เหตุการณ์ รศ. 112 (4) ![]() 20 เมษายน พ.ศ.2436 ให้ราชวงศ์ และราชบุตรเมืองยโสธร 500 คน ให้อุปฮาด (บัว) คุมคนเมืองศรีษะเกษ 500 คน ยกไปสมทบกับพระประชาคดีกิจที่เมืองสีทันดร ให้หลวงเทเพนทรเทพคุมกำลัง ๔๐๐ คน ไปรักษาดอนสะดำและท้ายดอนสาคร ให้เจ้าราชบุตรจัมปาศักดิ์คุมกำลังตามสมควรไปรักษาอยู่ท้ายดอนสมและหัวดอนเดช ปลายเดือนเมษายน พ.ศ.2436 ร้อยเอกโทเรอซ์ได้เดินทางมาทางลำน้ำโขงตอนล่าง เพื่อลำเลียงเสบียง เมื่อกลับขึ้นไปเมืองโขงกระแสน้ำซึ่งไหลเชี่ยว ได้พัดเรือของเขามาทางฝั่งขวาของลำน้ำโขง ทหารไทยจับร้อยเอกโทเรอซ์ พร้อมทั้งทหารอีก 16 คนไว้ได้ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2436 นำตัวร้อยเอกโทเรอซ์ส่งกรมหลวงพิชิตปรีชากรข้าหลวงใหญ่เมืองอุบล 5 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ทหารไทยได้ขับไล่ทหารฝรั่งเศสถอยออกไปจากเมืองสีทันดร แต่ต่อมาฝรั่งเศสได้ส่งกำลังจากเขมรมาเพิ่มเติม และบุกกลับมายึดเมืองสีทันดรไว้ได้อีก 20 พฤษภาคม พ.ศ.2436 กรมหลวงพิชิตปรีชากรให้จัดส่งคนเมืองสุวรรณภูมิ 500 คนและ เมืองร้อยเอ็ด 300 คน ไปช่วยพระประชาคดีกิจที่ค่ายดอนสาคร 22 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ฝรั่งเศสคุมกองทัพเพิ่มเติมยกมาถึงบ้านพละอีกประมาณพันคนเศษ พระประชาคดีกิจเห็นข้าศึกมีกำลังกล้า จึงรวมกำลังตั้งรับที่ดอนสะดำ ดอนเดช และดอนสม ไทยกับฝรั่งเศสได้ปะทะกันหลายครั้ง ผลัดกันรุกผลัดกันรับต่างฝ่ายต่างส่งกำลังหนุนขึ้นไป บริเวณเมืองโขงหรือสีทันดรทั้งสองฝ่ายตกลงยุติการรบในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2436 กองที่ ๒ มีกำลังทหารประมาณ 750 คน อยู่ในบังคับบัญชาของไวซ์เรสิดังต์ เมืองกวางบิญ ได้รับคำสั่งจากผู้สำเร็จราชการอินโดจีนให้เป็นผู้อำนวยการในแคว้นคำโล และให้เดินทางไปยังเมืองอายหลาว และให้แจ้งแก่ข้าหลวงไทยว่ามาในนามของรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อยึดดินแดนที่ควรให้ฝรั่งเศสมีอำนาจโดยชอบธรรมแต่เพียงประเทศเดียว 25 เมษายน พ.ศ.2436 ออกเดินทางจากเมืองคำโลเข้าขับไล่ทหารไทยที่อาซาว นาบอน เมืองวัง เมืองพิน เข้ายึดเมืองพ้อง และเคลื่อนที่ถึงเมืองสองดอนดง กับตำบลนาพระสูร ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองเขมราฐและจัดการปกครองเมืองต่าง ๆ โดยได้ตั้งกองบังคับการอยู่ที่เมืองสองดอนดง กำลังไทยต้องล่าถอยข้ามแม่น้ำโขง กองที่ ๓ อยู่ในบังคับบัญชาของ เรสิดังต์ เมืองวิญ ยศร้อยเอกเหล่าทหารปืนใหญ่ ได้รับคำสั่ง ให้จัดการให้ฝ่ายไทยถอยร่นออกไปจากบริเวณเมืองคำม่วนโดยทันที 18 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ทหารกองนี้ได้ออกเดินทางจากนาเปมาถึงเมืองคำม่วน พระยอดเมืองขวางเกิดที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาเข้ารับ ราชการสังกัดมหาดไทยได้เลื่อนตำแหน่งจนกระทั่งได้เป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยอดเมืองขวาง ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้าเมืองคำเกิดคำม่วน ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านระหว่างสยามและฝรั่งเศสที่เผชิญหน้ากันในแคว้นสิบสองจุไท พระยอดเมืองขวางเวลานั้นอายุ 40 ปี เป็นข้าหลวงคำเกิดคำมวนอยู่ 8 ปีแล้ว นายโกรกุธัง นายทหารฝรั่งเศสซึ่งมีกองทหารญวนเป็นกำลัง จึงล้อมที่ทำการเอาไว้ จนพากันอดข้าวอดน้ำ แล้วเข้าจับตัวหลวงอนุรักษ์ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวางกับข้าราชการ และยึดทรัพย์สมบัติไว้หมดและเอาตัวหลวงอนุรักษ์ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวางไปขังไว้ที่แก่งเจ๊ก ![]() ภาพการส่งมอบเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส พระยอดเมืองขวางรู้ข่าวจึงพากันลอบหนีลงเรือมาตามลำแม่น้ำโขงถึงเวียงกระแส พบกับทหารไทยประมาณ 100 คน ซึ่งหลวงวิชิตสรสาตร์ข้าหลวงเมืองลาวพวนส่งมาช่วย มีนายร้อยโททุ้ยและนายร้อยโทแปลกคุมมาจึงพากันมาช่วยหลวงอนุรักษ์ก่อน เมื่อมาถึงก็ยืนอยู่ห่างจากเรือนที่ขังหลวงอนุรักษ์ประมาณ 8 วา นายโกรกุแรงยืนจับแขนหลวงอนุรักษ์อยู่บนเรือนพัก หลวงอนุรักษ์ก็สะบัดหลุด โดดหนีวิ่งลงมาหาพระยอดเมืองขวางก็มีคนยิงปืนลงมาจากบนเรือนโดนทหารไทยตาย 1 คน ล้มลงอีกหลายคน นายร้อยโททุ้ย นายร้อยโทแปลกจึงร้องว่า ต้องยิงต่อสู้บ้าง พระยอดเมืองขวางจึงร้องสั่งให้ต่อสู้ ทหารญวนก็พากันเข้าแถวยืนยิงต่อสู้กับทหารไทย เมื่อสิ้นเสียงปืนแล้ว ปรากฏว่าทหารไทยตาย 6 คน บาดเจ็บ 4 คน ขุนวังซึ่งเป็นข้าราชการเมืองคำเกิดคำมวนก็ถูกกระสุนปืนตายด้วย ส่วนทหารญวนตาย 11 คน นายโกรกุแรงตาย และมีคนเจ็บ 3 คน พระยอดเมืองขวางกับทหารไทยก็ลงเรือล่องมาถึงเวียงกระแส แต่หลักฐานทางฝรั่งเศสอ้างว่า หลังการยึดเมืองคำม่วนได้ในวันที่ 25 พฤษภาคม ฝ่ายไทยได้รวบรวมกำลังและจู่โจมเพื่อยึดเมืองเมืองในวันที่ 25 มิถุนายน และได้สังหารนายโกรกุแรงซึ่งในขณะนั้นนอนป่วยบนเตียงเสียชีวิตและทหารเวียดนามอีก 17 คน ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไรการที่มีเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเสียชีวิตถือเป็นเรื่องสำคัญ ฝรั่งเศสจึงได้ส่งทหารมาเพิ่มเติมและได้มีการสู้รบกันที่นากายใต้ เมืองคำม่วนอย่างรุนแรง ทหารทั้งสองฝ่ายล้มตายกันมากในที่สุดฝ่ายไทยได้ล่าถอยอพยพผู้คนมาทางฝั่งขวาของลำน้ำโขง ฝรั่งเศสจึงยึดพื้นที่บริเวณเมืองคำม่วนไว้จัดการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยไม่รักษาคำมั่นตามข้อตกลงเรื่องให้ต่างฝ่ายต่างคงอยู่ในเขตแดน และจะไม่รุกล้ำเข้าไปในแดนเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไทยต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และให้ไทยปล่อยตัว ร้อยเอกโทเรอซ์ ที่ไทยจับตัวไว้ด้วย ฝรั่งเศสได้ดำเนินการตามเหตุดังกล่าวโดย 1.ให้กองเรือฝรั่งเศสเดินทางจากทะเลจีนมารวมกำลังกันที่ไซ่ง่อน 2. ส่งทหารต่างด้าว 1 กองพันจากแอลจีเรียให้เดินทางมาไซ่ง่อน 3. ส่ง ม.เลอมีร์ เดอวิเลรส์ เป็นราชฑูตพิเศษมาเจรจากับรัฐบาลไทยที่กรุงเทพ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย และพิจารณาตกลงในปัญหาการพิพาทที่ยังค้างอยู่ ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อกับอังกฤษ และเตรียมการป้องกันปากน้ำเจ้าพระยา รู้จักพระยอดเมืองขวางก็จากละคร ทวิภพ ละค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat
![]() มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ เป็นเรื่องราวที่อานแล้วให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ดีครับ อิอิ ![]() ![]() โดย: อาคุงกล่อง
![]() |
บทความทั้งหมด
|