ชาวสหรัฐอเมริกามอบหนังใหญ่ 30 รายการคืนสู่ประเทศไทย
หนังใหญ่ทำจากผืนหนังวัวฉลุภาพตัวละครตามเรื่องที่เล่น เช่น รามเกียรติ์
อุณรุท อิเหนา ใช้ยกจอรับเงาตัวหนังที่เชิดขึ้นหน้าไฟในเวลากลางคืน
จัดเป็นมหรสพหรือการละเล่นชั้นสูงนิยมใช้แสดงในงานพระราชพิธี
และงานสมโภชต่างๆของราชสำนัก
สันนิษฐานว่ามีมาแล้วแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สืบทอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะหนังใหญ่ชุดพระนครไหว
ฝีมือช่างสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นหนังใหญ่ชุดงามที่สุด
รวมทั้งหนังใหญ่ที่สร้างด้วยฝีมืออาจารย์ฤทธิ์ นายช่างใหญ่คนสำคัญแห่งเมืองเพชรบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ หนังใหญ่ใช้แสดงเฉพาะงานพระศพเจ้านาย
จนในที่สุดการสร้างและการละเล่นหนังใหญ่ก็ไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย
พ.ศ. ๒๕๕๒ ชาวสหรัฐอเมริกา ชื่อ Dr.Sarah M Bekker พร้อมสามี
Dr.Konrad Bekker มีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี
แจ้งความประสงค์ ขอมอบโบราณวัตถุให้กับรัฐบาลไทยคือหนังใหญ่จำนวน ๓๐ รายการ
ซึ่งรับซื้อต่อมาจากชาวเยอรมันชื่อนาง Irmgard Eisenhofer ภรรยา
ของนาย Emil Eisenhofer ผู้ซื้อมาจากนักเชิดหนังชาวไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
โดยหนังใหญ่ชุดนี้เคยจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เครื่องหนังเยอรมัน
(The German Leather Museum)ที่ Offenbach, Main เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗
ทางสถานทูตจึงแจ้งเรื่องดังกล่าวผ่านกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ
มายังกรมศิลปากร เพื่อให้พิจารณาว่าสมควรรับเข้าเป็นสมบัติของชาติหรือไม่
ซึ่งกรมศิลปากรเห็นสมควรรับมอบไว้ เพราะมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ และศิลปกรรม
พ.ศ. ๒๕๕๓ กรมศิลปากรขอความอนุเคราะห์ให้สถานเอกอัครราชทูตไทย
ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นผู้แทนรับมอบหนังใหญ่ทั้ง ๓๐ รายการ
และช่วยดำเนินการจัดส่งคืนมายังประเทศไทยทางเรือ
โดยกรมศิลปากรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบรรจุหีบห่อและขนส่ง
ศิลปากรมอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เป็นผู้ดำเนินการรับหนังใหญ่จากด่านศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพ
เข้ามาเก็บรักษาไว้ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
หนังใหญ่ทั้ง ๓๐ รายการ มีขนาดแตกต่างกัน
ขนาดใหญ่ กว้าง ๑๒๐- ๑๕๐ เซนติเมตร สูง ๑๕๐- ๑๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๑๓ รายการ
ขนาดกลาง กว้าง ๙๐- ๑๒๕ เซนติเมตร สูง ๘๕- ๑๔๐ เซนติเมตร จำนวน ๗ รายการ
และขนาดเล็ก กว้าง ๔๐- ๗๕ เซนติเมตร สูง ๗๐- ๑๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๑๐ รายการ
ส่วนใหญ่เป็นตัวภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ประกอบด้วย
หนังจับ หนังที่มีภาพในตัวเรื่องตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป ทำท่ารบหรือจับกัน
หนังคเนจร หนังภาพเดี่ยว หน้าเสี้ยว อยู่ในท่าเดิน
หนังง่า หนังภาพเดี่ยว หน้าเสี้ยว ทำท่าเหาะ คือยกขาข้างใดข้างหนึ่ง
หนังเมือง หนังที่ประกอบด้วยภาพอาคาร เช่น ปราสาท ราชวัง วิมาน
หนังเบ็ดเตล็ด หนังอื่นๆ เช่น ตัวตลก สัตว์ต่างๆในเรื่อง
จัดเป็นโบราณวัตถุ ศิลปะรัตนโกสินทร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔- ๒๕
หนังใหญ่เกือบ ๑๐ รายการในหนังชุดนี้ ทำขึ้นด้วยฝีมือประณีตงดงามยิ่ง
คล้ายคลึงกับหนังใหญ่ชุดพระนครไหว และแม้ว่าทั้งหมดจะมีสภาพชำรุด
ตัวหนังบิดงอ และฉีกขาดตามกาลเวลา แต่คุณค่าความสำคัญโดยเฉพาะ
ด้านศิลปกรรมยังคงอยู่ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป
//www.finearts.go.th/taxonomy/term/11
โดยปรกติผมจะไม่ copy&past ข่าวมาจาก internet ยกเว้นคราวนี้
ที่ได้อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ของกรมศิลปากรแล้วรู้สึกดีใจ
เพราะการแกะสลักหนังใหญ่แทบจะไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
แม้จะมีการสร้างใหม่ก็ยากที่จะทำได้เหมือนเช่นในอดีต
เนื่องจากการขาดช่วงการสืบต่อมาหลายช่วงอายุคน
การได้ตัวหนังชุดนี้กลับมาจะช่วยต่อลมหายใจของศิลปะไทยชนิดนี้
หวังว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจะได้ซ่อมแซมและจัดแสดงหนังใหญ่ชุดนี้
ไม่ว่าวันนั้นมันจะนานสักเท่าใด ผมก็จะรอ
Create Date : 26 มีนาคม 2555
Last Update : 26 มีนาคม 2555 16:27:57 น.
Counter : 3663 Pageviews.
2 comments
Share
Tweet
++ ไข่มดแดง ++
wicsir
(7 เม.ย. 2568 09:54:38 น.)
ภาพส่งมอบพระประธาน 108 องค์ ทั่วอินเดีย
Turtle Came to See Me
(28 มี.ค. 2568 03:56:29 น.)
"จ้างวานข้า" คือ Success Case Study ที่น่าสนใจ เห็นผล และจับต้องได้จริง
peaceplay
(26 มี.ค. 2568 21:21:26 น.)
สว อายุเกือบ เลข 80 คิดว่ามีแผนอะไรดี จะกลับมาอยู่ไทยถาวรหรือยัง?
newyorknurse
(1 เม.ย. 2568 02:52:38 น.)
เราก็กำลังคอยให้ของในพิพิธภัณฑ์ทั้งหลายของไทย
กลับคืนสู่บ้านเดิมที่เขาได้จากไปด้วยค่ะ
แบบว่าไปเที่ยวไหน อะไร ๆ ก็อยู่ในพิพิธภัณฑ์ ในเมืองใหญ่และกรุงเทพ ฯ
โดย:
tuk-tuk@korat
วันที่: 26 มีนาคม 2555 เวลา:16:47:36 น.
รับทราบค่ะ
พอดีของค้างสต็อกเยอะไปหน่อยค่ะ
โดย:
tuk-tuk@korat
วันที่: 27 มีนาคม 2555 เวลา:17:56:35 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
Nontree.BlogGang.com
ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [
?
]
บทความทั้งหมด
บึงบอระเพ็ด : เป็ดดำหัวสีน้ำตาล
CREATION OF THE GODS : จิตรกรรมห้องสิน (2)
CREATION OF THE GODS : จิตรกรรมห้องสิน (1)
CREATION OF THE GODS : วรรณกรรมห้องสิน
CREATION OF THE GODS : KINGDOM OF STORMS
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (จบ)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (9)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (8)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (7)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (6)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (5)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (4)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (3)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (2)
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (1)
ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : การส่งคืนเทวรูปกลับคืนสู่กัมพูชา (2)
ป้อมยุทธนาวีทั้ง 25 : เมืองท่าสมุทรปราการ
The golden boy : รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (agian)
The golden boy : รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ?
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (จบ)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (5)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (4)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (3)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (2)
จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (1)
นิทรรศการอารยธรรมวิวัฒน์ : ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร (ภาคผนวก)
นิทรรศการอารยธรรมวิวัฒน์ : ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (จบ)
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (3)
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (2)
เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (1)
ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : การค้นพบใหม่แห่งเมืองพระนคร
เศียรใหญ่ ไม่ใช่พระศรีสรรเพชญ์
พระแก้วนาคสวาท : พระแก้วในรัชกาลที่ 3
นิทรรศการ : วังน่านิมิต
ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : การส่งคืนเทวรูปกลับคืนสู่กัมพูชา
ประติมากรรมสำริดจากประโคนชัย : มรดกไทยในอุ้งมือต่างชาติ (จบ)
ประติมากรรมสำริดจากประโคนชัย : มรดกไทยในอุ้งมือต่างชาติ (1)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (จบ)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (5)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (4)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (3)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (2)
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (1)
Museum Siam : นิทรรศการหลงรัก (2)
Museum Siam : นิทรรศการหลงรัก (1)
การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่หนึ่ง (2)
การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่หนึ่ง (1)
Operation Orchard : The beginning of Syrian civil war (จบ)
Operation Orchard: The beginning of Syrian civil war (1)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (จบ)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (7)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (6)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (5)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (4)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (3)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (2)
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (1)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (5)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (4)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (3)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (2)
งานออกพระเมรุ : สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ (1)
ชาวสหรัฐอเมริกามอบหนังใหญ่ 30 รายการคืนสู่ประเทศไทย
เหตุการณ์ รศ. 112 (11)
เหตุการณ์ รศ. 112 (10)
เหตุการณ์ รศ. 112 (9)
เหตุการณ์ รศ. 112 (8)
เหตุการณ์ รศ. 112 (7)
เหตุการณ์ รศ. 112 (6)
เหตุการณ์ รศ. 112 (5)
เหตุการณ์ รศ. 112 (4)
เหตุการณ์ รศ. 112 (3)
เหตุการณ์ รศ. 112 (2)
เหตุการณ์ รศ. 112 (1)
การกลับมาของกองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย (2)
การกลับมาของกองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย (1)
Battle of Guadalcanal : Dog Fight (3)
Battle of Guadalcanal : Dog Fight (2)
Battle of Guadalcanal : Dog Fight (1)
Battle of Guadalcanal : Empire Strike back
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (5)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (4)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (3)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (2)
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (1)
Tomoyuki Yamashita : Tiger of Malaya (2)
Tomoyuki Yamashita : Tiger of Malaya (1)
Meiji Restoration (2)
Meiji Restoration (1)
Man survived both atomic bombings (2)
Man survived both atomic bombings (1)
ความสำคัญของเมืองเชียงใหม่ต่อกรุงศรีอยุธยา
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (จบ)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (11)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (10)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (9)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (8)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (7)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (6)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (5)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (4)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (3)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (2)
เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (1)
พิพิธเพลิน : ปริศนาแห่งลูกปัด
พื้นที่ทับซ้อนในทะเล : เกาะกูด
สุดเส้นเขตแดนทะเลไทย : โลซิน
นารายณ์อวตาร : รามาวตาร, กฤษณะอวตาร
นารายณ์อวตาร : วามนาวตาร, ปรศุรามาวตาร
นารายณ์อวตาร : วราหาวตาร,นรสิงหาวตาร
นารายณ์อวตาร : มัตสยาวตาร, กูรมาวตาร
Afghan gold : เรื่องจริงที่ยิ่งกว่านิยาย
K.A.L 007
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
กลับคืนสู่บ้านเดิมที่เขาได้จากไปด้วยค่ะ
แบบว่าไปเที่ยวไหน อะไร ๆ ก็อยู่ในพิพิธภัณฑ์ ในเมืองใหญ่และกรุงเทพ ฯ