All Blog
"พล.อ.ประวิตร"ห่วงเกษตรกรอ่างทองสั่งกอนช.เพิ่มการบริหารน้ำจากแม่น้ำน้อยช่วยเหลือ
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า ตามที่เกษตรกรตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

ขอให้ภาครัฐให้ความช่วยเหลือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความห่วงใยเกษตรกรในพื้นที่จึงได้มอบหมายให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ



 



 
โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติประสานกรมชลประทานให้ความช่วยเหลือเกษตรกรภายในวันนี้ (14 กรกฏาคม 2563) กรมชลประทานจึงได้วางแผนบริหารจัดการน้ำแบบหมุนเวียนโดยการเพิ่มปริมาณน้ำเข้าแม่น้ำน้อยจากเดิมในอัตรา 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และจะยังคงรับน้ำจากคลองชัยนาท-ป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน ในอัตรา 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วยเหลือพื้นที่นาปีที่ได้ปลูกข้าวไปแล้วในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา จำนวน 2.63 ล้านไร่

รวมถึงพื้นที่บริเวณจังหวัดอ่างทองด้วย เพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้น  อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. คาดการณ์แนวโน้มฝนจะเพิ่มขึ้นในกลางเดือนนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์การขาดแคลนน้ำในพื้นที่เริ่มคลี่คลาย อีกทั้งเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาที่ยังไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปีอีก 5.47 ล้านไร่ ก็จะสามารถทำการเพาะปลูกได้ตามลำดับด้วย 



 



 
ทั้งนี้ กองอำนวยน้ำแห่งชาติ (กอนช.) มีการติดตามประเมินสถานการณ์ สภาพอากาศ แนวโน้มฝน ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน พร้อมทบทวนมาตรการป้องกัน ความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

โดยตั้งแต่วันที่ 15 กรกฏาคมเป็นต้นไป หน่วยงานที่เป็นคณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติจะเข้าปฏิบัติหน้าที่ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ อาคารจุฑามาศ เขตหลักสี่ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และร่วมกันปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด



 



 
สำหรับในส่วนของการวางแผนการเก็บน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นปริมาณน้ำสำรองในฤดูแล้งปีหน้านั้น กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มอบหมายให้กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำรวจตรวจสอบอุปสรรคที่ทำให้น้ำไม่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ

รวมถึงเสนอแนวทางการดึงน้ำ จูงน้ำ และหาแนวทางการเก็บกักน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ให้ได้มากที่สุดในช่วง 1-2 เดือนนี้ โดยจะมีการจัดประชุมสรุปแนวทางการดำเนินการอีกครั้งในปลายเดือนกรกฎาคมนี้







 
 



Create Date : 14 กรกฎาคม 2563
Last Update : 14 กรกฎาคม 2563 14:55:18 น.
Counter : 548 Pageviews.

0 comment
กอนช.เร่งแผนเก็บน้ำใต้ดิน-น้ำผิวดิน
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านอำนวยการภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ว่า ที่ประชุมได้มีการติดตามเร่งรัดติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามที่ได้รับการจัดสรรงบกลางจำนวน 2 โครงการ


 



 
ทั้งนี้คือ การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และการเก็บกักน้ำในฤดูฝนนี้ ซึ่งในภาพรวมพบว่ายังไม่แล้วเสร็จตามแผน  มีความก้าวหน้าประมาณ 70-80 % ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) มีความห่วงใยว่าแผนงานโครงการต่างๆ ที่ยังไม่แล้วเสร็จ จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามเป้าหมาย

NB157ทั้งการช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ ที่ประชุมจึงได้เร่งรัดทุกหน่วยรายงานปัญหาอุปสรรค รวมถึงแผนการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนเพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนโดยเร็ว ขณะเดียวกัน ยังได้หารือแนวทางการเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ

โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ ที่รับผิดชอบโดยกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เนื่องจากการคาดการณ์แนวโน้มฝนจะเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ไปจนถึงกลางเดือนกันยายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องเร่งเก็บกักน้ำเข้าอ่างฯ เพื่อสำรองไว้เป็นน้ำต้นทุนในฤดูแล้งหน้าให้มากที่สุดให้ได้ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าปริมาณน้ำยังไหลเข้าอ่างฯ ไม่มากนัก

มีเขื่อนขนาดใหญ่ถึง 33 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ดังนั้น เบื้องต้นที่ประชุมจะมีการมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบเขื่อนขนาดใหญ่ทุกแห่ง สำรวจตรวจสอบอุปสรรคที่ทำให้น้ำไม่ไหลเข้าอ่างฯ รวมถึงเสนอแนวทางการดึงน้ำ จูงน้ำ และเร่งหารือร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง


NB157ได้แก่ จิสด้า กองทัพอากาศ ที่มีการนำเทคโนโลยีสำรวจทางน้ำเข้าต่างๆ เพื่อร่วมกันกำหนดแผนเร่งด่วนในการเก็บกักน้ำฝนที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นประมาณ 1 – 2 เดือนนี้ ให้ได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับแผนการเก็บกักน้ำใต้ดินทั้งการเติมน้ำใต้ดิน โดยระบบบ่อบาดาลและธนาคารน้ำใต้ดินด้วย 


 



 
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังติดตามความก้าวหน้า 8 มาตรการ เตรียมความพร้อมรับมือช่วงฤดูฝนปี 2563 อาทิ การกำจัดผักตบชวาเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ พบว่า จากการสำรวจเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมมีปริมาณผักตบชวาประมาณ 3 แสนตัน หลังจาก 5 หน่วยงานหลัก เร่งรัดดำเนินการสามารถกำจัดผักตบชวาได้มากกว่า 5 แสนตัน

ยังคงเหลืออีก 1 แสนตัน ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางเดือนกรกฎาคมนี้ การจัดทำบัญชีเครื่องจักรเครื่องมือของหน่วยงานต่างๆ ที่พร้อมใช้งานเป็นรายจังหวัด ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะเป็นหน่วยงานหลักดำเนินการรวบรวมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ การเตรียมพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำหลาก


NB157อาทิ พื้นที่ทุ่งบางระกำที่มีการเตรียมพื้นที่เก็บกักน้ำทั้งผิวดินและน้ำใต้ดิน รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาบึงสีไฟ จ.พิจิตร ให้สามารถรองรับน้ำหลากฤดูฝนปี 2563 เพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำได้รวม 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จตามแผน ยังเหลืออีกประมาณ 14%

โดยเฉพาะการขนย้ายวัสดุและดินที่ขุดลอก ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนกันยายนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นกรมชลประทานจะสามารถลำเลียงน้ำเข้าไปเก็บกักในบึงสีไฟได้ตั้งแต่ 15 สิงหาคมนี้ โดยมีเป้าหมายการเก็บกักน้ำไม่น้อยกว่า 80% ของความจุ ซึ่งบึงสีไฟจะเป็นหนึ่งตัวอย่างการบำรุงรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติให้แก่พื้นที่รองรับน้ำหลากพื้นที่อื่น ๆ ด้วย 

กอนช.จะมีการติดตามประเมินสถานการณ์ สภาพอากาศ แนวโน้มฝน ปริมาณน้ำในอ่างฯ ในช่วงฤดูฝนนี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทบทวนมาตรการป้องกัน ความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงอย่างใกล้ชิดทุกสัปดาห์ โดยปริมาณฝนในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ถือว่ามีปริมาณฝนค่อนข้างมาก แต่ด้วยความชื้นในดินจากสภาวะแล้งต่อเนื่อง


NB157ส่งผลให้น้ำเข้าอ่างฯ เก็บน้ำยังมีปริมาณน้อย แต่จากการคาดการณ์ของ 2 หน่วยงาน คือ กรมอุตุนิยมวิทยาและสสน. สอดคล้องตรงกันว่า ช่วงที่จะเก็บกักน้ำฝนได้เพิ่มขึ้นแต่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ คือในช่วงเดือนกรกฎาคม - กลางเดือนกันยายนเท่านั้น


 



 
จึงต้องเร่งทุกวิธีการเพื่อเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งประเด็นที่มีข้อกังวลที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่แบบปี 2554 ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแหล่งเก็บกักน้ำต่างๆ ยังมีพื้นที่ว่างในการเก็บกักน้ำอีกมาก แต่ก็ต้องไม่ประมาทที่จะต้องติดตามแนวโน้มการก่อตัวขอพายุที่ยังคงคาดการณ์ว่าในปีนี้น่าจะเกิดประมาณ 1-2 ลูก ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายนนี้ด้วย ที่อาจจะส่งผลกระทบในบางพื้นที่ได้เช่นกัน



 



 



Create Date : 11 กรกฎาคม 2563
Last Update : 11 กรกฎาคม 2563 15:22:33 น.
Counter : 844 Pageviews.

5 comment
"กรมชลฯ"แจงแผนรัดกุมรับมืออุทกภัย
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ว่าฝนจะเริ่มตกหนักทางภาคเหนือในเดือนสิงหาคมเป็นต้นไปหลังจากทิ้งช่วงมาระยะหนึ่ง กรมชลประทานจึงเร่งจัดเตรียมแผนเพื่อรับมือน้ำหลากในพื้นที่


 



 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ของสำนักชลประทานที่ 3 ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และนครสวรรค์ต้องรับน้ำเหนือโดยตรง ทั้งนี้กรมชลประทานได้ดำเนินการเตรียมพร้อมก่อนระยะน้ำมาแล้วที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ( SWOC ) ทั่วประเทศ มีการติดตามสถานการณ์น้ำ ประชาสัมพันธ์ข้อมูล

แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าในบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดน้ำท่วมซ้ำซาก ซ่อมแซมอาคารป้องกันน้ำท่วมให้พร้อมใช้งานและซักซ้อมแผนปฏิบัติการ โดยกิจกรรมทั้งหมดได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และส่วนที่เป็นงานซ่อมแซมได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้น
     
สำหรับแผนเมื่อถึงเวลาน้ำมา ได้มีการเตรียมพร้อมสร้างทำนบกระสอบทราย สร้างคันดินป้องกันน้ำท่วม ขุดลอกทางน้ำเร่งการระบายน้ำ ขุดลอกทางผันน้ำ ดำเนินการควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำตามแผนหากเกิดฝนตกหนักในเขต สชป.3  ที่จะส่งผลให้ระดับน้ำ-ปริมาณน้ำท่าของแม่น้ำน่านเพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลกระทบโดยตรงต่อแม่น้ำเจ้าพระยา


 



 
อาจเกิดน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่เกษตรและชุมชนได้ เช่นการลดระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา ที่ จ.ชัยนาท ให้ต่ำลง พร้อมประสานงานกับเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ให้ลดการระบายน้ำลงอีกเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อพื้นที่ในลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นต้น
 
มาตรการที่ 2 การคาดการณ์และการติดตามสภาวะอุตุ-อุทกวิทยา การติดตามสถานการณ์น้ำจากระบบโทรมาตรที่มีอยู่ตลอดลำน้ำปิง ยม น่าน และเจ้าพระยา พร้อมระบบเฝ้าระวังระดับน้ำในจุดเสี่ยงด้วยกล้องวงจรปิดผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของกรมชลประทาน 3.การตรวจสอบสภาพอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

4.การขุดลอกคลองและกำจัดวัชพืช 5.การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมตาม Rule Curve ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกำหนด 6.เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัย กำหนดแผนรับมือที่เหมาะสมกับระดับน้ำ และกำหนดจุดเสี่ยงเพื่อเตรียมการเข้าช่วยเหลือ



 



 
มาตรการสุดท้าย เตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือเผชิญเหตุ รองรับน้ำหลาก และจุดเสี่ยงในพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 3 เช่นที่ ต.เขาดิน จ.นครสวรรค์ ต.ท่าช้าง, วังวน, หนองแขม, มะต้อง จ.พิษณุโลก เป็นต้น รวมกว่า 83 หน่วย ที่ได้เตรียมการไว้พร้อมใช้งานอย่างทันท่วงทีแล้ว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำเหนือแห่งสำคัญ กรมชลประทานได้บริหารจัดการดังนี้ มีการเริ่มส่งน้ำเข้าสู่ระบบคลองทุ่งบางระกำเพื่อให้เกษตรกรใช้เตรียมแปลงและเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปีจำนวน 265,000 ไร่ จำนวน 65 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ส่งน้ำเข้าทุ่งบางระกำตลอดฤดูการเพาะปลูก (15 มี.ค.-18 มิ.ย.) ทั้งสิ้น 109.9 ล้านลบ.ม. จากแผนที่วางไว้ 310 ล้านลบ.ม. สรุปใช้น้ำต่ำกว่าแผน 200 ล้านลบ.ม. และในเดือนกรกฎาคมนี้จะเป็นช่วงเวลาที่จะรับน้ำเข้าทุ่ง



 



 
โดยใช้พื้นที่ทั้ง 265,000 ไร่ ทำการหน่วงน้ำเหนือได้ราว 400 ล้านลบ.ม. และจะทยอยระบายน้ำปริมาณนี้ลงสู่ด้านล่างในเดือนพฤศจิกายน หรือเมื่อเริ่มต้นฤดูแล้งนั้นเอง
   
นอกจากนี้กรมชลประทานจะได้นำนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Graphic Information System : GIS) ร่วมกับการประมวลผลภาพ (Image Processing)ด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้ในทุ่งบางระกำด้วย  

เพื่อให้ทราบปริมาณน้ำค้างทุ่ง ช่วงเวลาการนำน้ำเข้า-ออก ระยะเวลาในการระบายน้ำ การคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้าได้แม่นยำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำในทุ่ง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เสร็จสิ้น คาดว่าจะช่วยให้การบริหารจัดการมวลน้ำก้อนนี้ทั้งการหน่วงน้ำและระบายน้ำเกิดประโยชน์สูงสุด





 



Create Date : 11 กรกฎาคม 2563
Last Update : 11 กรกฎาคม 2563 14:12:07 น.
Counter : 918 Pageviews.

1 comment
ชป.ส่งน้ำเข้าทุ่งบางระกำปลูกข้าวสำเร็จตามเป้า
ชป.ส่งน้ำเข้าทุ่งบางระกำเพาะปลูกข้าวนาปีสำเร็จตามเป้า กรมชลประทาน ส่งน้ำให้พื้นที่ทุ่งบางระกำ 265,000 ไร่ ครบตามเป้า รอเก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม เตรียมพื้นที่รับมือน้ำหลากปี63 ต่อไป

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำหลากฤดูฝนปี 63 ณ ทุ่งบางระกำ อำเภอพรหมพิราม และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 



 



 
ดร.ทวีศักดิ์  เปิดเผยว่า  กรมชลประทาน ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำแบบประชาชนมีส่วนร่วม พื้นที่ทุ่งหน่วงน้ำ-บางระกำ หรือ “โครงการบางระกำโมเดล” ประสบความสำเร็จต่อเนื่องเป็นปีที่ 4  แต่เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และอ่างเก็บน้ำต่างๆ อยู่ในเกณฑ์น้อย

ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรน้ำเพื่อปลูกข้าวนาปี ทำให้ในปีนี้ จำเป็นต้องลดพื้นที่เป้าหมายในการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกลงจาก 382,000 ไร่ เหลือ 265,000 ไร่ เช่นเดียวกับเมื่อปี 2560 โดยจะจัดสรรน้ำให้ประมาณ 310 ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการใช้น้ำทำนาปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน- 31 กรกฎาคม 2563 

สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งปัจจุบัน(10 ก.ค. 63) เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกเต็มพื้นที่แล้ว(265,000 ไร่) รวมปริมาณน้ำที่ส่งให้พื้นที่ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 63 จนถึงปัจจุบัน(9 ก.ค.63) 121.31 ล้าน ลบ.ม.



 



 
หลังจากนั้นจะใช้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่รับน้ำหลากจากลุ่มน้ำยมตอนบนในช่วงฤดูฝนประมาณ 140,000ไร่ สามารถรับปริมาณน้ำได้ประมาณ 240 ล้าน ลบ.ม. เพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและบรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก รวมไปถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วย

ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 12 ทุ่ง เนื่องจากปีนี้มีปริมาณน้ำต้นทุนมีน้อย สามารถสนับสนุนได้เพียงการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะส่งให้เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกเหลื่อมเวลาเหมือนปีที่ผ่านมา จึงขอให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกเมื่อมีฝนตกชุกและสม่ำเสมอ






 



Create Date : 11 กรกฎาคม 2563
Last Update : 11 กรกฎาคม 2563 13:39:30 น.
Counter : 849 Pageviews.

0 comment
"อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"แหล่งน้ำเพื่อชาวท่าปลา
นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่บันทึกสารคดี “โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดยมี นายยุทธนา มหานุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 12 นายปิยภัทร สายเมฆ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุตรดิตถ์
 





 
พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ ด่านรัตนกุล นายอำเภอท่าปลา เจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ เจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช และ ผู้เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 


 



 
นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากราษฎรที่อพยพจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ มาตั้งรกรากอยู่พื้นที่นิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน ในเขตอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ กว่า 50 ปีที่ผ่านมา ต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและการทำการเกษตร กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ได้มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรตลอดทั้งปี โดยจะเริ่มเก็บกักน้ำได้ในช่วงฤดูฝนปีนี้


 



 
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาทิ การจัดกิจกรรมปลูกป่าทดแทนปัจจุบันปลูกไปแล้วกว่า 4,300 ไร่ สร้างฝายชะลอน้ำอีกกว่า 97 ฝาย อีกทั้งยังส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยการจัดอบรมโครงการเพิ่มพูนทักษะและสนับสนุนอาชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การแปรรูปกล้วย, เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น





 


 



Create Date : 08 กรกฎาคม 2563
Last Update : 8 กรกฎาคม 2563 18:45:01 น.
Counter : 956 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments