การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่หนึ่ง (1)

เป็นหนังสือในเครือมติชนเขียนโดย อ. ชาตรี ประกิตนนทการ
เป็นการตั้งคำถามต่อความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานว่า
สถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น เป็นเพียงการรื้อฟื้นอยุธยา
ขึ้นมาในกรุงเทพเหมือนในสมัยเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี
หนังสือเล่มนี้ถูกวางขายมาหลายเดือน ก่อนที่ทาง สนพ. มติชน
จะจัดบรรยายโดยผู้เขียน และแถมด้วยการนำชมวัดพระเชตุพน
อันเป็นวัดหลักที่ใช้ในการศึกษาสถาปัตยกรรมในรัชกาลนี้
ที่มิวเซียมสยาม เพื่อสะดวกต่อการนำชมของจริง
คงไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการทบทวนถึงความเชื่อเรื่องการรื้อฟื้นอยุธยา
แต่นี่คงเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
ซึ่งแรกนั้นมาจากการสังเกตสิ่งหนึ่งที่เด่นชัดในช่วงรัชกาลนี้
ก็คือ ความนิยมในพระประธานที่เป็นปางสมาธิ
พระแก้วมรกตที่มีค่าควรเมือง สลักจากหินสีเขียวก้อนใหญ่อันหาได้ยากยิ่ง
ที่สำคัญยังถูกอัญเชิญมาแต่เมื่อครั้ง พระองค์ยังคงเป็นเพียงเจ้าพระยา
เรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บารมี อยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ก็คงไม่แปลกที่จะเป็นพระปางสมาธิ เพราะเป็นของมีมาแต่โบราณ
แต่เมื่อพระองค์ได้สร้างวัดโพธิ์ ซึ่งเกิดขึ้นหลังการครองราชย์หลายปี
พระองค์ก็ยังทรงโปรดเกล้าให้อัญเชิญพระประธานจากวัดศาลาสีหน้า
อันเป็นพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยาตอนกลางที่ยังนิยมปางสมาธิ
การเลือกพระประธานมาเป็นวัดประจำรัชกาล ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
ด้วยพระราชอำนาจ จะว่าอยู่ใกล้ก็คงไม่ใช่เหตุผลหลักแน่ ๆ
แต่น่าจะเป็นความตั้งพระราชหฤทัย จากนั้นพระองค์ได้สร้าง
พระพุทธรูปปางสมาธิพระราชทานคืนไปยังวัดศาลาสี่หน้า

วัดต่อไปคือ วัดสระเกศ ที่มีประวัติว่า พระองค์มาสรงน้ำ
หลังจากกลับราชการเมืองเขมร ก่อนจะเสด็จเข้ามาปราบดาภิเษก
พระประธานในวัดนี้ เป็นพระพุทธรูปเก่าที่ปั้นปูนหุ้มขึ้นใหม่
ไม่มีใครรู้ว่าเดิมเป็นปางอะไร แต่ก็น่าจะปางสมาธิเหมือนปัจจุบัน
พระประธานวัดระฆังเป็นปางสมาธิ ไม่มีประวัติการสร้าง
แต่ด้วยรูปแบบทางศิลปกรรม พระพักตร์ที่ออกเป็นอยุธยาตอนปลาย
แต่มีแผ่นสังฆาฏิมีขนาดใหญ่อยู่กึ่งกลางพระวรกายที่ไม่ใช่ขนบอยุธยา
ดังนั้นจึงประมาณว่า น่าจะเป็นพระที่สร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1
วัดต่อไปคือวัดที่พระองค์ตั้งใจจะบูรณะ นั่นก็คือวัดสุวรรณาราม
เหตุผลคือชื่อวัดทอง นั้นพ้องกับชื่อเดิมทองด้วงของพระองค์
เช่นเดียวกับวัดสุวรรณดารารามที่อยุธยาที่เป็นวัดประจำตระกูล
หลวงพ่อศาสดาเป็นพระสุโขทัยปางมารวิชัยเช่นเดียวกับ
พระประธานในอุโบสถวัดสุวรรณดารารามที่เป็นปางมารวิชัย
พระศรีศากยมุนีวัดสุทัศน์เป็นพระพุทธรูปองค์สุดท้ายในรัชกาลก็ว่าได้
ตามประวัตกล่าวว่า แม้พระองค์จะทรงประชวรแต่ก็ยังมีพระราชศรัทธา
ด้วยการถอดรองพระบาทลงไปเดินชักลากองค์พระด้วยพระองค์เอง
เป็นพระสุโขทัยเช่นเดียวกับหลวงพ่อศาสดาแน่นอนว่าเป็นปางมารวิชัย
ทำให้นึกถึงพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ที่วัดพิพัฒน์มงคล เอาไปซ่อนไว้เพื่อหนีอะไร