วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (3) ![]() มีการนัดเพื่อนำชมสถานที่จริงในวันถัดมา ที่สายฝนนั้นโปรยพรำแต่ยามเช้าเลยทีเดียว ชั่งใจว่าจะไปหรือไม่แต่ที่สุดก็ตัดสินใจไป เนื่องจากไปเองมาหลายครั้ง ก็ยังดูไม่ออก ความสำคัญของหอไตรก็อย่างที่เราทราบดีว่า เป็นนิวาสสถานของเจ้าพระยาจักรีมาก่อน เมื่อเสด็จขึ้นนครองราชย์จึงถวายเป็นพุทธบูชา กลายมาเป็นหอไตรในวัดระฆัง จิตกรรมภายในที่ขับเน้นถึงความโดดเด่นในความเป็นพระอินทร์ ทำให้สงสัยว่า นี่เป็นอีกหลักฐานสำคัญถึงการแสดงออกหรือไม่ ที่พระมหากษัตริย์พระใหม่ไม่ได้สืบเชื้อสายต่อๆ กันมา มิใช่รามาผู้สืบสายมาแต่กษัตริย์อยุธยาเช่นดังแต่ก่อน แต่เป็นถูกผู้อภิเษกขึ้นมาเป็นผู้ปกครองไพร่ฟ้าองค์ใหม่ ความเชื่อเรื่องพระอินทร์ดูจะสอดคล้องกันมากกว่า เพราะเดิมเป็นเพียงสามัญชนธรรมดาแต่ทำความดีอย่างโดดเด่น จนในที่สุดผลบุญนั้นก็ส่งผลให้ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองสวรรค์ พระอินทร์จึงเป็นเพียงตำแหน่งที่มีวาระ และใครก็สามารถเป็นได้ แต่บางคนก็ไม่เชื่อว่าแนวคิดนี้ เพราะหอไตรนั้นเป็นจุดลับตาของคนทั่วไป หากพระองค์ต้องการจะแสดงอะไรที่เด่นชัด ทำไมไม่เขียนจิตรกรรมที่อื่น แต่อย่างไรก็ตามแสดงให้เห็นว่า คติพระอินทร์คงเป็นที่นิยม มิฉนั้นคงไม่เขียนเรื่องนี้ ![]() เริ่มต้นจากหอนั่งทางฝั่งขวา จิตรกรรมคือ รูปเทพชุมนุมหนึ่งชั้น ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ จึงไม่สามารถจะแสดงชั้นของเทวดาได้ ช่างจึงแก้ปัญหาด้วยการเรียงศักดิ์ของเทวดาจากด้านหน้าไปหลัง เมื่อหันหน้าเข้าหาภาพ เทวดาที่เป็นยักษ์จะเป็นกลุ่มแรกทางขวา เทวดาที่เป็นนาคาจะอยู่ตรงหน้าทางขวา เทพบุตรจะอยู่ทางซ้าย ส่วนกลุ่มซ้ายมือสุดจะมีเทพที่สำคัญคือพระพรหมและจบที่พระอินทร์ หอกลางมีภาพอยู่ 2 ชุดคือ ผนังฝั่งประตูทางเข้า และผนังฝั่งหน้าต่าง ภาพด้านหน้าคือรามเกียรติ์ ตอน ไมยราพหลอกให้สุครีพไปถอนต้นรัง เมื่อกลับมาสู้จึงหมดแรง ถูกหนีบกลับไปกรุงลงกา ในที่สุด พระรามจึงส่งหนุมานไปช่วยเหลือกลับมาได้ ภาพชัดระดับหนึ่ง ภาพด้านหลังเป็นรามเกียรติ์เหมือนกัน แต่ลบเลือนไปมากกว่า ดูจากความแน่นของตัวละคร น่าจะเป็นตอนยกรบ แต่ยืนยันไม่ได้ ทั้งสองภาพเป็นจุดที่มืดมาก ทำให้ถ่ายภาพแทบไม่ได้ โดยเฉพาะภาพด้านหลังที่ถูกพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 บังเสียอีก ![]() ด้านซ้ายของอาคารคือหอนอน ที่นี่เองเดิมคงเป็นส่วนเก็บพระไตรปิฏก เพราะเป็นห้องที่มีฝาประกนปกป้องทั้ง 4 ทิศ เมื่อเปิดประตูเข้าไป ให้เลี้ยวขวา จุดแรกเริ่มนั้นคือผนังฝั่งทิศเหนือที่เขียนเรื่องไตรภูมิ ไตรภูมิที่เรารู้จักกันดีคือ ไตรภูมิพระร่วง ที่ถือว่าแต่งขึ้นมาแต่สมัยสุโขทัย ประวัติว่า หอพระสมุดได้ต้นฉบับมาจากเมืองเพชรบุรี เชื่อว่าน่าจะเป็นหนังสือจารแต่ครั้งกรุงธนบุรี ระบุว่าแต่งเมื่อปีระกา ศักราชได้ 23 ปี แม้จุลศักราช 23 เป็นปีระกาจริง แต่ก็เป็นปีก่อนรัชกาลพระยาลิไทยมาก เมื่อเป็นจุลศักราชไม่ได้ ดังนั้นอาจจะเป็นพุทธศักราชหรือมหาศักราช ซึ่งผู้คัดลอกทีหลังจะตกตัวเลขหน้าหรือเลขหลังไปสองตัว ลองเติม ลองสอบดูหลายสถาน ก็ไม่สามารถจะหันเข้าให้ตรง หรือแม้แต่เพียงจะให้ใกล้กับศักราชรัชกาลของพระยาลิไทย และนั่นคือข้อสงสัยถึงความจริงแท้ของ ไตรภูมิพระร่วงประการหนึ่ง แต่ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เมื่อปีเถาะ จุลศักราช 1145 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้ พระราชาคณะและราชบัณฑิตช่วยกันแต่งหนังสือไตรภูมิขึ้นเล่ม 1 และโลกวินิจฉยกถาเล่ม 1 หนังจากนั้น ทรงรวบเข้าให้เป็นเล่มเดียว เรียกว่า ไตรโลกวินิจฉยกถา มีความยาว 25 ผูก ต่อมาอีก 19 ปี เมื่อปีจอจุลศักราช 1164 ทรงพระราชดำริว่าหนังสือไตรภูมิ ที่ได้แต่งไว้แล้วคารมไม่เสมอกัน ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาธรรมปรีชา แต่งใหม่อีกครั้ง 1 แต่ในบานแพนกเรื่องแต่งหนังสือไตรภูมิทั้ง 2 ฉบับนั้น ไม่ได้กล่าวให้ปรากฏว่ามีหนังสือไตรภูมิของพระยาลิไทยเลย ![]() ถ้าไตรภูมิพระร่วงเป็นของที่ตกทอดมาโดยอ้างว่าพระยาลิไทเป็นผู้แต่ง แต่มาจารใหม่ในสมัยธนบุรี เพราะทุกอย่างในอยุธยาไฟใหม้ไปหมดแล้ว เหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงไม่นำสำนวนของไตรภูมิพระร่วงฉบับดังกล่าวมาแก้ไข ทำให้ อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อว่าหนังสือไตรภูมิพระร่วงแต่งในสมัย ร. 4 ซึ่งเราต้องแยกกันระหว่างหนังสือ กับสมุดภาพหรือจิตกรรมฝาผนัง เพราะสองสิ่งหลังนั้น เราพบหลักฐานในสมัยอยุธยาอยู่มากกมาย แสดงว่า ความเชื่อเรื่องไตรภูมินั้นมีมาแล้วแต่ในสมัยอยุธยาแน่นอน แต่เวลาเปลี่ยน ความคิดคนก็เปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรงต้องการสร้างอาณาจักรขึ้นมาใหม่ ฉะนั้นที่ไตรวัดระฆังจึงต้องใช้ไตรภูมิสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นตัวอ้างอิง โหวตความรู้นะคะ
เราเองก็ขอบคุณจขบ.นะคะ ที่แวะไปหากันเสมอๆ เลย ขอบอกว่า แอบโหวตเฟรนด์ลี่อันดับสามให้นะคะ แฮ่.. โดย: สาวไกด์ใจซื่อ
![]() เคยเข้าไปดูสองรอบแล้วค่ะ แต่ไม่เข้าใจอยู่ดี
![]() บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้ ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น *** พระที่มีตาลปัตร เข้าใจมาตลอดคือพระมาลัย วันนั้นก็ยืนเถียงกับคนที่บ้าน เค้าเลยให้ไปดูด้านหลังองค์พระ มีข้อความกำกับไว้ว่า พระศรีอาริย์ ส่วนพระพุทธเจ้าทีปังกร เพิ่งเห็นวัดนี้วัดแรกเหมือนกันค่ะ โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|
+