เหตุการณ์ รศ. 112 (11)


สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์
ผู้ตัดสินพระทัยขอความคุ้มครองจากฝรั่งเศสและตัดความสัมพันธ์กับกรุงเทพ

ม.เดอแวลล์ ได้ยื่นบันทึกทำนองคำขาดเพิ่มเติมให้ไทยยอมรับอีกฉบับหนึ่งความว่า
การที่รัฐบาลไทยชักช้าไม่ยอมรับคำเรียกร้องของรัฐบาลฝรั่งเศสที่ยื่นไปนั้น
สมควรที่รัฐบาลฝรั่งเศสจะต้องทวีข้อมัดจำยิ่งขึ้นฝรั่งเศสจะยึดปากน้ำและเมืองจันทบุรีไว้
จนกว่ากองทหารไทยที่ตั้งมั่นอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจะถอนไปสิ้นและเกิดความสงบเรียบร้อย

และไม่ให้เกิดความยุ่งยากขึ้นในบริเวณทะเลสาบรัฐบาลไทยจะต้องไม่รวมกำลังทหารใดๆ
ไว้ที่เมืองพระตะบองและเสียมราฐ รวมทั้งเขตที่ตั้งอยู่ในระยะรัศมี 24 กิโลเมตรบนฝั่งขวาแม่น้ำโขง
นับแต่ดินแดนเขมรขึ้นไป กับห้ามไม่ให้รัฐบาลไทยใช้หรือให้เรือหรือพาหนะทางเรือใด ๆ
ที่ติดอาวุธเดินไปมาในทะเลสาบเขมรและในลำน้ำโขง

รัฐบาลฝรั่งเศสจะสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะตั้งกงสุลไว้ที่เมืองนครราชสีมาและเมืองน่าน
เมื่อรัฐบาลไทยรับปฏิบัติตามนี้แล้ว รัฐบาลฝรั่งเศสจะได้เลิกปิดอ่าวทันที

1 สิงหาคม พ.ศ. 2436

พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสได้แจ้งแก่
ม.เดอแวลล์ว่ารัฐบาลไทยยอมรับคำขาดและบันทึกเพิ่มเติมทุกประการ
ม.เดอ แวลล์ จึงได้มีโทรเลขสั่งการไปยัง ม.ปาวี ความว่า

รัฐบาลไทยยอมรับข้อรับประกันเพิ่มเติมที่ฝรั่งเศสเรียกร้องไปตามบันทึก
กรมหลวงเทวะวงศ์ก็คงจะได้แจ้งแก่ตัวท่านเองว่า รัฐบาลไทยยอมรับแล้ว
เมื่อท่านได้แลกเปลี่ยนสาส์นเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการยอมรับคำขาด
และข้อรับประกันเพิ่มเติมกับกรมหลวงเทวะวงศ์เป็นการถูกต้องแล้ว

ให้ท่านแจ้งแก่นายพลเรือฮูมานน์ให้เลิกการปิดอ่าว แต่ให้ยึดปากน้ำและ
เมืองจันทบุรีไว้ตามเดิม อนุญาตให้ไปเจ้าหน้าที่ทูตกลับไปประจำที่กรุงเทพได้

3 สิงหาคม พ.ศ. 2436

12.๐๐ น. นายพลเรือตรี ฮูมานน์ผู้บัญชาการกองเรือฝรั่งเศสในอ่าวไทย ยกเลิกประกาศการปิดอ่าว

8 สิงหาคม พ.ศ. 2436

ม.ปาวี ได้โดยสารเรือ อาลูแอตต์ เข้าไปสถานฑูตฝรั่งเศส

9 สิงหาคมพ.ศ. 2436

กองเรือฝรั่งเศสทั้งหมดเดินทางกลับไปไซ่ง่อน คงเหลือแต่เรืออาลูแอตต์
ส่วนเรือลูแตงประจำอยู่กับกองทหารฝรั่งเศสที่ยึดจันทบุรี เรือปาแปงไปรับ ม.เลอมีร์ เดอวิเลร์ส
ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการทำสนธิสัญญากับไทยที่สิงคโปร์




นครวัดจำลอง อนุสรณ์แห่งความทรงจำว่าที่นี่นั้นเคยเป็นขอบขัณฑสีมาของไทย

3 ตุลาคมพ.ศ. 2436

ได้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสมีรายละเอียดดังนี้

1.ไทยจะยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งหมดเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรวมทั้งบรรดา เกาะ
ทั้งหมดที่อาจมีขึ้นเมื่อน้ำลดหรือในบรรดาที่มีมาก่อนแล้วนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝรั่งเศส
2.ไทยจะไม่มีเรือรบไปไว้หรือใช้ดินแดนในทะเลสาบหรือลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดกันไว้แล้ว
3. ไทยจะต้องไม่มีค่ายทหารในเขต 25 กม. ตลอดแนวแม่น้ำรวมทั้งพระตะบองและเสียมเรียบ

4. การป้องกันเมือง หรือเขตที่กำหนดในข้อ 3 สามารถทำได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
5. ไทยและฝรั่งเศสจะทำสัญญาการค้าในเวลา 6 เดือนนับจากนี้และไม่เก็บภาษีระหว่างกัน
6. ในการสร้างท่าเรือหรือกิจกรรมต่างๆ ตามลำแม่น้ำทั้ง 2 ฝั่ง ถ้าฝรั่งเศสร้องขอความช่วยเหลือ
เช่น การใช้พื้นที่ไทยจะไม่ปฏิเสธและจะให้ความช่วยเหลือในทันที

7. ไทยจะให้ความสะดวกแก่คนในบังคับฝรั่งเศสในการเข้าออกไปมาในเขตที่ได้มีการกำหนดในข้อ 3
8. ฝรั่งเศสสามารถตั้งกงศุลได้ตามที่เห็นสมควร
9. ถ้ามีความเห็นหรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในสัญญาฉบับนี้ ให้ถือเอาภาษาฝรั่งเศสป็นหลัก
10. สัญญานี้ให้มีผลบังคับใช้ใน 4 เดือนนอกจากสัญญาดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีอนุสัญญาผนวกต่อท้ายหนังสือสัญญาความว่า
1. กองทหารกองสุดท้ายของไทยบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจะต้องถอนออกไป
อย่างช้าที่สุดในหนึ่งเดือนนับจากวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2436
2. บรรดาป้อมปราการที่อยู่ในเขตที่ระบุไว้ในข้อ 3 แห่งสัญญาที่ได้ลงนามกัน
ในวันนี้นั้นจะต้องรื้อถอนให้หมดสิ้น

3.ผู้เป็นตัวการก่อเหตุร้ายที่ทุ่งเชียงคำและที่คำม่วนนั้น เจ้าพนักงานฝ่ายสยาม
จะต้องนำตัวมาพิจารณาลงโทษ ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสคนหนึ่งจะมาทำการพิจารณาพิพากษาด้วย
รัฐบาลฝรั่งเศสคงสงวนไว้ ซึ่งสิทธิที่จะเห็นชอบด้วยถ้าไม่เห็นชอบด้วยแล้ว
จะได้ร้องขอให้มีการพิจารณาคดีนั้นโดยศาลผสม ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้จัดการตั้งตุลาการ

4. รัฐบาลสยามจะต้องส่งมอบบรรดาคนในบังคับฝรั่งเศส คนญวน คนลาวที่อยู่ทางฝั่งซ้าย
รวมทั้งคนเขมรที่จับกุมเอาไว้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามที่ราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ
จะได้กำหนด หรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานฝรั่งเศสประจำพรมแดน
รัฐบาลสยามจะไม่ทำการขัดขวางการเดินทางกลับถิ่นเดิมของผู้คนที่เคยอยู่ทางฝั่งซ้าย

5. ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประเทศคนใดคนหนึ่ง จะต้องนำบางเบียนแห่งทุ่งเชียงคำ
และพรรคพวกพร้อมทั้งเครื่องอาวุธและธงฝรั่งเศส ซึ่งเจ้าพนักงานฝ่ายสยามยึดคร่าไว้นั้น
มาส่งมอบให้สถานฑูตฝรั่งเศส

6. รัฐบาลฝรั่งเศสจะคงยึดครองเมืองจันทบุรีไว้จนกว่ารัฐบาลสยามจะได้ปฏิบัติตามนัย
แห่งอนุสัญญานี้แล้ว เช่นการถอนทหารกลับมาเสร็จสิ้นแล้ว และมีความสงบเรียบร้อยเกิดขึ้นแล้ว
ทางฝั่งซ้ายและในเขตที่ระบุไว้ในข้อ 3 แห่งสัญญาที่ได้ลงนามกันในวันนี้

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการยึดครองเมืองจันทบุรีที่ต่อเนื่องยาวนานไปอีกหลายปี
นำไปสู่การสูญเสียดินแดนฝั่งตรงข้ามกับหลวงพระบางและจำปาศักดิ์
ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถอนกำลังไปยึดครองเมืองตราด ที่ไทยต้องแลกกลับมาด้วย
ดินแดนเขมรส่วนในอันประกอบไปด้วยพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณ



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2555 11:31:12 น.
Counter : 2029 Pageviews.

4 comments
บัตรทอง -รายชื่อหน่วยบริการเอกชนบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ newyorknurse
(16 เม.ย. 2567 04:04:52 น.)
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 "ฉุกละหุก" toor36
(24 มี.ค. 2567 10:27:24 น.)
เรื่อง ที่เตือนมาจากทนายความ ควรหลีกหนี 20 เรื่องเหล่านี้เพราะ..... newyorknurse
(28 มี.ค. 2567 02:09:48 น.)
  
ทุคคนก็ต้องดิ้นรนที่จะไขว่คว้าหาสิ่งที่คิดว่าดีเสมอ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:34:34 น.
  
มาทำหัวใจโต
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:01:59 น.
  
คำว่าวิหารลายคำ หมายถึงวิหารที่มีการวาดลวดลายโดยใช้ทองคำ ( เปลว )

หอคำ ภาษาล้านนา ไทใหญ่ ไทลื้อ และแถบนี้ทั้งหมดใช้ แปลว่าที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน ถ้ามีคำว่าหลวงก็แปลว่ายิ่งใหญ่

หอคำ เหมือนคำว่า คุ้มหลวง
คุ้ม น่าจะแปลว่า วัง ... ที่อยู่ของเชื้อพระวงศ์

อ่านดูพบว่าคำว่า พระราชวัง หรือพระบรมมหาราชวังมาจากภาษาเขมร ค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:30:10 น.
  
พูดเอาแต่ได้จริงๆ
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:17:57:41 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Nontree.BlogGang.com

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]

บทความทั้งหมด