จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (6) ![]() สมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาจึงได้มีพระดำรัสปืดการอภิปรายว่า ข้าพเจ้าไม่กลัว เพราะคิดว่าถ้ามีคนที่สงสัยอะไร ก็น่าที่จะให้โอกาสเขาอธิบายความเห็นของเขาด้วยเหตุด้วยผลของเขา ซึ่งเราก็สามารถมาพิจารณาได้ภายหลัง ถึงอย่างไรก็ดี เราไม่ควรยึดถืออะไรนัก ทุกอย่างในโลกนี้ก็ไม่เที่ยง ถ้าหลักที่ 1 นี้เป็นของปลอม อะไรก็จะมาลบ การที่เรามีภาษาของเรา ซึ่งมีตัวเขียนของเราที่ใครสร้างขึ้นก็ตาม มีสถาปัตยกรรมของเรา และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นของเราไม่ได้ ทรงมอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ประจำกรมศิลปากร และกรมทรัพยากรธรณี ทำการวิจัยเรื่อง การพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ โดยนำศิลาจารึกที่ทำด้วยหินทรายแป้ง ชนิดเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ 1 คือ หลักจารึกนครชุม ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ ศิลาจารึกภาษามคธ และภาษาไทย กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสันดร และพระแท่นมนังคศิลาบาตร มาเปรียบเทียบกัน พ.ศ. 2534 ก็มีการรายงานผลว่าผู้วิจัยได้ใช้แว่นขยายรังสีอัลตร้าไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน เป็นเครื่องมือสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์หลาย ๆ จุดบนตัวอย่างแต่ละตัวอย่าง แล้วหาค่าเฉลี่ยพบว่า ความแตกต่างขององค์ประกอบที่ผิว กับส่วนที่อยู่ข้างในของศิลาจารึกทั้ง 3 หลักมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน จึงสรุปผลการพิสูจน์ว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 ผ่านกระบวนการสึกกร่อน มาเป็นเวลาหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักที่ 3 วัดศรีชุม และหลักที่ 45 ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ จึงเป็นอันยุติว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นของดั้งเดิม มิใช่ทำขึ้นใหม่ ![]() แต่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วย ชัชวาล ปุญปัน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เผยแพร่บทความโต้แย้ง ใจความโดยสรุปว่า 1. ยังไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่จะสามารถวัดอายุว่า มนุษย์ได้นำก้อนหินก้อนนั้นมาแกะสลักเมื่อใดได้โดยตรง 2. การทดสอบนี้มีข้อจำกัด ที่ไม่สามารถจะสุ่มตัวอย่างได้อย่างเพียงพอ เพราะคงไม่มีใครกล้ากะเทาะศิลาจารึกหลักที่ 1 ออกมาหลายตำแหน่ง 3. ศิลาจารึกหลักที่ 1 คงตั้งอยู่กลางแจ้งมาตลอด เพราะสุโขทัยสมัยนั้น ยังเป็นป่ารก หากจมดินอยู่จะไม่สามารถค้นพบได้ ต่างจากหลักอื่นซึ่งพบในสมัยหลัง สภาพนั้นตั้งอยู่ในวิหาร จารึกหลักที่ 1 จึงมีความแตกต่างจากหลักอื่นๆ แล้วจะนำมาเปรียบเทียบการผุผังด้วยกันได้อย่างไร 4. วิธีจะการหาร่องรอยของการผุพังอยู่กับที่แบบในงานวิจัยนี้ ที่ขาดไปก็คือไม่สามารถหาหินทรายแป้งแบบเดียวกับจารึกหลักที่ 1 แต่จารึกในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้นจึงมีคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหินทรายแป้งแบบเดียวกัน แต่ถูกจารึกในสมัยรัชกาลที่ 4 อาจจะมีสภาพการผุผังเหมือนกันก็ได้ ![]() ฝ่ายที่เชื่อว่าจารึกไม่ได้ทำขึ้นในสมัยสุโขทัยก็ก็ยังคงมีการตั้งข้อสังเกตอยู่ เช่น ไมเคิล ไรท์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องเนื้อหาและการใช้ภาษา ก็สรุปยืนยันว่า จารึกหลักที่ 1 จะเป็นอื่นใดไม่ได้ นอกจากฝีมือปัญญาชนชาวสยามในคริสตวรรษที่ 19 ซึ่งช่ำชองพุทธศาสนาและยังคุ้นกับความคิดของนักปราชญ์ก้าวหน้าในยุโรป ![]() นอกจากนี้ก็ยังมีสายกลาง อย่าง อ. ศรีศักดิ์ วัลลิโคดม นักวิชาการอิสระ ก็ไม่เชื่อว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่น่าจะสร้างในสมัยพระยาลิไท เพราะเป็นจารึกทางการเมืองพื่อใช้อ้างความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยอ้างไปถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง หรือเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี ![]() อีกท่านที่เป็นสายกลาง คือ อ. พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑกรมศิลปากร มีความเห็นว่า ไม่ได้ทําในสมัยพ่อขุนรามคําแหง และไม่ได้ทําในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วย เพราะข้อความ 17 บรรทัดแรกของจารึกเขียนว่า กูชื่อนั้น พ่อกูชื่อนี้ แต่บรรทัดที่ 18 กลับจารึกว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคําแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี" หมายถึง พ่อตายแล้ว แสดงว่าเขียน หลังสมัยพ่อขุนรามคําแหงแน่นอน และแม้แต่ 17 บรรทัดแรกก็อาจไม่ได้จารึกสมัยพ่อขุนรามคําแหงก็ได้ เพราะการใช้สรรพนาม กู เพื่อเป็นการเล่าเรื่องก็เป็นวิธีเล่าเรื่องแบบหนึ่ง เป็นไปไม่ได้ว่าในสมัยสุโขทัยมีการใช้สระผสมแล้ว เช่น สระ เอือ จนกระทั่งสมัยใกล้สมัยรัชกาลที่ 4 จึงมีการใช้ สระเอือ เช่นคำว่า เมือง แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะไม่มีทางที่คนในสมัยนั้น จะมีความรู้ทางประวัติศาสตร์มากพอที่จะเล่าเรื่องต่างๆ โดยไม่ขัดแย้งในภายหลัง เมื่อเรามารู้จักหรือเห็นภาพสุโขทัยจากหลักฐานและข้อค้นพบภายหลัง จนสามารถสร้างภาพให้แก่เมืองสุโขทัยได้อย่างถูกต้อง เช่น ในจารึกบอกว่ามีลานเหมือนสนามหลวง อาจจะใช้สำหรับประกอบพิธีอยู่ระหว่างประตูเมืองกับศูนย์กลางของเมือง แต่ลานนี้เลิกใช้ไปหลังจากนั้น100 ปี และสร้างวัดคร่อมแทน กว่าท่านจะเสด็จไปที่กรุงสุโขทัยก็ไม่หลงเหลือร่องรอยอะไร และยังมีอีกหลายเรื่องที่เราเพิ่งมาค้นพบภายหลังด้วยหลักฐานใหม่ ๆ หากรัชกาลที่ 4 ทรงทำหลักศิลาจารึกหลักนี้ขึ้นมาจริง ก็น่าสงสัยว่า ท่านทราบเรื่องเหล่านี้มาก่อนได้อย่างไร อย่างไรก็ตามอาจมีผู้ทักท้วงว่า ท่านศึกษามาก รู้มาก อาจจะรู้มาก่อนแล้วก็เป็นได้ น่าจะยังไม่จบใช่ไหมคะ
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้ ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต เนินน้ำ Food Blog ดู Blog ชีริว Travel Blog ดู Blog ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|
ง่ะ เราเองก็กินได้น้อยลงค่ะ เมื่อก่อนกินได้มากกว่านี้เยอะมากๆ