All Blog
สทนช.เอ็มโอยูมช. ร่วมจัดการน้ำภาคเหนืออย่างยั่งยืน



"สทนช."จับมือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามเอ็มโอยูร่วมขับเคลื่อนการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือ หนุนใช้งานวิจัยและพัฒนาคนสู่การใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน

 

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงนามบันทึกความเข้าใจการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือด้วยข้อมูลงานวิจัย และการพัฒนาบุคลากรนำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนของประเทศไทย ร่วมกับ ศาสตราจารย์ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม (มช.)


โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพยาน และนายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ รักษาราชการแทน รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารจาก สทนช. และ มช. เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมพระยา ศรีวิสารวาจา ชั้น 1 สำนักงานมหาวิทยาลัย 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





 

 




 

 

การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น จัดขึ้นเพื่อบูรณาการความร่วมมือให้เกิดการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยข้อมูล งานวิจัย และการพัฒนาบุคลากร นำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนของประเทศไทย รวมไปถึงรวมกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 

 

เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถของทั้งสองหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและสร้างประสิทธิผล สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน และสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อสร้างการรับรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)


พร้อมทั้งบูรณาการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้กับภาคเอกชน ภาคชุมชน และภาคประชาชน ประกอบกับการสนับสนุนข้อมูลและเชื่อมโยงระบบสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

 

ดร.สุรสีห์ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมบูรณาการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความประสานสอดคล้องกันในทุกมิติรวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลทำให้เกิดความท้าทายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต ทำให้การพัฒนาด้านเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรม มีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

การลงนามบันทึกความเข้าใจการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยข้อมูล งานวิจัย และการพัฒนาบุคลากรนำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนของประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายจะได้ร่วมกันดำเนินการศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านทรัพยากรน้ำ เพื่อใช้วิเคราะห์บริบทและสถานการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำ


ถือเป็นการยกระดับการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาด้านต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อไป



 





 




Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2566 15:31:16 น.
Counter : 279 Pageviews.

0 comment
ระดมทำฝนหลวงแก้ฝุ่นPM2.5


 

"สุพิศ"สั่งระดมทำฝนหลวง 5 วัน เร่งช่วยแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 ในกรุงเทพและพื้นที่ภาคเหนือ หลังวานนี้ขึ้นทำฝนหลวง ทำให้มีฝนตกเล็กน้อยในพื้นที่และยังมีกลุ่มเมฆมาดูดซับฝุ่นมลพิษได้ดียิ่งขึ้น  







 





 

นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รักษาการอธิบดีกรมฝนหลวงและการเกษตร เปิดเผยว่าจากวานนี้ได้สั่งขึ้นทำฝนหลวงที่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้เข้าใกล้พื้นที่กรุงเทพฯมากที่สุด ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติการทำฝนหลวงในพื้นที่กรุงเทพ เพราะติดข้อจำกัดทางการบินที่มีการจราจรทางการบินหนาแน่นสูงมาก โดยได้รับรายงานว่ามีฝนตกเล็กน้อยในกรุงเทพ และภาคเหนือ ขึ้นทำฝนหลวง ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีฝนตกในพื้นที่และจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย ล่าสุดได้สั่งดำเนินการทำฝนหลวงเร่งด่วน อย่างต่อเนื่อง 5 วัน 



โดยตั้งหน่วยฝนหลวงเฉพาะกิจ เพื่อมาปฏิบัติการแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 ทั่วประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาาง ซึ่งในช่วงนี้จากการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีมวลความกดอากาศสูงแผ่ลงมา จะทำให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 40-50 เปอร์เซนต์ขึ้นไป จะเอื้อให้การขึ้นบินปฏิบัติการทำฝนหลวง และการก่อเมฆ ได้ผลดี






 



 

 

รวมทั้งการคำนวนสภาพลมที่เหมาะสมจะพัดพาเมฆฝนมาตกได้ในพื้นที่โดยในวันนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยจะปฏิบัติการทำฝนหลวงตลอดทั้งวัน ซึ่งจะมีทีมนักวิทยาศาสตร์ และทีมทำงาน 6-7 คนต่อลำ เพื่อช่วยกันตัดสินใจในการโปรยสาร การก่อกวนเมฆ ให้เกิดกลุ่มเมฆฝนและการจูงเมฆให้ไปตกในพื้นที่เป้าหมาย 

 

อย่างไรก็ตามทางทีมฝนหลวงจะติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด หากมีความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมก็จะขยายเวลาการปฏิบัติการฝนหลวงออกไป เพื่อช่วยแก้ปัญหาฝุ่นละอองPM2.5 ไฟป่า หมอกควัน ที่ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้พื้นที่กรุงเทพ ต้องเผชิญปัญหาตลอดเดือนนี้


โดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศแล้วปรากฏจุดความร้อนเต็มพื้นที่ เพราะมีการเผาพื้นที่ทางเกษตร จำนวนมาก ซึ่งแนวกระแสลมจะพัดพาเข้ามากรุงเทพ เพิ่มขึ้นด้วย เป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มปริมาณฝุ่นละอองมลพิษ มากกว่าฝุ่นPM 2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเอง




 







 




Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2566 16:38:26 น.
Counter : 224 Pageviews.

0 comment
กรมชลประทานเดินหน้าจ้างแรงงานปี 66

กรมชลประทาน เดินหน้าจ้างแรงงานปี 66 ต่อเนื่อง ตั้งเป้าจ้างแรงงานเกษตรกรทั่วประเทศ 86,000 คน  ยอดสมัครพุ้งแล้วกว่า 16,400 คน


นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศ ให้มีรายได้เสริมในช่วงฤดูแล้ง ด้วยการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สำหรับปฏิบัติงานด้านต่างๆ






 





 

อาทิ งานซ่อมแซม บำรุงรักษา ขุดลอก ปรับปรุงงานชลประทาน โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำเพื่อชุมชน แก้มลิง การจัดการคุณภาพน้ำ รวมทั้งโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ทดแทนการว่างเว้นจากการทำการเกษตร 


โดยในปีนี้มีแผนจ้างแรงงานวงเงิน 5,336 ล้านบาท สามารถจ้างแรงงานได้ประมาณ 86,000 คน ระยะเวลาการจ้างอยู่ระหว่าง 3 - 10 เดือน วงเงินจ้างแรงงานอยู่ระหว่าง 26,100 – 87,000 บาท/คน(ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการจ้าง/คน)






 






 
โดยเกณฑ์การจ้างแรงงานจะพิจารณากลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรหรือเกษตรกรในพื้นที่ 2. สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำของกรมชลประทานในพื้นที่ 3. ประชาชน และผู้ใช้แรงงานทั่วไป และ 4. หากแรงงานในพื้นที่มีไม่เพียงพอให้พิจารณาจ้างเกษตรกรหรือแรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง จากหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และลุ่มน้ำ ตามลำดับ





 





 

ปัจจุบันมีการจ้างแรงงานทั่วประเทศไปแล้วประมาณ 16,408 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของแผนฯ โดยจังหวัดที่มีผลการจ้างแรงงานมากที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่ จังหวัดนครพนม 1,861 คน จังหวัดอำนาจเจริญ 1,191 คน และจังหวัดเชียงใหม่ 1,110 คน
 

กรมชลประทาน ขอเชิญชวนเกษตรกรและประชาชนทั่วไป เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมหรือทดแทนจากการสูญเสียรายได้ด้านการเกษตร หากเกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อสอบถามหรือสมัครได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือทางสายด่วนกรมชลประทาน 1460 





 





 
 



Create Date : 29 ธันวาคม 2565
Last Update : 29 ธันวาคม 2565 16:33:10 น.
Counter : 368 Pageviews.

0 comment
“พลเอก ประวิตร”สั่งรับมือฤดูฝนภาคใต้

“พลเอก ประวิตร” สั่งเข้มเตรียมรับมือฤดูฝนภาคใต้ไฟเขียวเพิ่มพื้นที่แก้มลิงเสริมทัพแก้น้ำท่วมลุ่มน้ำเจ้าพระยา


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ  พร้อมกล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ช่วงฤดูฝน โดยในช่วงกลางเดือน ต.ค. 65 จนถึงกลางเดือน ก.พ. 66 ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุก โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก






 





 
ได้มีการใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนพยากรณ์ในระบบ One Map วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเพื่อเตรียมพร้อมเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และวานนี้ (30 พ.ย. 65) กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้เปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ณ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงได้ติดตามแนวทางทางการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนบางลาง ปี 2565


คณะกรรมการลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำเขื่อนบางลาง เพื่อทำหน้าที่ควบคุม ติดตาม การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนบางลางให้เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบ รวมถึงสามารถปรับแผนการระบายน้ำเพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้ทันทีในกรณีที่มีการประเมินหรือคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะวิกฤติ


คณะทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนบางลางได้การคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนจากฝนคาดการณ์และกำหนดแผนการระบายน้ำให้สามารถลดผลกระทบและความเสี่ยงได้มากที่สุด โดยตลอดเดือน ธ.ค. 65 มีแผนการระบายน้ำวันละ 8 - 12 ล้านลูกบาศก์เมตร และปรับลดตามสถานการณ์ ทั้งนี้ ที่ประชุมรับทราบแผนการระบายน้ำดังกล่าวและกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกลไกที่กำหนดเพื่อลดผลกระทบให้เกิดแก่ประชาชนน้อยที่สุด






 





 

สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบและเร่งระบายน้ำในทุ่งลงสู่ลำน้ำสายหลักต่อไป


ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มพื้นที่แก้มลิงรับน้ำให้มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีและมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นจากสภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและสภาพอากาศที่มีความผันผวนมากขึ้น


ยังเป็นการเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงแล้งได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตร มีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการปี 2565-2568 คือการตัดปริมาณน้ำหลากส่วนเกิน 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร





 





 

โดยมอบหมายให้มีการเร่งดำเนินการควบคู่กับการดำเนินการโครงการ 9 แผนหลักลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งนับเป็นการเพิ่มเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการน้ำที่จะช่วยให้การบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำหลากของลุ่มน้ำเจ้าพระยามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมอบหมายให้มีการเสนอต่อ กนช. ให้ความเห็นชอบต่อไป


ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 65/66 ที่ผ่านมา สทนช. ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับทราบและดำเนินการตาม 10 มาตรการ รวมถึงรับทราบข้อมูลคาดการณ์พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ


พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการตามภารกิจให้สอดคล้องกับมาตรการและรายงานผลการดำเนินการส่ง สทนช. เพื่อรายงานผลให้ กนช. ทราบและนำเสนอคณะรัฐมนตรี ต่อไป โดยที่ประชุมมีมติให้ให้หน่วยงานรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการฯ ทั้ง 10 มาตรการให้ สทนช. รับทราบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้การขับเคลื่อนตามมาตรการต่าง ๆ เป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด





 





 



Create Date : 01 ธันวาคม 2565
Last Update : 1 ธันวาคม 2565 16:18:26 น.
Counter : 308 Pageviews.

0 comment
“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่กำแพงเพชรเร่งแผนสร้าง-ปรับปรุงฝายกั้นแม่น้ำปิง 3 แห่ง

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมด้วย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำของจังหวัด




 




 

รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซมฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิงจำนวน 3 แห่ง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ซึ่งดำเนินการโดรมยกรมชลประทาน ได้แก่ ฝายหนองวัวดำ ต.โกสัมพี อ.โกสัมพีนคร ปัจจุบันกรมชลประทานได้ออกแบบแล้วเสร็จ ระยะเวลาการก่อสร้าง 2 ปี (ปี 2566 - 2567) ฝายท่อทองแดง ต.หนองปลิง และฝายวังบัว ต.เทพนคร อ.เมือง มีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน ควรปรับปรุงให้มั่นคงแข็งแรงมีสภาพพร้อมใช้งาน




 





 
ทั้งนี้ เมื่อฝายทั้ง 3 แห่งแล้วเสร็จ จะทดน้ำจากแม่น้ำปิงเข้าพื้นที่เกษตรในช่วงฤดูแล้ง บรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ที่ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยรองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวมอบนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความสำคัญในการเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องน้ำให้กับประชาชน


รัฐบาลพร้อมสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงแหล่งน้ำ และจัดทำระบบกระจายน้ำที่ดีและทั่วถึง จึงขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและวางแผนบูรณาการเร่งรัดแผนงานต่างๆ ตามกรอบที่วางไว้ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับประโยชน์โดยเร็ว





 




 
 
ขณะเดียวกัน รองนายกรัฐมนตรียังได้สั่งการและเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อน 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2565/2566 อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดผลกระทบการขาดแคลนน้ำให้กับประชาชน ตามที่ กอนช.ได้มีการประเมินคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเตรียมแผนงานโครงการในเชิงป้องกันให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากฤดูแล้งนี้ให้น้อยที่สุด


ดร.สุรสีห์  กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรน้ำในกำแพงเพชร 4 ปีที่ผ่านมา(ปี 2561 – 2564)เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำควบคู่กับแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งมีแผนงานโครงการเกิดขึ้นรวม 94  แห่ง ความจุเก็บกักน้ำกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)พื้นที่รับประโยชน์ 125,600 ไร่ เช่น ก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาขาณุวรลักษบุรี ปรับปรุงฝายยางพร้อมระบบส่งน้ำ ต.โพธิ์ทอง อ.ปางศิลาทอง ซ่อมปรับปรุงอ่างเก็บน้ำวังน้ำแดง พร้อมระบบกระจายน้ำ 






 





 

ขณะที่ในปี 2565 มีทั้งสิ้น 11 โครงการ เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักกว่า 3 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 5,360 ครัวเรือน เช่น ปรับปรุงซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำคลองวังน้ำแดง พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ต.วังควง อ.พรานกระต่าย การวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำทางหลวง 1072 ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน ฝายบ้านปรางช่างยมพร้อมระบบส่งน้ำ ต.วังทอง อ.เมือง


สทนช.ได้เร่งแผนขับเคลื่อนโครงการสำคัญที่ดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปี 2566 - 2567 จำนวน 5 แห่ง ความจุเก็บกักน้ำประมาณ 26 ล้าน ลบ.ม.พื้นที่รับประโยชน์ 19,750 ไร่ พื้นที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วมประมาณ 2,000ไร่ ได้แก่ การพัฒนาน้ำบาดาลขนาดใหญ่ (RBF) อ.เมืองกำแพงเพชร  เพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งน้ำคลองวังบัว ระยะที่ 1 ระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนนครชุม ต.นครชุม อ.เมืองกำแพงเพชร อ่างเก็บน้ำคลองขลุง (พรด.) ต.คลองลานพัฒนา อ.เมืองคลองลาน และอ่างเก็บน้ำคลองวังชมภู ต.เพชรชมภู อ.โกสัมพีนคร 





 



 



Create Date : 21 พฤศจิกายน 2565
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2565 18:13:54 น.
Counter : 392 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments