All Blog
"รมว.กษ."ติดตามโครงการบริหารน้ำฝายแม่ปิงเก่าเน้นจัดการเป็นระบบในแต่ละพื้นที่
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำฝายแม่ปิงเก่า (ฝายชลขันธ์พินิต) ณ ต.ขัวมุง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยการบริหารจัดการโครงการดังกล่าว เป็นการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งในลุ่มน้ำปิงตอนบนพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ

โดยกรมชลประทาน มีภารกิจในการจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสมให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ที่ใช้น้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ประกอบด้วย ภาคอุปโภค-บริโภคที่ใช้น้ำผ่านการบริการของการประปาส่วนภูมิภาคเขต 9 (เชียงใหม่-ลำพูน) ภาคการเกษตรที่ใช้น้ำจากฝายและประตูระบายน้ำในแม่น้ำปิงสายหลัก จำนวน 10 แห่ง และภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำผ่านการบริการน้ำประปาของการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
       
โครงการฝายแม่ปิงเก่า (ฝายชลขันธ์พินิต) เป็นหนึ่งในโครงการฝายและประตูระบายน้ำในแม่น้ำปิงสายหลัก ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโครงการชลประทานลำพูน สำนักงานชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน มีพื้นที่โครงการครอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ประมาณ 45,546 ไร่

ประกอบด้วย พื้นที่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 17,384 ไร่ และในเขตจังหวัดลำพูน 28,162 ไร่ มีการจัดสรรน้ำให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ที่หลากหลายครบทั้งภาคการเกษตร ภาคอุปโภค-บริโภค และภาคอุตสาหกรรม โดยการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งต้องบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำของฝายและประตูระบายน้ำ จำนวน 10 แห่ง และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 90 แห่ง ตลอดแนวแม่น้ำปิงสายหลักทั้งสองฝั่ง




 




 
รวมถึงต้องจัดสรรน้ำให้กับภาคการอุปโภค-บริโภคที่สำคัญคือการประปาลำพูน และภาคอุตสาหกรรมให้กับการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องอาศัยแหล่งน้ำต้นทุนจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลที่อยู่ห่างออกไปทางต้นน้ำเป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จึงต้องมีการวางแผนการจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสมทั้งปริมาณและเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งของทั้งภาคอุปโภค-บริโภค ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม

สำหรับมาตรการในการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้งในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน (จ.เชียงใหม่-ลำพูน) สำนักงานชลประทานที่ 1 จำเป็นต้องรักษาเสถียรภาพตลอดลำน้ำแม่ปิง โดยการใช้อาคารชลประทานไม่ว่าจะเป็นประตูระบายน้ำ หรือฝายทดน้ำ ในการควบคุมปริมาณน้ำและบริหารจัดการน้ำในลำน้ำแม่ปิง อีกทั้งประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมคุณภาพของน้ำก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ

พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่หันมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง และลดการเลี้ยงปลากระชังในลำน้ำแม่ปิง เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศในลำน้ำ และขอให้เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำดำเนินการสูบน้ำตามรอบเวรที่จัดไว้สำหรับส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรต่าง ๆ เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีอยู่อย่างจำกัด จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับทุกกิจกรรมตลอดฤดูแล้งนี้

วันนี้ประเทศไทยกำลังผ่านพ้นช่วงฤดูฝน หลังจากนี้น้ำต้นทุนจะน้อยลง วิธีที่ดีที่สุดและเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนคือต้องช่วยกันบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่มีอยู่ให้สามารถใช้อยู่ได้ตลอดจนถึงฤดูฝนหน้า นอกจากนี้ การเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ การบริหารน้ำต้นทุนยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด ซึ่งส่วนราชการมีหน้าที่เพิ่มต้นทุนน้ำให้เกษตรกร

เกษตรกรเองควรมีแหล่งน้ำในพื้นที่ของตัวเองด้วย สำหรับการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบในแต่ละพื้นที่ ต้องใช้น้ำอย่างมีคุณค่ามากที่สุด ตามลำดับความสำคัญ ทั้งการอุปโภค-บริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ ภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม

ส่วนราชการทุกภาคส่วนโดยเฉพาะส่วนภูมิภาค จะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญ นอกจากการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบน้ำแล้ว ต้องบริหารจัดการผู้ใช้น้ำด้วย โดยต้องรณรงค์การใช้น้ำตลอดทั้งปี ต้องปลูกจิตสำนึกเพื่อประโยชน์ของคนไทยและภาคส่วนอื่น ๆ ใน

ขอเป็นตัวแทนความห่วงใยจากรัฐบาล ถึงพี่น้องข้าราชการที่เป็นส่วนสำคัญและถือเป็นตัวแทนของภาครัฐ ในการเข้าถึงพี่น้องประชาชน และดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนทุกภาคส่วนไปพร้อม ๆ กัน มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน





 



Create Date : 27 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2563 17:01:37 น.
Counter : 429 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments