ถึงไม่บอกหลายคนก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันไม่ค่อยจะสู้ดีนัก หลายคนจึงเริ่มเก็บเงินไว้กับตัวมากกว่านำออกมาจับจ่ายใช้สอย และอีกหลายคนเริ่ม การวางแผนเกษียณอายุ ไม่ว่าจะเป็นการเกษียณจากอายุงานหรือการเกษียณด้วยตัวเอง แต่ไม่ว่าจะเป็นการเกษียณแบบไหน “การวางแผนการเงิน” ถือเป็นหัวใจสำคัญของแผนการ ซึ่งวันนี้เรามี 4 ขั้นตอน วางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือน มาฝากกัน -
กำหนดอายุเกษียณของคุณ กำหนดอายุที่ต้องการเกษียณ โดยปกติแล้วมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่จะเกษียณที่อายุระหว่าง 55 – 60 ปี หลังจากนั้นคือช่วงที่ต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งอาจจะอยู่ถึงอายุ 80 ปี หรือ 90 ปี จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่โดยเฉลี่ยแล้วช่วงชีวิตหลังการเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 25 ปี หรือมีอายุถึง 85 ปี นั่นเอง -
คำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ เริ่มจากตรวจสอบการใช้จ่ายประจำปีของตัวเองในปัจจุบัน เพื่อนำมา วางแผนเกษียณ ว่าควรจะมีเงินเก็บหลังเกษียณเท่าไร จากนั้นนำตัวเลขที่ได้มาคูณด้วยอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี ก็จะได้จำนวนเงินที่ควรจะมีหลังเกษียณ เช่น ตอนนี้เราอายุ 25 ปี จะเกษียณตอนอายุ 55 ปี และต้องการมีเงินใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท เป็นเงิน 300,000 บาท/ปี ไปจนถึงอายุ 85 ปี ให้นำค่าใช้จ่ายต่อปีคูณจำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ จากนั้นคูณด้วยอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อปี สรุปแล้วจะต้องมีเงินเก็บยามเกษียณไม่น้อยกว่า 9 ล้านบาท -
ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อลงทุน ลำพังแค่รายได้ประจำที่เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียวคงไม่พอให้เก็บออมไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณได้อย่างแน่นอน ดังนั้นในช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงานก็ควรลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบางอย่าง เช่น การซื้อของฟุ่มเฟือย, การปาร์ตี้, การทานอาหารหรูนอกบ้าน ฯลฯ เพื่อนำเงินส่วนดังกล่าวมาใช้ลงทุนต่อยอดให้มีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากรายได้ประจำ -
วางแผนลงทุนให้เงินสร้างเงิน เมื่อมีเงินเก็บสักก้อนหนึ่งให้นำไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีระดับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ เช่น การซื้อที่ดินไว้เก็งกำไร, การซื้อคอนโดไว้ปล่อยเช่า, การซื้อประกันสะสมทรัพย์ และการลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ในการ วางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือน ช่วงชีวิตวัยทำงานทุกวันทุกปีถือเป็นโอกาสให้ได้เก็บสะสมเงินทองเพื่อชีวิตหลังเกษียณ ยิ่งหากสามารถวางแผนการออมเงิน ลดหย่อนภาษีได้มีประสิทธิภาพมากเท่าไร เป้าหมายการมีชีวิตในช่วงบั้นปลายที่ดีมีคุณภาพก็มีโอกาสเป็นจริงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้เก็บเงินได้ถึงเป้าก่อนเกษียณนั่นก็คือนำเงินไปต่อยอดให้งอกเงยกลายเป็นรายได้กลับมาโดยที่ไม่ต้องเหนื่อย เช่น การซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์, ประกันชีวิตบำนาญ รวมถึงการลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณกอย่าง SSF และ RMF ลดหย่อนภาษี 2565 เป็นต้น สามารถศึกษาข้อมูลการวางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือน เพิ่มเติมได้ที่ https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1295 หรือวิธีลดหย่อนภาษี ที่ https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1220
Create Date : 18 พฤษภาคม 2566 |
Last Update : 18 พฤษภาคม 2566 22:58:22 น. |
|
0 comments
|
Counter : 141 Pageviews. |
 |
|