กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กรกฏาคม 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
19 กรกฏาคม 2565
space
space
space

เกี่ยวกับพาหุง(จบ)

 

   คราวนี้ ก็มาถึงข้อที่ว่า บท “พาหุํ” นี้ ใครเป็นผู้ประพันธ์ และประพันธ์ที่ไหน เมื่อไร คำตอบปัญหาเหล่านี้ ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน เมื่อพิเคราะห์จากบทประพันธ์ เห็นได้ว่าท่านผู้ประพันธ์เป็นผู้ทรงภูมิทางศัพทศาสตร์และอลังการศาสตร์อย่างเชี่ยวชาญ พร้อมกันนั้นก็มีความแตกฉานในนวังคสัตถุศาสน์อีกด้วย ซึ่งคงจะเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแน่นอน
ส่วนที่ว่า ประพันธ์ที่ไหนนั้น ก็พอจะตอบได้แน่นอนว่า ในเมืองไทยนี่เอง ทั้งนี้เพราะไม่ปรากฏในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอื่นๆ ทั้งไม่ปรากฏคำอธิบายเป็นภาษาบาลีอีกด้วย

   มีแต่ฎีกาซึ่งควรจะแต่งเป็นภาษาบาลี  แต่ก็แต่งเป็นภาษาไทย เรียกว่าฎีกาพาหุํ และนอกจากนี้ยังได้ฟังจากท่านผู้มีความรู้ทางภาษาศาสตร์รวมทั้งภาษาบาลีชั้นเอกอุ ซึ่งเคยไปอยู่ ณ ประเทศลังกา ในสมัยที่ดำรงเพศเป็นภิกษุ ได้เล่าให้ฟังว่า “พระมหาเถระในลังกาชมว่า  บทพาหุํไทยแต่งได้ดีมาก”   เป็นข้อยืนยันอีกข้อหนึ่ง  ที่ทำให้เห็นว่า  บทพาหุํประพันธ์ในเมืองไทยแน่ ที่ไปเผยแผ่ในลังกา ก็คงเป็นในตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ทรงส่งพระอุบาลีออกไปประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกา บทพาหุํของไทยจึงไปแพร่หลายอยู่ในประเทศนั้น และจากข้อยืนยันนี้   ทำให้สกัดระยะกาลแห่งการประพันธ์บทพาหุํว่า  ได้ประพันธ์มาก่อนรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์

   สาวย้อนจากนี้ขึ้นไปถึงยุคทองแห่งบาลีในประเทศไทย ตกในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมไตรโลกนาถ ก็พอจะอนุมานได้ว่า คงไม่ก่อนรัชกาลนั้น และก็เป็นไปได้ว่า พระมหาเถระในยุคนั้นได้ประพันธ์ขึ้น เป็นบทสำหรับสวดก่อนที่จะรับภัตตาหารในที่นิมนต์ และคงจะเริ่มจากงานบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นประเดิมก็ได้ ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วไป


   การสวดบทพาหุํนั้น พระท่านจะสวดก่อนที่จะรับภัตตาหารและสวดต่อจากบท อิติปิ โส ซึ่งเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ จบแล้วจึงสวดบทพาหุํ ซึ่งเป็นการถวายสดุดีพระอานุภาพที่ปราบพยศบุคคลนั้นให้หมอบราบกราบกรานพระองค์แล้ว ขอพระเดชานุภาพนั้นประสาทชัยมงคลอีกครั้งหนึ่ง นี้เป็นการปฏิบัติในการสวดบทนี้

   แต่ถ้ามีการเจริญพระพุทธมนต์ก่อนรับภัตตาหาร จะสวดบทพาหุํเมื่อจบบทส่งเทวดา (ทุกฺขปฺปตฺตา ฯลฯ ไม่มีบทอิติปิ โส เพราะสวดมาแล้วในเนื้อหา จึงไม่สวดซ้ำอีก)  ถ้าเป็นงานที่มีการใส่บาตร ก็ใส่บาตรเมื่อพระสวดบทพาหุํ เป็นประเพณีปฏิบัติสืบๆกันมาเช่นนี้แล ฯ

 


Create Date : 19 กรกฎาคม 2565
Last Update : 19 กรกฎาคม 2565 11:09:14 น. 2 comments
Counter : 637 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอพีย์


 


โดย: สมาชิกหมายเลข 4149951 วันที่: 19 กรกฎาคม 2565 เวลา:13:14:29 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 7137581 วันที่: 23 กรกฎาคม 2565 เวลา:0:48:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space