เหตุการณ์ รศ. 112 (2)


ศาลเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
แม่ทัพใหญ่ของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว



ครั้นรุ่งขึ้นเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงศ์กลับยกพวกเข้าโจมตีทำร้ายทหารไทย
ล้มตายเป็นอันมากเจ้าพระยาราชสุภาวดีเห็นพวกเวียงจันทน์ตามมาไล่ฆ่าฟัน
ถึงชายหาดหน้าเมืองพันพร้าวก็ทราบว่าเกิดเหตุร้าย จึงขอกำลังเพิ่มเติมจากเมืองยโสธร

เจ้าอนุวงศ์ให้เจ้าราชวงศ์นำกำลังพลข้ามตามมาและปะทะกับทัพไทยที่บ้านบกหวาน
แขวงเมืองหนองคายเกิดการต่อสู้กันผลปรากฏว่าฝ่ายเจ้าราชวงศ์ล่าถอยไป
กองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีจึงได้เร่งติดตามกองทัพลาวไปจนถึงเมืองพันพร้าว
ก็ปรากฏว่ากองทัพลาวข้ามแม่น้ำโขงไปแล้ว

เจ้าอนุวงศ์เห็นเหตุการณ์เป็นดังนั้นก็คิดว่าสู้ไม่ได้ จึงพาครอบครัวหนีไปพึ่งเวียดนาม
แต่ระหว่างทางเจ้าน้อยเมืองพวนก็ได้จับกุมตัวเจ้าอนุวงศ์กับครอบครัวส่งมาที่กรุงเทพฯ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เอาตัวเจ้าอนุวงศ์ใส่กรงเหล็ก
ประจานไว้หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ หลังจากนั้นไม่นานเจ้าอนุวงศ์ก็สิ้นพระชนม์

พ.ศ. 2371 พระเจ้ามิงหม่างได้ส่งสารมาประท้วงสยามเรื่องการปราบปรามเจ้าอนุวงศ์
นำไปสู่จุดจบความสัมพันธ์ระหง่างสยามและเวียดนามในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2376 เมืองไซง่อนก่อการจราจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมร
และหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ
ไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมืองไซง่อน

พ.ศ. 2384 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้
เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือยกกองทัพเรือไปตีเมืองโจดก
พ.ศ. 2390 ในที่สุดการรบระหว่างญวนกับไทยที่ยืดเยื้อมาถึง 14 ปี
ก็ต้องยุติลงโดยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ยกเลิกการศึกครั้งนี้
เพราะทรงพิจารณาเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคน

พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ
พ.ศ. 2399 คณะทูตขอมงติญี กงสุลฝรั่งเศสประจำเซี่ยงไฮ้เข้ามาทำสนธิสัญญากับไทย
แบบเดียวกับสนธิสัญญาเบาว์ริงของอังกฤษเมื่อ เมื่อเดินทางออกจากไทย
มงติญีได้เดินทางต่อไปยังกัมพูชา แต่นักองค์ด้วงกษัตริย์ในกัมพูชาขณะนั้นตอบว่า
กัมพูชาเป็นเมืองประเทศราชไม่อาจทำสัญญาได้ตามลำพังต้องปรึกษาสยามก่อน

คณะทูตของมงติญีจึงเดินทางต่อไปยังราชสำนักเว้ของเวียดนาม
หลังจากคณะทูตของมงติญีกลับไปไม่นาน นักองค์ด้วงได้ส่งหนังสือไปยังกงสุลฝรั่งเศส
ของสิงคโปร์เพื่อนำไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เพื่อขอให้ฝรั่งเศสช่วยคุ้มครองกัมพูชา
ให้พ้นจากอำนาจของสยามและเวียดนาม

ฝรั่งเศสยังคงมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นในเวียดนามผ่านทางองค์กรทางศาสนาคริสต์
นิกายโรมันคาทอลิกทำให้ราชวงศ์เหวียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีคุกคามทางการเมือง
เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก
มีการจับกุมและประหารบาทหลวงอย่างต่อเนื่อง จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก

ในที่สุดบาทหลวง ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ช่วยคุ้มครอง




คลองแสนแสบถูกขุดขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์
กำลังรบ และเสบียงอาหารในราชการสงครามระหว่างสยาม-ญวน


พ.ศ. 2401 พลเรือเอกชาร์ลส์ รีโกลต์ เดอ เชอนุยยีนำกองเรือรบฝรั่งเศสและกองทัพผสม
ระหว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมฟิลิบปินส์ของสเปนเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองเว้
และต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีเรื่อยลงมาที่ดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขง
และยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึก

ฝรั่งเศสแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีนในภาคใต้
เขตอารักขาอันนามในตอนกลางและเขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ
เวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศส
และอำนาจในการบริหารการคลัง การทหารและการทูตตกเป็นเป็นของฝรั่งเศส

พ.ศ. 2406 หลังจากที่ฝรั่งเศสดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการยึดครองดินแดนเวียดนาม
พลเรือเอก เดอ ลากรองดิแยร์ ได้เป็นข้าหลวงอินโดจีนฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อเขมรอีกครั้ง
เพื่อให้าเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส กษัตริย์พระนโรดมพรหมบริรักษ์
พระโอรสของนักองค์ด้วง ได้ตกลงใจทำสนธิสัญญาดังกล่าว

พ.ศ. 2410 สยามถูกบีบบังคับให้ยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชา
และยอมรับสถานะรัฐในอารักขาฝรั่งเศสในเขมรส่วนนอกหรือเขมรญวน
นับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ สยามได้ปกครองเขมรอย่างใกล้ชิด
เขมรต้องส่งพระราชโอรสมากรุงเทพ เพื่อได้รับการเลี้ยงดูอบรมผ่านการบวชเรียน

ในอุ้มชูอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนจะถูกส่งกลับไปครองเมือง
เมื่อมีเหตุทะเลาะวิวาทในหมู่เจ้านายสยามก็จะเป็นผู้ตัดสิน และแม้กระทั่งส่งกองทัพไปจัดการ

ฉะนั้นในเวลานั้นแทบจะไม่มีใครเชื่อว่าเขมรจะมีใจออกห่างจากราชสำนักสยามได้

พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์
พ.ศ. 2418 กองกำลังฮ่อที่แพ้สงครามจากประเทศจีนได้เข้ามายึดสิบสองจุไท

สิบสองจุไทเป็นกลุ่มเมืองในหุบเขาที่ไม่มีเขตอำนาจรัฐอย่างเด่นชัด
เมืองที่อยู่ใกล้ประเทศจีนก็ส่งบรรณาการให้จีน บางเมืองใกล้หลวงพระบาง
ก็ส่งบรรณาการให้ล้านช้าง บางเมืองใกล้ญวนก็ส่งบรรณาการให้ญวน
หรือบางเมืองอาจจะต้องส่งบรรณาการให้ทั้ง 3 อาณาจักรเลยก็ได้

ดังนั้นเมื่อกลุ่มฮ่อหนีการปราบปรามมาจากเมืองจีนและเข้ายึด
จึงไม่มีประเทศใดที่จะเข้าไปปราบปรามให้ปัญหานั้นหมดสิ้นลง

พ.ศ. 2418 สงครามปราบฮ่อครั้งที่ 1 พวกฮ่อมาชุมนุมที่ทุ่งเชียงคำ
เพื่อจะตีเมืองหลวงพระบาง สยามจึงได้จัดกำลังเพื่อปราบฮ่อ
โดยแบ่งเป็น 4 กองทัพ กองทัพแรกมีพระมหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เป็นแม่ทัพ
เกณฑ์กำลังพลจากมณฑลอุดร ร้อยเอ็ด และอุบล เพื่อป้องกันด้านหนองคาย

กองทัพที่สองมีพระยาพิไชย (ดิส) เป็นแม่ทัพ คุมกำลังพลจากมณฑลพิษณุโลก
ขึ้นไปป้องกันหลวงพระบาง กองทัพที่สามมีเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธ์)
เป็นแม่ทัพยกกำลังจากกรุงเทพ ฯ ไปยังเมืองหลวงพระบาง กองทัพที่สี่
มีเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นแม่ทัพ ยกกำลังจากกรุงเทพไปหนองคาย

พ.ศ. 2426 สงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2 พวกฮ่อนำกำลังเข้ายึดเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก
กองทัพไทยยกไปปราบฮ่อ ครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จต้องยกทัพกลับ



Create Date : 13 มกราคม 2555
Last Update : 19 มกราคม 2555 16:29:05 น.
Counter : 1460 Pageviews.

5 comments
Soft Power คืออะไร มีลักษณะอยางไร อ่านความหมายและตัวอย่างที่นี่ newyorknurse
(21 มี.ค. 2567 03:05:02 น.)
การทำแท้งถูกกฎหมายที่สวีเดน - Att göra abort i Sverige สวยสุดซอย
(7 มี.ค. 2567 22:15:31 น.)
มะเฟืองเป็นผลไม้มีพิษ กินเข้าไปถึงตาย newyorknurse
(7 มี.ค. 2567 03:02:33 น.)
ฉลากยา คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีแบบไหนบ้าง เพนกิ้นของคุณไข่
(1 มี.ค. 2567 10:15:53 น.)
  




. . . ยินดีในสิ่งที่ตนได้ . . .

. . . พอใจในสิ่งที่ตนมี . . .

. . . เป็นคนโชคดีที่สุดในโลก . . .


*~*~*~*..แวะมาทักทายจ๊ะ..ขอให้มีความสุข สดใส..หัวใจเบิกบาน..*~*~*~*






..HappY BrightDaY..










โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 13 มกราคม 2555 เวลา:13:26:19 น.
  
ตามมาเก็บรายละเอียดค่ะ

ตอนนี้เราอยู่บ้านเชียงใหม่

ที่เชียงใหม่เดี๋ยวนี้วัดสวยเกินจริงหลายวัดค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 13 มกราคม 2555 เวลา:19:17:31 น.
  
เราชอบเรื่ององเชียงสือนะคะ อิอิ



มาคุยด้วย

ปกติเราก็กินรสจัดค่ะ แต่ถ้าเทียบอาหารจีนกับญี่ปุ่น เราชอบอาหารจีนมากกว่านะคะ
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 13 มกราคม 2555 เวลา:19:43:39 น.
  

เหตุการณ์ รศ.112
อุ้มนึกถึงป้อมพระจุลฯ ทุกทีเลยค่ะ
อยากไปมากกกกกกก
โดย: อุ้มสี วันที่: 14 มกราคม 2555 เวลา:0:36:39 น.
  
เรียงลำดับเหตุการณ์อ่านง่ายค่ะ
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:16:46:13 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Nontree.BlogGang.com

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]

บทความทั้งหมด