งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (3)
เรืออนันตนาคราช คำถามต่อมาคือภาพนั้นถ่ายที่ไหน เพราะวัดสุวรรณารามก็ไม่ใช่วัดสำคัญ
ขนาดจะเสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อทอดผ้าพระกฐินเราสืบค้นไปในวันก่อนหน้า 13 ต.ค. พ.ศ.2408 ปรากฏภาพชุดนี้เช่นกัน
เป็นงานพระราชพิธีเสด็จทางสถลมารคเพื่อถวายผ้าพระกฐินที่วัดพระเชตุพน
ทำให้เราต่อภาพที่ขาดหายไปได้ โดยใช้เหตุการณ์เสด็จเลียบพระนคร
คราวเสด็จขึ้นครองราชย์ ที่พระองค์ได้เสด็จทางสถลมารคมาที่วัดโพธิ์
คำถามคือ แล้วในคราวนั้นทรงเสด็จพยุหยาตราทางชลมารคไปที่ใด
คำตอบคือ เสด็จจากท่าราชวรดิฐ์ผ่านคลองคูเมืองไปยังวัดบวรนิเวศ
ที่พระองค์มีความผูกผัน เพราะเป็นวัดที่เสด็จออกผนวชก่อนขึ้นครองราชย์
ปริศนาคลี่คลายลง ภาพนี้ถ่ายที่คลองคูเมืองจากฝั่งกำแพงพระนคร
คำถามต่อไปคือเรืออนันตนาคราช ประวัติศาสตร์กล่าวว่า
เรือลำปัจจุบันเป็นเรือลำที่สอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6
ความยาว 43 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน
นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน

ปริศนาคือภาพถ่ายพระราชพิธีทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เราอ้างถึงในตอนก่อน เมื่อ พ.ศ. 2450
ยังปรากฏภาพเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชจอดเทียบกับเรืออเนกชาติภุชงค์
เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จทางชลมารค ในพิธีเฉลิมฉลองเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2454 ตามบันทึกปรากฏว่าทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้
เรือสุวรรณหงส์ซึ่งสร้างเสร็จในเวลานั้น เป็นเรือพระที่นั่งทรง
เรือสุพรรณหงส์จะต้องสร้างตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในปี 2454
ทันกับที่รัชกาลที่ 6 ประกอบพระราชพิธีเสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
ในขณะที่เรืออนันตนาคราช ซึ่งสร้างเสร็จตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4
ก็ยังทำหน้าที่เป็นเรือพระที่นั่งรอง
หลักฐานปัจจุบันกล่าวว่า เรืออนันตนาคราชลำปัจจุบัน
สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2457 ดังนั้นการต่อเรืออนันตนาคราชลำที่ 2 นี้
ต้องอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2457 เท่านั้น
ปริศนาคือไม่มีข้อมูลใดที่กล่าวถึงเรื่องนี้
ว่าทำไมต้องมีการสร้างเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำที่สองขึ้น
ทั้งที่เป็นเรือใหม่เพิ่งต่อขึ้นในไม่กี่รัชกาลก่อนหน้าเท่านั้น
เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร
ต่อไปเป็นชุดเรือครุฑ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ประกอบไปด้วยเรือครุฑเหินเห็จ แต่เดิมชื่อ เรือครุฑระเห็จ
โขนเรือเป็นรูปครุฑกายสีแดง
ตัวเรือได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2505
เรือครุฑเตร็จไตรจักร โขนเรือเป็นรูปครุฑกายสีชมพู
ตัวเรือได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2511
เรือทั้งสองลำยาว 27 เมตร ใช้ฝีพาย 34 คน และนายท้าย 2 คน
หากเราเคยเห็นจิตรกรรมหรือประติมากรรมที่สื่อถึงเขาพระสุเมรุ
ก็มีการเรียงลำดับจากยักษ์ ลิง ครุฑ เทวดา ไปตามลำดับ
ดังนั้นกระบวนพยุหยาตรา ก็ใช้หลักคิดเดียวกัน
เรือครุฑจึงเป็นเรือรูปสัตว์ที่อยู่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์มากที่สุด
ในสายกลาง หลังเรืออนันตนาคราช คือเรือแตงโมลักษณะของเรือเป็นเรือกราบเช่นเดียวกับเรืออีเหลือง
มีปี่ชวาและกลองแขกสำหรับบรรเลง 6 นายฝีพาย 28 นาย
นายท้าย 2 นายเช่นกัน ต่างกันที่ทำหน้าที่เรือกลองใน
สำหรับผู้บัญชาการกระบวนเรือนั่ง ซึ่งจะใกล้ชิดกับเรือพระที่นั่งทรง
เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต การทำหน้าที่ในขบวนเรือ
ภาพเก่าดูขลังมากเลยคะ ติดตามคะ

Merry Christmas ค่ะ 
