จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (1) ![]() สิ่งของในสมัยสุโขทัยล้วนจัดแสดงอยู่ในตึกประพาสพิพิธภัณฑ์ ยกเว้นแต่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงถูกแยกไปจัดแสดงในบริเวณทางเข้าของพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องที่จัดแสดง timeline ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน มันสำคัญจนกระทั่งเป็นวัตถุ 1 ใน 9 ชิ้นที่หากใครต้องการที่จะทำจำลอง ต้องมีการขอนุญาติจากทางราชการ โดยต้องมีขนาดไม่เท่ากับชิ้นงานจริง นอกจากนี้คณะกรรมการ UNESCO ได้จดทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นหนึ่งในมรดกความทรงจำของโลก (Memory of the World) ซึ่งแตกต่างจากที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า มีแต่สถานที่เท่านั้นที่เป็นมรดกโลกได้ ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 193 รายการจาก 87 ประเทศ โดยประเทศไทยยังมีอีก 2 ชิ้น คือเอกสารราชการสมัยปฏิรูปการปกครองช่วงรัชกาลที่ 5 กว่า 500,000 แผ่น ปัจจุบันเก็บรักษาที่หอสมุด อาคารถาวรวัตถุ วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษดิ์ และชิ้นล่าสุดที่หลายคนอาจจะได้ยินข่าวก็คือ จารึกต่างๆ ในวัดโพธิ์นั่นเอง แต่ก่อนหน้าที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 จะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกนั้น มันได้ฝ่าฟันวิกฤติการณ์ที่สำคัญ นั่นก็คือ คำถามจากนักวิชาการว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 นั้น เป็นสิ่งที่ทำขึ้นในสมัยสุโขทัยจริงหรือไม่ หากคำตอบนั้นคือไม่ใช่ สิ่งที่เราเคยเรียนมาทั้งหมดอาจหายไปในพริบตา ศิลาจารึก หลักที่ 1 ปีที่จารึก พ.ศ. 1835 ผู้จารึก พ่อขุนรามคำแหง ลักษณะ หลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม จำนวน 4 ด้าน 127 บรรทัด ปีที่พบจารึก พ.ศ. 2376 สถานที่พบ เนินปราสาท ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย ผู้พบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ![]() พ.ศ. 2376 สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้ออกเสด็จจาริกธุดงค์ไปยังหัวเมืองเหนือ เมื่อถึงเมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร และพระแท่นมนังศิลาบาตร ที่เนินปราสาทเก่าสุโขทัย ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นโบราณวัตถุที่สำคัญ จึงโปรดเกล้าให้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดราชาธิวาส พ.ศ. 2479 เมื่อทรงย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดให้ย้ายไปไว้ที่วัดบวร พระองค์ทรงเริ่มอ่านศิลาจารึกหลักนี้ แม้ภาษาไทยจะวิวัฒนาการมาหลายร้อยปี แต่ก็น่าจะพอแกะได้บางส่วน แต่ปัญหาก็คือวิธีการของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเขียนอักษรบนบรรทัดเดียวกัน ครั้นเสด็จเสวยราชย์แล้วโปรดเกล้าให้ย้ายจารึกไปไว้ที่วัดพระแก้ว ตรงศาลาราย ข้างด้านเหนือพระอุโบสถ หลังที่สองนับจากตะวันตก หลังจากนั้นพระองค์ไม่มีเวลาที่จะถอดข้อความได้ทั้งหมด แต่ทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นแม่กองคณะนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันคัดตัวอักษรลงแผ่นกระดาษ พ.ศ. 2398 ทรงพระราชทานสำเนาแก่ Sir John Bowring เอกอัครราชทูตอังกฤษ และได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ The Kingdom and People of Siam และสำเนาให้แก่ราชฑูตฝรั่งเศสอีกชุดหนึ่งด้วย จุดนี้เองที่เป็นการเริ่มข้อสงสัยถึงความจริงแท้ของหลักศิลาจารึกหลักนี้ เมื่อนักวิชาการรุ่นหลังมองว่า มันถูกใช้เพื่อสร้างหลักฐานทางการเมือง เป็นความพยายามที่จะแสดงความศิวิไลซ์ให้ชาวตะวันตกเห็นว่า สยามมีอารยะธรรมสืบย้อนไปได้ถึงกว่า 600 ปี ก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่าจริงหรือปลอม
แต่ก็มีอะไรหลายอย่างที่ต้องตีความและยังตีความออกได้ในภายหลัง หากจะแต่งเองละก็ ปล. ที่บ่อน้ำมันฝางค่ะ ที่จริงแถว บ้านกงไกลาศ ต่อลานกระบือก็มีป้ายบอกตลอดน่าจะเข้าไปได้แต่เพราะไปเมืองฝางแล้วจึงไม่ได้เข้าไปดูค่ะ อย่าลืมเข้าไปอ่านเรื่องบ้านหอรบ กับวัดอุโมงเถรจันทร์นะคะ องค็พระหน้าพระประธานในวิหาร สิงห์ 1 พระท่านว่าเจอในอุโมงค์เจดีย์ลึกลงไป 6 เมตร ตอนนี้เขาปิดกรุแล้วค่ะ โดย: tuk-tuk@korat
![]() ![]() เพิ่งรู้ว่า ศิลาจารึกนี้ เคยอยู่ที่วัดพระแก้วด้วยค่ะ
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้ ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต เนินน้ำ Food Blog ดู Blog คนบ้านป่า Home & Garden Blog ดู Blog กะว่าก๋า Parenting Blog ดู Blog ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น *** รองเท้า เจ้าตัวเลือกเองค่ะ ยังเด็กๆ ก็ใส่สีฉูดฉาดได้ แม่ไม่กล้าใส่สีแบบนี้ค่ะ ![]() โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ
![]() ![]() พูดถึงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของไทย ผมว่าคนส่วนใหญ่คิดถึงชิ้นนี้แรกสุดเลยครับ ศิลาจารึกหลักที่ 1 ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครก็ตั้งโชว์ไว้ชิ้นแรกเลย
เมืองใกล้ๆกรุงเทพอย่างนครปฐมโบราณสถานสำคัญๆถูกรื้อทำลายไปเยอะมากช่วงสร้างกรุงเทพ โชคดีที่ ร.4 เริ่มสนใจประวัติศาสตร์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของชาติไทย และต่อเนื่องมาในสมัย ร.5-6 เป็นเครื่องมือยืนยันว่าเราไม่ได้ไร้อารยธรรม และใช้ต่อรองกับการล่าอาณานิคม ไม่งั้นประวัติศาสตร์สำคัญหลายๆอย่างคงถูกพัฒนาการของเมืองใหม่ๆทำลายลงไปอีกเยอะนะครับ แต่เรื่องที่กำหนดให้สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก และมีความเป็นมาต่อเนื่องเป็นไทม์ไลน์หนึ่งเดียว อันนั้นถูกบิดเบือนด้วยประวัติศาสตร์ฉบับชาตินิยมสมัยจอมพล ป.แน่นอนครับ อยุธยาเกิดขึ้นก่อนสุโขทัยล่มสลายนานมาก และต่อเนื่องกับประวัติศาสตร์ของละโว้กับสุพรรณบุรีมากกว่า โดย: ชีริว
![]() ![]() ได้ความรู้เพิ่มอีกค่ะ บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้ ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต Sweet_pills Food Blog ดู Blog กะว่าก๋า Parenting Blog ดู Blog ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog โดย: newyorknurse
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|
มีก็แต่บล็อกนี้ที่มีสาระแนวนี้หละนะคะ ขอบคุณสำหรับการทำบล็อกมาแบ่งปันด้วยค่ะ