กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กรกฏาคม 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
9 กรกฏาคม 2565
space
space
space

ตั้งนะโม ๓ จบเสมอ



   การเปล่งวาจานมัสการพระคุณของพระพุทธเจ้านั้น ต้องว่า ๓ จบ เสมอไป ไม่มีกรณีใดๆ ที่จะกำหนดให้ว่า ๑ จบ หรือ ๒ จบ ว่าคราวใดต้อง ๓ จบทุกครั้ง ที่เป็นดังนี้ ท่านโบราณาจารย์ให้อรรถาธิบายไว้ว่า เพื่อนมัสการพระพุทธเจ้าให้ครบประเภท ซึ่งมีอยู่ ๓ คือ

   ๑. พระวิริยาธิกพุทธเจ้า  ได้แก่   พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ด้วยทรงใช้พระวิริยะอย่างเรี่ยวแรง กำหนดระยะกาลบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัลป์

   ๒. พระสัทธาธิกพุทธเจ้า   ได้แก่   พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ด้วยทรงใช้ศรัทธาอย่างเรี่ยวแรง กำหนดระยะกาลบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัลป์

   ๓. พระปัญญาธิกพุทธเจ้า   ได้แก่   พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ด้วยทรงใช้ปัญญาอย่างเรี่ยวแรง กำหนดระยะกาลบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัลป์

   พระพุทธเจ้าของเราเป็นพระปัญญาธิกพุทธเจ้า

   คุณธรรมที่เป็นหลักเป็นประธานในการบำเพ็ญบารมี เพื่อเป็นพระพุทธเจ้านั้น ๓ ประการ คือ วิริยะ ศรัทธา และปัญญา ทำให้ระยะกาลบำเพ็ญบารมีเนิ่นกว่ากันเป็นชั้นๆ ถ้าจะเปรียบให้เห็นได้ใกล้ๆ ก็เช่นเดียวกับการที่บุคคลจะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ทอ. อาจเป็นได้ ๓ ทาง คือ จากพลทหารทาง ๑ จากจ่าอากาศทาง ๑ เรียนจากโรงเรียนนายเรืออากาศโดยตรงทาง ๑ ระยะเวลาที่จะต้องบากบั่นก็ย่อมยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นธรรมดา ฉันใด การบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าก็พอจะเปรียบได้ ฉันนั้น

   การตั้งนะโม ฯลฯ ๓ ครั้ง ก็เพื่อจะนมัสการพระพุทธเจ้าให้ครบทั้ง ๓ ประเภท ดังนี้



  
   บางอาจารย์ให้เหตุผลอธิบายว่า  การที่ต้องเปล่งวาจานมัสการ ถึง ๓ ครั้ง นั้น เพื่อเป็นการผูกใจให้แนบสนิทอยู่กับพระคุณจริงๆ ไม่โยกโคลงกวัดแกว่งไปง่ายๆ จิตก่อนที่จะประกอบกิจกรรมทางพระศาสนานั้นเคยเป็นทาสแห่งอารมณ์ คลุกเคล้าอยู่กับอารมณ์ต่างๆ จะแยกจากอารมณ์โดยทันทีนั้น ย่อมไม่ได้ พรากมาแล้ว ก็คอยจะหวนกลับไป เหตุนั้น จึงต้องดำเนินการเป็นไป ๓ ขั้น คือ

   ๑. บริกรรม   การเปล่งวาจานมัสการพระพุทธเจ้าเป็นครั้งที่ ๑ ทำให้เกิดความกำหนดใจ กดใจในบทนมัสการ ทิ้งอารมณ์อื่นๆ ที่เคยดื่มมานั้นๆ เสีย จดจ่ออยู่กับบทนมัสการ

   ๒. อุปจาร   การเปล่งวาจานมัสการครั้งที่ ๒ เป็นการกระทำจิตให้เข้าใกล้เข้าชิด แอบอิงอยู่กับบทนมัสการ แต่ยังไม่แน่วแน่ เพราะเพิ่งพรากมาจากอารมณ์ต่างๆ ได้ใหม่ๆ ยังมีสั่นมีไหว แต่ก็ไม่หวนกลับไปหาอารมณ์เก่า คงไหวสั่นอยู่กับบทนมัสการนั้นเอง

    ๓. อัปปนา    การเปล่งวาจานมัสการครั้งที่ ๓ เป็นการกระทำจิตให้เข้าแอบแนบสนิทอยู่กับบทนมัสการ ไม่มีอาการสั่นไหว สงบนิ่ง เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นกุศลอยู่ในตนและเป็นพื้นฐานแห่งกุศลอื่นๆ อีกเป็นอเนก เรียกว่า กมฺนีย ควรแก่การงาน

    (บท นะโมฯ ก็ใช้บริกรรมเพื่อเจริญสมาธิได้ โดยว่าซ้ำๆ สมาธิก็เกิด)


   การเปล่งวาจานมัสการ ต้องว่า ๓ ครั้งทุกกรณีนั่น จะเป็นด้วยเหตุผลใดอีกบ้างก็แล้วแต่ ผลที่ยุตินั้นอยู่ที่ ๓ ครั้งดีกว่าครั้งเดียว  สามครั้งเหมือนเชือก ๓ เกลียว  ย่อมแน่นและเหนียวกว่าเกลียวเดียว สองเกลียว   การที่ท่านแต่ก่อนๆ ได้วางกำหนดกฎเกณฑ์ให้พุทธศาสนิกชนนมัสการพระพุทธองค์ ด้วยบทนมัสการ ๓ จบทุกกรณีนั้น เป็นการกำหนดเพื่อประโยชน์โสตถิผลของผู้นมัสการเป็นสำคัญ

   การตั้ง นะโม ฯ มีระเบียบแบบแผนปรากฏมาแต่นานแล้ว เป็นเรื่องของทางฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ หาใช่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ไม่ แต่ถ้าใช้ความสังเกตในเวลาฟังพระภิกษุท่านตั้ง นะโม ฯ แล้ว บางทีจะเกิดความสงสัยได้ว่า ทำไมจึงไม่เหมือนกัน จึงขอนำมาเสนอไว้เพื่อคลายความสงสัยของท่านผู้สนใจ

 


Create Date : 09 กรกฎาคม 2565
Last Update : 9 กรกฎาคม 2565 7:49:02 น. 0 comments
Counter : 509 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space