All Blog
"กรมชลฯ"ถกแปลงสภาพผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมหารือเรื่องโครงการแปลงสภาพผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยวิธีง้วนดิน โดยมี นายธีระพล ตั๊งสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมร่วมกับศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่แพร่ขยายอย่างรวดเร็วในลำน้ำ


 



 
โดยได้หารือแนวทางร่วมกันเพื่อสร้างต้นแบบของโครงการฯ นำร่องเป็นแนวทางและขยายผลในวงกว้างร่วมกับชุมชน กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน และร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดหาสถานที่ รวมทั้งศึกษาวิจัยพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขยะวัชพืชที่มีคุณภาพและเกิดประโยช์สูงสุดต่อไป



 



Create Date : 26 มิถุนายน 2563
Last Update : 26 มิถุนายน 2563 15:04:58 น.
Counter : 612 Pageviews.

0 comment
ฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย"กอนช."เตือนวางแผนรับมือวิกฤติแล้ง
“กอนช.เตือนทุกภาคของประเทศ ปลายเดือนมิ.ย.-กลางเดือนก.ค.ฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ5-10 เผยปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนใหญ่เหลือเพียงร้อยละ16 เน้นทุกหน่วยงานวางแผนรับมือวิกฤติน้ำแล้ง”

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)เปิดเผยว่าประเมินสถานการณ์น้ำในช่วงปลายเดือนมิ.ย.ปริมาณฝนลดลงโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ5-10 ช่วงครึ่งแรกของเดือนก.ค.63 ทุกภาคยังคงมีฝนน้อย ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อยตามไปด้วย



 



 
โดยปัจจุบันปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ30 จำนวน 34 แห่ง ซึ่งเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ส่วนด้านการเกษตร ยังคงต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก จึงขอเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ กำหนดมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำในช่วงดังกล่าวและวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด

รวมปริมาตรน้ำทั้งประเทศ 34,213 ล้านลบ.ม.หรือ ร้อยละ42 ในแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ 30,871 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ43 เป็นปริมาตรน้ำใช้การได้ 7,389  ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 16 น้อยกว่าปี 2562 จำนวน 5,320 ล้าน ลบ.ม. สำหรับ4เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เหลือน้ำใช้การได้จริง ร้อยละ2 เขื่อนสิริกิติ์ ร้อยละ8 เขื่อนแควน้อย ร้อยละ16 เขื่อนป่าสักฯ ร้อยละ11 รวมน้ำใช้การ965 ล้านลบ.ม.หรือร้อยละ5

ส่วนคุณภาพน้ำค่าความเค็ม แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี 0.23 กรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำท่าจีน บริเวณสถานีปากคลองจินดา จ.นครปฐม 0.33 กรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแม่น้ำแม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนแม่น้ำบางปะกง บริเวณสถานีบางกระเจ็ด จ.ฉะเชิงเทรา 3.42 กรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์วิกฤติ



 



 
ด้านสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) ได้แจ้งเตือนเขื่อนที่มีน้ำใช้การได้ มีน้ำน้อยวิกฤติ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ -11% เขื่อนภูมิพล 2% เขื่อนคลองสียัด 3% เขื่อนประแสร์ 4%เขื่อนกระเสียว 4% เขื่อนบางพระ 4% เขื่อนจุฬาภรณ์ 5% เขื่อนสิริกิติ์ 5% เขื่อนสิรินธร8%

ขื่อนทับเสลา 9% เขื่อนศรีนครินทร์ 10% เขื่อนวชิราลงกรณ 10% เขื่อนป่าสักฯ 11% เขื่อนลำแซะ 11% เขื่อนลำพระเพลิง 12% เขื่อนมูลบน 12% เขื่อนลำนางรอง12% เขื่อนแม่งัด 13% เขื่อนขุนด่านปราการชล 13% เขื่อนห้วยหลวง 14% เขื่อนแควน้อย16% เขื่อนน้ำพุง 17% เขื่อนนฤบดินทรจินดา 18% เขื่อนแก่งกระจาน 19% เขื่อนแม่กวง 19%




 



 



Create Date : 25 มิถุนายน 2563
Last Update : 25 มิถุนายน 2563 14:41:55 น.
Counter : 647 Pageviews.

1 comment
ปรับลดระบายน้ำเขื่อนภูมิพล
“เลขาฯสทนช.น้ำไหลเข้าเขื่อนลดลงปรับลดระบายน้ำเขื่อนภูมิพล วันละ5ล้านลบ.ม.เหลือน้ำใช้การได้จริงเพียง2% ชี้น้ำไหลเข้าเขื่อนลดลง พื้นที่ภาคเหนือฝนตกน้อย ห่วงฝนอั้นมาตกมากช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.ท่วมพื้นที่ท้ายเขื่อนภาคกลาง”

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)เปิดเผยว่าปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล  เพียงวันละ5ล้านลบ.ม.โดยล่าสุดเขื่อนภูมิพล เหลือน้ำใช้การได้จริง2% หรือ222ล้านลบ.ม.แต่ยังมากว่าปี59 เป็นปีเกิดภัยแล้งรุนแรงที่สุด เขื่อนภูมิพลมีน้ำน้อยกว่านี้ ซึ่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคุมการใช้น้ำให้ถึงกลางเดือนก.ค.เนื่องจากระหว่างนี้เข้าสู่ฝนทิ้งช่วง ระหว่างกลางเดือนมิ.ย.-กลางเดือนก.ค.น้ำไหลเข้าเขื่อนลดลง




 




 
ปริมาณน้ำใช้การได้ 4เขื่อนใหญ่ลุ่มเจ้าพระยา คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสัก มีน้ำใช้การรวมกัน975ล้านลบ.ม.ยังมีพอใช้ และปรับลดการระบายเพื่อคุมน้ำไว้ใช้ให้ถึงกลางเดือนก.ค.จะมีฝนมามากขึ้น หลายฝ่ายห่วงใยจะเกิดน้ำท่วมในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.เพราะมีพายุ เข้าด้วยปริมาณฝนตกมากขึ้น มากกว่าค่าเฉลี่ย 4-5%

โดยเฉพาะ ภาคกลาง ตั้งแต่จ.นครสวรรค์ ลงมาหากตกแช่ ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งภาพรวมฝนอั้นมาตกช่วงเดือนก.ย. จะไม่ได้น้ำเข้าเขื่อน ส่งผลกระทบฤดูแล้งหน้า เดือน พ.ย.63-พ.ค.64น้ำอาจไม่พอ ต้องมีมาตรการรัดกุมเข้มข้นมากขึ้นในการใช้น้ำมากว่าปีนี้




 




 
เลขาธิการสทนช.กล่าวว่าคาดการณ์เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนปีนี้สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ มีปริมาณน้ำ55%  ภาคอีสาน77 % ภาคตะวันออก83 %ภาคใต้และภาคตะวันตก มีน้ำเยอะ ไม่มีปัญหา แต่น่าเป็นห่วงภาคกลาง  เพราะได้ฝนช่วงเดือนก.ย.มาตกท้ายเขื่อน

ส่วนคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภาคเหนือ กว่า 9พันล้านลบ.ม. ภาคอีสาน 6,190ล้านลบ.ม.ภาคตะวันออก 1,460ล้านลบ.ม. ภาคกลาง 1,130 ล้านลบ.ม. ภาคตะวันตกและภาคใต้ โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนทั่วประเทศ 28,300ล้านลบ.ม. ทั้งนี้ฤดูแล้งหน้าจะมาตรการคุมการใช้น้ำมากกว่าปีนี้ เพราะได้น้ำเข้าเขื่อนไม่มาก จากฝนตกไม่กระจายและมาตกกระจุกตัวท้ายเขื่อน 2-3เดือนช่วงปลายปี ซึ่งช่วง3เดือนแรกเมื่อเข้าฤดูฝนตกภาคเหนือ เพียง70-80มม.เท่านั้น




 
 

 



Create Date : 24 มิถุนายน 2563
Last Update : 24 มิถุนายน 2563 14:42:59 น.
Counter : 895 Pageviews.

1 comment
น้ำ 4 เขื่อนหลักอยู่ในเกณฑ์น้อย
กรมชลประทาน ย้ำบริหารจัดการน้ำในเขื่อนตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เหตุฝนตกเหนืออ่างเก็บน้ำยังอยู่ในเกณฑ์น้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯน้อยตามไปด้วย จำเป็นต้องสงวนน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ส่วนภาคการเกษตรขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก   

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(23 มิ.ย. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 32,235 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 8,587 ล้าน ลบ.ม.



 
 



 
เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 7,682 ล้าน ลบ.ม.(ปี 62 มีน้ำรวมกัน 9,407 ล้าน ลบ.ม.) หรือร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 986 ล้าน ลบ.ม.(ปี 62 มีน้ำใช้การได้ 2,711 ล้าน ลบ.ม.) จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในปีนี้น้อยกว่าปี 2562 ที่ผ่านมาถึง 1,725 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำที่มีอยู่จึงสามารถสนับสนุนได้เพียงการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเป็นหลัก

ทั้งนี้ จากการติดตามสภาพฝนที่ตกในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำพบว่าปริมาณฝนที่ตกในลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่มากนัก ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาน้อยตามไปด้วย ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา(17-23 มิ.ย. 63) 4 เขื่อนหลัก มีน้ำไหลลงอ่างฯรวมกันเพียง 119.94 ล้าน ลบ.ม.




 




 
ในขณะที่ค่าเฉลี่ยน้ำไหลลงอ่างฯรวมกัน ควรจะอยู่ที่ประมาณ 197 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น เขื่อนภูมิพล มีน้ำไหลลงอ่างฯ 5.44 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 222 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 2 ของน้ำใช้การได้ เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำไหลลงอ่างฯ 101.19 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 508 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 8 ของน้ำใช้การได้

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีน้ำไหลลงอ่างฯ 8.96 ล้าน ลบ.ม.    มีน้ำใช้การได้  150 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 17 ของน้ำใช้การได้ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีน้ำไหลลงอ่างฯ 4.35 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้  106 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 11 ของน้ำใช้การได้ นับได้ว่าอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก 



 
 



 
กรมชลประทาน ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับภาวะดังกล่าว ซึ่งปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ใน 4 เขื่อนหลัก จะส่งให้เฉพาะการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเป็นหลัก ส่วนภาคการเกษตรจะบริหารจัดการน้ำท่าในแม่น้ำและลำน้ำสาขาต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดยหากเกษตรกรที่ได้ทำการเพาะปลูกนาปีไปแล้ว จะนำน้ำท่าจากแม่น้ำและลำคลองธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ด้วยการทดน้ำ/อัดน้ำ หรือสูบน้ำช่วยเหลือ ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำนาปี ได้ขอความร่วมมือให้เริ่มทำนาปีในช่วงหลังกลางเดือน ก.ค. 63 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีฝนตกชุกและมีปริมาณน้ำเพียงพอในพื้นที่ จึงค่อยทำการเพาะปลูก โดยกรมชลประทาน จะเน้นเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้าอย่างไม่ขาดแคลน






 





 



Create Date : 24 มิถุนายน 2563
Last Update : 24 มิถุนายน 2563 15:01:02 น.
Counter : 1240 Pageviews.

0 comment
“พล.อ.ประวิตร”ลงพื้นที่ติดตามแก้ภัยแล้งลำปาง
รองนายกฯ “พล.อ.ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดลำปาง

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน
พร้อมด้วย นายปรีชา จานทอง ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในการเดินทางติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามมาตรการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ณ ศาลากลางจังหวัดลำปาง และโรงเรียนสบปราบพิทยาคม จังหวัดลำปาง



 



 
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดลำปางว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน 134 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 139 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างรวมกัน

เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 116 ล้าน ลบ.ม. มีแผนการจัดสรรน้ำฤดูฝนประมาณ 467 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันทำการจัดสรรน้ำไปแล้ว 18 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของแผนฯประกอบด้วย ด้านการอุปโภคบริโภค มีแผนจัดสรรน้ำ 24 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของแผนฯ



 



 
ด้านรักษาระบบนิเวศ มีแผนการจัดสรรน้ำ 186 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 7 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของแผนฯ และด้านการเกษตร มีแผนการจัดสรรน้ำ 257 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 10 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของแผนฯ

ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา จังหวัดลำปางมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จำนวน 589 ราย 26 หมู่บ้าน 13 ตำบล 8 อำเภอ (แม่พริก, เถิน, เกาะคา, งาว, วังเหนือ, เมืองปาน, แม่ทะ และเสริมงาม) กรมชลประทาน ให้ความช่วยเหลือด้วยการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 22 เครื่อง เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ



 



 
ตลอดจนนำรถบรรทุกน้ำนำน้ำสะอาดเข้าไปแจกจ่ายให้กับประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปัจจุบันจ้างแรงงานในพื้นที่ไปแล้วกว่า 1,845 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของแผนฯ

สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดลำปาง ทั้งสิ้น 11 โครงการ เป็นโครงการพระราชดำริ 7 โครงการ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำแม่สุย อ่างเก็บน้ำห้วยแม่เคียน อ่างเก็บน้ำแม่จางตอนบน อ่างเก็บน้ำน้ำงาว  อ่างเก็บน้ำแม่ปาน อ่างเก็บน้ำแม่บอม อ่างเก็บน้ำห้วยเย๊าะ อ่างเก็บน้ำแม่เชียงราย ประตูระบายน้ำบ้านวังยาว อ่างเก็บน้ำแม่ตีบ และโครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีก 30 แห่ง หากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำได้อีกกว่า 80 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้กว่า 71,000 ไร่




 



Create Date : 18 มิถุนายน 2563
Last Update : 18 มิถุนายน 2563 20:15:20 น.
Counter : 775 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments