วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (2) ![]() อ. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มาเล่าเรื่องเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในธนบุรี เจดีย์ประธานของวัดระฆัง คำถามสำคัญคือ มันสร้างขึ้นเมื่อใด อ. ณ ปากน้ำ ให้ความเห็นว่าเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ มีบันไดหน้า ดังนั้นจึงน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น อันเป็นที่นิยม อีกความเห็นหนึ่งเป็นพระวินิจฉัยของสมเด็จเจ้าฟ้าพระยานริศฯ ที่ทรงให้ความเห็นว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือ อาจจะเป็นการสร้างขึ้นในช่วงการบูรณะวัดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์เอนเอียงไปทางเชื่อว่าน่าจะเป็นเจดีย์รัตนโกสินทร์ การอธิบายสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์มาอย่างผมนั้น มันคงจะเล่ายาก เพราะคำศัพท์และวิวัฒนาการทางศิลปะเป็นศูนย์ แต่สรุปง่ายๆ ว่า อ. รุ่งโรจน์เชื่อว่าน่าเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยการเปรียบเทียบกับเจดีย์ที่วัดส้ม ที่อยุธยา (ถ้าจำไม่ผิด) และเจดีย์วัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรีที่ถูกบูรณะในช่วงเวลานั้น โดยเปรียบเทียบกับเจดีย์ฐานห้าที่มุมพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ระเบียบการใช้ฐานหน้ากระดาน และบัวคว่ำบัวหงายนั้นแตกต่างกัน ที่นี่คล้ายกับอยุธยามากกว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เจดีย์ประธานที่วัดระฆังจึงเปรียบดั่งมหาธาตุของเมือง เพราะเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดมาก่อน จนกระทั่งมีพระปรางค์วัดอรุณ ![]() แต่ อ. รุ่งโรจน์ ไม่ได้เล่าแต่เพียงเรื่องเจดีย์ ยังมีเรื่องที่น่าสนใจ นั่นก็คือ แล้วธนบุรีมีความเจริญขึ้นมาเมื่อใด อย่างที่เล่าไว้ก่อนหน้า ว่าศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นพบมากที่ตลิ่งชัน เหตุใดเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า มีการขุดคลองลัดในสมัยพระไชยราชา จากเดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านมาถึงหัวมุมโรงพยาบาลศิริราช จากนั้นก็ไหลอ้อมคลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่ ไปออกที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์เป็นโค้งรูปเกือกม้า กลายเป็นตำนานว่า คนเรือหุงข้าวตอนเช้าแล้วลืมหม้อไว้ที่ปากคลอง ล่องเรือไปจนกระทั่งเย็นถึงปากคลองอีกฝั่ง จะก่อไฟหุงข้าวเย็น นึกได้ว่าเมื่อเช้าลืมหม้อไว้ ก็แค่เดินลัดไปไม่เกินชั่วโมง ก็ได้หม้อใบเดิมกลับมา ดังนั้นในความคิดเมื่อขุดคลองลัด ความสำคัญของคลองช่วงนี้ควรจะหมดลง และริมฝั่งแม่น้ำที่เกิดใหม่ตั้งแต่โรงพยาบาลศิริราช จนถึงป้อมวิไชยประสิทธิ์ ควรจะมีโบราณสถานที่สอดคล้องกับช่วงเวลาหลังพระไชยราชาเป็นต้นมา แต่กลับกลายเป็นว่า วัดเก่าๆ ยังคงอยู่ที่ฝั่งตลิ่งชัน คำถามสำคัญ คือเกิดอะไรขึ้น ![]() เราไม่อาจรู้แน่ชัดแต่กลับมีข้อขัดแย้งเพิ่มเติมอีก ถ้าคลองลัดสมัยพระไชยราชา เกิดเป็นแม่น้ำสายใหม่จริง เหตุใดในรัชกาลพระมหาจักรพรรดิจึงได้ขุดคลองลัด จากปากคลองบางกรวยตรงวัดชลอ มาทะลุคลองบางกอกน้อยกันด้วยเล่า ถ้าคลองลัดสมัยพระไชยราชาเกิดกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ไม่เห็นมีความจำเป็นใดๆ ที่จะขุดคลองลัดมาทะลุคลองบางกอกน้อยเลย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า คลองลัดสมัยพระไชยราชายังไม่ใหญ่พอที่เดินเรือ ต้องรอจนกระทั่งอย่างน้อยถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองได้ขุดคลองลัด จากหน้าเมืองนนทบุรีมาถึงหน้าวัดเขมา จนกระแสน้ำไหลได้ตัดตรง กัดเซาะคลองสมัยพระไชยราชาจนกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เมื่อถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์คลองลัดจึงกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ เป็นที่ตั้งด่านขนอน มีป้อมวิไชยเยนทร์ เกิดเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร โดยมีวัดบางหว้าใหญ่เป็นวัดสำคัญ หรือเป็นมหาธาตุของเมืองนั่นเอง มาอ่านต่อค่ะ
เรื่องร้านก๋วยจั๊บ มาถามพิกัดชัดๆ ข้ามสะพานปูนข้างๆ บริษัทปูนฯ เหรอคะ? แล้วจะเจอโลตัสเหรอคะ? แบบว่าไปแถวนั้นบ่อย เผื่อวันไหนจะไปกินค่ะ ขายกลางวันเนาะ? โดย: สาวไกด์ใจซื่อ
![]() คนเรือหุงข้าวตอนเช้าแล้วลืมหม้อไว้ที่ปากคลอง
ล่องเรือไปจนกระทั่งเย็นถึงปากคลองอีกฝั่ง จะก่อไฟหุงข้าวเย็น นึกได้ว่าเมื่อเช้าลืมหม้อไว้ ก็แค่เดินลัดไปไม่เกินชั่วโมง ก็ได้หม้อใบเดิมกลับมา ชอบค่ะ แปลว่ายังไงยานพาหนะก็คือเรือ ![]() โดย: tuk-tuk@korat
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|
ขอบคุณค่ะ
*** อาหารอร่อยดีนะคะ 4 เมนู ทุกคนลงความเห็นว่าใช้ได้ ที่สำคัญ แม่เป็นคนจ่าย ... ราคาไม่แรงด้วยค่ะ