All Blog
ชมนิทรรศการยิ่งใหญ่เหมือนจริง 118 ปีกรมชลประทาน
กรมชลประทานเชิญชวนเข้าชมนิทรรศการเสมือนจริง 118 ปี และร่วมสนุกตอบปัญหาชิ่งรางวัล  โดยกำหนดการงานวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทาน ครบรอบปีที่ 118 จัดขึ้นวันที่ 12 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ณ กรมชลประทาน สามเสน


 



 
โดยวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2563 งานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น.  ผู้เข้าร่วมงานผ่านจุดคัดกรองเพื่อตรวจวัดไข้  พร้อมกัน ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 99 ปี ม.ล.ชูชาติ กำภูที่จะมีพิธีเปิดนิทรรศการ RID Creativity & Innovation 2020  โดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน

รวมทั้งมอบนโยบาย  พิธีประกาศเกียรติคุณบุคคล โครงการ และนวัตกรรมดีเด่น กรมชลประทาน การเสวนาวิชาการ “5 เรื่องชวนคิด หลังวิกฤต COVID-19 ของชาวชลประทาน” รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจตลอดสามวัน ทั้งนี้สามารถชมนิทรรศการเสมือนจริงได้ที่ https://exhibition.rid.go.th/118/






 




 



Create Date : 27 พฤษภาคม 2563
Last Update : 27 พฤษภาคม 2563 11:31:24 น.
Counter : 848 Pageviews.

3 comment
ฝนกระหน่ำ ! กรมชลฯเน้นเก็บกักก่อนทิ้งช่วง
แม้จะมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่ในระยะนี้ แต่ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย ประกอบกับต้องส่งน้ำตามแผนการจัดสรรน้ำฤดูฝน เพื่อสนับสนุนการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ย้ำเน้นกักเก็บน้ำฝนให้มากที่สุด หลังกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนช่วงมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ อาจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ VDO Conference ไปยังผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย



 



 
กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสำนักงานชลประทานเครือข่าย SWOC ทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำจากพื้นที่ต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 26 – 29 พฤษภาคม 2563 ว่า ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก




 



 
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(25 พ.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 33,501 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 9,839 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 42,000 ล้าน ลบ.ม.

เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 8,124 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 1,428 ล้าน ลบ.ม.

ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบัน (25 พ.ค. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 2,153 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 18 ของแผนจัดสรรน้ำฯ เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 711   ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 ของแผนจัดสรรน้ำฯที่วางไว้



 



 
ส่วนผลการเพาะปลูกข้าวนาปี ล่าสุด(ข้อมูล ณ วันที่ 20 พ.ค. 63)  ทั้งประเทศมีการทำนาปีไปแล้ว ประมาณ 1.07 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของแผนฯ(แผนวางไว้ 16.79 ล้านไร่) เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 0.67 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของแผนฯ(แผนวางไว้ 8.10 ล้านไร่)

แม้ว่าขณะนี้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้วก็ตาม แต่เกษตรกรควรเพาะปลูกพืชเมื่อมีปริมาณน้ำในพื้นที่ของตนที่เพียงพอ หรือมีปริมาณฝนตกในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และขอให้เก็บกักน้ำไว้ในพื้นที่ของตนด้วย เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 63 อาจมีฝนน้อยหรือเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงได้

ทั้งนี้ ปริมาณน้ำต้นทุนยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย จำเป็นต้องอาศัยน้ำฝนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาที่ต้องระบายน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ และส่งน้ำให้การเกษตรสำหรับพืชต่อเนื่องบางส่วน จะมีเพียงทุ่งบางระกำที่ส่งน้ำให้ทำนาปีได้




 




 
เนื่องจากปรับปฏิทินการเพาะปลูกเร็วขึ้น เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวรองรับน้ำหลาก การบริหารจัดการน้ำจึงต้องทำอย่างรัดกุม ควบคุมระบายน้ำให้อยู่ในแผนและสอดคล้องกับสถานการณ์ให้มากที่สุด รวมไปถึงการรับน้ำเข้า 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก จะรับน้ำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยายังคงต้องระบายน้ำลงมา เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างอย่างต่อเนื่อง พร้อมไปกับลำเลียงน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีนมาช่วยเสริมอีกทางหนึ่งด้วย 





 



 
 



Create Date : 26 พฤษภาคม 2563
Last Update : 26 พฤษภาคม 2563 13:12:26 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comment
สทนช. มั่นใจเกิดประโยชน์สูงสุดเดินเครื่องผันน้ำครบ 22 ลุ่มน้ำในปี 65
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สทนช.อยู่ระหว่างการดำเนินจัดทำผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 103 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2565  ก่อนที่จะประกาศเป็นกฎหมายต่อไป 

ที่ผ่านมา สทนช. ได้จัดประชุมปฐมนิเทศและรับฟังความคิดเห็นโครงการจัดทำแผนหลักการจัดทำผังน้ำจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมัน เกาหลีใต้ และเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำผังน้ำของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับ

“ขณะนี้ สทนช. อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำในระยะแรกจำนวน 8 ลุ่มน้ำ โดยเป็นผังน้ำกลุ่มลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ตอนล่าง 4 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีนและลุ่มน้ำอื่นอีก 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล และลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งจะดำเนินให้แล้วเสร็จภายในปีนี้” ลขาธิการ สทนช. กล่าว

หลังจากนั้นในปี 2564 สทนช.จะได้ดำเนินการศึกษาโครงการจัดทำผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำเพิ่มเติม อีกจำนวน 6 ลุ่มน้ำ โดยเป็นผังน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ตอนบน 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำอื่นอีก 2 ลุ่มน้ำ




 




 
ได้แก่ ผังน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ และลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน ส่วนในปี 2565 จะดำเนินการศึกษาโครงการจัดทำผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำในลุ่มน้ำที่เหลือทั้งหมด ได้แก่ ลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำโขงเหนือ ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก และลุ่มน้ำโตนเลสาบ ซึ่งจะครอบคลุมครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำทั่วทั้งประเทศ

ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดทำผังน้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งการจัดทำผังน้ำนั้นจะกำหนดเส้นทางการไหลของน้ำทั้งในฤดูแล้งและฤดูน้ำหลาก ครอบคลุมแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง กุด ป่าบุ่ง ป่าทาม พื้นที่ชุ่มน้ำ แก้มลิง คันกั้นน้ำ ตลิ่ง ฯลฯ ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น

โดยจะมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของเมือง ผังเมือง ผังระบายน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดินตามระเบียบกฎหมายอื่นเป็นสำคัญ ฉะนั้นในการจัดทำผังน้ำจะรวบรวมผังการระบายน้ำจากทุกหน่วยงาน เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน ผนวกกับวงรอบทิศทางไหลของน้ำและรูปแบบผังน้ำที่สอดรับกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate Change) เน้นเรื่องรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำที่สมบูรณ์และเป็นสากล รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตามกฎหมายกำหนด เพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด

การจัดทำผังน้ำยังเป็นการสนับสนุนแผนป้องกันแก้ไขสภาวะภัยแล้งและอุทกภัย สามารถบ่งชี้พื้นที่เก็บน้ำเมื่อคราวน้ำน้อยอย่างชัดเจน หรือเมื่อน้ำหลากควรจะระบายน้ำออกทางใด เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ช่วยรักษาคุณภาพน้ำ เพราะจะไม่เกิดการรุกล้ำทางน้ำ ผังน้ำช่วยตอบคำถาม ช่วยตัดสินใจในการสร้างที่อยู่อาศัย โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม ว่าอยู่ในพื้นที่น้ำหลากหรือไม่ หรือตั้งอยู่ในพื้นที่กีดขวางทางระบายหรือไม่

รวมถึงควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในขอบเขตพื้นที่ตามระบบทางน้ำที่ได้กำหนดแนวเขตไว้ โดยผังน้ำจะกำหนดขอบเขตชัดเจนว่า บริเวณใดเป็นพื้นที่สงวนไว้ให้ทางน้ำโดยเฉพาะ โดยไม่มีสิ่งกีดขวางตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หากมีการรุกล้ำทางน้ำที่ประกาศขอบเขตแล้ว ผู้บุกรุกมีโทษทั้งจำทั้งปรับ



 




 



Create Date : 22 พฤษภาคม 2563
Last Update : 22 พฤษภาคม 2563 18:05:31 น.
Counter : 494 Pageviews.

0 comment
กรมชลฯรับมือสถานการณ์น้ำ
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ VDO Conference ไปยังผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา


 



 
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสำนักงานชลประทานเครือข่าย SWOC ทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำจากพื้นที่ต่างๆ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 63

สภาพอากาศเนื่องจากพายุไซโคลน “อำพัน” บริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบนและประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. 2563 ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรง

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนและภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 พ.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ปัจจุบัน(19 พ.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 33,956 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 10,293 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 42,000 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)



 



 
มีปริมาณน้ำรวมกัน 8,228 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 1,532 ล้าน ลบ.ม. ด้านแผนการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบัน (19 พ.ค. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 1,647 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 14 ของแผนจัดสรรน้ำฯ เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 542 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 17 ของแผนจัดสรรน้ำฯ ที่วางไว้

กรมชลประทาน ให้โครงการชลประทานในพื้นที่ เตรียมความพร้อมทั้งด้านเจ้าหน้าที่ เครื่องจักร เครื่องมือ ประจำจุดพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม รวมทั้งอาคารชลประทาน และประตูระบายน้ำต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

โดยระยะนี้ปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี จะเน้อกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด ตามศักยภาพของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนควบคู่ไปกับการระบายน้ำ จะต้องไม่กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ



 



 
นอกจากนี้ ยังให้สำรวจและจัดเก็บวัชพืชไม่ให้กีดขวางทางน้ำ เพื่อปริมาณน้ำจะสามารถไหลได้สะดวก ส่วนด้านการเพาะปลูกแม้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ขอให้เกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกโดยคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนจากแหล่งน้ำของตนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

ประกอบกับปริมาณฝนตกสม่ำเสมอก่อน เนื่องจากน้ำชลประทานจะสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศเป็นหลัก จะใช้ด้านการเกษตรก็ต่อเมื่อเกิดฝนทิ้งช่วงเท่านั้น




 



Create Date : 19 พฤษภาคม 2563
Last Update : 19 พฤษภาคม 2563 19:06:15 น.
Counter : 564 Pageviews.

0 comment
เร่งเพิ่มศักยภาพการเก็บกักน้ำพร้อมรับฝนนี้
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อประชุมติดตามคาดการณ์สภาพอากาศซึ่งขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้วตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

โดยขณะนี้มีเริ่มมีปริมาณฝนตกมากขึ้นในบริเวณภาคใต้ ภาคตะวันออก และฝนจะตกกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ซึ่งคาดว่าจะเกิดฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ไปถึงต้นเดือนกรกฎาคม และในช่วงเดือนสิงหาคมฝนจะมากขึ้นบริเวณตอนกลางของประเทศ แต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกปริมาณฝนจะลดลง


 


 
ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ 8 มาตรการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับในฤดูฝน ปี 2563 ประกอบด้วย 1) การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย  2) การปรับแผนการเพาะปลูกพืช ในพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 13 แห่ง ซึ่งพื้นที่ทุ่งบางระกำ สามารถเพาะปลูกได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 63 ให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนฤดูน้ำหลากเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่สำหรับหน่วงน้ำ

ส่วนอีก 12 แห่ง เกษตรกรสามารถเริ่มเพาะปลูกได้แล้วโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก 3) การจัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝน สำคัญยังได้สั่งการให้กรมชลประทาน และทุกหน่วยงาน เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ เช่น เร่งจัดเตรียมระบบสูบน้ำย้อนกลับเข้าอ่างฯ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกอีกด้วย  

4) เร่งตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตร ให้พร้อมใช้งานโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง 5) เร่งรัดหน่วยงานตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ จากแผน 625 แห่งให้แล้วเสร็จ ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 189 แห่ง

 

 
6) การขุดลอก กำจัดผักตบชวา ซึ่งจากผลดำเนินการกำจัดผักตบชวาบริเวณลุ่มน้ำภาคกลาง แหล่งน้ำปิดทั่วไป และแหล่งน้ำเชื่อมโยงตั้งแต่ตุลาคม 2562 -ปัจจุบันดำเนินการแล้วประมาณ 2 ล้านตัน โดยล่าสุดจิสด้าได้จัดส่งภาพถ่ายดาวเทียมในเขตพื้นที่ภาคกลางทั้งหมด 19 จังหวัดให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเรียบร้อยแล้ว

โดยพบแหล่งน้ำที่มีผักตบชวาและวัชพืช จำนวน 128 จุด รวมพื้นที่ 3,574 ไร่ ปริมาณผักตบชวาและวัชพืช 285,920 ตัน โดย 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้  7) การเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือ 8) การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับทราบและร่วมมือสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายกับหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมว่า“ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการอย่างจริงจัง เดินหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมมอบหมายหน่วยงานผู้รับผิดชอบนำมาตรการไปจัดทำแผนปฏิบัติการโดยเร็ว เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์ในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม

 

 
โดยในวันที่ 20 พฤษภาคม นี้จะลงพื้นที่ติดตามแผนงานการกำจัดผักตบชวา สิ่งกีดขวางทางน้ำในแม่น้ำท่าจีน จ.นครปฐม เพื่อรองรับน้ำหลากที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานของรัฐและชุมชนริมน้ำในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนด้วย

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ที่ประชุมวันนี้ยังได้เห็นชอบในหลักการวางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกฤดูฝน ปี’63 (1 พ.ค. – 31 ต.ค.63) โดยปริมาณน้ำต้นทุนฤดูฝน ณ วันที่ 1 พ.ค. 63 มีทั้งสิ้น 37,433 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)

ขณะที่ประเมินความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรม ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน รวม 83,085 ล้าน ลบ.ม. แบ่งออกเป็น 1) อุปโภค-บริโภค 3,653 ล้าน ลบ.ม. 2) รักษาระบบนิเวศ 11,496 ล้าน ลบ.ม. 3) เกษตรกรรม 67,166 ล้าน ลบ.ม. แผนการเพาะปลูกทั้งประเทศรวม 76.271 ล้านไร่


 


 
แบ่งเป็น ในเขตชลประทาน 27.61 ล้านไร่ นอกเขตประทาน 48.66 ล้านไร่ และ 4) อุตสาหกรรม 770 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ปริมาณน้ำที่ต้องการในส่วนที่เหลือจะอาศัยปริมาณน้ำฝนอีกประมาณ 63,372 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม เพื่อเตรียมการวางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกฤดูฝน ปี2563 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สทนช. ร่วมกับกรมชลประทาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกรมส่งเสริมการเกษตร จะร่วมกันประเมินสถานการณ์และคาดการณ์การจัดสรรน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 36 แห่ง ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำในพื้นที่เขตชลประทานจนสิ้นสุดฤดูฝน 30 ตุลาคม 2563

โดยวางแผนปรับปริมาณการใช้น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการฯ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

 
จากข้อมูลปริมาณสะสมน้ำฝนทั้งประเทศในช่วง ม.ค. – 30 มี.ค. 63 ยังคงต่ำกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าค่าปกติถึง 50-75 % ส่วนคาดการณ์ในช่วง พ.ค. - มิ.ย. 63 พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่จะมีฝนใกล้เคียงค่าปกติ

ยกเว้นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ จะมีฝนต่ำกว่าปกติ และในช่วง พ.ค. - ก.ย. 63 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนต่ำกว่าค่าปกติ รวมทั้งยังมีโอกาสที่จะเกิดฝนทิ้งช่วงได้ในช่วงระหว่าง มิ.ย. - ก.ค. 63

อาจส่งผลให้บางพื้นที่ประสบสถานการณ์แล้งได้ แม้ว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังปัญหาแล้งในบางพื้นที่ด้วย รองนายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการให้มีกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซาก ซึ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกันวางแผนรองรับในระยะยาว ควบคู่ไปกับการเตรียมแผนบริหารจัดการน้ำรองรับช่วงฤดูฝนนี้ด้วย 



 



 



Create Date : 18 พฤษภาคม 2563
Last Update : 18 พฤษภาคม 2563 20:31:10 น.
Counter : 842 Pageviews.

3 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments