การกลับมาของกองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย (2)
พ.ศ. 2494
เกิดกบฏแมนฮัตตัน โดยทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน.
ทำการจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือ
ขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงศรีอยุธยา
ซึ่งจบลงด้วยความยอมแพ้ของฝ่ายทหารเรือ ซึ่งในขณะนั้นมีศักยภาพสูงมาก
จากการได้รับอาวุธที่เหลือใช้จากสงครามโลกครั้งที่สองมาเป็นจำนวนมาก
หน่วยกำลังทหารเรือหลายหน่วยงานถูกย้ายไปอยู่ที่สัตหีบ บางส่วนถูกยุบ
ซึ่งรวมไปถึงหมวดเรือดำน้ำ ที่ถูกควบไปกับหมวดเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง
พ.ศ. 2539
นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทยในสมัยนั้นมีโครงการจะจัดหา
เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นก็อตแลนด์ (A-19 Gotland class) ผลิตโดย
บริษัทค็อกคูม (KOCKUM) จากสวีเดนมาประจำการในกองทัพเรือไทย
แต่ขณะนั้นได้ประสบปัญหาถูกสื่อของทั้งสวีเดนและไทย ออกข่าวโจมตีว่า
มีการให้ค่าคอมมิชั่นในการจัดซื้อให้แก่คนในรัฐบาลไทยในสมัยนั้น
จนเป็นเหตุให้ถูกระงับโครงการ
พ.ศ. 2543
กองทัพอากาศเยอรมันได้ปลดประจำการเครื่องบินรบ Alpha jet
เกือบหนึ่งร้อยลำ กองทัพอากาศไทยซื้อมาบางส่วน จำนวน 25 ลำ
ในราคาเพียง 1250 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมาจนน่าจะซื้อมามากกว่านี้
พ.ศ. 2554
กองทัพเรือเยอรมันมีความประสงค์จะปลดเรือดำน้ำรุ่น U206A ที่เหลือทั้งหมด
จำนวน 6 ลำ โดยเป็นเรือที่มีความพร้อมในการรบจำนวน 4 ลำและเป็นอะไหล่ 2 ลำ
พร้อมทั้งอุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องจำลอง และการฝึกอบรมทั้งหมดให้กองทัพเรือไทย
ในวงเงิน 7700 ล้านบาท โดยใช้เงินจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับทยอยจ่าย 4 ปี
ซึ่งแปลว่าตัวเรือดำน้ำมีราคาถูกเหมือนได้เปล่า เนื่องจากราคานี้นั้นหมายถึง
การเปลี่ยนกองทัพเรือไทยที่ไม่เรือดำน้ำมากกว่า 60 ปีให้กลับมาพร้อมรบอีกครั้ง
ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับเรือดำน้ำทั้งหมด
ซึ่งหากเปลี่ยนเงินจำนวนนี้เป็นการซื้อใหม่ จะได้เพียงเรือดำน้ำตัวเปล่าเพียง 2 ลำ
ซึ่งเป็นหลักนิยมของกองทัพเรือในทุกประเทศที่จะจัดหาเรือดำน้ำมือสอง
มาใช้เพื่อฝึกให้เคยชินก่อน ก่อนที่จะซื้อเรือดำน้ำใหม่เข้าประจำการ
และการมีเรือดำน้ำที่พร้อมรบจำนวน 4 ลำจะเพียงพอต่อวงรอบการลาดตระเวน
และมีอีก 2 ลำที่จะเป็นอะไหล่ให้ถอดไปใช้งานและเป็นเรือฝึกให้ลูกเรือใหม่
เรือดำน้ำรุ่น 206A ถูกอัพเกรดมาจากเรือดำน้ำรุ่น 206
ผลิตขึ้นโดยบริษัท Howaldtswerke-Deutsche-Werft AG
ความยาวลำตัวเรือ 48.6 เมตร ความกว้าง 4.6 เมตร
มีระวาง 450 ตันบนผิวน้ำและ 498 ตันขณะดำ
ใช้เครื่องยนต์ MTU ขนาด 600 แรงม้าจำนวน 2 เครื่อง
ขณะอยู่ใต้ผิวน้ำใช้เครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า Siemens ขนาด 1100 kW
ความเร็วเมื่ออยู่บนผิวน้ำ 31 km/h ใต้ผิวน้ำ 19 km/h
ระยะปฏิบัติการ 8300 km ดำน้ำได้ระยะ 420 km ต่อครั้ง
ความลึกสูงสุด 200 m บรรจุตอร์ปิโด 8 ลูก ทุ่นระเบิด 24 ลูก
ความพิเศษคือเป็นเรือที่ออกแบบให้ปฏิบัติการลาดตระเวนในเขตน้ำตื้น
และลำตัวเรือผลิตจากเหล็กเกรดพิเศษที่ไม่เป็นสนิม จึงไม่มีอายุการใช้งาน
กองทัพเรือเยอรมันจะมอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้กองทัพเรือไทย
เนื่องจากเก็บไว้ก็ไร้ประโยชน์ สิ่งเดียวที่จะถูกถอดออกก็คือเครื่องเข้ารหัส
หลังจากที่เรือดำน้ำของไทยได้จากอ่าวไทยไปกว่า 60 ปี
หากพลาดสัญญาฉบับนี้ไป ไม่รู้ว่าจะต้องรอไปอีกนานเท่าไหร่
ที่กองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทยจะได้กลับมาอีกครั้ง
แล้วทำไมเราต้องมีเรือดำน้ำ ก็เพราะเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่อันตรายที่สุด
และอาวุธต่อต้านเรือดำน้ำที่ดีที่สุด ก็คือเรือดำน้ำด้วยกันนี่เอง
ปัญหาคือรัฐบาลประกาศยุบสภาไปแล้ว
แล้วจะกล้าอนุมัติโครงการนี้หรือเปล่า
คงเป็นคำถามที่วันนี้ยังไม่มีใครรู้คำตอบ