ประติมากรรมสำริดจากประโคนชัย : มรดกไทยในอุ้งมือต่างชาติ (1)


วันนี้เพจ เสื้อสำนึก 300 องค์ ได้แจกเสื้อเพื่อรณรงค์การทวงคืนเทวรูป
ที่ได้ชื่อว่างดงามและเป็นเอกลักษณ์ที่สุดที่ค้นพบได้ในประเทศไทย
เพื่อเป็นการขอบคุณผู้จัดทำเสื้อดังกล่าว ผมจึงขอเขียนบลอกพิเศษ
ที่จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเทวรูปกลุ่มนี้

ต้นปี 2559 เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ภาพโบราณวัตถุโดยระบุว่า

“บัดนี้ ทางบริษัท ซัทเทบีส์ ได้นำโบราณวัตถุของประโคนชัยออกมาประมูลขาย
ประกาศอย่างออกหน้าออกตาว่าได้มาจากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
และได้กำหนดศิลปะประเภทนี้ด้วยว่า อยู่ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8
โดยมีการอ้างอิงถึง Emma C. Bunker บริษัท ซัทเทบีส์ นำโบราณวัตถุชิ้นนี้
ออกประมูลด้วยราคา 40,000-60,000 ดอลลาร์”


มีการแชร์ภาพเทวรูปสำริดจากเว็ปไซท์ประมูลชื่อดังใน facebook
เกิดเป็นกระแสตื่นตัวไปทั่ว social network ถึงการสืบหาที่มาของเทวรูปกลุ่มนี้
และนั่นคือจุดเริ่มต้นของสังคมในการรณรงค์เพื่อทวงคืนเทวรูปที่มีชื่อเรียกว่า

ประติมากรรมสำริดแบบประโคนชัย



พ.ศ. 2504 ได้มีการพบเศียรเทวรูปขนาดใหญ่ ที่บ้านตะโนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
โดยยังคงเป็นปริศนาว่าเป็นเศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตวรหรือพระศรีอารยเมตไตย
เพราะบริเวณแถบด้านหน้าของมวยเกล้าผมซึ่งใช้แยกความแตกต่างได้สูญหายไป

สิงหาคม 2507 หลังพายุฝนใหญ่ชาวบ้านคนหนึ่งเดินมาเห็นก้อนหิน
โผล่เหนือผิวดินด้านทิศเหนือปรางค์ประธานของปราสาทหินเขาปลายบัด
เขาขุดรอบๆ หินโผล่นั้นแล้วพบพระพุทธรูปหินนาคปรกที่สมบูรณ์
ชาวบ้านได้นำมาตั้งไว้ที่ศาลาวัด ในภายหลังมีคนในเครืองแบบต้องการตัดเศียร
แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใด ไม่สามารถเอาไปได้ปรากฏเป็นรอยเลื่อยที่พระศอจนปัจจุบัน

หลังจากข่าวการพบพระพุทธรูปแพร่ออกไป มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งขึ้นมาที่ยอดเขา
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์ประธานไปประมาณ 15 เมตร
พบแผ่นศิลาแลงเรียงรายตะวันออก-ตะวันตก ขนานกับกำแพงแก้วด้านใต้
เมื่อชาวบ้านงัดแผ่นศิลาขึ้นมาเขาพบหลุม บรรจุพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ 8-9 องค์

บางองค์ห่อผ้า พระพุทธรูปเหล่านี้มีความสูงระหว่าง 50 ถึง 142 เซนติเมตร
รอบหลุมดังกล่าวยังพบเทวารูปสำริดขนาดย่อม (สูงตั้งแต่ 5-50 เซนติเมตร)
บางคนว่ามีถึง 200 องค์

ข่าวนั้นแพร่สะพัดออกไป มีฝรั่งเข้ามารอรับซื้อพระเหล่านั้นจากชาวบ้าน
ที่มีขนาดใหญ่ก็ให้ราคาหลักแสน องค์ขนาดเล็กก็มีราคา 3000-5000
ชาวบ้านจึงฮือกันขึ้นขุดปราสาทส่วนอื่นๆ จนปราสาทแทบจะพัง แต่ก็ไม่พบอะไร
หลายคนร่ำรวยจนมีเงินซื้อรถมาขับได้จากการขายของโบราณในครั้งนี้

แล้วพวกเค้านำออกจากประเทศได้อย่างไร ?

ตอนนั้นเป็นช่วงสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ทั่วไป
ที่ใกล้ที่สุดก็คือสนามบินโคราช เพียงจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ระหว่างทาง
ก็สามารถนำออกโดยเครื่องบินทหารได้
คาดว่ามีเทวรูปสำริดที่ถูกนำไปออกไปยังต่างประเทศในครั้งนี้มากกว่า 300 องค์



พ.ศ. 2508 หนังสือพิมพ์ในลอนดอน The Illustrated London News
August 28,1965 ลงข่าวว่า มีการขุดพบประติมากรรมสำริด
ในพุทธศาสนาจากห้องใต้ดินในวัดร้างที่ชายแดนไทย-เขมร
ที่ใหญ่ที่สุดมีอยู่สามองค์ และยังมีอีกห้าองค์ที่เล็กกว่ากัน
รูปสำริดเหล่านี้ต่างกระจายไปอยู่ต่างประเทศ

พ.ศ. 2510 Jean Boisselier ผู้เชี่ยวชาญศิลปะในเอเชียอาคเนย์ ชาวฝรั่งเศส
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากประโคนชัยเป็นคนแรก
เสนอว่าจากการเทียบเคียงศิลปะกับเทวรูปที่เมืองพระนคร
คงสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13 ถึง 14 หรือมีอายุราว 1200-1300 ปีล่วงมาแล้ว
และระบุจุดที่ขุดพบว่าคือ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

พ.ศ. 2513 กรมศิลปากรเดินทางมาถึงประโคนชัย และยึดพระพุทธรูปนาคปรก
พระพุทธรูปองค์นี้ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ซึ่งก็คือพระพุทธรูปองค์แรกที่ขุดค้นพบ และมีรอยเลื่อยปรากฏที่ลำคอนั่นเอง

พ.ศ. 2514 มีการค้นพบเทวรูปสำริดสามองค์ที่คล้ายกันกับที่ขุดได้จากประโคนชัย
ในเนินดินที่บ้านฝ้าย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ห่างเขาปลายบัดไปทางเหนือ
ประมาณ 60-70 กิโลเมตร ปัจจุบันเทวรูปองค์หนึ่งที่ขุดได้
ถูกจัดแสดงอยู่ที่อาคารมหาสุรสิงหนารท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พ.ศ. 2515 นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ ภัณฑรักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์กีเมต์ ฝรั่งเศส
เขียนบทความลงใน Art Asiatiques, 25 (1972) ว่ามีการขุดพบประติมากรรมสัมฤทธิ์
ซึ่งอาจมาจากปราสาทลมธม (Lom Thom) จำนวนเกือบ 300 องค์
มีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร จำนวน 5-6 องค์ ขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร 3-4 องค์
ที่เหลือมีขนาดประมาณ 20-30 เซนติเมตร พิพิธภัณฑ์กีเมต์เองได้รับซื้อพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย
ขนาดสูง 46 เซนติเมตรไว้ด้วย

เอมมา ซี บังเกอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด และพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองเดนเวอร์
เขียนบทความสั้นๆ แต่เน้นภาพถ่าย ตีพิมพ์ใน Art of Asia (1971-1972) ได้ลงรูปปราสาท
ที่ค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์ไว้ 3 รูป โดยใช้ค่าว่า Prasat Pra kon chai
และรูปขาวดำประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ได้จากปราสาทแห่งนี้ จำนวน 24 องค์



พ.ศ.2516 นายดักกลาส แลชฟอร์ด ชาวอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้รับสัญชาติไทย
ได้มอบพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยสภาพไม่น่าขายได้ให้คณะโบราณคดี 1 องค์
ปัจจุบันพระองค์นี้ยังอยู่ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ต่อมาม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ลงบทความเรื่อง ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย
จังหวัดบุรีรัมย์
ในวารสาโบราณคดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2516
กล่าวถึงการสูญหายของเทวรูปเหล่านี้จากประเทสไทย เพื่อเป็นอุทาหรณ์ในการป้องกัน
โดยท่านเชื่อว่าได้มาจากปราสาทลมธมตามบทความของนาย นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ

ในปีนั้นกรมศิลปากรได้จัดแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่องประติมากรรมสำริดขิ้นเอก
พบใหม่จากบุรีรัมย์ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑฑสถานแห่งชาติพระนคร
ระหว่างวันที่ 16 ต.ค. ถึง 30 พ.ย. 2516 โดยมีการพิมพ์หนังสือประกอบที่มีรูปภาพ
โดยระบุว่าได้มาจากปราสาทละลมธม บ้านศรีสุข อ. บ้านกรวด จ. บุรีรัมย์

เอมมา ซี บังเกอร์ เห้นแย้งกับกรมศิลปากรว่า
น่าจะได้มาจากปราสาทเขาปลายบัดอ. ละหานทราย จ. บุรีรัมย์
ที่กรมศิลปากรอ้างว่า ภาพปราสาทที่ค้นพบตรงกับภาพในหนังสือของ Lunet de Lajonquiere
นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะในหนังสือดังกล่าวไม่มีรูปที่กรมศิลปากรอ้างถึง
และจากรูปที่เธอลงก็ระบุชัดว่ามาจาก อ. ประโคนชัย ซึ่งควรเป็นปราสาทปลายบัดมากกว่า

Hiram W. Woodward Jr. ได้สนับสนุนนางเอมม่าว่า
ประตูหลอกของปราสาทละลมธมสร้างจากปราสาทหินทราย
ในขณะที่ปราสาทเขาปลายบัดสร้างด้วยอิฐตรงกับในรูปของนางเอมม่า


ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ได้ทำการศึกษาเพื่อทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
เรื่อง ประติมากรรมสำริดแบบประโคนชัย หลักฐานทางศิลปกรรมเริ่มแรกของสมัยประวัติศาสตร์ในที่ราบสูงโคราช
ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเทวรูปกลุ่มนี้ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยละเอียดมากที่สุดในขณะนี้

Metropolitan Museum จัดนิทรรศการ Los Kingdom : Hindu buddhist sculpture
of Early Southeast asia, 5th to 8th Century ซึ่งในการจัดแสดงนี้
มีเทวรูปจากเขาปลายบัตจากหลายพิพิธภัณฑ์มาร่วมจัดแสดง>



Create Date : 16 ธันวาคม 2559
Last Update : 22 เมษายน 2564 12:19:54 น.
Counter : 4937 Pageviews.

6 comments
“ สเปรย์ฉีดยุง ” dansivilai
(17 เม.ย. 2567 21:04:34 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
9 แนวคิดที่ทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม peaceplay
(31 มี.ค. 2567 09:18:27 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
  
สร้างได้สวยมากค่ะ ละเอียด งดงาม
โดย: nichchadary วันที่: 16 ธันวาคม 2559 เวลา:15:39:16 น.
  
ถ้าอยู่กระจัดกระจายที่ต่างประเทศถึง 200 องค์จริง ... เราจะได้คืนซักครึ่งไหมคะ

องค์แรกเหมือนจะเคยเห็นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
สองแผ่นดิน Photo Blog ดู Blog
lovereason Literature Blog ดู Blog
life for eat and travel Food Blog ดู Blog
The Kop Civil Movie Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


*** งานพระเมรุ ตั้งใจว่า ถ้าเริ่มขึ้นโครง เริ่มก่อสร้างแล้ว จะไปเก็บภาพเหมือนกันค่ะ ไม่รู้เค้าจะให้ถ่ายรูปเป็นระยะ ๆ หรือเปล่านะคะ
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 16 ธันวาคม 2559 เวลา:20:48:42 น.
  
เดี๋ยวมาละเลียดอ่านค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 ธันวาคม 2559 เวลา:21:09:17 น.
  
มีหนวดด้วยค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 ธันวาคม 2559 เวลา:15:29:21 น.
  
เย้ๆๆ อัพบล็อกใหม่แล้ว

ข้อมูลปึ้กๆ แน่นๆ เช่นเคยนะคะนี่

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 18 ธันวาคม 2559 เวลา:18:32:03 น.
  


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
โดย: newyorknurse วันที่: 19 ธันวาคม 2559 เวลา:3:50:34 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Nontree.BlogGang.com

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]

บทความทั้งหมด