All Blog
"กรมชลฯ"แจงขุดลอกบึงห้วยโจด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
กรมชลประทานชี้แจงกรณีชาวบ้าน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ร้องขอให้ยับยั้งโครงการขุดลอกบึงห้วยโจด เนื่องจากเกรงว่าเมื่อฝนตกจะเกิดการชะล้างโลหะหนักลงสู่ที่นาของชาวบ้าน ประกอบกับผู้รับเหมาทำการขุดร่องน้ำ เพื่อผันน้ำออกจากห้วยโจด ส่งผลให้ที่นาของชาวบ้านได้รับความเสียหายประมาณ 100 ไร่ รวมทั้ง ให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย ให้ข้อมูลกับชาวบ้านให้ครบถ้วน และให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในโครงการดังกล่าว และการกำจัดตะกอนมลพิษจะต้องได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ซึ่งประชาชนต้องมีส่วนร่วมด้วย 

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6  ชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้นว่า โครงการขุดลอกแก้มลิงบึงห้วยโจด พร้อมอาคารประกอบ ตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ได้รับการร้องขอจากเทศบาลตำบลกุดน้ำใส ให้ดำเนินการขุดลอก เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ หรือแก้มลิงเก็บน้ำในฤดูน้ำหลาก



 
  


 
ก่อนดำเนินโครงการฯ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย ได้จัดทำประชาพิจารณ์ให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงการดำเนินโครงการฯแล้วถึง 3 ครั้ง พร้อมทำหนังสือแจ้งขอเข้าปฏิบัติงานไปยังเทศบาลตำบลกุดน้ำใส เพื่อทราบก่อนเข้าดำเนินการ ส่วนกรณีที่ผู้รับเหมาได้ทำการขุดร่องชักน้ำ เพื่อระบายน้ำก่อนการขุดลอกบึงหนองห้วยโจด จนส่งผลให้ที่นาของชาวบ้านได้รับความเสียหาย นั้น เบื้องต้นได้แจ้งให้ผู้รับจ้างดำเนินการกลบร่อง- ชักน้ำดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นที่พึงพอใจของผู้ร้องเรียน  

กรมชลประทาน ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 63 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติให้ทำการขุดเจาะดินที่ขุดลอกนำไปพิสูจน์หาโลหะหนัก ผลปรากฏว่าพบโลหะหนักปนเปื้อนเกินเกณฑ์คุณภาพ 4 ชนิด คือ โครเมียม ปรอท นิกเกิล และสังกะสี



 
 




 
บริเวณที่พบการปนเปื้อนมากที่สุดคือ บริเวณกลางบึงห้วยโจดและบริเวณที่น้ำไหลออกจากบึงห้วยโจด อยู่ในเกณฑ์การเฝ้าระวังหากจะมีการนำดินไปใช้ประโยชน์ เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้เสนอแนวทางการดำเนินงานไว้ 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 ให้ยุติการขุดลอกบึงห้วยโจด เนื่องจากตะกอนดินมีค่าโลหะหนักเกินกว่ามาตรฐานคุ้มครองสัตว์หน้าดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบน้ำที่ไหลเข้าบึงห้วยโจด และกำกับดูแลต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสียต่อไป




 



 
ส่วนแนวทางที่ 2 ให้มีการขุดลอกบึงห้วยโจดต่อไป แต่จะต้องมีการบริหารจัดการดินและน้ำภายในบึงห้วยโจด ไม่ให้ไหลออกไปส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน พร้อมกับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลน้ำที่ไหลเข้าบึงห้วยโจด และต้นเหตุที่ทำให้น้ำไม่มีคุณภาพ รวมทั้งเสนอแนะให้ขุดบึงในขนาดที่เพียงพอต่อการรองรับน้ำในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 63 ที่ผ่านมา ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือ เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการตามแนวทางที่ได้มีการเสนอไว้ในที่ประชุมทั้ง 2 แนวทางข้างต้น โดยที่ประชุมมีมติให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย ยุติการขุดลอกบึงห้วยโจดไว้ก่อน จนกว่าจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เป็นที่พึงพอใจของผู้ร้องเรียนต่อไป







 



Create Date : 01 กรกฎาคม 2563
Last Update : 1 กรกฎาคม 2563 9:57:40 น.
Counter : 801 Pageviews.

0 comment
กอนช.เผยอุทกภัยในจีนไม่กระทบต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักในสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก เขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายแห่งต้องเร่งระบายน้ำฉุกเฉิน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังสูงในหลายมณฑล

โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของประเทศ ประกอบด้วย มณฑลเสฉวน-หูเป่ย์-ฉงชิ่ง-หูหนาน และบางส่วนของมณฑลยูนาน ในเรื่องดังกล่าว กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด  พบว่า สถานการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำโขง




 



 
เนื่องจากเป็นลำน้ำคนละสายกับแม่น้ำโขง จึงทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้วย โดยปัจจุบันปริมาณน้ำจากเขื่อนจิ่งหง ซึ่งเป็นเขื่อนตัวสุดท้ายของจีน ที่ปริมาณน้ำจะไหลลงแม่น้ำโขงตอนล่าง ยังไม่มีการเพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำแต่อย่างใด โดยหากมีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ ทางการจีนจะทำหนังสือแจ้งเตือนมายังประเทศสมาชิกกลุ่มแม่โขง-ล้านช้าง เพื่อรับทราบสถานการณ์ต่อไป

ภาพรวมสถานการณ์แม่น้ำโขงวันนี้ (29 มิถุนายน 2563) ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงยังคงมีปริมาณน้ำน้อยถึงน้อยวิกฤติ และมีแนวโน้มทรงตัว โดยที่สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระดับน้ำปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับน้ำวิกฤติอยู่ที่ 13.04 เมตร ที่สถานีเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระดับน้ำปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับน้ำวิกฤติอยู่ที่ 9.96 เมตร



 



 
ที่สถานีหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระดับน้ำปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับน้ำวิกฤติอยู่ที่ 9.53 เมตร ที่สถานีโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับน้ำวิกฤติอยู่ที่ 10.86 เมตร

ส่วนที่สถานีปากเซ สปป.ลาว ระดับน้ำปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับน้ำวิกฤติอยู่ที่ 9.56 เมตร ทั้งนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) จะยังคงติดตามสถานการณ์น้ำในสาธารณรัฐประชาชนจีน และจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป

สำหรับแม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดมาจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะบริเวณที่ราบสูงทิเบตในบริเวณตอนเหนือของ ประเทศทิเบตและบริเวณมณฑลชิงไห่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญอีก 2 สาย คือ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำสาละวิน


 



 
แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านประเทศจีนชาวจีนเรียกว่า “แม่น้ำหลานชางเจียง” (Lancang Jiang) ไหลผ่านภูเขาและที่ราบสูงในประเทศจีน ผ่านมณฑลยูนนานเข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และประเทศไทย บริเวณ “สามเหลี่ยมทองคำ” ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ทั้งนี้งไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว ผ่านจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เป็นระยะทาง 1,520 กิโลเมตร แล้วไหลเข้าสู่ สปป.ลาว และ กัมพูชา ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม รวมความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำ ในลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่







 

 



Create Date : 29 มิถุนายน 2563
Last Update : 29 มิถุนายน 2563 15:59:10 น.
Counter : 1352 Pageviews.

1 comment
"กรมชลฯ"เดินหน้าแก้แล้ง-น้ำท่วมอุตรดิตถ์คืบหน้าแล้วกว่า 75 %
กรมชลประทาน ชี้แจงกรณีการนำเสนอข่าวว่าพื้นที่ 5 อำเภอ ตอนเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่ได้รับประโยชน์จากน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ พร้อมขอให้ตรวจสอบงบประมาณในการแก้ปัญหาภัยแล้งจำนวนเงิน 200 ล้านบาท 

นายเกรียงไกร  ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงของโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ พบว่าพื้นที่ 5 อำเภอ ตามที่มีการนำเสนอข่าวนั้น ขอเรียนชี้แจงว่า อำเภอน้ำปาดและอำเภอบ้านโคก เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน



 



 
ส่วนอำเภอท่าปลา มี 5 ตำบลที่อยู่ในเขตชลประทาน (โครงการช่วยเหลือพื้นที่ผู้อพยพท้ายเขื่อนสิริกิติ์) ประกอบด้วย ตำบลท่าปลา ตำบลจริม ตำบลร่วมจิต ตำบลหาดล้า ตำบล-น้ำหมัน , อำเภอฟากท่า มี 1 ตำบลที่อยู่ในเขตชลประทาน คือ ตำบลฟากท่า รับน้ำจากโครงการฝายน้ำปาด พื้นที่ชลประทาน 1,500 ไร่ และอำเภอทองแสนขัน มี 2 ตำบลที่อยู่ในเขตชลประทาน ได้แก่ ตำบลผักขวง และตำบล-บ่อทอง รับน้ำจากฝายคลองตรอน พื้นที่ชลประทาน 18,000 ไร่

สำหรับงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ จัดเตรียมมาตรการแผนงานที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที 

เพื่อการแก้ไขและบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน อันเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในเขตจังหวัดต่าง ๆ ในกรอบวงเงินจังหวัดละ 200 ล้านบาท โดยในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับอนุมัติแผนงาน 315 โครงการ วงเงินงบประมาณ 176.15 ล้านบาท


การเสนอแผนงานโครงการดังกล่าว จะต้องมีความพร้อมในการขออนุญาตใช้พื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า และนิคมสร้างตนเอง  ทำให้ในการเสนอพิจารณาแผนงานโครงการฯไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์พิจารณา เนื่องจากตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มอบหมายให้ โครงการชลประทานอุตรดิตถ์ดำเนินงานภายใต้ โครงการตามแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2562 เพื่อแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อันเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในจังหวัด จำนวน 4 โครงการ


โดยมีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการซ่อมแซมท่อส่งน้ำฝายห้วยลีใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ งบประมาณ 224,000 บาท , โครงการซ่อมแซม River Outlet พร้อมอุปกรณ์ประกอบ งบประมาณ 279,000 บาท และโครงการงานซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องกว้าน บานระบายโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ งบประมาณ 480,000 บาท

ส่วนโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งต่อเนื่องอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ งบประมาณ 33.96 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งมีความคืบหน้าร้อยละ 75 ของแผนงานฯ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน    





 



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 13:45:29 น.
Counter : 1034 Pageviews.

1 comment
"กรมชลฯ"เร่งแก้ปัญหาปตร.บ้านทุ่งบุหลังน้ำเค็มรั่วรุกล้ำเข้าคลอง
กรมชลประทานชี้แจง กรณีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ร้องเรียนโครงการอาคารบังน้ำบ้านทุ่งบุหลังพร้อมระบบส่งน้ำ ภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ ไม่สามารถกั้นน้ำเค็มได้ จนเป็นเหตุให้น้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาในลำน้ำ ชาวบ้านในพื้นที่กว่า 100 ครัวเรือน ได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการอุปโภค และการเกษตรได้ 

นายเดช เล็กวิชัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 ชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้นว่า โครงการอาคารบังคับน้ำบ้านทุ่งบุหลัง พร้อมระบบส่งน้ำเป็นโครงการชลประทานขนาดเล็ก ดำเนินการก่อสร้างโดยโครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 16 แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2561 สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตรและป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าสู่พื้นที่



 



 
โดยได้ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แล้ว เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562


 



 
สำหรับปัญหาน้ำเค็มรุกที่เกิดขึ้น จากการลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพพื้นที่ พบว่าปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็มเข้าไปในคลองขุนชนะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษกาคม 2562 เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำเกรงว่าระดับน้ำในคลองขุนชนะจะมีระดับสูงขึ้นและเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร

จึงได้ยกบานระบายน้ำเพื่อระบายน้ำในคลองขุนชนะออกสู่ทะเล แต่ภายหลังฝนหยุดตกแล้ว ไม่ได้ทำการปิดบานระบายน้ำ ประกอบกับในช่วงเวลานั้น   มีน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้น้ำเค็มรุกล้ำเข้าสู่คลองขุนชนะ หลังจากนั้นเมื่อปิดบานระบายน้ำ ยังพบว่าไม่สามารถปิดบานระบายน้ำได้สนิท เนื่องจากเกิดการรั่วซึม



 



 
สำนักงานชลประทานที่ 16 ไม่ได้นิ่งนอนใจในปัญหาที่เกิดขึ้น ได้สั่งการให้โครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 16 ประสานให้สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาบานระบายน้ำปิดไม่สนิทเป็นการเร่งด่วนแล้ว

พร้อมกันนี้ยังได้ให้คำแนะนำในการดูแลบำรุงรักษาบานระบายน้ำแก่กลุ่มผู้ใช้น้ำรวมทั้งอบต.ทุ่งบุหลังให้ทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว เพื่อให้ประตูระบายน้ำแห่งนี้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในระยะต่อไป





 



 



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 13:23:03 น.
Counter : 986 Pageviews.

1 comment
กรมชลฯ"แจงเร่งซ่อมเครื่องสูบน้ำสถานีสูบน้ำพานทองพัง
นายสุริยพล นุชอนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 9 ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า สถานีสูบน้ำคลองชลประทานพานทอง ตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นสถานีสูบน้ำที่สูบน้ำจากคลองชลประทานพานทองเข้าเส้นท่อเดิม

โดยเชื่อมต่อท่อผันน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิต มาลงยังอ่างเก็บน้ำบางพระ ในอัตราการสูงสุด 5.50 ลบ.ม./วินาที ด้วยการใช้เครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง และสำรองไว้อีก 1 เครื่อง แต่เนื่องจากปัจจุบันในพื้นที่ภาคตะวันออกมีการขยายตัวของประชากรเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่  




 



 
กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการสูบผันน้ำมาเติมให้กับอ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต โดยในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาได้สูบน้ำไปแล้วประมาณ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้สามารถบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี จนผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งได้


 



 
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เครื่องสูบน้ำชำรุดไม่สามารถใช้การได้ นั้น โครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 9 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจในพื้นที่แล้วพบว่ามีเศษขยะและสิ่งแปลกปลอมที่ลอยมาตามน้ำ ที่สามารถหลุดลอดตะแกรงกันขยะเข้ามาได้ และถูกดูดเข้าไปในเครื่องสูบน้ำ ทำให้เครื่องสูบน้ำติดขัดเสียหาย จึงประสานไปยังบริษัท ไทยพิพัฒน์ฮาร์ดแวร์ จำกัด เข้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขเครื่องสูบน้ำแล้ว เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ซึ่งการซ่อมแซมดังกล่าว อยู่ในระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่อง จำนวน 1 ปี 
 
ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ 9 ได้ส่งนักประดาน้ำลงไปสำรวจตรวจสอบบ่อสูบน้ำในสถานี พร้อมทั้งกำจัดเศษขยะสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้ามาออกให้หมด และทำการติดตั้งตะแกรงกันขยะเพิ่มเติม เพื่อป้องกันขยะหลุดลอดและสามารถกรองขยะให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



 



 
เนื่องจากเศษขยะที่ถูกดูดเข้ามาในเครื่องสูบน้ำทำให้อุปกรณ์ชิ้นส่วนของเครื่องสูบน้ำชำรุดเสียหายต้องยกเครื่องสูบน้ำแต่ละเครื่องขึ้นมาตรวจสอบอย่างละเอียด พบว่าอุปกรณ์ชิ้นส่วนในแต่ละเครื่องมีความชำรุดแตกต่างกัน และต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ

ประกอบกับอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้การขนส่งล่าช้า ปัจจุบันได้ดำเนินการซ่อมเครื่องสูบน้ำให้ใช้การได้แล้ว จำนวน 2 เครื่อง กำหนดการจากแผนงานของผู้ขายคาดว่าจะซ่อมเครื่องสูบน้ำ ให้สามารถใช้การได้ทั้งหมด ภายในเดือน กรกฎาคม 2563 นี้  ซึ่งโครงการก่อสร้างจะติดตามเร่งรัดการซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป




 



 



Create Date : 26 มิถุนายน 2563
Last Update : 26 มิถุนายน 2563 15:04:24 น.
Counter : 948 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments