1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
Carlo Allegri
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร INNAMORATA - Jerry Vale Carlo Allegri (1862 - 1938) คาร์โล อัลเลกรี (พ.ศ. ๒๔o๕- ๒๔๘o) คาร์โล อัลเลกรี เกิดในอัลเจเรียเมื่อ พ.ศ. ๒๔o๕ ที่เมืองคอสตันตินา ซึ่งยูเซบิโอ ผู้เป็นบิดามีบริษัทก่อสร้างอยู่ มารดาคือลูเซีย อันเดรโอเล็ตตี เป็นชาวตำบลบอร์ญันนา เมืองวาเรเซ ติดพรมแดนสวิส คาร์โล เป็นพี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องรวม ๔ คน เขามีน้องชาย ๒ คน คือ ลุยจี ซึ่งภายหลังเป็นวิศวกรในบัลกาเรียและอัตติลิโอ ซึ่งเป็นแพทย์ ส่วนน้องสาวคือจูเลีย สมรสกับนายทหารรักษาพระองค์ผู้หนึ่งสะพานผ่านพิภพลีลา จัดหาอุปกรณ์ก่อสร้างโดย บริษัท LARINI NATHAN & Co. เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี **บริษัทนี้เป็นโรงงานหล่อเหล็ก เชี่ยวชาญในการผลิตเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กที่ใช้ในงานสร้างสะพาน และผลิตโครงเหล็กสร้างสะพานอีก ๓ แห่งในวัดเบญจมบพิตร คือ สะพานถ้วย สะพานงา และสะพานพระรูป (รูปและข้อมูลจาก คุณนอร์ชก้าและบล็อค คุณสายหมอกและก้อนเมฆ ** เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี คาร์โลได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแห่งหนึ่งใกล้ ๆ ซูริค เป็นโรงเรียนที่เข้มงวดทั้งทางวินัยและการเรียน คาร์โลจึงถูกหล่อหลอมให้เป็นบุคคลที่ยึดมั่นในวิธีการ สูงด้วยวินัยในตนเองและเปี่ยมด้วยความมานะในการทำทุกสิ่งให้สำเร็จ คาร์โลสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งในสมัยนั้นรวมวิชาการด้านสถาปัตย์กรรมไว้ด้วย สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันได้เป็นอย่างดี แต่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษเลย กระนั้นก็ตาม เมื่อตัดสินใจไปเสี่ยงโชคในเอเชีย คาร์โลเลือกไปสิงค์โปร์เป็นแห่งแรกสะพานเก่าในบางกอก วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๒ คาร์โล ลงเรือชื่อ "เมลเบิร์น" ที่เมืองท่ามาร์แซย์ในฝรั่งเศส มีพจนานุกรมศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งซื้อที่สถานีรถไฟเมืองมิลานติดตัวไปด้วย ระหว่างทาง คาร์โลบันทึกเกี่ยวกับผู้คนและสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นไว้ในสมุดไดอารีทุกวัน เป็นข้อความสั้น ๆ กะทัดรัด ตรงจุด แสดงถึงความช่างสังเกตของผู้บันทึกได้เป็นอย่างดี "๒๖ เมษายา ปอร์ตเซด ตอนเย็นไปเที่ยวคาเฟ่เอลดาราโดที่มีร้องเพลง แล้วไปคาสิโน ความรู้สึก : บ้านเมืองสะอาด ตึกรามสร้างถูกแบบแผน"...ทดสอบสะพานบางปะอิน รายละเอียดเกี่ยวกับเพื่อนร่วมทางชาติต่าง ๆ บนเรือก็มีการบันทึกไว้ทั้งบุคลิกลักษณะและนิสัยใจคอ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของไร่ชาชาวอังกฤษผู้ราวกับก้าวออกมาจากนวนิยายของรัดยาด คิปปลิง หรือกงสุลชาวเบลเยี่ยมแห่งเมืองโยโกฮามา ผู้ร่าเริงและมีอัธยาสัยน่าคบ ฯลฯ แต่ละเมืองที่เรือจอดเทียบท่า คาร์โลจะลงไปเที่ยวชมและบันทึกไว้ "๒ พฤษภาคม เอเดน นั่งรถชมเมืองอัฟริกา-อาหรับ ดึกไปเลยมืด มองอะไรแทบไม่เห็น"คาร์โลและบุตรสาว เมื่อถึงโคลอมโบ แม้กำลังมีพายุมรสุม แต่คาร์โลก็ยังไปเที่ยวชมสิ่งต่าง ๆ เท่าที่ทำได้ เช่น วัด สวน และพิพิธภัณฑ์ เมืองนี้เป็นเมืองแรกที่ให้ความรู้สึกว่าอยู่ในดินแดนที่ห่างไกลจากอิตาลี ได้เห็นพรรณไม้ดอกไม้ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน คาร์โลถึงกับบันทึกไว้ว่า นี่คือถิ่นกำเนิดของพันหนึ่งทิวา เรือโดยสารฝ่ามรสุมผ่านช่องแคบมะละกาถึงสิงค์โปร์ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ เพื่อนของบิดาซึ่งคาดว่าจะช่วยหางานให้ทำได้เพิ่งไปจากสิงคโปร์ คาร์โลจึงว่างงานโดยปริยาย แต่ในที่สุด จากประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์ เขาก็ได้งานเป็นผู้ออกแบบเครื่องจักรทำความสะอาดทองในเหมืองแห่งหนึ่ง แม้จะไม่ค่อยเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมามากนัก แต่คาร์โลก็ทำได้อย่างดีจนเป็นที่ไว้วางใจของนายจ้างคนแรกคาร์โลและทีมงานด้านศิลปะ วิศวกร และสถาปนิก ในพิธีวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อปี ค.ศ. ๑๙o๘ คาร์โลมีโอกาสได้รู้จักกับเพื่อนร่วมชาติคนอื่น ๆ ในสิงคโปร์ เริ่มชอบและคุ้นเคยกับบ้านเมืองและขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ของสิงคโปร์ หลังจากนั้นหนึ่งเดือน เขาได้เข้าทำงานกับบริษัทบอร์เนียวซึ่งทำเหมืองทองคำในสิงคโปร์ในฐานะหัวหน้าคณะนักสำรวจหาทองในป่า ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะเกือบติดพรมแดนประเทศไทย เป็นงานซึ่งค่อนข้างลำบากพอสมควร เขาต้องล่องเรือไปตามแม่น้ำซึ่งเต็มไปด้วยปลิง ต้องสู้รบกับตัวต่อ ยุง หนู และแมลงทั้งหลาย รวมทั้งอากาศร้อนขึ้นอยู่ตลอดเวลา ๓ เดือน นับเป็นช่วงเวลาที่เหนื่อยยาก ตรากตรำและเสี่ยงอันตรายมากที่สุดในชีวิต สะพานเก่าในบางกอก คาร์โลบันทึกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ไว้เช่นเคย เล่าถึงคนงานชาวมาเลย์ที่เชื่อถือโชคลางและกลัวสัตว์ป่าเป็นที่สุด ได้ยินเสียงอะไรไม่ชอบมาพากลแม้สักนิดก็พร้อมจะวิ่งหนี ตรงกันข้ามกับพวกซาไกซึ่งเป็นชาวป่าแท้ ๆ ไม่เกรงกลัวสัตว์หน้าไหนทั้งสิ้น เห็นเสือหลบซ่อนอยู่ที่ใดก็จะกระโจนเข้าใส่ และมักจะเป็นผู้พิชิตเสียด้วย แต่ในเรื่องงานแล้ว พวกนี้จะเป็นคนงานที่แย่ที่สุดโรงกษาปณ์เดิม ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป คณะของคาร์โลทำการสำรวจหาทองในแม่นำ้ซึ่งมีแควน้อยใหญ่แยกสาขาออกไปมากมาย แม่น้ำนี้เดิมทีแห้งขอด แต่ภายหลังเกิดนำ้ท่วมอย่างหนัก กระแสนำ้พัดพาทุกอย่างที่ขวางหน้าไปหมด ทั้งต้นไม้ใบหญ้า และซากสัตว์ต่าง ๆ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีร่องรอยว่ามีทองอยู่ในแม่น้ำนั้นเลยสะพานผ่านพิภพลีลา ปัญหาสำคัญของคณะสำรวจคือเรื่องอาหาร เนื่องจากพ่อครัวคนล่าสุดตายด้วยโรคมาลาเรีย และทางบริษัทังไม่ได้ส่งคนใหม่มาให้ คาร์โลจึงต้องปรุงอาหารเอง เขาบันทึกไว้ว่า "เรื่องทำครัวนี้ เกลียดเป็นที่สุด ทำขนมปังที ถ้าไม่สุกเกิน ก็ดิบเกิน เมื่อวานนี้ต้มไก่ตอน พอเสร็จปรากฏว่าเนื้อเหนียวไป ส่วนน้ำซุปก็ไม่เป็นนำ้ซุป ท้องเสีย ไข้สูงไปเลย แต่ที่แย่ที่สุดก็คือ ยังต้องทำกับข้าวอยู่อีก!"วังปารุสกวัน ทว่าต่อมาความเป็นอยู่ก็ค่อยดีขึ้น บริษัทส่งเครื่องมือสำรวจใหม่ ๆ มาให้ ซึ่งใช้การได้ดีกว่าเก่า ที่สำคัญคือ ส่งพ่อครัวมาด้วย ชีวิตในป่าจึงมีความสุขมากขึ้น บางครั้งมีแขกมาเยี่ยมเยียนถึงที่ บางครั้งคาร์โลก็เป็นฝ่ายออกไปหาใครต่อใคร ทำให้เขาไม่รู้สึกถูกตัดขาดจากโลกภายนอกอีกต่อไป และในที่สุดเขาก็ขุดพบทอง คาร์โลนำกลับไปให้บริษัทดูเป็นตัวอย่าง นายจ้างพอใจ แต่เขาไม่ใคร่จะพอใจเท่าไหร่นัก ในฐานะวิศวกร เขาใฝ่ฝันจะสร้างสิ่งที่อยู่เหนือพื้นดิน ไม่ใช่สำรวจลงไปในดินวังของราชสกุลกิติยากร คาร์โลเกือบเข้าทำงานในตำแหน่งช่างสำรวจกับบิรษัทปิเตอร์สัันแอนด์ซิมอนแห่งสิงคโปร์แล้ว หากไม่บังเอิญได้เห็นตึกที่ตั้งในลักษณะที่ผิดทิศผิดทางของบริษัทเข้า เขาได้เรียนรูู้ว่านั่นเป็นเพราะบริษัทยึดหลักของ "ฮวงจุุ้ย" อันเป็นศาสตร์แห่งการวางตำแหน่งสถานที่ของชาวจีน ทว่าวิศวกรสด ๆ ร้อน ๆ จากมหาวิทยาลัยในซูริคและมิลานเช่นเขา ย่อมยอมรับการก่อนสร้างแบบนี้ไม่ได้ น้ำพุที่วัดเทพศิรินทร์ หลังจากปฏิเสธตำแหน่งงานที่บริษัทปีเตอร์แอนด์ซิมอนเพียง ๓ วัน คาร์โลก็ได้รับจดหมายจากบริษัทการสแอนด์บราเดอร์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างที่กรุงเทพฯ ซึ่งเขาเขียนจดหมายสมัครงานไปเมื่อมาถึงสิงคโปร์ใหม่ ๆ ตอบรับให้เขาไปทำงานที่นั่นกรมโยธาธิการ เขาเขียนจดหมายถึงบิดา แจ้งถึงการตกลงใจครั้งนี้ "ผมจะทำงานที่ประเทศสยาม นี่จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผมก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยดี เพื่อให้ได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์และประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม"ลายมือของคาร์โล คาร์โล อัลเลกรี เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ความรู้สึกอย่างแรกที่บันทึกไว้ในสมุดไดอารีคือ ไม่รู้ว่ายุงที่กรุงเทพฯ นี่จะร้ายกว่าที่มาเลเซียไหม" คำตอบคือ "ร้ายกว่า" ทั้งยัง "ตะกละและเมาเลือดคนอีกด้วย" จากนั้นไม่มีการบันทึกอะไรอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องที่พักเด็ก ๆ ที่คาร์โลตั้งชื่อให้ เดือนพฤศจิกายน คาร์โลกลับมาเขียนบันทึกอีกครั้งหนึ่งด้วยความตื่นตาตื่นใจกับบรรยากาศที่พบเห็น "เดือนนี้เป็นเดือนสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชน มีขบวนการแห่ใหญ่โตน่าชม ขบวนเรือสีทองเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ในนิยายปรัมปรา พระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์เต็มยศ บรรดาพระโอรสแต่งเครื่องทรงงดงาม" "บันทึกที่เขียนในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายนให้ภาพคาร์โลที่อยู่ในเมืองไทยได้แล้วอย่างกลมกลืน อย่างเขาเล่าถึงการเลี้ยงอาหารค่ำเป็นทางการที่บ้านเจ้านายของเขา และตบท้ายว่า "ทุกคนกลับบ้านตอนเที่ยงคืน หวังว่า ชบา (สาวใช้) จะไม่ลืมกางมุ้ง..."บ้านที่สุริวงศ์ บ้านของคาร์โลอยู่เลขที่ ๑๕ ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นย่านสถานฑูตและที่พำนักของชาวต่างประเทศชาติต่าง ๆ มีการพบปะสังสรรค์กันเป็นประจำ คาร์โลได้มีโอกาสรู้จักกับพันเอกเจรินี ซึ่งสอนที่โรงเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า และเฟเดอริโก ชิกโก ดิ โคลา ทูตอิตาลีประจำประเทศไทยในขณะนั้นภาพถ่ายและของที่ระลึกของคาร์โล ขณะทำงานอยู่กับบิรษัทกราสแอนด์บราเดอร์ คาร์โลก็ได้รับข้อเสนอให้ทำงานกับกระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเพิ่งเริ่มตั้งและประกอบด้วย ๓ กรมใหญ คือ กรมรถไฟ กรมไปรษณีย็โทรเลข และกรมโยธาธิการ ภายใต้การกำกับดูแลของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานิรศรานุวัติวงศ์ มีวิศวกรชาวเยอรมันและชาวอังกฤษ ทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก คาร์โลตัดสินใจเข้ารับราชการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าวิศวกรประจำกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. ๒๔๓๖ภาพสเก็ตช์สะพานของคาร์โล ก่อนหน้านี้ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ คาร์โลได้สมรสกับทิพย์ วงศ์ศรี สาวน้อยชาวไทยและมีบุตรด้วยกัน ๓ คน คนโตเป็นผู้หญิง ส่วนอีก ๒ คนเป็นผู้ชาย แต่เสียชีวิตแต่เล็กทั้งคู่ คนแรกด้วยไข้มาเลเลีย คนที่สองจมน้ำในคลองที่อยู่บริเวณบ้านนั่นเอง เพื่อให้ลืมความเศร้าโศกจากการเสียชีวิตของบุตรชายทั้งสอง คาร์โลทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้แก่การทำงาน ทั้งออกแบบ คำนวณ และก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เขาเป็นผู้เลือกสรรและสั่งวัสดุชั้นเยี่ยมจากยุโรป เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารที่ทำการรัฐบาล พระที่นั่ง สะพาน โรงกษาปณ์แห่งใหม่ สถานีรถไฟ ฯลฯ โดยอาคารทุกแห่งต้องกลมกลืนไปกับทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการตกแต่งภายในพระราชวัง ชาวอิตาเลียนที่รับราชการในเมืองไทยขณะนั้นมีจำนวนมากกว่า ๓o คน มาจากแคว้นต่าง ๆ กัน ทั้งจากปิเอมองต์ ทัสคานี ลอมบาร์ดี และซิซีลี บุคลิกลักษณะและนิสัยใจคอจึงผิดแผกกันไป ด้วยต่างมีวิธีการทำงานที่ค่อนข้างเป็นอิสระเป็นเอกเทศ ตกเป็นภาระของคาร์โลที่ต้องพยายามให้บุคคลเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้ โดยให้ความสำคัญแก่งานของแต่ละคนอย่างเสมอภาค และเป็นคนกลางระหว่างวิศวกร สถาปนิก จิตรกร ประติมากร มัณฑณากร กับช่างประปา ช่างหินอ่อน ช่างไม้ ช่างที่คนไทยส่วนใหญ่จะเรียกเขาด้วยความนับถือว่า "ครู"สุสานหลวงในวัดราชบิตร ชาวอิตาเลียนที่ร่วมงานกับคาร์โลในช่วงนี้ ฝ่ายวิศวกรรม เช่น กอลโล คาโนวา สเปร็อตตี้ ฟอร์โน คอนเต โรแบร์ตี สปิญโญ ซาลา เลวี ฟัคคีเน็ตตี จาโคเน โคเล็ตตี้ กวัสโค บากินี กวาเดรลลี และปีสเตอร์ โน ฝ่ายสถาปัตยกรรม เช่น ตามาญโญ ริก็อตตี ซัลวาโตเร ริกัซซี ตาเวลลา อาร์ชีเนลลี มันเฟรดี โมเรสคี เรเมดีเด และอินการาโม ด้านจิตรกรรม เช่น คินี แฟร์โร ริโกลี และสกันชี ด้านประติมากรรม เช่น โนวีและโดนาเรลลี ด้านปูนปั้น เช่น อินโนเซนตี ปาโรคี โนลลี และเคสสซี ด้านงานหินอ่อน เช่น ปราโต ส่วนช่างฝีมือ เช่น โบสซาส บอสโก เมดากินี วัลลี มัสนาตี โบซันซา ปิฟฟาเรลลี มาโรนี ฯลฯ คาร์โลได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์ช้างเผือก ได้รับเครื่องราชอสริยาภรณ์ชั้นคอมแมนเดอร์จากอิตาลี และเกียรติบัตรในงานนิทรรศการที่มิลานใน พ.ศ. ๒๔๔๙เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์ช้างเผือก รางวัลที่ได้รับในงานนิทรรศการนานาชาติเมืองมิลาน การเสียชีวิตของทิพย์ภรรยาใน พ.ศ. ๒๔๕๒ ขณะที่ลีนา บุตรสาวกำลังศึกษาอยู่ในอเมริกา ทำให้คาร์โลมีความทุกข์อย่างยิ่ง ถึงกับหันไปสูบฝิ่นอยู่ช่วงหนึ่ง และได้ร่วมก่อสร้างพระที่นังอนันตสมาคมในปีเดียวกันนั้นเอง โดยร่วมมือกับ ตามาญโญ ริก็อตติ มันเฟรดี คินี ริโกลี สกวันซี และกอลโล ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะให้เป็นพระที่นั่งที่มีรูปทรงตามแบบสถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป คาร์โลกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายในอิตาลี ที่เมืองเวเรเซและเสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบใน พ.ศ. ๒๔๘o สมบัติทุกชิ้นของเขาที่เกี่ยวข้องกับเมืองไทย ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ ณ วิลลาริมทะเลสาบอันงดงามแห่งเมืองลูกาโน ทะเลสาบลูกาโน ภาพจากเวบ italyweddingplanning.com ผลงานของท่านคาร์โล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป หรือ หอศิลปเจ้าฟ้า หอศิลปเจ้าฟ้าในปัจจุบัน ศิลปะนีโอคลาสสิคที่วัดเทพศิรินทร์ สะพานผ่านพิภพลีลา ลายประดับหัวเสาสะพาน ลายช้างสามเศียรที่กลางสะพาน หมุดปิดทอง สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ลวดลายแบบโรมันที่เสาหินอ่อน สภากาชาดไทยในช่วงต้นปี ค.ศ. ๑๙oo วังปารุสกวัน สะพานมหาดไทยอุทิศ สุสานหลวงในวัดราชบิตร พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย สร้างโดยทีมงานชาวอิตาเลียน อีกมุมหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ภาพและข้อมูลจากหนังสือ "ชาวอิตาเลียนในราชสำนักไทย" บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ ไลน์จากคุณญามี่Free TextEditor
Create Date : 08 กรกฎาคม 2553
Last Update : 18 กันยายน 2556 8:41:56 น.
71 comments
Counter : 13698 Pageviews.
โดย: haiku วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:56:57 น.
โดย: อุ้มสี วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:24:10 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:5:34:36 น.
โดย: chinging วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:11:05 น.
โดย: pragoong วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:12:46 น.
โดย: Noshka วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:19:44 น.
โดย: Dingtech วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:35:14 น.
โดย: ปฐพีหอม วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:43:38 น.
โดย: cengorn วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:59:01 น.
โดย: cengorn วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:13:56 น.
โดย: haiku วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:03:35 น.
โดย: MaFiaVza วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:36:12 น.
โดย: cengorn วันที่: 10 กรกฎาคม 2553 เวลา:0:10:48 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 กรกฎาคม 2553 เวลา:5:48:38 น.
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 10 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:46:20 น.
โดย: ดาวส่องทาง วันที่: 10 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:39:52 น.
โดย: cengorn วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:3:43:45 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:6:46:46 น.
โดย: sawkitty วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:22:25 น.
โดย: cengorn วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:06:48 น.
โดย: haiku วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:40:40 น.
โดย: cengorn วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:0:09:12 น.
โดย: cengorn วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:2:43:22 น.
โดย: cengorn วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:4:10:23 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:5:33:33 น.
โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:23:36 น.
โดย: haiku วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:38:37 น.
โดย: cengorn วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:11:50 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:59:02 น.
โดย: มนุษย์ต่างดาว..ผมยาว..ปากหวาน... (เป็ดสวรรค์ ) วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:13:49 น.
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:0:30:39 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:05:14 น.
โดย: pragoong วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:58:42 น.
โดย: Noshka วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:38:41 น.
โดย: ป้ามด วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:36:28 น.
โดย: sawkitty วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:23:23 น.
โดย: d_regen วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:1:46:17 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:16:07 น.
โดย: มินทิวา วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:35:49 น.
โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:17:11 น.
โดย: haiku วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:03:56 น.
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:35:47 น.
โดย: บูรพากรณ์ วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:44:24 น.
โดย: KOok_k วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:4:20:30 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:6:05:21 น.
โดย: JewNid วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:54:52 น.
โดย: อุ้มสี วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:19:30 น.
โดย: ปฐพีหอม วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:29:35 น.
โดย: Noshka วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:53:59 น.
โดย: พลังชีวิต วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:38:51 น.
โดย: มินทิวา วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:40:21 น.
โดย: ปฐพีหอม วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:31:17 น.
โดย: Noshka วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:03:01 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:41:28 น.
โดย: haiku วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:00:07 น.
โดย: ผ่านมา IP: 161.200.52.105 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:28:50 น.
โดย: haiku วันที่: 21 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:37:52 น.
โดย: 7/11 IP: 124.121.251.183 วันที่: 31 สิงหาคม 2556 เวลา:11:28:16 น.