งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (1)
เราเคยไปดูงานซ้อมย่อยพยุยาตราทางชลมารคมาเมื่อนานมาแล้ว
สิ่งที่แตกต่างจากการซ้อมใหญ่คือ การแต่งกายที่ยังไม่ใช่ชุดจริง
พ.ศ. 2562 เราไปดูงานซ้อมใหญ่มา แต่ว่ามีแต่ความเกร็ง
เพราะมีข่าวว่าห้ามใช้กล้องติดเลนส์ซูมตัวใหญ่ๆ
เลยได้ภาพมัวๆ จากมือถือมาแทน
ปีนี้ดูมีความผ่อนคลายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดี
22 ต.ค. 2567 เราหยุดงานเพื่อการนี้ไปที่สะพานพระราม 8
คมไม่ค่อยมาก แต่ลุ้นฝนหนักมากว่าจะตกวันนี้หรือเปล่า
ขอเกริ่นนำก่อนว่า การดูขบวนเรือนั้นต้องแบ่งเป็น 2 แกน
แกนตั้ง คือลำดับของเรือลำใดจะอยู่ข้างหน้า หรือข้างหลังของขบวน
และแกนนอน โดย
สายกลาง
คือขบวนเรือพระที่นั่ง
เรือชั้นรองอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียกว่า
สายใน
สายนอก
คือแถวของเรือดั้งและเรือแซงที่อยู่ริมตลิ่งทั้งสองด้าน
ดังนั้นเมื่อมองจากด้านหน้า จะเห็นเป็นริ้วขบวนเรือนั้นมี 5 สาย
ตามที่ทราบกันว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น
ประกอบไปด้วยเรือจำนวน 52 ลำ ดูเหมือนจะมากแต่จริงๆ แล้ว
เรือที่มีความงดงาม จนผู้คนให้ความสนใจนั้น มีเพียงไม่กี่ลำ
ประกอบไปด้วยชุด
เรือพระที่นั่ง
และชุด
เรือรูปสัตว์แสนยากร
เรือดั้ง
ซึ่งเรือทั้งสองประเภทนี้ จะเก็บรักษาอยู่ 2 แห่ง คือ
พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี
ตรงปากคลองบางกอกน้อย
อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่
ท่าเรือวาสุกรี
ซึ่งเป็นเขตพระราชฐาน
โดยจะแยกเรือที่มีเป็นคู่ไว้คนละสถานที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
ส่วนเรือที่เหลือนั้นจะเก็บที่
กองเรือเล็ก
ตรงสะพานอรุณอัมรินทร์
ซึ่งหลายคนอาจจะเคยไป ในช่วงที่มีการซ้อมพายเรือ
สถานที่ถ่ายภาพในบล็อกนี้คือ สวนสาธารณะเชิงสะพานพระราม 8
เลนส์ที่ควรใช้สำหรับกล้อง FF น่าจะเป็น 100-400 mm
เรือที่เห็นในปัจจุบันล้วนเป็นเรือที่สร้างหรือซ่อมแซมขึ้นมาใหม่
เพื่อทดแทนเรือที่เสียหายจากการถูกสัมพันธมิตรทิ้งระเบิด
เพราะอู่เรือพระราชพิธีนั้น อยู่ตรงปากคลองบางกอกน้อย
ตรงข้ามกับสถานีรถไฟสายใต้ ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของฝ่ายญี่ปุ่น
เรือทองขวานฟ้า
14.50 น. เรือคู่นำก็ออกจากฝั่ง เพื่อมาตั้งลำนำหน้าขบวนเรือ
คือ
เรือทองขวานฟ้า
และ
เรือทองบ้าบิ่น
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1
เป็นเรือกราบ ทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทอง พร้อมแกะสลักลวดลาย
ทั้งสองลำเป็นเรือที่สร้างใหม่ ใน พ.ศ. 2507
ทำหน้าที่
เรือประตูหน้า
หรือเป็นเรือที่อยู่หน้าขบวนพยุหยาตรา
จัดอยู่ในหมวด
เรือแสนยากร
หรือเรือที่ข้าราชการนั่งเพื่อตามเสด็จ
กลางลำมีกัญญา สำหรับให้ข้าราชการชั้นปลัดทูลฉลองนั่ง
ในปัจจุบันคือปลัดกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย
ในสมัยก่อนขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
มีเรือได้มากถึง 250 ลำ เพราะมีทั้งข้าราชการหน่วยงานต่างๆ
รวมถึงเรือพระประเทียบ คือเรือของข้าราชการฝ่ายในที่เป็นสตรี
ดังนั้นขบวนเรือ จึงต้องแบ่งเรือประเภทต่างๆ ออกเป็นตอนๆ
เรือที่ทำหน้าที่กั้นเรือแต่ละตอนๆ ออกจากกัน เรียกว่า เรือประตู
เรือเสือทยานชล
หลังเรือประตูหน้าคือ
เรือเสือทยานชล
และ
เรือเสือคำรณสินธุ์
เป็นเรือพิฆาตที่ใช้ในการคุ้มกันกระบวนเรือ เป็นเรือที่ใช้ในการสงคราม
มีปืนจ่ารงค์ยื่นออกมาหน้าหัวเรือ แล้วนำมาวาดรูปเสือลงสีเพื่อเข้าขบวน
ปรากฏชื่อในโคลงพระราชพิธีทวาทศมาส เขียนในเสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า
เสือทะยานชลเฟื่องฟุ้ง เริงแรง
เสือชื่อคำรณสินธุ์แข็ง คู่ผ้าย
แต่การวาดภาพเสือ สามารถย้อนภาพไปได้ถึงสมัยอยุธยา
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เป็นเรือที่มีความสำคัญ ทำหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือ
ในขบวนจึงมีเรือประเภทนี้ราว 5-6 คู่ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 6
บ้านเมืองเริ่มทันสมัย จึงลดเรือพิฆาตลงเหลือเพียงคู่เดียว
เรืออีเหลือง
ต่อไปคือเรือดั้ง ซึ่งดั้งนั้น หมายถึง การปิดป้อง
จะอยู่ชิดฝั่งทั้งสองข้างๆ ละ 11 ลำ รวมทั้งสิ้น 22 ลำ
ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันอยู่ในสายนอก เป็นเรือไม้ทาสีน้ำมัน
เหมือนเรือทองขวานฟ้า แต่ว่าไม่สลักหัวเรือ
มีนายทหารนั่งลำละ 1 นาย พลปืน 4 นาย
และมีนายเรือ นายท้าย และฝีพาย ลำละ 29-35 คน
ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ และมีคนกระทุ้งเส้าลำละ 2 นาย
ต่อไปเป็นเรือสายกลาง หรือสายของเรือพระที่นั่งลำแรก
คือ
เรืออีเหลือง
ทำหน้าที่
เรือกลองนอก
เป็นเรือกราบ สำหรับ
รองผู้บัญชาการ
กระบวนเรือนั่ง
ภายในเรือมีพนักงานปี่ชวา และกลองแขกบรรเลง ลำละ 6 คน
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า
เมื่อถึงที่ประทับ เรือกลองต้องลอยลำถวายเสียงดนตรี
อยู่กลางน้ำตรงเรือพระที่นั่ง จนกระทั่งเสด็จขึ้นบกแล้วจึงหยุด
Create Date : 19 ธันวาคม 2567
Last Update : 23 ธันวาคม 2567 12:23:13 น.
Counter : 390 Pageviews.
4 comments
Share
Tweet
22 มี.ค. 68 ค่าย LANGUAGE WORLD
kae+aoe
(11 เม.ย. 2568 08:47:38 น.)
เปลี่ยนน้ำประปา เป็นน้ำดื่มคุณภาพ! เครื่องกรองน้ำ กรองเอง ประหยัด ปลอดภัย สบายใจ!
สมาชิกหมายเลข 6675832
(1 เม.ย. 2568 00:23:01 น.)
บึงบอระเพ็ด : เป็ดพม่า
ผู้ชายในสายลมหนาว
(31 มี.ค. 2568 10:19:01 น.)
แนวข้อสอบวิชาเคมีชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เรื่องสารประกอบไฮโดนคาร์บอน
นายแว่นขยันเที่ยว
(26 มี.ค. 2568 21:10:17 น.)
ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ
,
คุณ**mp5**
,
คุณnonnoiGiwGiw
,
คุณThe Kop Civil
,
คุณกะริโตะคุง
,
คุณhaiku
,
คุณSweet_pills
,
คุณกะว่าก๋า
,
คุณหอมกร
,
คุณดอยสะเก็ด
,
คุณnewyorknurse
ไม่ได้ดูทั้งซ้อมใหญ่ ซ้อมย่อย ไปวันจริงเลยค่ะ วัดดวงมาก
ดีใจที่ไม่ถอดใจ หลังจากเข้าไปหลายท่า ท่าไหนก็เต็ม ๆ เต็มไปหมด
โดย:
สายหมอกและก้อนเมฆ
วันที่: 19 ธันวาคม 2567 เวลา:13:25:59 น.
สวัสดีครับ
ยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปดูเลยซักครั้งครับ นี่เขาเอาเรือที่เก็บในพิพิธภัณฑ์มาใช้เลยเหรอครับเนี่ย สุดยอดดดด
โดย:
กะริโตะคุง
วันที่: 19 ธันวาคม 2567 เวลา:20:41:53 น.
เป็นงานใหญ่ระดับประเทศเลยนะครับ
โดย:
กะว่าก๋า
วันที่: 20 ธันวาคม 2567 เวลา:5:52:26 น.
โอ๊ย ชื่อเรือเยอะจำไม่ได้จ้า
โดย:
หอมกร
วันที่: 20 ธันวาคม 2567 เวลา:7:01:11 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
Nontree.BlogGang.com
ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [
?
]
บทความทั้งหมด
บึงบอระเพ็ด : เป็ดดำหัวสีน้ำตาล
CREATION OF THE GODS : จิตรกรรมห้องสิน (2)
CREATION OF THE GODS : จิตรกรรมห้องสิน (1)
CREATION OF THE GODS : วรรณกรรมห้องสิน
CREATION OF THE GODS : KINGDOM OF STORMS
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (จบ)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (9)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (8)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (7)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (6)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (5)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (4)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (3)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (2)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (1)
ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : การส่งคืนเทวรูปกลับคืนสู่กัมพูชา (2)
ป้อมยุทธนาวีทั้ง 25 : เมืองท่าสมุทรปราการ
The golden boy : รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (agian)
The golden boy : รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ?
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (จบ)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (5)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (4)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (3)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (2)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (1)
นิทรรศการอารยธรรมวิวัฒน์ : ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร (ภาคผนวก)
นิทรรศการอารยธรรมวิวัฒน์ : ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (จบ)
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (3)
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (2)
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (1)
ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : การค้นพบใหม่แห่งเมืองพระนคร
เศียรใหญ่ ไม่ใช่พระศรีสรรเพชญ์
พระแก้วนาคสวาท : พระแก้วในรัชกาลที่ 3
นิทรรศการ : วังน่านิมิต
ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : การส่งคืนเทวรูปกลับคืนสู่กัมพูชา
ประติมากรรมสำริดจากประโคนชัย : มรดกไทยในอุ้งมือต่างชาติ (จบ)
ประติมากรรมสำริดจากประโคนชัย : มรดกไทยในอุ้งมือต่างชาติ (1)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (จบ)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (5)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (4)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (3)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (2)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (1)
Museum Siam : นิทรรศการหลงรัก (2)
Museum Siam : นิทรรศการหลงรัก (1)
การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่หนึ่ง (2)
การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่หนึ่ง (1)
Operation Orchard : The beginning of Syrian civil war (จบ)
Operation Orchard: The beginning of Syrian civil war (1)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (จบ)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (7)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (6)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (5)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (4)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (3)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (2)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (1)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (5)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (4)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (3)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (2)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (1)
ชาวสหรัฐอเมริกามอบหนังใหญ่ 30 รายการคืนสู่ประเทศไทย
เหตุการณ์ รศ. 112 (11)
เหตุการณ์ รศ. 112 (10)
เหตุการณ์ รศ. 112 (9)
เหตุการณ์ รศ. 112 (8)
เหตุการณ์ รศ. 112 (7)
เหตุการณ์ รศ. 112 (6)
เหตุการณ์ รศ. 112 (5)
เหตุการณ์ รศ. 112 (4)
เหตุการณ์ รศ. 112 (3)
เหตุการณ์ รศ. 112 (2)
เหตุการณ์ รศ. 112 (1)
การกลับมาของกองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย (2)
การกลับมาของกองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย (1)
Battle of Guadalcanal : Dog Fight (3)
Battle of Guadalcanal : Dog Fight (2)
Battle of Guadalcanal : Dog Fight (1)
Battle of Guadalcanal : Empire Strike back
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (5)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (4)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (3)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (2)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (1)
Tomoyuki Yamashita : Tiger of Malaya (2)
Tomoyuki Yamashita : Tiger of Malaya (1)
Meiji Restoration (2)
Meiji Restoration (1)
Man survived both atomic bombings (2)
Man survived both atomic bombings (1)
ความสำคัญของเมืองเชียงใหม่ต่อกรุงศรีอยุธยา
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (จบ)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (11)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (10)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (9)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (8)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (7)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (6)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (5)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (4)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (3)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (2)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (1)
พิพิธเพลิน : ปริศนาแห่งลูกปัด
พื้นที่ทับซ้อนในทะเล : เกาะกูด
สุดเส้นเขตแดนทะเลไทย : โลซิน
นารายณ์อวตาร : รามาวตาร, กฤษณะอวตาร
นารายณ์อวตาร : วามนาวตาร, ปรศุรามาวตาร
นารายณ์อวตาร : วราหาวตาร,นรสิงหาวตาร
นารายณ์อวตาร : มัตสยาวตาร, กูรมาวตาร
Afghan gold : เรื่องจริงที่ยิ่งกว่านิยาย
K.A.L 007
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
ดีใจที่ไม่ถอดใจ หลังจากเข้าไปหลายท่า ท่าไหนก็เต็ม ๆ เต็มไปหมด