All Blog
ใกล้ความจริงอุโมงค์แม่งัด–แม่กวงฯคืบกว่าร้อยละ 46
นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าในส่วนความก้าวหน้าโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันในชื่อของโครงการอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวงฯ ปัจจุบัน โครงการดังกล่าว มีผลการดำเนินงานคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 46 ของแผนงานทั้งหมด 

โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด–แม่กวงฯ ประกอบด้วย การก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด–แม่กวงฯ สัญญาที่ 1 ความยาวอุโมงค์รวมทั้งสิ้น 12.50 กิโลเมตร ผลความคืบหน้างานก่อสร้างร้อยละ 25 ของแผนฯ


 


 
ส่วนสัญญาที่ 2 ความยาวอุโมงค์ประมาณ 10.47 กิโลเมตร มีผลความคืบหน้างานก่อสร้างร้อยละ 85 ของแผนฯ  อีกด้านหนึ่ง คือโครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 42 ของแผนงาน

ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด สัญญาที่ 1 ความยาวอุโมงค์รวมทั้งสิ้น 13.60  กิโลเมตร มีผลการดำเนินงานคืบหน้าร้อยละ 58 ของแผนงาน ส่วนสัญญาที่ 2 ที่มีความยาวอุโมงค์ประมาณ 12 กิโลเมตร มีผลการดำเนินงานคืบหน้าร้อยละ 22 ของแผนงาน


 
 

 
ทั้งนี้กรมชลประทาน โดยสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้เร่งรัดและติดตามการดำเนินงานก่อสร้างโครงการดังกล่าวทั้ง 4 สัญญาอย่างใกล้ชิด พร้อมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างร่วมกับคณะที่ปรึกษาฯ ซึ่งกำชับให้ผู้รับจ้างรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

หากพบปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง จะได้เร่งวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวเชียงใหม่และลำพูน ที่จะมีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอและยั่งยืนต่อไป



 




 

 



Create Date : 11 เมษายน 2563
Last Update : 11 เมษายน 2563 15:53:52 น.
Counter : 902 Pageviews.

0 comment
แล้งนี้ต้องรอด ! กรมชลบริหารจัดการน้ำเคร่งครัด
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ปัจจุบัน(10 เม.ย. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 37,253 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 13,551 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)

มีปริมาณน้ำรวมกัน 9,065 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 2,369 ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ ปัจจุบัน (10 เม.ย. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 15,169 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 86 ของแผนจัดสรรน้ำฯ เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 4,072 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนจัดสรรน้ำฯ ที่วางไว้

 
 

 
ทั้งนี้จากสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ กรมชลประทาน ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งรวม 50 จังหวัด 145 อำเภอ 229 ตำบล 483 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยมีพื้นที่ขาดแคลนน้ำด้านการอุปโภคบริโภค จำนวน 55 แห่ง

ส่วนพื้นที่เกษตรที่ขาดแคลนน้ำมีจำนวน 49 แห่ง กรมชลประทาน ได้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ จำนวน 58 คัน (รวมปริมาณน้ำสะสมประมาณ 14 ล้านลิตร) เครื่องสูบน้ำ จำนวน 322 เครื่อง (รวมปริมาณน้ำสะสมประมาณ 81 ล้าน ลบ.ม.) เครื่องจักรสนับสนุนอื่นๆ จำนวน 134 หน่วย นอกจากนี้ ยังดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำดิบสำหรับผลิตประปาอีก 37 แห่ง 


 
 

 
อย่างไรก็ตามชลประทาน จะดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมจัดสรรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีน้ำกินน้ำใช้เพียงพอ

อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าให้มากที่สุดด้วย หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือเรื่องน้ำ สามารถประสานไปยังโครงการชลประทานใกล้บ้านได้ตลอดเวลา หรือโทร.สายด่วนกรมชลประทาน 1460




 





 



Create Date : 10 เมษายน 2563
Last Update : 10 เมษายน 2563 16:31:35 น.
Counter : 585 Pageviews.

0 comment
เตรียมรับมือพายุฤดูร้อนทางตอนบนของประเทศ
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ VDO Conference ไปยังผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมไปถึงสำนักงานชลประทานเครือข่าย SWOC ทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำจากพื้นที่ต่างๆ ในช่วงฤดูแล้ง พร้อมวางแผนรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้
 
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 9 - 10 เม.ย. 63 ว่า หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



 



 
ภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนในวันที่ 12 - 15 เม.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น นั้น

​ขณะที่สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(7เม.ย.63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 37,556 ล้าน ลบ.ม. (49 % ของความจุอ่างฯ) มีปริมาณน้ำใช้การได้ 13,852 ล้าน ลบ.ม. ส่วนสถานการณ์น้ำ ใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 9,130 ล้าน ลบ.ม. (37 % ของความจุอ่างฯ) มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 2,434 ล้าน ลบ.ม.

ส่วนผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ ปัจจุบัน (7 เม.ย. 63) มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้วประมาณ 14,882 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 17,699 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 83 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา  มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้วประมาณ 3,994 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 4,500 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 88 ของแผนฯ 
 
ทั้งนี้กรมชลประทานได้ เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทุกแห่ง บริหารจัดการน้ำตามความเหมาะสม ให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึงจนสิ้นสุดฤดูแล้งนี้ อีกทั้ง ให้เตรียมแผนการบริหารจัดการน้ำหากมีฝนตกในพื้นที่ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในระยะนี้ไปจนถึงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงด้วย เบื้องต้นจากการจำลองแผนการบริหารจัดการน้ำ


 



 
คาดว่าสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปีนี้มีแนวโน้มคล้ายกับปี 2538 ที่มีฝนตกทางตอนบนค่อนข้างมาก รวมทั้ง เตรียมความพร้อมอาคารชลประทาน ทางระบายน้ำ แก้มลิงที่จะใช้เป็นพื้นที่รับน้ำหลาก การตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำและเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ตลอดเวลา


 



 



Create Date : 07 เมษายน 2563
Last Update : 7 เมษายน 2563 20:03:02 น.
Counter : 602 Pageviews.

0 comment
ไม่จริง อย่าแชร์ข่าวเก่า น้ำท่วมซ้ำรอยปี’54
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติชี้ยังไม่พบสัญญาณจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยปี’54  วอนหยุดแชร์กรณีนักวิชาการให้สัมภาษณ์เป็นข่าวเก่า ป้องกันสังคมเกิดความสับสน

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวการให้สัมภาษณ์ของนักวิชาการเมื่อปี 2558 ที่ระบุว่าในปี 2563 จะเกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 ที่ผ่านมา และมีการส่งต่อกันในโลกโซเชียลมีเดียซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนกได้นั้น

คณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มีการติดตามสภาพอากาศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพอากาศ แนวโน้มการก่อตัวของพายุอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)  

ซึ่งได้ประเมินวิเคราะห์ร่วมกัน จึงขอชี้แจงใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศล่วงหน้าและระยะยาวถึง 5 ปี (ปี 2558 - 2563) ดังนั้น จะมีความคลาดเคลื่อนสูง 2.ในปี 2554 เป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญากำลังแรง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งให้เกิดฝนตกหนัก แต่ในปี 2563 ยังไม่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาแต่อย่างใด

3.จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนล่วงหน้า  3 เดือน ช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. 63 จะมีฝนตกต่ำกว่าค่าปกติ 5% ยกเว้นภาคใต้ ส่วนเดือน ส.ค. - ต.ค.63 จะมีฝนตกเพิ่มขึ้น 4.เมื่อเปรียบเทียบสภาพฝนตกปี 2554 กับ ปี 2563 จะพบว่า ใน ปี 2554 ฝนเริ่มตกตั้งแต่ปลายเดือน เมษายน และเกิดฝนตกหนักในประเทศไทยซึ่งเริ่มตกตั้งแต่ภาคเหนือ



 
Image preview


 
โดยมีฝนมากกว่าค่าปกติเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ประกอบกับมีพายุเข้าประเทศไทยโดยตรง 1 ลูก ขณะที่พายุอีก 4 ลูกมีอิทธิพลทำให้ฝนตกหนักเพิ่มขึ้นเท่านั้น ส่วนปัจจุบันจากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสสน. ยังไม่พบสัญญาณการเกิดฝนที่จะตกหนักตั้งแต่ต้นฤดูฝน รวมไปถึงในปี 2554 ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำเก็บกับต้นฤดูฝน มีปริมาณน้ำมากกว่า 50% แต่ปี 2563 น้อยกว่า 30%

โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ปัจจุบันมีช่องว่างรองรับน้ำอยู่มากถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากมีฝนตกแบบปี 2554 แหล่งน้ำต่างๆ จะสามารถเก็บกักปริมาณน้ำฝนที่ตกได้ ดังนั้น โอกาสเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมแบบปี 2554 หรือเหตุบ่งชี้ที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงน้ำท่วมจะเท่ากับปี 2554 นั้นจึงไม่มีความเป็นไปได้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จะประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะทำงานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ในการติดตามสภาพอากาศเป็นระยะๆ และประเมินแนวโน้มสถานการณ์น้ำ ปริมาณฝน พายุ

รวมถึงแผนบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ ใกล้ชิด มีการเตรียมการรับมือล่วงหน้า และแจ้งเตือนหน่วยงานเกี่ยวข้อง และประชาชน หากมีแนวโน้มของสภาพอากาศที่จะส่งผลกระทบในบริเวณกว้างโดยทันที




 



 

 



Create Date : 06 เมษายน 2563
Last Update : 6 เมษายน 2563 16:05:17 น.
Counter : 787 Pageviews.

0 comment
ผนึกทุกหน่วยงานแก้ภัยแล้งทั่วประเทศเหลือน้ำใช้การได้ 37%
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ครั้งที่ 3/2563 ว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(13 ก.พ. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 43,251 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 19,457 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 37 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 10,223 ล้าน ลบ.ม.

คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 3,527 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของปริมาณน้ำใช้การได้ สำหรับผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562 ทั้งประเทศ ล่าสุด(12 ก.พ. 63) มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 9,278 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 2,646 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของแผนฯ


 



 
กรมชลประทานดำเนินการจัดการคุณภาพน้ำ ด้วยมาตรการตรวจสอบประสิทธิภาพการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาช่วยลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยวิธีการหา Water Footprint Water Footprint โดยการเก็บตัวอย่างน้ำในช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนสูงสุด (เดือนละ 2 ครั้ง)

จากนั้นส่งตัวอย่างน้ำเข้า Lab เพื่อวิเคราะห์ไอโซโทป นำผลมาวิเคราะห์ Water Footprint Water ปัจจุบัน (13 ก.พ. 63) แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี และท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนแม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก คุณภาพน้ำอยู่ในค่าปกติเช่นกัน



 



 
สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ปัจจุบันจังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 จํานวน 21 จังหวัด

ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และชัยภูมิ รวมทั้งสิ้น 127 อำเภอ 674 ตำบล 3 เทศบาล 5,809 หมู่บ้าน/ชุมชน (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 12 ก.พ.63)

โดยกรมชลประทานได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือ พร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ ทั้งเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ ไว้พร้อมสำหรับเข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่ รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในแต่ละพื้นที่ และเคร่งครัดในการปฏิบัติตามแผนของการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 62/63 ของกรมชลประทาน ตลอดจนทำงานบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้งให้ได้มากที่สุด





 




 



Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2563
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2563 19:01:45 น.
Counter : 685 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments