Group Blog
ธันวาคม 2564

 
 
 
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยวอยุธยา - นิทรรศการยืนเครื่องโขน ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ บางไทร อยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยว : นิทรรศการยืนเครื่องโขน ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ บางไทร อยุธยา, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 8' 57.73" N 100° 31' 22.28" E

 







ช่วงนี้ไม่ได้ออกไปเที่ยวที่ไหนเลยตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม  อยู่บ้านตลอดครับ  ออกไปหน้ารั้วบ้านยังไม่ค่อยออกไปเพราะก่อนเข้าประตูบ้านจะต้องพ่นแอลกอฮอร์ทั้งตัว  ถูเจลทีมือถึงข้อศอก  แล้วก็รีบเข้าไปล้างมือด้วยสบู่พร้อมกับร้องเพลง  “ช้าง  ช้าง  ช้าง”  2 รอบ  อิอิอิ
 


 
 
ช่วงนี้เลยเป็นการเคลียร์คลังรูปสถานที่ท่องเที่ยวที่เคยไปมา  (นาน)  แล้ว  แต่ยังไม่ได้เอามาโพสครับ
 


 
 
วันนี้เราก็ยังเที่ยวกันอยู่ในเขตจังหวัดอยุธยาเหมือนเดินอีกซัก  entry  นึงครับ
 






 

นิทรรศการ  ยืนเครื่องโขน 

ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ  บางไทร  อยุธยา

 
 







หลายคนอาจจะสังเกตว่า 
“ทำไมเจ้าของบล็อกมาที่นี่บ่อยจัง”  ตอบนะครับ  “ใกล้บ้านครับ”  ฮ่าๆๆๆ  บ้านเจ้าของบล็อกอยู่แถวๆบางบัวทอง  ขับรถอึดใจเดียวก็ถึงบางไทรแล้วครับ  ที่  ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ  บางไทร  อยุธยา  ยังมีผลิตภัณฑ์จากโครงการศิลปาชีพขายในราคาย่อมเยาอีกด้วยนะครับ
 
 



จริงๆแล้ว 
นิทรรศการ  ยืนเครื่องโขน  มีที่มาจาก นิทรรศการ  โขน  ที่เจ้าของบล็อกได้มาชมแล้วเมื่อซักปีนึงก่อนที่น้องโคจะมาครับ  พอดีได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่นำชมถึงประเทศที่มีการแสดงคล้ายๆ  “โขน”  ว่าน่าจะมี  “อินโดนีเซีย”  ด้วยนะ  อยากเห็นเสื้อผ้าที่ใช้ในการแสดงใกล้ๆ  เพราะสวยมาก  เจ้าหน้าที่เลยกระซิบบอกให้ติดตามข่าวให้ดีๆ  เพราะจะมีนิทรรศการใหม่ซึ่งมีชุดที่ใช้ในการแสดงโขนของอินโดนีเซียมาจัดแสดงด้วย
 
 

 
พอได้ข่าวว่ามีนิทรรศการใหม่มาแทนนิทรรศการ  โขน  จึงรีบมาชมครับ
 





 

ทั้งนิทรรศการ  “โขน”  และ  “ยืนเครื่องโขน”  นี้  เป็นการสืบสานงานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ที่ทรงสนับสนุนให้การแสดงโขนกลับมาได้รับความนิยม  รวมไปถึงทรงรื้อฟื้นเครื่องแต่งกายโขนและหัวโขนแบบโบราณ  ซึ่งเป็นการต่อลมหายใจให้กับช่างเสื้อผ้าละครและช่างทำหัวโขนด้วยครับ 
ขอน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ไว้  ณ  ที่นี้ด้วยครับ
 

 







นิทรรศการยืนเครื่องโขน  ศาสตร์สร้างศิลป์  มรดกแผ่นดินร่วมวัฒนธรรม










ถ้าจะพูดถึงโขน  ก็ต้องนึกถึง  รามเกียรติ์  และย้อนกลับไปถึง  มหากาพย์รามายณะ  อันเป็นต้นกำเนิดของรามเกียรติ์
 


 
มหากาพย์รามายณะเป็นวรรณกรรมชั้นยอดเรื่องยาวมาก  (ว่ากันว่ามีความยาวถึง  24,000  โศลก  - คำกลอน  1  บท)  จากชมพูทวีป  (ปัจจุบันส่วนใหญ่ของชมพูทวีปอยู่ในประเทศอินเดีย)   ถ้านับถึงปัจจุบันจะมีอายุถึง  2,000  กว่าปี   
 
 


มหากาพย์รามายณะ  มีหลายเวอร์ชั่นครับ  ที่เป็นที่นิยมกันจะเป็นเวอร์ชั่นของ  ฤาษีวาลมิกิ 
 


 
ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ  (ประเทศไทย  )  และดินแดนแถบคามสมุทรมลายู  (ภาคใต้ของประเทศไทยและประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน)  พร้อมๆกับการแผ่ขยายอารยะธรรมของอินเดียที่มากับการเผยแพร่ศาสนาพารหมณ์ – ฮินดู พุทธศาสนา  และ  การติดต่อค้าขาย
 


 
มหากาพย์รามายณะ  เข้ามาเผยแพร่เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิและคาบสมุทรมลายูโดยพราหมณ์จากชมพูทวีป  พราหมณ์ส่วนใหญ่จะเข้ามาทำหน้าที่สำคัญๆใกล้ชิดกับชนชั้นปกครองและกษัตริย์จึงทำให้  มหากาพย์รามายณะ  เข้ามามีอิทธิพลผสมกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมท้องถิ่น






 
 




ปัจจุบัน  เรื่องราวของ  รามายณะ  ในแต่ละประเทศในดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีโครงเรื่องที่คล้ายกัน  แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียด  และถูกนำเสนอเป็นการแสดงโดยใช้ชื่อที่ต่างกัน  เช่น  ไทย – โขน  สาธารณรัฐประชาชาลาว  พระลัก – พระราม  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ – หย่ามะ ซัตด่อว์  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย – วายัง วอง ราชอาณาจักรกัมพูชา – ลโคน โขล
 
 
 
 
 

อินโดนีเซีย  หรือถ้าจะให้เจาะจงลงไปก็คือ  บาหลี  เป็นดินแดนแห่งแรกที่รับเอาวัฒนธรรมอินเดีย  เช่นศาสนาพารหมณ์ – ฮินดู  โดยมีหลักฐานปรากฏอยู่ในสิ่งก่อสร้างโบราณต่างๆทั่วเกาะบาหลี  เช่น  เทวสถานบรัมบานัน  มีการแสดง  วายัง – วอง  โดยจะแสดงทั้ง  มหาภารตะ  และ  รามายณะ  ซึ่งแต่เดิมใช้ผู้ชายล้วนในการแสดง  ต่อมาใช้ผู้หญิงร่วมแสดงดังที่ปรากฏในการแสดง  วายัง – วอง  ของราชสำนักยอกยาการ์ตา  และ  สุรการ์ตา







 
 






คลิปการแสดง  วายัง - วอง












วัฒธรรมเขมร เป็นวัฒนธรรมต่อมาที่รับเอาวัฒนธรรมและความเชื่ออินเดียเข้าไว้รวมกับความเชื่อท้องถิ่น  ราชอาณาจักรกัมพูชาเรียกรามเกียรติ์ว่า  “เรียมแกร์”  และ  ลโคน โขล  ซึ่งเป็นการแสดงเพิ่งจะได้รับการฟื้นฟูหลังสงคราม  มีหลักฐานว่ากัมพูชาได้รับเอา  รามายณะ  เข้าสู่วัฒนธรรมมานานแล้ว  โดยตามปราสาทเก่าแก่ต่างก็พบหลักฐานเป็นรูปเคารพเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีการประดับตกแต่งปราสาทหินด้วยรูปปั้น – รูปสลักจากมหากาพย์รามายณะ  บริเวณระเบียงรอบปราสาทนครวัดปรากฏภาพสลักนูนต่ำเป็นภาพการกวนเกษียรสมุทร 
 
 

ลโคน โขล  มีทั้งที่ใช้ผูหญิงแสดงทั้งหมดแบบราชสำนัก  และแบบที่ใช้ชายจริง – หญิงแท้  แสดง  โดยจะแต่งการตามแบบเครื่องทรงในราชสำนักกัมพูชา














 
คลิปการแสดง  ละโคล โขน








 
 
ใน 
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  มีการแสดงขึ้นครั้งแรกในราชสำนักหลวงพระบาง  ในสมัยของพระเจ้าโพธิสาร  เรียกว่า  พระลัก – พระราม  จะมี  “แคน”  เป็นเครื่องดนตรีราวมบรรเลงด้วย











คลิปการแสดง  พระลัก - พระราม






 
 


จากการที่ได้มีการกวาดต้อนชาวอยุธยาไปเมื่อครั้งเสียกรุง  จึงเกิดการถ่ายโอนรูปแบบนาฎกรรม  พม่าเรียกการแสดงทุกอย่างของอยุธยาว่า  “โยเดียชาตจี”  มีการนำการแสดงรามายณะและอิเหนาไปแสดงในราชสำนักพม่า  เรียกว่า 
หย่าม่ะซัดดอว์
 
 

ในสมัยพระเจ้าจิงกูจา  มีการแปลรามยณะเป็นภาษาพม่าโดยกวีพม่าชื่อ  อุโท  และพระนางทะขิ่นมินมี  มเหสีเอกของพระเจ้าจิงกูจาได้รับเอาไว้ในพระราชินูปถัมภ์  โดยการแสดงในถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบพม่า







 
 





คลิปการแสดง  หย่าม่ะซัดดอว์









สำหรับในประเทศไทย  โขน  เป็นการแสดงชั้นสูงมานานตั้งแต่สมัยโบราณ  เพราะเป็นการรวมเอาศิลปะแขนงต่างๆมาไว้ในที่เดียวกัน  ตั้งแต่นาฎศิลป์  สังคีตศิลป์  การพากย์โขน  การทำหัวโขน  การทำเครื่องแต่งตัวโขน  จะแสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น 













ในการแสดงโขน  จะเรียกตัวแสดงเอกว่า 
“ตัวเครื่อง”  หรือ  “ตัวยืนเครื่อง”  มีเครื่องแต่งกายในการแสดงประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ  พัสตราภรณ์  หมายถึง  เครื่องนุ่งห่ม  ถนิมพิมพาภรณ์  หมายถึง  เครื่องประดับ  และ  ศิราภรณ์  หมายถึงเครื่องประดับศรีษะ  รวมทั้งหัวโขน
 


 

พัสตราภรณ์  หมายถึง  เครื่องนุ่งห่ม  สำหรับตัวพระในสมัยโบราณจะใส่เสื้อคอกลมผ่าหน้าเป็นเสื้อตัวใน  ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเสื้อคอกลมแขนสั้นและแขนยาว


 
สำหรับตัวนางจะมีผ้าห่มนาง  ลักษณะเป็นผ้าสไบแถบ  ปักลวดลายตลอดความยาวของผ้าสไบ  เช่น  ลายพุ่ม  หรือลายกรวยเชิง  ฯลฯ 


 
กรองคอ  หรือ  นวมคอ  8 กลีบ  ปักลายหนุนรูปกระจัง 














 






ถนิมพิมพาภรณ์  หมายถึง  เครื่องประดับ  เป็นเครื่องประดับที่ถม  และลงยา  ยกตังอย่างเช่น  ทับทรวง  เป้นโลหะประกอบกัน  3  ชิ้น  ชุบเงิน  ประดับเพชร  ตรงกลางฝังพลอยสีแดง  มีสายเพชรจำนวน  2  แถวสำหรับห้อยคอ 
 
 

ถนิมพิมพาภรณ์สำหรับตัวพระ  เช่น  เข็มขัดหรือปั้นเหน่ง  สังวาล  อินธนู  แหวน
 
 

ถนิมพิมพาภรณ์สำหรับตัวนาง  เช่น  เข็มขัดหรือปั้นเหน่ง  สะอิ้งนาง  พาหุรัด  จี้นาง














 

ศิราภรณ์  หมายถึงเครื่องประดับศรีษะ  จะมีทั้ง  ชฎาสำหรับตัวพระ  ชฎาสำหรับตัวนาง  หัวโขนต่างๆ  เกี้ยว รัดเกล้า  ส่วนมากจะเป้นการจำลองเครื่องสวมใส่ศรีษะของกษัตริย์



 
ในรัชการพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เครื่องประดับศรีษะ  หรือ  เครื่องโขนหลวง  ของกรมมหรสพ  แบ่งได้เป็น
 


 
1. ศรีษะพญานาค
2. กระบังหน้า
3. ชฏายอดบวช
4. ชฏายอดพระมหาพิชัยมงกุฎ
5. ชฏายอดชัย
6. มงกุฎกษัตรีย์
7. ชฏายอดเทริด
8. รัดเกล้ายอด
9. รัดเกล้าเปลว














นอกจากนี้  นิทรรศการ  ยืนเครื่องโขน  ยังจัดแสดงหัวโขนชุดใหญ่แบบครบชุดไว้ให้ได้ชมกันอีกด้วยครับ  หาชมที่ไหนไม่ได้แล้วครับ


















 
134137134

 



Create Date : 13 ธันวาคม 2564
Last Update : 13 ธันวาคม 2564 11:51:34 น.
Counter : 1927 Pageviews.

15 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณPooh Station TH, คุณThe Kop Civil, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณตะลีกีปัส, คุณtoor36, คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณnewyorknurse, คุณเริงฤดีนะ, คุณกิ่งฟ้า, คุณkae+aoe, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณNoppamas Bee, คุณKavanich96, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร

  
ระดับครูเสียละมั๊งคุณบอลดูมีอายุทั้งคู่

โดย: หอมกร วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:12:12:52 น.
  
ผมไม่มีความรู้เรื่องโขนเลยครับ
ไม่เคยดูมาก่อนด้วย
วันนี้มานั่งอ่านบล็อกคุณบอล
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ

ถ้าใครชอบรามเกียรติ์น่าจะดูโขนสนุกมกายิ่งขึ้นเลยนะครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:12:13:59 น.
  
พระลัก พระลาม ของลาว อ่านแล้วขำ ๆ ดีค่ะ
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:12:16:17 น.
  
ศิลปะวัฒนธรรมไทยงดงามจริง ๆ ครับ
โดย: The Kop Civil วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:13:34:40 น.
  
สวัสดี จ้ะ น้องบอล

วันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ โขน มากายเลยจ้ะ เป็นศิลป
วัฒนธรรม ของไทยที่รับมาจาก อินเดีย อินโดนีเซีย และมาประยุกต์
เข้ากับวัฒนธรรมไทยได้อย่างกลมกลืน จ้ะ

โหวดหมวด ศิลปะ
โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:15:36:17 น.
  
ลูกชายผมก็ชอบรามเกียรติครับ
รู้สึกว่าเค้าจะได้เรียนเรื่องโขนด้วย
มีในแบบเรียน

แต่ผมนี่จำชื่อตัวละครไม่ได้เลยครับ 555

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:19:29:00 น.
  
สวัสดีมีสุขค่ะ

สวยงามมากๆค่ะ
ศิลปไทย ควรค่าแก่การอนุรักษ์ค่ะ
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:20:32:24 น.
  
ตอนไปอยุธยาไม่ได้แวะไปครับ ส่วนหนึ่งเพราะข้อจำกัดเรื่องของเวลาด้วย
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:21:04:49 น.
  
สวัสดีครับคุณบอล

ผมก็ทำเหมือนคุณบอลเลย ล้างมือร้งเพลงช้าง(ในใจ) และฉีดสเปรย์ก่อนเข้าบ้าน เพื่อความปลอดภัยเนาะ

เห็นโขนแล้ว นึกถึงโขน ศูนย์ศิลปาชีพจังครับ รอโอกาสที่จะได้นำกลับมาแสดงให้ชมกันอีกครั้ง
โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 13 ธันวาคม 2564 เวลา:21:16:29 น.
  
ว้าว!! เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ สวยงามอลังการณืจัง
ชอบๆๆค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 ธันวาคม 2564 เวลา:6:05:11 น.
  

สวัสดียามเช้าครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 ธันวาคม 2564 เวลา:6:25:35 น.
  
สวัสดีค่ะคุณทนาย ขอบคุณที่ไปชมแดนเทวดานะคะ
ตามมาชมโขนที่ศูนย์ศิลปาชีพค่ะ เครื่องแต่งกายสุดสวยมากยอดเยี่ยมมากเลยค่ะนาฎศิลป์ไทยสมควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ
ชอบดูโขนเรื่องรามเกียรติ์มากๆค่ะตอนนางสีดาถูกลักพาตัวสนุกและสวยงามค่ะ
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 14 ธันวาคม 2564 เวลา:7:49:57 น.
  
สวัสดีครับพี่บอล
ชุดโขนนี่สวยมากเลยครับ เคยไปนั่งดูกับคุณแม่ที่ศูนย์วัฒนธรรม พระราม 9 แต่ดูท่าจะแต่งนาน จะฉี่แต่ละทีไม่น่าะง่าย ชุดก็น่าจะหนัก เวลาแสดงคงเหนื่อยน่าดูเลยครับ
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 14 ธันวาคม 2564 เวลา:11:06:29 น.
  
ขอบคุณมาก ๆ นะคะที่แวะไปอวยพรวันเกิดให้ ^_^
โดย: haiku วันที่: 14 ธันวาคม 2564 เวลา:23:33:54 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:4:24:41 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]