จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (5)



 ภาพจาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1020

จารึกบ้านกุดแต้ น่าจะมาจากปราสาทใดปราสาทหนึ่งในสระแก้ว
ไม่ระบุศักราช แต่ตัวอักษรเทียบเคียงได้กับจารึกเขาน้อย
ให้ข้อมูลของพระเจ้าภววรมันที่ 2 บางอย่างเพิ่มเติม
บางสิ่งที่ดูจะขัดแย้งกับจารึกเขารังและจารึกเขาน้อย
 
เมื่อสิ้นรัชกาลของอีศานวรมัน พระองค์ซึ่งเป็นโอรสได้ขึ้นครองราชย์
พระองค์ประสูติในสังกรคราม ถึงพร้อมความรู้ที่พระศิวะประทานให้
 

5 ต่อมาภายหลังเสนาบดีผู้ใหญ่ที่เป็นรองเจ้าเมืองเชยษฐปุระ
ได้ช่วยปราบปรามพวกศัมพูกะ ด้วยลูกศรอันแหลมคม
6 ผู้เป็นเจ้าแห่งเมืองโบราณอันน่ากลัว - - - - - - - -
เหมือนเทพเจ้าในที่อยู่อันน่ากลัว ในเมืองจันทรปุระ

 
จารึกนี้ให้ภาพการสงครามระหว่างเจนละกับเมืองหรือชาวศัมพูกะ
เมืองนี้เป็นเมืองเก่าแน่ๆ โดยจารึกที่กล่าวเปรียบกับเมืองจันทบุรี
นั่นทำให้เราทราบว่าชื่อจันทบุรีนั้นเป็นชื่อที่มีมาแต่โบราณ
แต่ว่าปริศนาคือ ศัมพูกะนั้นเป็นใคร
 
จากจารึกปราสาทพระขรรค์ นักประวัติศาสตร์สามารถไขชื่อเมือง
ลพบุรี สุพรรณบุรี  ราชบุรี เมืองสิงห์ และ เพชรบุรี ออกมาได้
เหลือชื่อ ศัมพูกปัฏฏนะ ที่เชื่อกันว่า คือเมืองสระโกสินรายณ์
ด้วยมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเขมรยุคบายน และการเรียงลำดับชื่อ
 

ภาพจาก https://www.matichonacademy.com/wp-content/uploads/2021/09/230666920_4272890496105491_9026570537438043681_n.jpg
 
บทที่ 116 ลโวทยปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ชยราชปุระ และศรีชยสิงหปุระ
บทที่ 117 ศรีชยวัชรปุระ ศรีชยสตัมภปุระ ศรีชยราชคิริ ศรีชยวีรปุระ

 
สระโกสินารายณ์ อยู่หลังเมืองลพบุรี และสุพรรณบุรี
แต่อยู่ก่อนราชบุรี และปราสาทเมืองสิงห์ น่าจะเป็นตำแหน่งที่ถูกต้อง

แต่ด้วยจารึกบ้านกุดแต้ กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 12
ในขณะที่จารึกพระขรรค์ นั้นอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17
ศัมพูกะต้องมีอายุยืนยาว อย่างน้อยในระยะเวลา 500 ปี
ตั้งแต่ก่อนยุคทวารวดีไปสิ้นสุดที่สมัยบายนเป็นอย่างน้อย
 
ซี่งสระโกสินารายณ์ ไม่มีความเก่าย้อนไปได้ถึงทวารวดี
เป็นไปได้หรือไม่ว่าชื่อเมืองในจารึกพระขรรค์
อาจเรียงเป็นวงกลมจากศูนย์กลางเมืองลพบุรี
ซึ่งในรัศมีนั้นอาจจะเป็นไปได้อีก 2 เมือง ศรีมโหสถ และศรีเทพ
สองเมืองที่เก่าพอถึงยุคทวารวดีและยืนยาวมาถึงสมัยบายน
 
หากเป็นเมืองศรีมโสถก็จะสอดคล้องกับจารึกเขาน้อยที่สระแก้ว
เพราะปราจีนบุรีอยู่ใกล้พอที่จะเป็นสนามรบกับชาวศัมพูกะในจารึก
 
แต่เนื้อความในจารึกนั้นเป็นการสรรเสริญพระมหากษัตริย์
เหตุการณ์นั้นจึงอาจจะไม่ได้เกิดบริเวณใกล้เคียงกับจารึกก็ได้
และเมืองศรีมโหสถนั้นก็มีหลักฐานที่กล่าวอ้างไปอีกเมืองหนึ่ง
เมืองสังโวก หรืออวัชยปุระ ตามที่ อ. รุ่งโรจน์ได้เขียนบทความไว้

นอกจากจารึกบ้านกุดแต้และจารึกพระขรรค์
ยังมีจารึกชิ้นที่ 3 ที่มีอายุอยู่ระหว่างจารึกทั้งสองชิ้นนี้


 
จารึก K557 บนฐานพระพุทธรูปยืน อักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต
กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 13-14 พบที่วัดมหาธาตุ ลพบุรี กล่าวว่า
นายเก นาราชชวะ ผู้ปกครองตังคุระโอรสแห่งศามพูกะได้สร้างพระพุทธรูป นี้ไว้
จากตรงนี้ดูเหมือนว่า ศามพูกะจะเป็นชื่อราชวงค์ ชาวเมือง มากกว่าชื่อเมือง
 
ถ้าดูตามจารึกปราสาทพระขรรค์ ก็ใช้ชื่อนามศัมพูกปัฏฏนะ
ที่แตกต่างจากคำเรียกว่าเมืองอื่นๆ ที่ใช้คำลงท้ายว่า ปุระ
 
จารึกที่มีศักราชที่เก่าที่สุดในประเทศไทยคือ จารึกเขารัง กำหนดศักราช 1180
แต่ถ้าจะถามว่า แล้วจารึกใดที่ไม่กำหนดศักราช แต่เนื้อหานั้น
น่าจะมีโอกาสเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย เดิมนั้นเชื่อกันว่าคือจารึกบ้านวังไผ่
เพราะกล่าวถึงพระเจ้าภววรมัน ซึ่งครองราชย์ก่อนพระเจ้ามเหนทรวรมัน
นั่นจึงเป็นจุดที่เชื่อกันว่า จารึกหลักนี้คือจารึกที่เก่าที่สุดในประเทศไทย
 
เป็นเสาสี่เหลี่ยม จำนวน 1 ด้าน ความยาว 12 บรรทัด
อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 12
พบที่ จ. เพชรบูรณ์ ห่างจากเมืองศรีเทพราว 10 กิโลเมตร
กำหนดรหัสตามการแปลของนักวิชาการฝรั่งเศสว่า K. 978  
 

ในปีรัชสมัยแห่งศักราช - - - - อันเป็นวันขึ้น ๘ ค่ํา
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าจักรพรรดิ์
ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน
ผู้เป็นใหญ่เสมอกับพระเจ้าศรีภวรรมัน
 
 พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นเป็นผู้มีคุณธรรม
แผ่ไปในทุกทิศผู้มีมีปัญญาอันฝึกอบรมมาดีแล้ว
ผู้มี ความยินดี - - - - ผู้มีเกียรติยศแผ่ไปในทุกทิศ
ผู้มีอำนาจอันเป็นที่เกรงกลัวของศัตรูเมืองใกล้เคียงทั้งหลาย
ได้สร้างศิลาจารึกไว้ในโอกาสที่ขึ้นครองราชยของพระองค์

 
ภาพจาก https://t1.blockdit.com/photos/2022/05/628116d97f27e6f6798aec87_800x0xcover_cPztPcm6.jpg

ภาพจาก https://t1.blockdit.com/photos/2022/05/628116d97f27e6f6798aec87_800x0xcover_cPztPcm6.jpg

แต่ผู้เป็นใหญ่เสมอพระเจ้าภวรวรมันที่กล่าวไว้ในจารึกนั้น
เราไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นภวรวรมันที่ 1 หรือ 2
หากหมายถึงภววรมันที่ 1 ผู้สร้างก็จะเป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน
ซึ่งในจารึกอีกๆ พระองค์ก็มักจะกล่าวคำว่าเสมอด้วยพระเจ้าภววรมัน
 
หากหมายถึงภววรมันที่ 2 ผู้สร้างจารึกนี้ก็จะเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 1
ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า พระองค์เป็นหลานของพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1
แต่ไม่เคยพบจารึกที่พระองค์อ้างว่าเสมอกับพระเจ้าภววรมันที่ 2
 
จารึกบ้านวังไผ่จึงเป็นปริศนาที่ยังไม่เคยมีใครคลี่คลาย
แต่ที่น่าสนใจคือประโยคที่ผู้จารึกได้อ้างสายสกุลไว้ว่า

ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน
ผู้เป็นใหญ่เสมอกับพระเจ้าศรีภวรรมัน

 
หรือว่านี่เป็นกษัตริย์อีกพระองค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเจนละ
พระองค์อาจเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอื่นที่มีอำนาจเสมอกัน
เป็นชาวศัมพูกะที่ทำสงครามกับพระเจ้าภวรมันที่ 2
ตามความปรากฏในจารึกบ้านกุดแต้หรือไม่
 
เมื่อเป็นสาระสำคัญ เราจึงอยากจะสอบคำแปลของ
อ.ชะเอม คล้ายเทศ เมื่อ พ.ศ. 2526 นั้นว่าจะถูกต้องหรือไม่
โชคดีที่มีฉบับที่ ศ. เซเดสได้แปลไว้ เมื่อ พ.ศ. 2507
 



Create Date : 21 กันยายน 2566
Last Update : 27 กันยายน 2566 10:55:10 น.
Counter : 552 Pageviews.

2 comments
บัตรทอง -รายชื่อหน่วยบริการเอกชนบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ newyorknurse
(16 เม.ย. 2567 04:04:52 น.)
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
หนังสือและอุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็ก ป.1 ของโรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น SN_monchan
(7 เม.ย. 2567 05:39:08 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณเริงฤดีนะ

  
โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2566 เวลา:18:10:52 น.
  
ขออนุญาตตามมาค่อยๆอ่าน
ค่อยๆศึกษาตามไป..
เป็นอาหารสมอง..
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ
ดู
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 27 กันยายน 2566 เวลา:4:30:44 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Nontree.BlogGang.com

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]

บทความทั้งหมด