|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
|
|
|
ไม้พาย





เรือคู่กับไม้พาย หากเรือขาดไม้พายเมื่อไร มีเรือก็แทบไร้ประโยชน์
ไม้พายที่ดี จะต้องน้ำหนักกำลังดี จับได้พอดีกำ ไม่ยาว ไม่สั้นจนเกินไป พายแล้วรู้สึกว่ามีกำลังมาก
ไม้พายมีขนาดไม่เท่ากัน มักจะเป็นไปตามขนาดของเรือ เรือที่เล็กที่สุด เรียกว่าเรือบด ใช้ไม้พายยาวใบพายแคบ น้ำหนักเบา ใช้ขืนเรือไม่ให้ล่ม แต่ถ้าเรือวิ่งได้เร็วกำลังพอดี โอกาสที่เรือจะล่มย่อมน้อยลง การขืนพาย หรือวาดน้ำไม่ให้เรือล่มมักใช้ขณะที่เรือหยุดนิ่งๆ
การนั่งพาย มักจะนั่งท้ายเรือ จะบังคับหัวเรือไปตามที่ต้องการ และคัดท้ายเรือได้ด้วย แม่ค้าตลาดน้ำต่างนั่งพายท้ายเรือกันทั้งนั้น ส่วนการนั่งพายแบบศรีธนญชัยเรือไม่ไปไหนแน่ พ่อศรีฯเขานั่งไปบนไม้พาย บางคนนั่งหัวเรือ มักมาคนเดียว เช่น คนตกปลา หรือทอดแห ใช้วิธีวาดหัวเรือแล่นไปเรื่อยๆ ช้าๆ ผมเคยเห็นคนพม่าใช้เท้าพายเรือ เขายืนหัวเรือ ใช้ขาข้างเดียวจับไม้ พายด้วยนิ้วเท้า 2 นิ้ว วาดกินน้ำไปเรื่อยๆ วิ่งได้เร็วดี วิธีนี้ผมยังไม่เคยลอง การเทียบท่าด้านข้างของเรือ หรือเอาด้านข้างเข้าประชิดท่าจอดเรือ จะใช้พายพลิ้วไปบนผิวน้ำแล้วดึงเรือเข้าไปเรียกว่าการวาดไม้พาย หากน้ำไม่ลึก การพายมักจวงถูกดิน พายเรือไม่ค่อยถนัด จะใช้วิธีการถ่อหรือปักปลายไม้พายลงดิน ถ่อไปครั้งละ 1-2 เมตร หรือลงน้ำเข็นเรือจะง่ายกว่า การพายอย่างรวดเร็ว หรือไปแบบรีบๆ เรียกว่าการจ้ำ
ไม้พายเป็นอะไรยิ่งว่าทำให้เรือแล่น มันเป็นทั้งหางเสือ วาดพายไปปนผิวน้ำกันเรือโคลง หรือบังคับพายให้เรือวิ่ง หรือหยุดได้ดังใจ การพายไปตามลำคลองที่มีผลหมากรากไม้ชุกชุม เมื่อเห็นผลไม้ยื่นกิ่งออกมามากๆถึงกลางคลอง เช่น ชมพู่ มะกอก มะม่วง เมื่อปลอดคน บางคนใช้พายฟาดไปถูกผลไม้นั้นจนร่วงลงน้ำกราวใหญ่ ชะลอเรือตามเก็บที่หลังเมื่อผลไม้นั้นลอย จากจุดเกิดเหตุไปพอสมควรแล้ว
ในช่วงน้ำหลาก น้ำท่วมทุ่ง เวิ้งว้าง เด็กๆมัดเอาผ้าขาวม้ามาทำเป็นใบเรือสำปั้นให้ลงพัดพาไป ไม้พายทำหน้าที่เป็นหางเสือ สนุกตามประสาเด็กๆ เจ้าของเรือจะหงุดหงิดมากถ้าไม้พายประจำเรือหายไป หรือถูกเปลี่ยน คนที่พายเรือเป็นอาชีพ เช่น แม่ค้าขายผัก เขาจะต้องรักษาไม้พายคู่ชีวิตไว้อย่างดี ลักษณะคล้ายไม้พายอยู่ท้ายเรือจ้างลำใหญ่ เราเรียกว่า แจว มักผูกติดกับหลักด้วยเชือกด้ายดิบ วิธีใช้เหมือนกับพาย เพียงแต่มีจะจุดหมุนจุดเดียว มีจังหวะจ้วงและลากยาว ต่างจากจุดหมุนของเรืออยู้ที่ด้ามพายแนบชิดกับกราบเรือ ไม้พายนอกจากจะใช้เพื่อให้เรือแล่นแล้ว เมื่อมันอยู่บนบ้าน เจ้าของมักใช้ผิดประเภท เช่น มักได้ข่าวบ่อยๆว่าผัวตีเมืย หรือเมียตีผ้วด้วยไม้พาย เป็นต้น
Create Date : 17 เมษายน 2554 |
Last Update : 1 ธันวาคม 2555 10:09:10 น. |
|
9 comments
|
Counter : 6170 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 17 เมษายน 2554 เวลา:20:33:54 น. |
|
|
|
โดย: แมวหง่าว (chaiwatmsu ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2554 เวลา:2:36:23 น. |
|
|
|
โดย: กาบ้า (GaBa ) วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:19:32:34 น. |
|
|
|
โดย: chuanchombonsai IP: 171.4.243.63 วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:3:28:06 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]

|
ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
คนพายไม่ไป็นจะวน ๆ นะคะ
อยากพายเป็น แต่ว่ายน้ำไม่แข็งเลยไม่เคยได้ลองค่ะ