All Blog
สทนช.พร้อมรับมือน้ำหลากลุ่มเจ้าพระยา
สทนช.ลงพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออก ตรวจความพร้อมรับมือฤดูน้ำหลาก ปี 65 เร่งรัดซ่อมแซมปรับปรุงระบบชลศาสตร์ และอาคารระบายน้ำต่างๆ พร้อมตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการภายใต้ 9 แผนงานหลักเพื่อบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามความพร้อมระบบชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออกเพื่อรองรับฤดูน้ำหลาก ปี 2565 เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สทนช. ได้บูรณาการเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการซ่อมแซม ปรับปรุงระบบชลศาสตร์ และอาคารระบายน้ำต่างๆ ให้แล้วเสร็จก่อนฤดูน้ำหลากในปีนี้ ซึ่งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างส่วนใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบกรมชลประทาน






 






 
ทั้งนี้เช่น บริเวณคันกันน้ำคลองชัยนาท-ป่าสัก บริเวณปากคลอง 23 ขวา และคันคลอง 23 ที่พังเสียหายตั้งแต่ฤดูน้ำหลากปี 2564 ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้รับการซ่อมแซม อย่างไรก็ตามภายในต้นเดือนมิถุนายน 2565 กรมชลประทานจะดำเนินการจัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมเป็นการชั่วคราว และภายในเดือนกรกฎาคม 2565 จะซ่อมแซมให้มีความมั่นคงแข็งแรง ให้สามารถรองรับน้ำหลากในปีนี้ได้อย่างแน่นอน ส่วนมาตรการแก้ไขในระยะยาว กรมชลประทานจะสร้างประตูระบายน้ำที่ปากคลอง 23 คาดว่าจะสามารถก่อสร้างได้ในปี 2568 ระยะเวลาในก่อสร้าง 2 ปี

สำหรับมาตรการอื่นๆ ในการรับมือฤดูฝนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้การดำเนินการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งได้มีการปรับปฏิทินการปลูกข้าวนาปีให้สามารถเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จก่อนน้ำหลาก การปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ การเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ การขุดลอกคูคลองและการกำจัดผักตบชวา การตรวจสอบความมั่นคงของคันกั้นน้ำ การปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ






 






 

การเตรียมสถานที่รองรับการอพยพ และการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ เป็นต้น พร้อมกันนี้ ยังได้เตรียมการฝึกซ้อมความพร้อมของแผนเผชิญเหตุ และการตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย โดยในพื้นที่ภาคกลางได้เตรียมบูรณาการหน่วยงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ในการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือสถานการณ์อุทกภัย ที่ จ.ชัยนาท ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ด้วย

ระบบชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออก จะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการปรับปรุงระบบชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออกนั้น เป็น 1 ใน 9 แผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงระบบชลประทานและคลองธรรมชาติตามแนวคลองเดิมให้มีขีดความสามารถการระบายน้ำในพื้นที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 210 เป็น 400 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ประกอบด้วย งานปรับปรุงคลองชลประทาน 23 สาย ความยาวรวม 490 กิโลเมตร






 






 
งานปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ 19 แห่ง และก่อสร้างอาคารบังคับน้ำอีก 24 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังมีแผนดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย อีกด้วย ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด พื้นที่ฝั่งตะวันออกจะสามารถเพิ่มการระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ประมาณ 930 ลูกบาศก์เมตร/วินาที 

เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการภายใต้แผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเป็นไปตามเป้าหมายตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ได้มีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ ภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญขึ้นมา เพื่อเร่งรัดและติดตามโครงการให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ 9 โครงการภายใต้แผนงานหลักดังกล่าว ประกอบด้วย โครงการขุดคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร โครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย

แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก และคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย โครงการคลองระบายน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่ 3 โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน และโครงการพื้นที่รับน้ำนอง





 






 



Create Date : 02 มิถุนายน 2565
Last Update : 2 มิถุนายน 2565 16:00:34 น.
Counter : 315 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments