Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
28 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 

นาทีต่อชีวิต เครื่องช่วยหายใจ


ภาพ : ผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง ต้องใช้เครื่องช่วยหายโดยใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก

การหายใจเป็นกระบวนการอัตโนมัติที่แสดงถึงการดำรงอยู่ของชีวิต
แต่เมื่อระบบการหายใจของคนเราเกิดขัดข้อง และล้มเหลวลงชั่วคราวหรือถาวร

เครื่องช่วยหายใจ
จะเป็นอุปกรณ์การแพทย์สำคัญชิ้นหนึ่ง ที่จะช่วยพยุงร่างกายให้ก้าวข้ามช่วงเวลาวิกฤตไปได้

คุณรู้หรือไม่ว่า สมองของคนเรา หากขาดออกซิเจนนานเกิน 4 นาที เซลล์สมองจะตาย
และไม่สามารถทำงานได้อีก เครื่องช่วยหายใจจึงมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาภาวะขาดออกซิเจน
อีกทั้งช่วยลดแรงที่ต้องหายใจด้วยตนเอง ขณะรอรับการรักษาที่จำเพาะกับโรค

เรามักใช้เครื่องช่วยหายใจชั่วคราวในผู้ป่วยที่มีการหายใจล้มเหลว
จากภาวะที่สามารถรักษาให้กลับดีขึ้นได้ เช่น หอบหืดรุนแรง ปอดอักเสบ หัวใจล้มเหลว
หรือระบบประสาทผิดปกติ เป็นต้น
เมื่อปัญหาเฉพาะหน้าถูกปัดเป่าไปแล้ว ร่างกายของเขาก็จะแข็งแรงและกลับมา หายใจดังเดิมได้

หลักการทำงาน คือเครื่องช่วยหายใจจะให้ลมดันเข้าสู่ปอด เป็นจังหวะวงรอบของการหายใจ
ช่วยเติมออกซิเจนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
พร้อมกับกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ร่างกายผลิตขึ้นมาออกสู่ภายนอก
การทำงานเหล่านี้ จะต้องมีตัวกลางเชื่อมระหว่างเครื่องกับผู้ป่วยที่มี 3 ช่องทางด้วยกัน คือ

1. แบบท่อช่วยหายใจ แพทย์จะใส่ท่อเข้าสู่หลอดลมผ่านทางปากหรือจมูก
ข้อดีของการใช้ท่อช่วยหายใจแบบนี้คือให้ลมที่มีแรงดันสูงโดยไม่รั่ว ให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
สามารถดูดเสมหะได้ แต่ผู้ป่วยจะพูดไม่ได้ รับประทานอาหารทางปากไม่ได้และจะรู้สึกอึดอัด
รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ
หรือเกิดอันตรายต่อกล่องเสียงและหลอดลม เป็นต้น
ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น

2. การเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจเข้าไปในหลอดลมโดยตรง
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องดูดเสมหะเป็นประจำ และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน
ข้อดีคือท่อไม่เลื่อนหลุดง่าย รูท่อขนาดใหญ่และสั้น ทำให้มีแรงต้านทานน้อย จึงดูดเสมหะได้ดีกว่า
ผู้ป่วยจะรู้สึกสบาย เพราะไม่ต้องมีท่ออยู่ในปากหรือจมูก ดูแลสุขภาพช่องปากได้ง่าย
แต่ข้อเสียคือผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดได้ หรือพูดได้แต่ไม่ชัด
ผลข้างเคียงคือมีเลือดออกที่แผลเหมือนการผ่าตัดทั่วๆ ไป
และอาจติดเชื้อในปอดได้เช่นเดียวกับการใส่ท่อทางปากหรือจมูก
เมื่อผู้ป่วยแข็งแรงดีพอจนเอาท่อออกได้ ไม่นานรูบริเวณคอที่เจาะไว้ก็จะปิดได้เองตามธรรมชาติ

3. แบบหน้ากากมีสายรัด เลือกใช้ในผู้ป่วยบางประเภทที่อาการไม่รุนแรงมาก
ข้อดีคือ ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่อช่วยหายใจ
โดยผู้ป่วยสามารถพูด รับประทานอาหารได้เองทางปากเป็นบางเวลา
แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องไอเอาเสมหะออกเองได้ และไม่เหมาะที่จะใช้ต่อเนื่องนานๆ
เพราะจะเกิดแผลกดทับบริเวณผิวหนังที่ขอบของหน้ากากได้ครับ

แต่จะใช้วิธีไหนจึงเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา


รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ : บทความ
นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์ : เรียบเรียง
ที่มา : //www.manager.co.th


สารบัญ สุขภาพ




 

Create Date : 28 มีนาคม 2554
1 comments
Last Update : 28 มีนาคม 2554 8:14:11 น.
Counter : 3626 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะ..

ไม่อยากใช้เครื่องช่วยหายใจทั้งกับตัวเองและครอบครัวค่ะ

ขอให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงมากๆนะค่ะ

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 28 มีนาคม 2554 9:11:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.