All Blog
สทนช.ลุยตรวจงาน 3 โปรเจคยักษ์ แก้ท่วม-แล้งลุ่มน้ำทะเสสาบสงขลา
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เดินทางลงพื้นที่ จ.สงขลา เพื่อติดตามการดำเนินการโครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยทะเลสาบสงขลา ที่ สทนช. ได้ดำเนินการศึกษามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ปัจจุบันผลการศึกษาใกล้จะแล้วเสร็จและจะจัดให้มีการประชุมปัจฉิมนิเทศ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

เลขาธิการ สทนช. ระบุว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นลุ่มน้ำสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา (อำเภอเมือง หาดใหญ่ สะเดา รัตภูมิ ระโนด สทิงพระ ควนเนียง กระแสสินธุ์ นาหม่อม บางกล่ำ คลองหอยโข่ง จังหวัดพัทลุงทั้งหมด และจังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอชะอวด และหัวไทร)



 




 
ที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณนี้ มีปัญหาน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำ คุณภาพน้ำ การรุกตัวของน้ำเค็ม ตะกอนในทะเลสาบ เป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจและเริ่มมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหามาตั้งแต่ปี 2514 แต่ด้วยสภาพพื้นที่ขนาดกว้างใหญ่และการใช้ประโยชน์ที่แตกต่าง

ทำให้การศึกษาและการดำเนินการโครงการยังไม่ได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ ส่งผลให้มีบางโครงการต้องถูกระงับไป ภายหลังจากที่รัฐบาลได้จัดตั้ง สทนช. เมื่อปี 2560 และหลังจากที่พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ได้ประกาศใช้เมื่อต้นปี 2562 ได้กำหนดให้ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักในการศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์และบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตลอดจนศึกษาแผนหลักและแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการบรรเทาอุทกภัยภัยแล้ง และพื้นที่ Area Based ที่เกี่ยวข้องในทุกลุ่มน้ำ สทนช. จึงได้คัดเลือกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาขึ้นมาดำเนินการเพื่อหวังผลในการหาทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง



 




 
จากการศึกษาข้อมูลจากรอบด้านทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และจากการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมา ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน

ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำ 5 ด้าน ได้แก่ 1.ปัญหาอุทกภัย 2.ปัญหาการขาดแคลนน้ำ/การรุกตัวของน้ำเค็ม 3.ปัญหาคุณภาพน้ำ 4.ปัญหาตะกอนในทะเลสาบ/สิ่งแวดล้อม และ 5.ปัญหาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยในการศึกษาได้กำหนดแนวทางพัฒนาทรัพยากรน้ำ สำหรับจัดทำแผนหลัก 20 ปี รวมงบประมาณกว่า 69,395 ล้านบาท

ได้แก่ ด้านน้ำท่วม 14 กลุ่มโครงการ ด้านขาดแคลนน้ำ/รุกตัวของน้ำเค็ม 28 กลุ่มโครงการ ด้านคุณภาพน้ำ 9 กลุ่มโครงการ ด้านตะกอนในทะเลสาบ/สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ 20 กลุ่มโครงการ ด้านองค์กร/การบริหารจัดการ จัดทำในลักษณะของข้อเสนอแนะการปรับองค์กร การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้บริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น แก้ไขปัญหาด้านพื้นที่ทับซ้อน

ในการลงพื้นที่ในวันนี้ คณะเลขาธิการ สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการที่สอดคล้องกับการศึกษาที่เกี่ยวกับตะกอนในทะเลสาบสงขลา ได้แก่ การดำเนินการขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลา (ร่องใน) ของกรมเจ้าท่า บริเวณ แหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา เป็นจุดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมาก



 
เส้นคั่นรูปดอกไม้ Lin_05ume_b



 
นื่องจากเป็นร่องน้ำทางเดินเรือของเรือสินค้าขนาดกลางที่มาขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงบริเวณท่าเรือเอกชน รวมถึงเรือประมงที่มาขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา อีกทั้งยังเป็นร่องน้ำที่ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำจากทะเลสาบสงขลาตอนล่างสู่อ่าวไทย

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการขุดลอกร่องน้ำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อนำตะกอนสะสมในร่องน้ำออกไม่ให้เกิดความตื้นเขิน ป้องกันการเกิดเนินทรายหรือสันดอนทราย โดยการขุดลอกร่องน้ำดังกล่าวต้องทำควบคู่ไปกับการขุดลอกร่องกลางทะเลสาบตอนล่างและร่องน้ำร่องนอก เพื่อให้เรือสามารถสัญจรเข้า-ออกได้ตามปกติ และช่วยระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่สอง การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ได้แก่ การดำเนินการของกรมชลประทาน บริเวณแก้มลิงบ้านชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกับ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ได้แก่ อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ และ อ.สิงหนคร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบชายทะเล ในอดีตไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำ



 
เส้นคั่นรูปดอกไม้ Lin_05ume_b



 
รวมถึงคลองและระบบลำเลียงน้ำในพื้นที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และน้ำทะเลหนุนสูง จนไม่สามารถทำการเกษตรได้ ซึ่งจากการศึกษาของกรมชลประทานพบว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด คือ การสร้างแก้มลิง 3 จุด โดยแก้มลิงบ้านชะแล้เป็นหนึ่งในโครงการดังกล่าว

ลักษณะโครงการเป็นการขุดแก้มลิงเนื้อที่ประมาณ 275 ไร่ ลึก 4 เมตร ความจุประมาณ 1.76 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมก่อสร้างอาคารและส่วนประกอบ เช่น อาคารระบายน้ำ อาคารรับน้ำ อาคารอัดน้ำ รางระบายน้ำ ทำนบดิน และถนนลาดยาง

หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งสำหรับทำการเกษตรของประชาชนใน ต.ชะแล้ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์ประมาณ 816 ครัวเรือน ประชากร 2,908 คน พื้นที่การเกษตร 1,418 ไร่

สำหรับจุดสุดท้าย คือ แนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยกรมชลประทาน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบรรเทาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ระยะที่ 2) เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จากเดิมได้เพียง 465 ลูกบาศก์เมตร/วินาที



 




 
โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.งานปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ความยาว 21.34 กิโลเมตร 2.งานก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานโค้ง ขนาด 12.50 x 7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง 3.งานก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานระบายตรง ขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง และ 4.งานก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยี อัตราการสูบรวม 90 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

ทั้ง 3 จุด แม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แต่ถือเป็นตัวอย่างการดำเนินงานภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีความเหมาะสมทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และการบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยการดำเนินการไม่ได้คำนึงเพียงการพัฒนาสิ่งก่อสร้างให้เกิดผลประโยชน์ในเรื่องน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาภายใต้การศึกษาที่คำนึงถึงความสมดุลของน้ำ ชลศาสตร์ รวมถึงประเด็นในเรื่องคุณภาพน้ำ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของประชาชน และอาชีพของคนในพื้นที่ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะนำมาซึ่งความยั่งยืนที่แท้จริง



 
 



 
ไม่เพียงแต่การวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างเป็นระบบข้างต้นแล้ว การติดตามประเมินสถานการณ์น้ำเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการป้องกันผลกระทบไว้ล่วงหน้า ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มีการติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงเดือนตุลาคมร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านทางตอนล่างของประเทศ

ส่งให้ภาคใต้เริ่มมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก จากการคาดการณ์ปริมาณฝนในช่วง 7 วันข้างหน้า พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำป่าไหลหลาก จำนวน 5 จังหวัด บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล

กอนช. จะมีการประชุมติดตามแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำต่าง ๆ แก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 51 แห่ง ยังคงเหลือ 12 แห่ง จากแผนทั้งหมด 115 แห่ง





 
 



Create Date : 10 ตุลาคม 2563
Last Update : 10 ตุลาคม 2563 18:51:44 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comment
"กรมชลประทาน"ยืนยันเขื่อนลำพระเพลิง มั่นคงแข็งแรง
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันเขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมามีปริมาณน้ำในอ่างฯ 145 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 93 ของความจุอ่างฯ ได้บริหารจัดการน้ำเพื่อควบคุมปริมาณน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม

ด้วยการระบายน้ำลงคลองส่งน้ำสายใหญ่ วันละ 1.55 ล้าน ลบ.ม. และระบายลงสู่ลำน้ำธรรมชาติ วันละ 3.71 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำที่ระบายทั้งสิ้นวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. โดยควบคุมการระบายน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของคลองส่งน้ำ



 




 
จนถึงขณะนี้การระบายน้ำจากเขื่อนลำพระเพลิง ยังไม่ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณด้านท้ายอ่างฯ ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณท้ายประตูระบายน้ำเหมืองตาเบ้า บริเวณตัวอำเภอปักธงชัย และบริเวณท้ายประตูระบายน้ำท่าเขื่อน – ประตูระบายน้ำอาจารย์พุฒ

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนลำพระเพลิง มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง ได้นำเครื่องจักรและรถแบ็คโฮเข้าไปดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณหน้าประตูระบายน้ำบ้านสุขัง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย เพื่อเร่งระบายน้ำแล้ว



 




 
สำหรับความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนลำพระเพลิง นั้น กรมชลประทาน ได้ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน และมีการตรวจสอบสภาพความมั่นคงของเขื่อนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี จึงยืนยันได้ว่าเขื่อน  ลำพระเพลิง มีความมั่นคงแข็งแรงดี สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยไม่ส่งผลต่อพื้นที่ด้านท้าย

ขอให้ประชาชนในพื้นที่ติดตามสถาณการณ์น้ำและสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด หากต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อโครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ชลประทานบริการประชาชน ได้ตลอดเวลา





 

 



Create Date : 10 ตุลาคม 2563
Last Update : 10 ตุลาคม 2563 17:39:28 น.
Counter : 575 Pageviews.

0 comment
"ชลประทาน"ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ 24 ชม.
ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก ได้สั่งการและกำชับให้ทุกหน่วยงานเตรียมการรับมือกับอุทกภัย ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว นั้น

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า “จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา พายุดีเปรสชันได้อ่อนกำลังลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง คาดว่าจะเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ตอบบนเข้าสู่ทะเลอันดามัน



 



 
ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ กรมชลประทานได้ดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมและน้ำล้นตลิ่ง

รวมทั้งได้มีการเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าประจำการยังจุดเสี่ยงต่างๆ แล้ว และจะร่วมบูรณาการทำงานกับหน่วยงานในพื้นที่ ในการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด” 



 




 
ได้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยการเฝ้าระวังติดตามปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 90 พร้อมบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม(Dynamic Operation Curve )

รวมทั้งพิจารณาปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับฝนที่ตกลงมา โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ด้านท้าย ตลอดจนตรวจสอบอาคารชลประทานต่างๆให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมไปถึงการกำจัดวัชพืชไม่ให้กีดขวางทางน้ำ ควบคู่ไปกับการนำน้ำท่าเข้าไปเก็บกักไว้ในพื้นที่แก้มลิง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ



 




 
เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ฤดูแล้งหน้าให้ได้มากที่สุดด้วย หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร.สายด่วนกรมชลประทาน 1460 ชลประทานบริการประชาชนได้ตลอดเวลา 




 
​​​​​​​



Create Date : 10 ตุลาคม 2563
Last Update : 10 ตุลาคม 2563 17:05:18 น.
Counter : 636 Pageviews.

0 comment
สทนช.ดึงงานวิจัยลจัดการน้ำอีอีซี
สทนช.เล็งใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยการจัดการน้ำอีอีซี แนะกำหนดเกณฑ์การใช้น้ำในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เอื้อต่อการนำไปปฏิบัติ พร้อมผลักดันเข้าสู่ที่ประชุม กนช. ก่อนขยายผลสู่คณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะอนุฯน้ำจังหวัด

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาของแผนงานวิจัยการพัฒนาระบบการวางแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จากทีมวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)




 





 
นำโดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สทนช. ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก องค์การจัดการน้ำเสีย กรมชลประทาน การประปาส่วนภูมิภาค การนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
 
ร่วมรับฟังและให้ข้อคิดเห็น ว่า ขณะนี้แผนงานวิจัยดังกล่าวดําเนินการในระยะที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีประเด็นการศึกษาหลัก ๆ ได้แก่ การศึกษาสมดุลน้ำและมาตรการลดการใช้น้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่อีอีซี การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม แผนงานวิจัยการจัดการความต้องการใช้น้ำ และการป้องกันและจัดการความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรน้ำ




 




 
 
สำหรับการรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ทีมนักวิจัยจะนำไปปรับปรุงเพื่อให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ เช่น การประเมินสมดุลน้ำ แผนที่ขาดน้ำและแผนจัดสรรน้ำที่เหมาะสม แผนป้องกันและจัดการความขัดแย้งในการใช้น้ำระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ แผนจัดการนํ้าด้านอุปสงค์ (Demand Side Management)
 
ทั้งข้อเสนอเชิงนโยบาย กฎหมายและมาตรการต่าง ๆ ที่มีหลายภาคส่วนเกี่ยวข้อง การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องการประหยัดน้ำ การใช้น้ำในแต่ละกิจกรรมที่มีความแตกต่างกันให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการจัดการน้ำด้านอุปสงค์สูการปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
 


 





 
พื้นที่อีอีซีมีแนวโน้มความต้องการใช้น้ำเพื่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดแคลนน้ำในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นการนำเสนอผลงานวิจัยในวันนี้ สทนช.ต้องการนำผลงานวิจัยที่ได้ไปต่อยอดปรับใช้ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ สามารถกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซีได้อย่างเป็นรูปธรรม

สร้างสมดุลการใช้น้ำของทุกภาคส่วน ทั้งชุมชน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยจะนำเสนอผลงานวิจัยให้คณะกรรมการลุ่มน้ำคณะอนุกรรมการทรัพยากน้ำจังหวัด และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาซึ่งคาดว่าในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป    






 
 



Create Date : 09 ตุลาคม 2563
Last Update : 9 ตุลาคม 2563 19:28:43 น.
Counter : 465 Pageviews.

0 comment
เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ ปรับลดการระบายน้ำ 8 – 11 ต.ค
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังพัดปกคลุ่มทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

ขณะนี้ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และ จ.นครสวรรค์ ส่งผลให้ระดับน้ำและปริมาณน้ำในแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้น โดยในวันนี้เมื่อเวลา 06.00 น.ที่ผ่านมาพบว่า สถานีวัดน้ำ C2 จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,035 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 726 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณ ต.บ้านกระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา และ ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร





 





 
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น กอนช. จึงได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดการระบายน้ำเขื่อนด้านเหนือน้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำที่ไหลมาเพิ่มเติมในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยกรมชลประทานได้มีการผันน้ำเข้าคลองส่งน้ำต่างๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ 700 - 900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

พร้อมให้มีการแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบกิจการในแม่น้ำกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยด้านท้ายประตูระบายน้ำผักไห่ ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดด้วย

ขณะนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ เพื่อลดผลกระทบในพื้นที่ท้ายน้ำ รวมถึงยังเป็นการเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำตามนโยบายของรองนายกฯ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะผอ.กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ปรับลดการระบายจาก 3 ล้านลบ.ม.ลงเหลือวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร

2.เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ปรับลดการระบายจาก 6 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือวันละ 4 ล้าน ล้านลูกบาศก์เมตร โดยจะยังคงระบายน้ำในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงปลาในกระชังท้ายเขื่อนและคุณภาพน้ำท้ายเขื่อนด้วย





 





 
กฟผ.ได้ดำเนินการปรับลดการระบายน้ำจากทั้ง 2 เขื่อน ตั้งแต่วันนี้ – 11 ต.ค.63 โดย กอนช.จะติดตามสถานการณ์ฝนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้สอดคล้องกับสถานการณ์

สำหรับสถานการณ์การติดตามสภาพอากาศปัจจุบันที่คาดว่าจะมีพายุดีเปรสชันลูกใหม่เข้าสู่ประเทศไทยนั้น ขณะนี้ได้ลดระดับเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชา คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยเข้าสู่บริเวณอ่าวไทยตอนบนในวันนี้ (8 ต.ค. 63)

โดยพื้นที่ที่จะต้องเฝ้าระวังจากอิทธิพลของร่อง อยู่บริเวณ จ.ตรัง สตูล พังงา ภูเก็ต สระแก้ว จันทบุรี ศรีสะเกษ อุทัยธานี ระนอง ตาก ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และสุรินทร์ ซึ่งกอนช.จะมีการติดตามประเมินปริมาณฝนที่อาจจะกระทบในบางพื้นที่ได้ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค.63

เนื่องจากมีความแปรปรวนของสภาพอากาศจากปัจจัยความกดอากาศสูงบริเวณประเทศจีนจึงจะต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

 




 

 



Create Date : 08 ตุลาคม 2563
Last Update : 8 ตุลาคม 2563 19:37:14 น.
Counter : 689 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments