All Blog
กอนช.เตรียมพร้อมรับมืออากาศแปรปรวน
กอนช. มั่นใจการคาดการณ์ปริมาณฝนช่วงน้ำหลาก ยังต่ำกว่าค่าปกติ และแหล่งน้ำยังสามารถเก็บน้ำได้อีกจำนวนมาก ตลอดจนการเตรียมพร้อม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนของรัฐบาล จะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 อย่างแน่นอน

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยถึงกรณีสภาพอากาศปรวนปรวน มีฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นในช่วงต้นเดือนเม.ย.65 ที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์คล้ายคลึงกับเมื่อปี 54 จนทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานกาณ์น้ำในช่วงฤดูฝนที่กำลังมาถึง อาจซ้ำรอยมหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในปี 54






 






 
ในประเด็นดังกล่าว กอนช. ได้ติดตามสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องพบว่า อากาศค่อนข้างแปรปรวนตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.65 มีปริมาณฝนตกมากกว่าค่าปกติ 107% เช่นเดียวกับปริมาณฝนในช่วงเดือนเม.ย.65 และมิ.ย.65  ที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ปริมาณฝนจะตกมากกว่าค่าปกติ สำหรับเดือนพ.ค.65 และช่วงเดือนก.ค.-ก.ย.65 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปี 54 คาดการณ์ปริมาณฝนจะตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และน้อยกว่าปริมาณฝนที่ตกในปี 54 อีกด้วย    

ส่วนปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ช่วงต้นเดือนเม.ย.65 มีปริมาณ 58,525 ล้าน ลบ.ม. หรือ 62 % ของปริมาณการกักเก็บ สามารถรองรับน้ำหลากได้อีกถึง 28,000 ล้าน ลบ.ม. โดยเฉพาะในลุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำมูล และลุ่มน้ำชี






 







 
รวมถึงแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการเตรียมการขุดลอกเพื่อรองรับน้ำหลาก และแหล่งน้ำที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมในช่วงปี 63-64  ที่ได้รับการสนับสนุนงบกลางจากรัฐบาลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 2.6 หมื่นแห่ง ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเก็บกักน้ำฝนชะลอน้ำหลากได้อีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากพิจารณาจากปริมาณฝนที่จะตก และขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว สถานการณ์น้ำในปีนี้จะไม่ซ้ำรอยหรือเกิดวิกฤตเหมือนปี 54 อย่างแน่นอน

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่แปรปรวน คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้นำบทเรียนจากฤดูฝนปีที่ผ่านมา มาปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมได้เห็นชอบ 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565  และเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ประกอบด้วย 10 มาตรการเดิมที่ดำเนินการในปี 2564 และได้เพิ่มเติมอีก  3 มาตรการจากที่ได้มีการทบทวนบทเรียนเพื่อปิดช่องโหว่ในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ






 






 
รวมถึงลดผลกระทบกับประชาชนได้ดีมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การตรวจความมั่นคงปลอดภัยคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ โดยให้มีการสำรวจซ่อมแซมคั้นกั้นน้ำ พนังป้องกันน้ำท่วมให้มีความพร้อมใช้งานทั้งช่วงก่อนและระหว่างน้ำหลาก เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์คั้นหรือผนังวิบัติสร้างความเสียหายแก่ชุมชน การจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วม และการตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย

สทนช.ได้หารือร่วมกับหน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องภายใต้ กอนช.ร่วมกันทบทวนบทเรียนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนในปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงแนวการบริหารจัดการรับมือปีนี้ทั้งมาตรการเดิมทำให้หน่วยงานต่างๆ เข้าไปป้องกันผลกระทบล่วงหน้าและเกิดประโยชน์กับประชาชน อาทิ คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง ปรับปรุงเกณณ์การบริหารจัดการน้ำเขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนระบายน้ำ เตรียมเครื่องจักรเครื่องและมีการกำหนดเกณฑ์ค่าชดเชยค่าเสียหายในการผันน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อลดผลกระทบน้ำท่วม      

ขณะนี้อยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ลุ่มน้ำ ทั้งนี้ สทนช.จะบูรณาการและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งรัดการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องตาม   13 มาตรการดังกล่าว ให้แล้วเสร็จก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนปี 65 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า สถานการณ์น้ำปีนี้จะไม่รุนแรงเหมือนปี 2554 อย่างแน่นอน

 



 




 


 



Create Date : 10 เมษายน 2565
Last Update : 10 เมษายน 2565 18:09:52 น.
Counter : 498 Pageviews.

0 comment
เตรียมปล่อยน้ำลุ่มเจ้าพระยา 15 เม.ย. นี้
“เฉลิมชัย” เผยกรมชลประทานจะส่งน้ำให้เกษตรกรพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา 10 ทุ่งในวันที่ 15 เม.ย. นี้ ตามแผนปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าว เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันก่อนถึงช่วงน้ำหลาก 

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมชลประทานจะส่งน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำทั้ง 10 ทุ่งของลุ่มเจ้าพระยาทำนาปีได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 65 ตามแผนปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าว เกษตรกรสามารถเริ่มเพาะปลูกข้าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ก่อนฤดูฝนซึ่งปกติเริ่มกลางเดือนพ.ค. ซึ่งจะทำให้เก็บเกี่ยวประมาณต้นเดือน ก.ย. ทันก่อนน้ำหลาก





 






 
จากนั้นใช้พื้นที่ลุ่มต่ำช่วยรับน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างซึ่งจังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ชลประทาน 668,201 ล้านไร่ หรือประมาณ 24% ของพื้นที่การเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะรับน้ำจากคลองชัยนาท – ป่าสักเป็นหลัก โดยในจำนวนนี้จะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ 3 ทุ่ง พื้นที่ชลประทาน 132,884 ไร่ ได้แก่ ทุ่งท่าวุ้ง อ.ท่าวุ้ง 56,517 ไร่ ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท – ป่าสัก อ.บ้านหมี่ 72,680 ไร่ และ 3) ทุ่งบางกุ่ม (บางส่วน) อ.เมืองลพบุรี 3,687 ไร่ 

สำหรับวันนี้มาติดตามการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสักและเยี่ยมเยียนเกษตรกรในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีซึ่งเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว 75% เนื้อที่ 1,800 ไร่จากทั้งหมด 2,400 ไร่ โดยตั้งใจมาพูดคุยกับเกษตรกรและขอบคุณที่เสียสละพื้นที่ในการเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับคนอีกจำนวนมากเพื่อบรรเทาอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และส่วนราชการทุกภาคส่วนที่ทำงานแบบบูรณาการร่วมกันจนทำให้ไม่เกิดความเสียหาย 





 






 
นอกจากนี้มอบหมายกรมชลประทานในการบริหารจัดการน้ำทั้งหน้าแล้งและหน้าฝน โดยในหน้าแล้งที่ผ่านมาได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้อำนวยความสะดวก ส่งน้ำให้เกษตรกรทำนาปรัง ส่วนฤดูฝนนี้ ได้มอบให้กรมชลประทานเตรียมวางแผนการเก็บกักน้ำฝนและการระบายน้ำเพื่อให้พื้นที่ของเกษตรกรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท – ป่าสัก ลาดเทเข้าหาตัวคลองชัยนาท – ป่าสัก ดังนั้นในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีน้ำป่าจากพื้นที่ตอนบนได้แก่ พื้นที่ อ.โคกเจริญ สระโบสถ์ หนองม่วง และโคกสำโรงไหลลงมาปะทะแนวคันคลองชัยนาท – ป่าสักและเกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรในเขต อ.บ้านหมี่ซ้ำซากอยู่เป็นประจำทุกปีเพราะต่ำกว่าบริเวณอื่นและไม่สามารถระบายน้ำท่วมขังลงคลองชัยนาท – ป่าสักได้เนื่องจากช่วงระยะเวลาดังกล่าวคลองชัยนาท – ป่าสักต้องรับน้ำจาก แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลเข้ามาสมทบเกือบตลอดเวลา






 






 
ส่วนในการแก้ปัญหาที่ผ่านมากรมชลประทานได้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำริมคลองฝั่งซ้ายของคลองชัยนาท – ป่าสัก เมื่อปี พ.ศ. 2555 – 2556 เพื่อสูบระบายน้ำท่วมขังลงสู่คลองชัยนาท – ป่าสัก 16 สถานี สามารถระบายน้ำได้วันละ 7.430 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงการปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวนาปีของพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งฝั่งซ้ายของคลองชัยนาท – ป่าสัก 72,680 ไร่ โดยส่งน้ำให้เกษตรกรทำนาปีตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เพื่อให้ทันเก็บเกี่ยวต้นเดือน ก.ย. ของทุกปี จากนั้นจะใช้ทุ่งดังกล่าวรับน้ำหลากที่ไหลลงมาจากพื้นที่ตอนบนในลักษณะแก้มลิงธรรมชาติ พื้นที่ 72,680 ไร่ ตัดยอดน้ำหลาก 116 ล้าน ลบ.ม.

ขณะเดียวกันยังจัดจราจรน้ำในคลองชัยนาท – ป่าสักให้สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาที่น้ำป่าไหลหลากลงมาและเร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ตอนบนได้แก่ ก่อสร้างแก้มลิงและอ่างเก็บน้ำ เพื่อตัดยอดน้ำหลากที่จะไหลหลากลงมาและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

ส่วนแผนระยะยาวจะเร่งรัดการดำเนินงานโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท – ป่าสักให้สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 930 ลบ.ม./วินาที เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ฝั่งซ้ายของคลองชัยนาท – ป่าสัก และขณะนี้เหลือเวลาประมาณ 5 สัปดาห์จะเข้าสู่ฤดูฝน สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศเตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือและกำลังคนไว้พร้อมสำหรับปฏิบัติงานตามแผนบริหารจัดน้ำประจำปีแล้ว





 




 



Create Date : 08 เมษายน 2565
Last Update : 8 เมษายน 2565 11:36:37 น.
Counter : 352 Pageviews.

0 comment
กอนช.เตือนน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก
ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศแจ้งเตือนฉบับที่ 7/2565 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 2 – 4 เมษายน 2565 บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และจากการติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 4 - 7 เมษายน 2565 พบว่าอิทธิพลของลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง





 







 

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ประกอบกับปัจจุบันในพื้นที่ภาคใต้ มีฝนตกหนักสะสม 3 วัน มากกว่า 150 มิลลิเมตร ในหลายพื้นที่ จึงขอเน้นย้ำให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส  ในช่วงวันที่ 5 – 8 เมษายน 2565












 
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

2. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาความเหมาะสมในการระบายน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำให้สอดคล้องกับการขึ้น – ลงของระดับน้ำทะเล

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

 



 



 



Create Date : 04 เมษายน 2565
Last Update : 4 เมษายน 2565 20:00:55 น.
Counter : 291 Pageviews.

0 comment
“บิ๊กป้อม”โชว์ผลงานใช้งบกลางด้านน้ำ 2 ปีคุ้มค่า !
รัฐบาลโชว์ผลงานใช้งบกลางในการแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันเพิ่ม แหล่งน้ำแล้วกว่า 2.6 หมื่นแห่งทั่วประเทศ  เก็บน้ำฝนใช้ประโยชน์ช่วงแล้ง 740 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 7.5 ล้านไร่ สร้างความสุขให้ประชาชนกว่า  3.7 ล้านครัวเรือน

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาและบริหารจัดน้ำอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการใช้งบกลางในภาวะที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาเชิงการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง  และคุณภาพน้ำ  





 





 
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการพิจารณาแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานต่างๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนให้กับประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์  ไม่ซ้ำซ้อน และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2564) รัฐบาลสนับสนุนงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น นำมาใช้ในโครงการบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง และป้องกันน้ำท่วม

บูรณาการทุกหน่วยงานด้านน้ำในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ระบบกระจายน้ำเพื่อสนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค รวมถึงการเกษตรครอบคลุมทั่วทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 26,830 แห่ง  เช่น การขุดเจาะบ่อบาดาล แหล่งน้ำสำรองเพื่อผลิตน้ำประปา ก่อสร้างฝายและสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ขุดลอกคลอง และกำจัดวัชพืช เป็นต้น ซึ่งหากโครงการต่างๆ ทั้งหมดแล้วเสร็จจะส่งผลให้เก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้งได้รวม 742 ล้าน ลบ.ม.

ขณะเดียวกัน ยังสามารถนำน้ำบาดาลมาใช้ได้ถึง 91 ล้าน ลบ.ม. และมีน้ำดิบผลิตประปาได้อีก 62 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเกิดประโยชน์โดยตรงกับประชาชนถึง 3.65 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7.5 ล้านไร่





 






 
สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ภายใต้งบกลางปี 2563 มีทั้งสิ้น 20,795 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ  4,388 แห่ง ภาคกลาง 3,504 แห่ง ภาคตะวันออก 1,213 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  9,766 แห่ง และภาคใต้ 1,953 แห่ง  ซึ่งทุกแห่งได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้นเกิดประโยชน์กับประชาชน

ยังเกิดการจ้างแรงงานถึง 184,000 ราย ด้วย  ขณะที่งบกลางปี 2564 มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำรวม 6,035 แห่ง  เน้นดำเนินการเพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกน้อย และความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น จากการอพยพกลับภูมิลำเนาเดิมของประชาชนเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม

เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19  โดยผลดำเนินการล่าสุดแล้วเสร็จ 3,642 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 2,441 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 1,773 แห่ง แล้วเสร็จ 1,047 แห่ง  ภาคกลาง 1,154 แห่ง แล้วเสร็จ 753 แห่ง ภาคตะวันออก 256 แห่ง แล้วเสร็จ 46 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,216 แห่ง แล้วเสร็จ 1,409 แห่ง  และภาคใต้ 685 แห่ง แล้วเสร็จ 387 แห่ง


ได้สั่งการให้ สทนช.ติดตามความก้าวหน้า และเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย  ทั้งนี้เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทุกโครงการ จะปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 39 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำบาดาล 44  ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ประมาณ 3.5 แสนครัวเรือน พื้นที่รับประโยชน์ 455,818 ไร่





 






 
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล  เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  29 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้อนุมัติงบกลางฯ เพื่อพัฒนาโครงการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 รวม 2,525 แห่ง  เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งได้ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มการลงทุนภาครัฐโดยการช่วยกระตุ้นการซื้อวัสดุและจ้างแรงงานคนในท้องถิ่นอีกด้วย

สทนช.ได้รับมอบหมายให้บูรณาการหน่วยงานจัดทำแผนงานหรือโครงการด้านทรัพยากรน้ำต่างๆ ใช้งบกลางในการดำเนินงานด้านทรัพยากรน้ำ พร้อมทั้งดิดตามความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินแผนงานหรือโครงการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย โดยโครงสำคัญๆ ที่ใช้งบกลางมาเร่งรัดดำเนินการให้โครงการต่างๆ เกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น  โครงการสูบกลับคลองสะพาน – อ่างประแสร์ จ.ระยอง

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพน้ำห้วยแม่ประจันต์ จ.เพชรบุรี โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำและระบายน้ำคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 3 และคลองระบายน้ำ D9 พร้อมอาคารประกอบที่ช่วยป้องกันผลกระทบอุทกภัย จ.เพชรบุรี   แบบจำลองกายภาพลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ โครงการจัดหาเครื่องดูดตะกอนดินและเครื่องแยกตะกอนดินเลน เป็นต้น" เลขาธิการ สทนช.กล่าว.


 


 




 



Create Date : 01 เมษายน 2565
Last Update : 1 เมษายน 2565 15:37:53 น.
Counter : 379 Pageviews.

0 comment
เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 7/2565 เรื่อง  เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากเนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย

ด้วยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ ของ กรมอุตุนิยมวิทยา เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งเวียดนามตอนใต้จะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ในช่วงวันที่ 1 - 2 เมษายน 2565 ส่งผลให้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 2 – 4 เมษายน 2565 บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส





 





 
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

2. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาความเหมาะสมในการระบายน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำให้สอดคล้องกับการขึ้น – ลงของระดับน้ำทะเล

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

 



 




 



Create Date : 28 มีนาคม 2565
Last Update : 28 มีนาคม 2565 17:55:19 น.
Counter : 288 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments