามาในพระอุโบสถเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง

ภายในพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้น มีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยารับเครื่องหลังคาขนาดมหึมา ทั้งตัวคานไม้และขื่อประดับประดาด้วยลายแกะไม้ที่งดงาม

เพดานเป็นงานจำหลักไม้ลงรักปิดทองเป็นการสื่อความหมายของดวงดาวอันดารดาษอยู่ในท้องฟ้า


 photo DSC05329_zps82bd8024.jpg

 photo DSC05327_zps106cca0a.jpg

 photo DSC05318_zpse3a86152.jpg



เดิมภายในพระอโบสถมีภาพเขียนด้วยสีโบราณเป็นรูปภิกษุณีสงฆ์ แต่ถูกฉาบทาด้วยปูนเลียบขาวเสียหมดส่วนการบูรณะส่วนอื่นๆ ของตัวพระอุโบสถได้รักษาส่วนและรูปทรงของเดิมไว้ทุกส่วน คงมีแต่ลายที่เสาและลายเขียนที่ฝาผนัง ซึ่งถูกลบเลือนสันนิษฐานว่าการบูรณะครั้งหลังนี้คงจะหาช่างที่มีฝีมือทัดเทียมของเดิมได้ยาก ประกอบกับจะต้องใช้งบประมาณและเวลามากด้วย


พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่อย่างพระมหากษัตราธิราชสมัยกรุงศรีอยุธยา ปางมารวิชัย หันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ หล่อด้วยทองสำริด ภายนอกฉาบด้วยปูนลงลักปิดทอง หน้าตักกว้างประมาณ ๔.๔๐ เมตร สูงประมาณ ๖.๐๐ เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีพระลักษณะสวยงามมากมาก พระนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” สัณนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวรัชกาลของพระเจ้าปราททองเพราะมีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในเมรุทิศเมรุรายของวัดไชยวัฒนารามที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราททองเช่นกัน สร้างในคติของพระพุทธเจ้าปางโปรดพญามหาชมพู ตามความในมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อลงมาจนถึงสมัยรันตโกสินทร์ตอนต้น


 photo DSC05316_zpsfe106057.jpg

 photo DSC05319_zps90e29043.jpg



ตามข้อมูลที่ค้นคว้ามาเค้าบอกว่า ...

พระพุทธรูปทรงเครื่องอาจหมายถึง พระศรีอาริยเมตไตรย ผู้ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ห้าที่จะได้เสด็จมาสั่งสอนและนำสังคมอันอุดมสมบูรณ์สงบสุขในอนาคต ปัจจุบันพระองค์ยังเป็นเทพบุตรอยู่ในสรวงสวรรค์จึงทรงเครื่องเช่นเทวดาทั้งหลาย หรืออาจอธิบายว่าเป็นเรื่องของพุทธประวัติ คือ ตอนที่พระพุทธเจ้าทรมานพญามารชมพูบดี ด้วยพญามารอวดตนมั่งคั่งร่ำรวย แต่งกายสวยงาม พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตพระองค์ให้มีความงามกว่าพญามาร ดังนั้น พญามารจึงยอมรับพระพุทธเจ้า เป็นการปราบมารในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง



 photo DSC05320_zpsec7c77d1.jpg

 photo DSC05323_zpsffa26e5e.jpg

 photo DSC05325_zps85da6438.jpg



ด้านข้างของพะอุโบสถมี พระวิหารสรรเพชญ์ (ประชาชนเรียกชื่อว่าพระวิหารคันธารราฐ) คนทั่วไปเรียกกันว่า “วิหารเขียน” เพราะมีลายเขียนในพระวิหาร หรือ “วิหารน้อย” เพราะมีขนาดเล็ก (น้อย) กว่าพระอุโบสถ มีความยาวประมาณ ๑๖ เมตร กว้างประมาณ ๖ เมตร มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ห่างจากพระอุโบสถประมาณ ๒ เมตรเศษ สร้างในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ โดย พระยาไชยวิชิต (เผือก) ตรงกับรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระวิหารน้อยมีรูปแบบลอกเลียนมาจากพระอุโบสถ แต่ลดขนาดให้เล็กลงกับทั้งเปลี่ยนหน้าบันให้เป็นลายพรรณษาแบบฝรั่งปนจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายแจกันดอกไม้และโต๊ะหมู่บูชาแบบจีนขนาดเล็กตามที่นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนลายแกะสลักบานประตูพระวิหารน้อย เป็นลายแกะสลักด้วยไม้สักหนาชิ้นเดียว เป็นลวดลายที่ซับซ้อนกับหลายๆมิติ งานอย่างมากเลยครับ



 photo DSC05341_zps0c0b7953.jpg

 photo DSC05347_zps816952c1.jpg



ฝาผนังของพระวิหารน้อยมีภาพจิตรกรรมเต็มพื้นที่เล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย แต่น่าเสียดายว่าเลือนไปเกือบหมดแล้วครับ



 photo DSC05344_zpse421cf48.jpg



ในพระวิหารน้อยประดิษฐานพระพุทธรูปแบบทวาราวดีขนาดใหญ่ประทับนั่งวางพระบาทอยู่บนดอกบัวบาน สลักจากหินปูนสีเขียวแก่ พระนามว่า “คันธารราฐ” ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ ในเกาะเมือง ข้างวัดราชบูรณะ อยุธยา ผู้สร้างพระวิหารน้อยได้จารึกไว้ในศิลาติดไว้ที่ฝาผนังเมื่อ พ.ศ. ที่สร้างว่า “พระคันธารราฐ” นี้ พระอุบาลีซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมาราม นำมาจากประเทศลังกา ในคราวที่ท่านเป็นสมณฑูต พร้อมด้วยพระสงฆ์สยามวงศ์ นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในประเทศลังกา


องค์พระพุทธรูปมีลักษณะที่น่าสังเกตหลายประการ คือ

1. พระรัศมีรอบพระเศียร ซึ่งมีเปลวฉายออกมาโดยรอบนั้น ชี้ให้เห็นอิทธิพลของจีน
2. ชายจีวรถูกถลกสูง เผยให้เห็นถึงพระชานุซ้ายของพระพุทธเจ้า ดูแปลกไปจากพระพุทธรูปที่พบทั่วไปในประเทศไทย เป็นเช่นเดียวกับที่นิยมทำพระศรีอาริยเมตไตรยในประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง
3. พระหัตถ์ทั้งคู่วางราบอยู่บนเข่าทั้งสอง ซึ่งแปลกไปจากปางต่าง ๆ ที่รู้จักกันในประเทศไทย



 photo DSC05348_zps31704aec.jpg



เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมอยู่ที่วัดพระเมรุราชิการาม จังหวัดนครปฐมเนื่องจากทางราชการขุดพบเรือนแก้วที่ชำรุด สันนิษฐานว่าเป็นเรือนแก้วของพระพุทธรูปองค์นี้ และได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ อยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลาประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน นับเป็น 1 ใน 6 องค์ ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามาก

น่าเสียดายที่ทางวัดนำเต้นท์มากางไว้เป็นการถาวรที่หน้าพระวิหารน้อย ทำให้พระวิหารน้อยขาดความสง่างามไปเยอะเลยครับ




วัดหน้าพระเมรุ - วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วัดโบราณในพระนครศรีอยุธยา – วัดหน้าพระเมรุ


วัดหน้าพระเมรุ


วัดหน้าพระเมรู – เวบไซต์วัดเชิงท่า



ทัวร์ทนายอ้วน .......... เที่ยวไป ..... ตามใจฉัน








Create Date : 08 กันยายน 2556
Last Update : 8 กันยายน 2556 13:24:18 น.
Counter : 3633 Pageviews.

6 comments
  
ตามมาวัดด้วยคนคะคุณบอล
5555 แผนล้ำลึกอ่ะ เข้าวัดก่อน
เค เค บล๊อกหน้าต้องได้กินเตี๋ยวแล้วนะ
โดย: ลงสะพาน+++เลี้ยวซ้าย2013 วันที่: 8 กันยายน 2556 เวลา:13:49:33 น.
  
ขอไปเที่ยววัดด้วยคนค้าบ วัดโบราณแบบนี้ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย ผ่านวิถีชีวิตมานับไม่ถ้วน ผมเป็นอีกคนที่ชื่นชอบแหละหลงใหลสถานที่แบบนี้ครับ สุดยอดไปเลย
โดย: NaiKonDin วันที่: 8 กันยายน 2556 เวลา:15:52:53 น.
  
เป็นวัดที่สวย งานละเอียดจังค่ะ
ขอบคุณมากๆนะคะ คุณบอล ^^

โดย: lovereason วันที่: 8 กันยายน 2556 เวลา:19:14:53 น.
  
สาระเพียบค่ะบล๊อกวันนี้ของน้องบอล ป้าอิ๋วตั้งตัวไม่ทันเลย อิอิ คิดว่าจะพากินก๋วยเต๊๋ยวข้างวัด อะไรทำนองนั่น ฮ่า

เชียร์ให้ป้าอิ๋วทำหมึกแดดเดียวไม่ขึ้นแล้วล่ะ วันนี้แดดไม่มีเลยค่ะ ที่นี่ เขาบอกว่าย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วงแล้วค่ะ แต่จะคอยเช็คพยากรณ์อากาศไว้ค่ะ เผื่อวันแดดดีๆ เมืองไทยเราตากแค่ 3 ชั่วโมง แต่ที่นี่ต้องวันหนึงเลยค่ะ
โดย: Sai Eeuu วันที่: 8 กันยายน 2556 เวลา:22:32:54 น.
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 9 กันยายน 2556 เวลา:4:50:17 น.
  
อ่าน + ดูแล้ว อยากไปวัดหน้าพระเมรุอีกเลย เคยไปนานมากแล้วค่ะ ตั้งแต่ใช้กล้องคอมแพคตัวเล็ก ๆ
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 9 สิงหาคม 2559 เวลา:18:07:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 157 คน [?]