จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (7) ![]() 30 สิงหาคม 2546 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)ได้ประชุมกันที่เมือง Gdansk ประกาศจดทะเบียนจารึกหลักที่ 1 ภายใต้โครงการมรดกความทรงจำของโลก (Memory of the World Project) เป็นการจุดสู่กระแสสังคมเรื่องความจริงแท้ศิลาจารึกหลักที่ 1 อีกครั้ง การเสอนข่าวย่อมไม่มีอะไรดีไปกว่า การยกบทความของ อ. พิระยะ มาเล่นใหม่ 12 กรกฎาคม 2547 ประชาชนและนักเรียนนักศึกษาชาวสุโขทัยกว่า 5000 คน จัดการชุมนุมเดินขบวนรอบเมืองสุโขทัย ต่อต้าน ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ และนายไมเคิล ไรท์ ที่ออกมานำเสนอประเด็นทางวิชาการ ว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 นั้น ไม่ได้สร้างขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหง ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการหมิ่นพระปรีชาสามารถ ทำลายศรัทธาของประชาชน จากนั้นได้เดินทางไปยังลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีการปราศรัยโจมตีนักวิชาการดังกล่าว พร้อมจัดพิธีเผาพริกเผาเกลือสาปแช่ง จี้ให้ยุติความเคลื่อนไหว 14 ก.ค. 2547 รายการถึงลูกถึงคนได้นำเสนอเรื่องปัญหาหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ผู้ร่วมรายการ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร อ.ธวัช ปุณโณทก อ. ศรีศักร วัลลิโภดม และสมศักดิ์ คำทองคง ประธานคณะทำงานเครือข่ายชุมชนลูกพ่อขุนรามคำแหง โดยสรุป พิธีกรเอาประเด็นที่ อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ ตั้งข้อสังเกตมาถามผู้ร่วมรายการ แน่นอนว่า อ. ประเสริฐ ณ นคร และ อ. ธวัช ปุณโณทก เป็นฝ่ายที่เชื่อว่า จริง ในขณะที่ อ. ศรีศักร วัลลิโภดม ออกตัวว่าไม่มีความรู้ แต่น่าจะเป็นพระยาลิไท และสมศักดิ์ คำทองคง มาให้สัมภาษณ์ในฐานะคนสุโขทัยที่โดนลบหลู่ความเชื่อ ![]() ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาแห่งความเงียบสงบ แต่แน่นอนว่า หากมีใครออกมาจุดกระแสหรือตั้งกระทู้ ก็จะมีการถกเถียงกันเช่นเดิม กรกฎาคม 2558 ในมติชนออนไลน์มีคอลัมม์เขียนโดย อ. รุ่งโรงจน์ อภิรมย์อนุกูล เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับ จารึกพ่อขุนรามคำแหงคือวรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ ใจความโดยสรุป คือการกล่าวถึงที่มาของการค้นพบศิลาจารึกหลักที่1 และกล่าวสรรเสริญถึงความกล้าหาญของ อ. พิริยะไกรฤกษ์ ที่พยายามค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อมาพิสูจน์แนวความคิดของตนเอง ไม่ยังเคยมีใครที่จะมีค้นคว้าสืบหาหลักฐานได้เท่านี้มาก่อน แต่ก็มีข้อเห็นแย้งว่า ในสมัยที่รัชกาลที่ 4 พบเพียงจารึกแค่ศิลาจารึกหลักที่ 1 และหลักที่ 4 เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะแต่งเรื่องโดยใช้จารึกหลักที่ 2 ที่พบในภายหลัง ในสมัยของพระองค์ ไม่เอกสารชิ้นใดกล่าวถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เลย พระองค์นำพระนามนี้มาจากที่ใดเพื่อมาใส่เป็นชื่อในศิลาจารึกหลักที่ 1 ![]() คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ที่เป็นหนึ่งในหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวว่าพญารามราชเสวยราชย์ก่อนพญาบานเมือง แต่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กลับเล่าตรงข้ามว่า พระยาบานเมืองเป็นพี่ เสวยราชย์ก่อนพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกยืนยันในสมัยหลัง ตามลำดับกษัตริย์ในจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด ซึ่งพบในรัชกาลปัจจุบัน ทำไมจารึกเสียเวลาเล่าประวัติของ พ่อขุนรามคำแหงเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ซึ่งผิดปกติกว่าจารึกหลักอื่น ที่เป็นเรื่องการอุทิศสิ่งของให้พุทธศาสนา ความจริง จารึกพระเจ้ามเหนทรวรรมัน จารึกวัดป่ามะม่วง และจารึกวัดพระยืน ก็มีการกล่าวถึงประวัติผู้สั่งให้สร้างจารึกเช่นกัน รูปแบบอักษร มีพยัญชนะและสระอยู่ในบรรทัดเดียวกัน คล้ายอักษรอริยกะ แต่จารึกวัดบางสนุก พบที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2484 ก็มีอักขวิธีและรูปแบบตัวอักษรเหมือนกับในศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นไปไม่ได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเคยทอดพระเนตรจารึกหลักนี้ รูปแบบอักษรอริยกะที่ ทรงประดิษฐ์นั้น ใช้สำหรับการเขียนภาษาบาลี จำเป็นที่จะต้องมีพยัญชนะตัวซ้อนเพื่อให้ทราบว่าตัวใดเป็นตัวสะกด ถ้าจารึกหลักที่ 1 เป็นของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จริง ทำไมไม่มีระบบพยัญชนะตัวซ้อนในจารึกหลักนี้ หากนำจารึกหลักที่ 1 มาเทียบกับจารึกสมัยพระยาลิไท จะพบว่ามีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของการเขียนภาษา ![]() คำบางคำเหมือนกับเอกสารในสมัยหลัง เรื่องก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประการใด เพราะเอกสารสมัยอยุธยาบางชิ้นก็มีคำบางคำในเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์ การที่ศัพท์และวลีบางวลีในจารึกหลักที่ 1 เหมือนกับจารึกหลักอื่น ก็ไม่ใช่การคัดลอก เพราะสมัยพระองค์มีแค่จารึกวัดป่ามะม่วง ภาษเขมร พระองค์จะมาคัดลอกคงไม่ได้ แต่การพบคำที่เหมือนกับจารึกหลักอื่น เป็นการยืนยันว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นของจริง เพราะไม่มีความขัดแย้ง ถ้าเราจะยืนยันว่าจารึกหลักนี้เป็นของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จริง ทำไมเราไม่เปรียบเทียบกับพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ซึ่งยังคงเหลือมาถึงปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งมันก็พบว่าสำนวนภาษา ในจารึกกับพระราชนิพนธ์ของพระองค์ไม่มีอะไรที่เหมือนกัน ในศิลาจารึกหลักนี้มีการใช้ ตัว ฃ ฅ ซึ่งนักภาษาศาสตร์ได้ตรวจพบว่า คำที่ใช้อักขระ 2 ตัวดังกล่าวเหมือนกับในภาษาไทขาว แสดงให้เห็นว่า สมัยสุโขทัยยังสามารถแยกเสียงระหว่าง ข กับ ฃ และ ค กับ ฅ ได้ ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ก็แยกสองเสียงนี้ไม่ได้แล้ว พระองค์จะใช้สองคำนี้อย่างไร จารึกหลักนี้เป็นหลักศิลาและใช้เส้นจารที่ใหญ่ ผิดกับจารึกวัดพระเชตุพน และวัดราชประดิษฐ์ที่เป็นของรัตนโกสินทร์ที่ใช้แผ่นหินและเส้นจารที่เล็ก อีกหนึ่งข้อดีของบล็อก ... สามารถอ่านย้อนหลังได้ เมื่ออยากอ่าน
อ่านเอาเรื่องค่ะ ไม่รู้จะจำได้ทั้งหมดมั้ย แต่อ่านสนุก ไม่หนัก ไม่วิชาการเกินไป ชอบค่ะ ![]() โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ
![]() ![]() ทฤษฎีสมคบคิด พวกนี้เป็นพวกประเภทอยากให้คนอื่นรู้ว่าตนมีความเห็นต่างนะ(ไมเคิล ไรท์) พวกนี้เป็นพวกประเภทอยากให้คนอื่นรู้ว่าตนนะไม่ใช่คนเชื่อใครง่ายๆ หรือเชื่อง่ายหูเบานะ (พิริยะ..)แต่ก็ไปเชื่อไมเคิล พวกนี้เป็นพวกประเภทคิดว่าถ้าคิดต่างแล้วคนจะมองว่าตนฉลาดมีความรู้ พวกนี้จะเชื่อว่ามีเหตุการณ์9/11,เหยียบดวงจันทร์,เป็นการจัดฉาก
โดย: ขอระบายหน่อยนะ (สมาชิกหมายเลข 2315525
![]() |
บทความทั้งหมด
|
อืมม์..มีข้อมูลที่ชวนคิดแฮะ
ถ้าได้ไปกินแล้วเป็นไงก็บอกกันบ้างนะคะ แมกซ์บีฟน่ะค่ะ แหะๆ