งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (7)
เรือพระที่นั่งศรีประภัสสรไชย https://www.gutenberg.org/files/33440/33440-h/33440-h.htmการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารคประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัชกาลที่ 4ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้าว่า มีเรือถึง 269 ลำ โดยมีการจัดขบวนเรือเป็น 6 ตอน
ปรากฏชื่อเรือเรือพระกิ่งศรีสมรรถไชยและเรือกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์ สมัยรัชกาลที่ 1ใช้ตั้งพระสุพรรณบัฏ และเรือกิ่งศรีสุนทรไชย และเรือกิ่งไกรสรจักรตั้งพระคชาธารพร้อมฉัตรเจ็ดชั้น
ในตอนที่ 4 หลังเรือมงคลสุบรรณ และเรือสุพรรณหงษ
ตอนที่ 5 เป็นเรือดั้งของตำรวจ ตอนที่ 6 เป็นเรือพระที่นั่ง นำโดยเรือคู่ชัก เรือกลอง
มีเรือพระที่นั่งคือเรือกิ่งศรีประภัศศรไชย และเรือกิ่งไกรสรมุขเป็นเรือพระที่นั่งรอง
แสดงว่า หนึ่งเรือพระที่นั่งกิ่งที่เรายังไม่รู้หน้าตา ยังปรากฏอยู่จนกระทั่งสมัยต้นรัชกาลที่ 4
แต่มีบทบาทหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป และสองมีการเรียกเรือศรีประภัศศรไชยว่าเป็นเรือกิ่ง
ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมที่เรียกเรือกิ่งจากฐานะที่เป็นเรือทรง มากกว่าลักษณะของเรือ
ดูเหมือนว่ารัชกาลที่ 4 ยังทรงฯ สืบทอดการใช้เรือเอกชัยมาจากรัชกาลที่ 3
ในรัชกาลของพระองค์โปรดฯ ให้สร้างเรืออนันตนาคราชเป็นเรือพระที่นั่งทรง
และโปรดฯ ให้สร้างโขนเรือรูปพระนารายณ์ สวมเข้ากับโขนเรือสุบรรณ
ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 กลายมาเป็นเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ
เมื่อถึงรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้ใช้เรือพระที่นั่งศรีประภัศศรชัยเป็นเรือผ้าพระกฐิน
เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งศรีประภัศศรชัยก็ชำรุดเสียหายลง
จึงโปรดฯ ให้ใช้เรืออนันตนาคราช ในการทำหน้าที่แทนมาถึงปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดเดา แต่เรามีหลักฐานร่วมสมัยที่สำคัญ
เรือสุพรรณหงษ @วัดเสนาสนารามในหนังสือเรื่องบันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ ซึ่งเป็นการเขียนจดหมายโต้ตอบ
ระหว่างสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กับเพระยาอนุมานราชธน
ระหว่างปี พ.ศ. 2479 ถึง พ.ศ. 2486 มีเรื่องที่เกี่ยวข้องบันทึกไว้ว่า
อนึ่ง เรือชนิดใดเรียกว่าเรือกิ่ง หรือเรือไชย ฉันไม่รู้
มีคนบอกว่าเรือกิ่งหรือเรือไชย ก็หัวเรือเป็นเดือยนั่นล่ะ
แต่ถ้ามีกระหนกกลางเดือยเป็นเรือกิ่ง แต่ถ้ามีกระหนกปลายเป็นเรือไชย
ฉันไม่เชื่อ เพราะเห็นว่านั้นเป็นแต่ทางช่างผูกเท่านั้น จะนับว่าเป็นชนิดเรือหาควรไม่
ฉันเคยวินิจฉัยมาพักหนึ่งแล้ว เห็นว่าเรือชัยแปลว่าเรือชนะ จะเป็นเรืออะไรก็ได้
แต่เรือกิ่งจะต้องมีกิ่งอะไรติดอยู่ ดังพงศาวดารเรื่อง เรือกิ่งสมัยพระเจ้าทรงธรรม
แล้วยังได้ไปเห็นเรือพม่าทำหัวท้ายอย่างรูปเรือกิ่งดอกเลาแปลงของเรา
เว้นแต่ไม่มีกิ่งซึ่งทำเทียมเป็นดอกเลาปักสูงขึ้นไปเท่านั้น เป็นอันได้ความพอใจ
ลางคราวเรือชนิดที่ทำเทียมกิ่งดอกเลาปักหัวท้ายเรือชัยก็มี ที่เป็นหัวเรือรูปสัตว์
เช่นเรือหงส์ เรียกว่าเรือกิ่งสุพรรณหงส์ยังไม่เคยพบ พบแต่เรียกว่าเรือชัยสุพรรณหงส์
แต่ที่เรียกเรือชัยนั้น สังเกตว่าใช้เรียกแต่เรือพระที่นั่ง นอกนั้นก็มีเรือคู่ชักสองลำคือเหินหาว
กับหลาวทอง ตามที่สังเกตและสันนิษฐานมาดังนี้ จะผิดจะถูกอย่างไรไม่ทราบแน่
สรุปว่า สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งท่านมีพระชนม์ชีพในช่วงรัชกาลที่ 5
และน่าจะได้ทันสนทนากับคนที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วยเป็นอย่างน้อย
ทันที่จะเห็นเรือกิ่งทั้งสองลำ แต่พระองค์ก็ทรงยังไม่รู้จักลักษณะของเรือกิ่ง
สอดคล้องกับภาพระกอบสมุดภาพพยุหยาตราเพชรพวงของสมเด็จกรมฯ พระยาดำรงฯ
ที่ทรงฯ ให้ช่างเขียนรูปเรือแบบเรือพระที่นั่งศรีประภัสสรชัย แทนที่จะเป็นเรือกิ่ง
อาจสรุปได้ว่า เรือกิ่งสมัยรัตนโกสินทร์เป็นเรือแบบเอกชัย
ที่มีการสลักหัวเรือเป็นลวดลายกนกใบไม้ แบบเรือประภัสสรไชยที่เราเห็น
ในงานพยุหยาตราคราวใด เรือลำไหนเป็นที่พระที่นั่งทรง ก็จะเรียกว่าเป็นเรือกิ่ง
โดยไม่ได้ยึดติดกับรูปแบบเรือ เช่นเรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ก็จัดว่าเป็นเรือกิ่ง

ภาพโดย henry Schuen
แล้วเรือสุพรรณหงษในสมัยรัชกาลที่ 1 มีรูปร่างเป็นเช่นไร
การกำหนดว่าเป็นเรือศรี แสดงว่าโขนเรือน่าจะไม่สูงเท่าเรือชัย
ปรากฏภาพอยู่ในจิตกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 4 จำนวน 2 แห่ง
ได้แก่วัดปทุมวนาราม และวัดเสนาสนารามในพระราชพิธี 12 เดือน
ที่วัดปทุมวนารามฝีมือช่างหลวง ให้ภาพโขนเรือที่ไม่สูงมาก
สอดคล้องกับภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฮนรี่ ชูเร็น (Henri Schueren)
ในชื่อภาพว่า Three royal barges moored at the landing stage
ในขณะที่วัดเสนาสนารามวาดโขนเรือเรือให้สูงแบบเรือสุวรรณหงส์ลำปัจจุบัน
น่าสนใจว่าจิตรกรรมวัดเสนาสนารามเขียนเสร็จในรัชกาลใดกันแน่
ช่างภาพชาวเบลเยี่ยม ที่เข้ามาในสยามช่วงปี พ.ศ. 2417
แต่ภาพนี้น่าจะถ่ายหลังจากนั้น อาจจะเป็นการเข้ามา
หลังจากที่เค้าไปเปิดร้านถ่ายภาพที่สิงคโปร์แล้ว
เพราะปรากฏภาพเรือเอนกชาติภุชงค์ ที่ต่อเสร็จหลัง พ.ศ. 2426
ภาพนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่ให้รายละเอียดของเรือสุวรรณหงษ
ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ว่า เป็นเรือที่โขนเรือไม่สูงนัก
เมือเทียบกับเรืออนันตนาคราช แม้มุมมองจากที่สูงจะหลอกตา
แต่ก็เป็นไปได้ยากที่จะมีโขนเรือสูงเท่ากับเรือสุวรรณหงส์ลำปัจจุบัน
เรือสุพรรณหงส์ลำปัจจุบันมีความยาว 46 เมตร ฝีพาย 50 คน
นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน
พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน และคนขานยาว 1 คน