All Blog
"กรมชลฯ"ยกระดับวางเป้าหมายทำงานคุณธรรม-โปร่งใส-ปลอดทุจริต
"กรมชลฯ"ยกระดับองค์กรวางเป้าหมายทำงานคุณธรรมและความโปร่งใส-ปลอดทุจริต

นายมนัส กำเนิดมณี รองอธิบดีฝ่ายบริหารกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานการประชุมคณะทำงานคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของกรมชลประทาน ว่าให้ทุกหน่วยงานทราบถึงกรอบระยะเวลาการประเมิน

การประมวลผลคะแนน และเกณฑ์ระดับผลการประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ ในการสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และภายนอก (EIT) ในการตอบแบบสอบถามต่างๆ

รวมถึงการพิจารณาสถานะการตอบแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดต่างๆ ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภายในองค์กร ให้การพัฒนาระบบคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของกรมชลประทานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

รวมทั้งมีการจัดทำมาตรการในการป้องกันและการปราบปรามทุจริตทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมิน

 



 



Create Date : 22 มิถุนายน 2562
Last Update : 22 มิถุนายน 2562 18:33:49 น.
Counter : 649 Pageviews.

0 comment
โวย ! เขื่อนทำระบบนิเวศเสียหาย-น้ำเน่า
"กรมชลฯ"เร่งตั้งเครื่องสูบลงเจ้าพระยา แก้น้ำเน่าเสีย อ.บางปะอิน อยุธยา ชาวบ้านโวยหลังสร้างเขื่อน ทำท่องเที่ยวเชิงนิเวศเสียหาย สั่งลงพื้นที่พบเน่าเสียเฉพาะจุดช่วงคลองบ้านโพธิ์-ป่าสัก เหตุฝนตกน้อยน้ำพร้อมยกบานระบายประตูระบายน้ำบ้านโพและประตูระบายน้ำข้าวเม่า 

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยจากกรณีชาวบ้านเทโพ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร้องเรียนกรมชลประทานก่อสร้างเขื่อน ทำน้ำเน่า ปลาตาย ระบบนิเวศคลองโพ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศเสียหายทั้งระบบ

เห็ดตับเต่าที่ชาวบ้านปลูกไว้ เสียหายหลายล้านบาท ว่าสั่งการให้โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่แล้วพบว่า คลองที่เกิดปัญหาดังกล่าว คือ คลองระบาย 2 ซ้าย ป่าสักหรือคลองบ้านโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



 

 
ซึ่งอยู่ห่างจากประตูระบายน้ำบ้านโพธิ์ 2 ประมาณ 10 กิโลเมตร สภาพน้ำในคลองทั่วไปมีสภาพปกติ แต่เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียเฉพาะจุดเท่านั้น คาดว่าสาเหตุมาจากปัจจุบันมีฝนตกน้อย ประกอบกับมีการระบายน้ำเสียบางส่วนจากชุมชนลงสู่คลองระบาย 2 ซ้ายป่าสัก(คลองบ้านโพธิ์) เกิดความเข้มข้นสูง

รวมทั้งมีการปิดทำนบดินบริเวณปากคลองบ้านโพ เพื่อดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านโพ 2 แต่เนื่องจากระดับน้ำในคลองทรงตัว ไม่มีน้ำต้นทุนในการผลักดันน้ำเสียออกไป จึงส่งผลให้ปลาในคลองตาย


สำหรับการแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วน กรมชลประทาน ได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณจุดก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านโพ 2 จำนวน 1 เครื่อง พร้อมเดินเครื่องสูบน้ำวันละ 22 ชั่วโมง ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 15 มิ.ย.62 ที่ผ่านมา และติดตั้งเครื่องสูบน้ำอีก 2 เครื่อง สูบน้ำแล้ววันละ 22 ชั่วโมงเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการยกบานระบายประตูระบายน้ำบ้านโพและประตูระบายน้ำข้าวเม่า เพื่อระบายน้ำในพื้นที่ให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ พร้อมกับระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำบ้านโพ 1 และใช้เครื่องสูบน้ำช่วยสูบไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้น้ำที่เน่าเสียเริ่มเจือจางลงไประดับหนึ่งแล้ว


คาดว่าสถานการณ์น้ำเน่าเสียในบริเวณดังกล่าวจะคลี่คลายดีขึ้นโดยลำดับภายใน 2 วันนี้ในส่วนของการแก้ไขปัญหาในระยะยาว นั้น กรมชลประทาน จะดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้น้ำเกิดการไหลเวียนของน้ำในคลองโพ

หากมีฝนตกในพื้นที่เพิ่มขึ้นจะสามารถช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียได้ดีและกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วยิ่งขึ้นในระยะต่อไป ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลองโพ ให้ร่วมกันสอดส่องไม่ให้มีการนำน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมทิ้งระบายลงไปในคลองโพ เพื่อให้คุณภาพน้ำในคลองอยู่ในเกณฑ์ที่ดีตลอดเวลา



 





 



Create Date : 21 มิถุนายน 2562
Last Update : 21 มิถุนายน 2562 18:55:30 น.
Counter : 860 Pageviews.

1 comment
"ฝนหลวง"ปรับแผนช่วยนาอีสาน
“ฝนหลวง ปรับแผนตั้งหน่วยจ.อุบลฯช่วยนาข้าวภาคอีสานตอนกลาง-ล่าง เกษตรกรเจอฝนทิ้งช่วง หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วไม่มีฝนตกเสี่ยงเสียหาย ชี้ฝนน้อยทุกภาคสถิติฝนตกสะสมเพียง10มม.”

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่าได้ตั้งหน่วยฝนหลวงอีก1หน่วย ที่ภาคอีสาน รวมทั้งหมดเป็น3หน่วย ที่จ.อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา เนื่องจากพื้นที่การเกษตรหลายจังหวัดประสบภาวะฝนทิ้งช่วง โดยขณะนี้มีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ11หน่วย

ซึ่งวันที่ 17 มิถุนายน 2562 ขึ้นบินทำฝนหลวง4หน่วย เพราะมีอุปสรรคจากเมฆปกคลุมหนาแน่นและกระแสลมค่อนข้างแรง โดยหน่วยจ.เชียงใหม่ ช่วยพื้นที่การเกษตรภาคเหนือเพิ่มน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำ ทำให้มีฝนตกเล็กน้อย สามารถช่วยพื้นที่ทำเกษตร


 



 



 
 
ส่วนหน่วยจ.นครราชสีมา ได้ขึ้นทำฝนให้กับลุ่มรับน้ำลำพระเพลิง ช่วยพื้นที่เกษตร โนนสูง พิมาย ลำปรายมาส หนองหงษ์ จ.บุรีรัมย์ มีฝนตกจำนวนมาก จนถึง20มม.
และหน่วยสระแก้ว ช่วยพื้นที่การเกษตร จ.ฉะเชิงเทรา ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด ช่วยเหลือพืชไร่ ส่วนหน่วยฝนหลวงจ.ตาก ขึ้นบินปฏิบัติการแต่ไม่สามารถทำให้เมฆพัฒนาตัวเป็นฝนได้

นายสุรสีห์ กล่าวว่า แม้วานนี้ (18 มิ.ย.)มีข่าวดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ประกาศให้จ.สุโขทัย ไม่เป็นพื้นที่ภัยแล้งแต่ยังคงเหลือ 7 จังหวัดที่ยังประกาศพื้นที่ภัยแล้ง รวมทั้งปริมาณในเขื่อนน้อยกว่า 30% ของน้ำใช้การ เป็นเขื่อนใหญ่ 2 0แห่ง เขื่อนขนาดกลาง 163 แห่ง


 



 



 
 
พร้อมกับข้อมูลแผนที่ปริมาณฝนตกสะสมช่วง 7 วัน ที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ตอนกลาง ภาคกลางตอนบน ภาคอีสาน ภาคใต้ เป็นพื้นที่มีฝนตกน้อยกว่า10มม.โดยเกษตรกรร้องขอให้ช่วยทำฝนหลวง เพราะอยู่ช่วงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวและเพาะปลูกพืช หากไม่มีฝนจะทำให้เสียหานต้องหว่านซ้ำ

โดยเฉพาะจ.เชียงราย เกือบทุกอำเภอ ฝนน้อยกว่า10มม.ใน1สัปดาห์ และจ.ลำพูน น่าน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท ราชบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง มีเกษตรกรร้องขอฝนหลวงเข้ามามาก


 



 



 

 
กรมฝนหลวงฯต้องทำงานหนักขึ้นจากฝนทิ้งช่วง ฝนตกไม่กระจายตัวในทั่วภูมิภาคของประเทศ แม้ภาคอีสานตอนบน ได้ฝนค่อนข้างมาก แต่อีสานตอนกลางและล่าง เช่น จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ มีพื้นที่เกษตรต้องการฝน

จึงไปตั้งหน่วยฝนหลวงจ.อุบลราชธานี ช่วยเหลือเกษตรกรในขณะนี้เป็นฤดูกาลเพาะปลูก เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้น้ำ หากขาดฝนจะเสียหาย และภาคตะวันออก ภาคใต้ด้วย



 




 



Create Date : 19 มิถุนายน 2562
Last Update : 19 มิถุนายน 2562 17:15:36 น.
Counter : 781 Pageviews.

0 comment
"ชาวฝนหลวง"ปลื้มนายกฯให้กำลังใจ
"อธิบดีฝนหลวง"ปลื้มนายกฯให้กำลังใจชาวฝนหลวง ปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชนสำเร็จ เร่งปรับแผนทำฝนรายพื้นที่ แม้เข้าฤดูแล้วแต่ยังมีพื้นที่ภัยแล้งจากฝนตกไม่กระจายตัวอีกมาก

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่าได้รายงานแผนปฏิบัติการฝนหลวง ให้กับพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการในการคลี่คลายสถานการณ์ ภัยแล้ง และการเติมน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นต้นมา ทั้งนี้นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรฯ ยังได้ทำการรายงานการปฏิบัติการของกรมฝนหลวงฯให้ท่านนายกรัฐมนตรีทราบเรื่องโดยตลอดมา
 
Photobucket


 



Photobucket
 
 
จึงให้กำลังใจพี่น้องชาวกรมฝนหลวงฯที่ปฏิบัติภารกิจทุกท่าน และขอให้การปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่กรมฝนหลวงฯในการช่วยเหลือประชาชนในแต่ละภารกิจให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวานนี้ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 7 หน่วยปฏิบัติการได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ตาก ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา สระแก้ว สุราษฏร์ธานีและสงขลา ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตร พื้นที่ประสบภัยแล้ง
 
รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคบางส่วนของ จ.เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี สระบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา พัทลุง และสงขลา เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักบริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนลำปลายมาศ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก อ่างเก็บน้ำห้วยยาง อ่างเก็บน้ำห้วยตะเคียน และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช
 
Photobucket​​​​​​​
​​​​​​​

 



Photobucket​​​​​​​
 
ส่วนแผนปฏิบัติการฝนหลวงวันนี้ จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ออกประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้ง ปัจจุบันมีจำนวน 8 จังหวัด (รวม 30 อำเภอ 124 ตำบล 1,023 หมู่บ้าน) ลดลงจากเดิม 1 จังหวัด คือจังหวัดพิจิตร ที่เหลือประกอบด้วย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เชียงราย สุโขทัย ศรีสะเกษ มหาสารคาม ตราด และชลบุรี

ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 20 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 168 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 แห่ง คาดว่าฝนที่ตกยังไม่ครอบคลุมบริเวณอ่างเก็บน้ำได้อย่างทั่วถึง โดยขณะนี้แม้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้ว แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่กระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ทำแผนที่เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจวางแผนขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงในแต่ละพื้นที่


 



 



Create Date : 13 มิถุนายน 2562
Last Update : 13 มิถุนายน 2562 20:48:52 น.
Counter : 816 Pageviews.

1 comment
"ไทย-ลาว"ร่วมบริหารน้ำโขงช่วยผลกระทบอีสาน
"ไทย-ลาว"ร่วมบริหารสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง หลังสปป.ลาว สร้างเขื่อนไซยะบุรี กั้นแม่โขง รับปริมาณน้ำหลากที่ใช้ออกแบบ 47,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ หวังป้องกันน้ำท่วมริมฝั่งไทย เกิดทุกปีช่วง 1 ก.ค.-31 ต.ค.ลดผลกระทบ 8 จว.อีสาน

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเดินทางดูงานโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี และหารือกับท่านแก้วมณี หลวงฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารองค์กรและความร่วมมือ และคณะฯของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติลาว ซี่งจะทำให้การบริหารจัดการและการใช้น้ำจากแม่น้ำระหว่างประเทศในแม่น้ำโขงล่างตอนบนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สทนช.ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกวิทยากรณีฤดูน้ำหลากสำหรับแม่น้ำโขง – ล้านช้าง กับฝ่ายจีนจะให้ข้อมูลระดับน้ำและปริมาณฝนในช่วงฤดูน้ำหลาก ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 31 ตุลาคมของทุกปี จากสถานีอุทกวิทยา 2 แห่ง คือ สถานีจิ่งหง


 



 
ซึ่งเป็นสถานีวัดปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนตัวที่ 6 ที่จีนสร้างในลำน้ำโขง และสถานีหม่านอัน ซึ่งเป็นสถานีวัดน้ำในลำน้ำสาขาของจีน และในเร็วๆ นี้ สปป.ลาวจะมีการติดตั้งสถานีวัดน้ำสถานีเชียงกกซึ่งอยู่ในแม่น้ำโขงระหว่างพม่าและลาว บริเวณเหนือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประมาณ 200 กม.

จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงในการบริหารจัดการแม่น้ำโขงตลอดสายในฤดูฝนนี้ ทั้งข้อมูลปริมาณน้ำฝน รวมถึงการระบายน้ำจากเขื่อนไซยะบุรีที่สะท้อนกับสภาพความเป็นจริงได้และเป็นข้อมูลปัจจุบัน (Real Time) ได้มากที่สุด เพื่อการวิเคราะห์ คาดการณ์สถานการณ์น้ำท่าที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงฝั่งไทยได้


 



 
โดยเฉพาะในพื้นที่ 8 จังหวัดเสี่ยงภาคอีสานที่ติดแม่น้ำโขง ที่ในแต่ละปีปริมาณน้ำโขงจะมีปริมาณน้ำสูงใน 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนกรกฎาคม และกันยายน หาก สทนช.ได้รับข้อมูลสถานการณ์น้ำใน สปป.ลาว ล่วงหน้าก็สามารถคาดการณ์เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดจากน้ำล้นตลิ่งกับประชาชนในฝั่งไทยได้”นายสมเกียรติ กล่าว. 

สำหรับโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีของ สปป.ลาว ซึ่งเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ประเภทเขื่อนทดน้ำเหมือนเขื่อนเจ้าพระยา มีพื้นที่รับน้ำฝน 272,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาณ/อัตราการไหลน้ำท่าเฉลี่ย 3,971 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ความยาวอาคารตั้งแต่ช่องทางการเดินเรือ อาคารระบายน้ำ ช่องระบายตะกอน


 



 
โรงไฟฟ้าและอาคารประกอบ ยาวรวม 820 เมตร ปริมาณน้ำหลากที่ใช้ออกแบบ 47,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ปริมาณน้ำออกแบบเพื่อผลิตไฟฟ้าส่งออกขาย 4,900 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ตั้งอยู่บนลำน้ำโขงสายหลัก ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างดำเนินการใกล้แล้วเสร็จ และอยู่ในช่วงระหว่างเริ่มทดสอบระบบผลิตกระแสไฟฟ้า

รวมทั้งมีการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบติดตาม และคาดการณ์ปริมาณน้ำทั้งด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไทยและ สปป.ลาว ได้กำหนดกรอบแนวทางความร่วมมือร่วมกันใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การบริหารจัดการน้ำและการใช้น้ำของเขื่อนไซยะบุรี 2) แนวทางการประสานงานและการทำงานร่วมกันเพื่อรองรับการดำเนินงานในช่วงฤดูฝน 3) แนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุทกวิทยา ระบบการพยากรณ์น้ำท่วมและการบริหารจัดการเขื่อน และ 4) แผนเตรียมการรับมือภาวะฉุกเฉินและความปลอดภัยเขื่อน

 



 


 



Create Date : 10 มิถุนายน 2562
Last Update : 10 มิถุนายน 2562 19:14:40 น.
Counter : 600 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments