การกลับมาของกองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย (1)
พ.ศ. 2453
ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยมีแนวความคิดที่จะปรับปรุงกำลังรบทางเรือ
ให้ทันสมัยขึ้น โดยมองเรือดำน้ำเป็นอาวุธสงครามทางเรือที่มนุษย์เพิ่งรู้จัก
และเป็นอาวุธที่น่ากลัวมากที่สุด ด้วยความสามารถซ่อนพรางอยู่ใต้น้ำ
สามารถวางตัวในน่านน้ำโดยไม่ถูกตรวจจับและมีตอร์ปิโดเป็นอาวุธสำคัญ
พ.ศ. 247x
ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กองทัพเรือได้เสนอซื้อเรือดำน้ำ
เพื่อใช้ในการป้องกันอ่าวไทยจำนวน 3 ลำ ในวงเงิน 800,000 บาท
โดยผู้ประมูลได้คือ บริษัท Mitsubishi เสนอเรือดำน้ำขนาดกลาง ชั้น Kaichu
รุ่น RO -33 จำนวน 4 ลำ พร้อมการฝึกอบรมในประเทศญี่ปุ่น
ระวางขับน้ำบนผิวน้ำ 374.5 ตัน น้ำหนักขณะดำ 430 ตัน
ความยาวตลอดลำ 51 เมตร ความกว้างสุด 4.1 เมตร
ความสูงถึงหลังคาหอเรือ 11.65 เมตร กินน้ำลึก 3.6 เมตร
อาวุธมีปืนใหญ่ 76 มม. 1 กระบอก ปืน 8 มม. 1 กระบอก ตอร์ปิโด 45 ซม. 4 ท่อ
เครื่องจักรใหญ่ชนิดดีเซล 2 เครื่อง ๆ ละ 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า
เครื่องไฟฟ้ากำลัง 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ) ทหารประจำเรือ 33 คน
ความเร็ว : ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต รัศมีทำการ : รัศมีทำการ 4,770 ไมล์
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479
วางกระดูกงูเรือลำที่หนึ่งและสองที่อู่เมืองโกเบ
1 ตุลาาคม พ.ศ. 2479
วางกระดูกงูเรือลำที่สามและสี่
24 ธันวาคม พ.ศ. 2479
ปล่อยเรือลำที่หนึ่งและสองลงน้ำ
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
ปล่อยเรือลำที่สามและสี่ลงน้ำ
5 มิถุนายน พ.ศ. 2481
เรือดำน้ำทั้งหมดออกจากน่านน้ำประเทศญี่ปุ่น ผ่านเกาะไต้หวัน
และฟิลิบปินส์ โดยไม่อาศัยเรือพี่เลี้ยง
29 มิถุนายน พ.ศ. 2481
เรือทั้งหมดเดินทางถึงประเทศไทย
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
ขึ้นระวางประจำการ
เรือดำน้ำในกองทัพเรือไทยได้รับการตั้งชื่อตามตัวละครผู้มีอิทธิฤทธิ์ทางน้ำคือ
1. ร.ล.มัจฉาณุ
2. ร.ล.วิรุณ
3. ร.ล.สินสมุทร
4. ร.ล.พลายชุมพล
17 มกราคม 2484
เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เรือดำน้ำ 4 ลำได้ลาดตระเวน
อยู่หน้าฐานทัพเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง
คือระหว่าง 06.00 น. ถึง 18.00 น. ส่วนกลางคืนแล่นลาดตระเวนบนผิวน้ำ
พ. ศ. 2488
เมื่อโรงไฟฟ้าสามเสนและวัดเลียบถูกระเบิดทิ้งระบิดจนเสียหาย
ทำให้กรุงเทพขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ผู้จัดการไฟฟ้ากรุงเทพ ฯ
ทราบว่า เรือดำน้ำจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ จึงขอร้องมายังกองทัพเรือ
ให้ ร.ล.มัจฉาณุ กับ ร.ล.วิรุณ ไปเทียบท่าบริษัทบางกอกด๊อก
ทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้รถรางสายหลักเมือง ถนนตก วิ่งได้
นอกจากนี้สัมพันธมิตรยังโปรยทุ่นระเบิดแม่เหล็กปิดเส้นทางเรือเอาไว้
ทำให้เรือรบและเรือสินค้าต้องหยุดนิ่ง ในขณะนั้น ร.ล.พลายชุมพล และ ร.ล.สินทมุทร
ซึ่งออกปฏิบัติราชการไม่สามารถเดินทางกลับกรุงเทพได้ จึงต้องแวะที่เกาะสีชัง
จนกว่าจะทำการกวาดทุ่นระเบิดแม่เหล็กเสร็จเรียบร้อย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือดำน้ำเหล่านี้ชำรุดทรุดโทรมไปตามอายุขัย
และที่สำคัญคือไม่สามารถจัดหาแบตเตอรี เพื่อให้คงสภาพการเป็นเรือดำน้ำได้
เพราะไม่สามารถสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงครามและถูกยึดครอง
30 พฤศจิกายน 2494
เรือดำน้ำรุ่นแรกของราชนาวีไทยทั้งหมดถูกปลดประจำการ
กองทัพเรือได้ขายให้โรงงานเหล็กท่าหลวง บมจ. ปูนซีเมนต์ไทย
เพื่อเอาไปหลอมทำเป็นเหล็กเส้น บางส่วนของเรือเหล่านี้ยังคงไปชม
ได้ทิ่พิธภัณฑ์กองทัพเรือ จังหวัดสมุทรปราการ
แวะมาเจิมบอกขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ