All Blog
"กรมชลประทาน"ยืนยันแผ่นดินไหวแม่สรวยไม่กระทบต่อเขื่อน
"กรมชลประทาน"ยืนยันแผ่นดินไหวที่ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ไม่กระทบต่อเขื่อน ย้ำเขื่อนภาคเหนือมีความมั่นคงมีการตรวจสอบต่อเนื่อง

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่อำเภอแม่สราย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 14.36 น. วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.0 ที่ความลึก 8 กิโลเมตร นั้น ซึ่งข้อมูลจากสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวของกรมชลประทาน ในเขตจังหวัดเชียงราย พบความเร่งสูงสุดที่ตรวจวัดได้มีค่าเท่ากับ 0.01323 g ซึ่งความเร่งสูงสุดที่ใช้ในการออกแบบเขื่อนเพื่อรองรับแผ่นดินไหวมีค่า 0.2 g ซึ่งหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว





 






กรมชลประทานได้ทำการตรวจสอบเขื่อนที่อยู่ในความรับผิดชอบทันที ซึ่งได้แก่ เขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง และพบว่าเขื่อนทั้งหมด ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวและยืนยันว่ายังแข็งแรงไม่มีปึญหาแต่อย่างใด




 






กรมชลประทาน โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา จะดำเนินการตรวจสอบติดตามข้อมูลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด ต่อไปเพื่อประเมินเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จะส่งผลกระทบต่อเขื่อนโดยที่ผ่านมาได้ทำการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ท้ายเขื่อน  มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัยแข็งแรงต่อเขื่อนของกรมชลประทาน




 





​​​​​​​



Create Date : 25 พฤษภาคม 2564
Last Update : 25 พฤษภาคม 2564 14:48:42 น.
Counter : 470 Pageviews.

0 comment
"ฝนหลวง"ยับยั้งพายุลูกเห็บสุรินทร์-ศรีสะเกษ
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร่วมกับกองทัพอากาศและกองทัพบก สนับสนุนอากาศยานและกำลังพลในการปฏิบัติการฝนหลวง โดยมีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ทั้ง 13 หน่วยกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนบรรเทาปัญหาภัยแล้ง

รวมไปถึงการรายงานข้อมูลในเรื่องของเงื่อนไขสภาพอากาศ ความชื้นในดิน ตลอดจนข้อมูลสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งเมื่อวานนี้ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.พิษณุโลก ได้ขึ้นบินปฏิบัติฝนหลวงเวลา 14.59 น.

โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บ ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ และ จ.ศรีสะเกษ หลังปฏิบัติการพบว่ามีฝนตกเล็กน้อยบริเวณพื้นที่ จ.สุรินทร์ และ จ.ศรีสะเกษ โดยไม่พบรายงานลูกเห็บตกในพื้นที่ช่วงหลังปฏิบัติการ เวลา 14.59 – 17.59 น. 





 






 
สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวานนี้ ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 11 หน่วยปฏิบัติการ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จ.ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ขอนแก่น หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนจำนวน 3 แห่ง อ่างเก็บน้ำจำนวน 8 แห่ง
                    
นายสุรสีห์ กล่าวว่า ด้านการติดตามสภาพอากาศเพื่อวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงเช้าวันนี้ พบว่า ผลการตรวจสภาพอากาศเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง ในเช้าวันนี้จึงมีการวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการ จำนวน 7 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ได้แก่หน่วยฯ จ.เชียงใหม่ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง





 






หน่วยฯ จ.ตาก ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.ตาก และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพลหน่วยฯ จ.กาญจนบุรี ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ

หน่วยฯ จ.ลพบุรี ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.ชัยนาท จ.สระบุรี จ.อุทัยธานีหน่วยฯ จ.อุดรธานี ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.อุดรธานี จ.สกลนคร จ.กาฬสินธุ์ และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนน้ำอูน เขื่อนลำปาว





 






 
หน่วยฯ จ.อุบลราชธานี ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดกลางจ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.อำนาจเจริญ จ.ยโสธรหน่วยฯ จ.นครราชสีมา ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์

ทั้งนี้ อีก 6 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จะติดตามสภาพอากาศตลอดทั้งวัน หากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง จะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่เป้าหมายทันที พี่น้องเกษตรกรและประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ที่ช่องทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account : @drraa_pr หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100






 

 



Create Date : 21 พฤษภาคม 2564
Last Update : 21 พฤษภาคม 2564 17:13:34 น.
Counter : 466 Pageviews.

0 comment
"กรมชลประทาน"เร่งวางแผนก่อสร้างปตร.ใหม่แก้มลิงหนองแวง
จากกรณีฝายน้ำล้นของแก้มลิงหนองแวง ตำบลคำผง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ ได้ชำรุดเสียหายพังนาน 2 ปี ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้หน้าแล้ง นั้นนายสมชาย  อังศิริลาวัลย์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุรินทร์ ชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้ว่า แก้มลิงหนองแวงเป็นอ่างเก็บน้ำชลประทานขนาดเล็ก รับน้ำจากลำห้วยกู่ ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำค่อนข้างมาก ทำให้ในฤดูฝนมีปริมาณน้ำไหลผ่านในปริมาณมากและไหลแรง

อีกทั้งยังอยู่ติดลำห้วยทับทัน ที่มีระดับน้ำในลำห้วยสูง ประกอบกับสภาพดินในบริเวณนั้นเป็นดินปนทราย ไม่มีความแข็งแรง และตัวฝายมีอายุใช้งานมานานกว่า 35 ปี เป็นเหตุให้ตัวฝายมีการชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา





 






โดยเมื่อปี 2562 โครงการชลประทานสุรินทร์ได้ทำการซ่อมแซมฝายดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่สามารถพร้อมใช้งาน  แต่ในช่วงเดือนกันยายน 2562 ได้เกิดพายุโซนร้อนโพดุล ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก จนทำให้ระดับน้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไหลผ่านตัวฝายในปริมาณมาก

เป็นเหตุให้ฝายได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะด้านท้ายพัดเอาดินใต้ตัวฝายออกไป อีกทั้งในปี 2563 ยังมีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณตัวฝาย จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น





 






 
กรมชลประทาน ได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ด้วยการนำดินไปถมปิดบริเวณที่ตัวฝายพังเสียหาย  เพื่อให้สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 โครงการชลประทานสุรินทร์ ได้มอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ไปชี้แจงทำความเข้าใจกับนายจอมศรี มลัยทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านหนองแวง ตำบลหนองหลวง อำเภอโนนนารายณ์

รวมถึงราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน โดยได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งราษฎรต้องการให้ทำคันดินชั่วคราวพร้อมทั้งใส่ท่อลอดรับน้ำในบริเวณตัวฝายที่พังเสียหาย เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และระบายน้ำได้ในฤดูฝน ซึ่งทางโครงการชลประทานสุรินทร์ อยู่ระหว่างดำเนินการอย่างเร่งด่วนแล้ว 






 






 
สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โครงการชลประทานสุรินทร์ได้ประสานกับโครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 8 เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขและจัดทำแผนเสนองบประมาณก่อสร้างประตูระบายน้ำ “โครงการฝายบ้านน้อยขยูง” เพื่อกักเก็บน้ำในบริเวณแก้มลิงบ้านหนองแวง ขณะนี้โครงการฯอยู่ในแผนงานก่อสร้างปีงบประมาณ 2565 แล้ว ซึ่งกรมชลประทานจะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนโดยเร็วต่อไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน




 



Create Date : 21 พฤษภาคม 2564
Last Update : 21 พฤษภาคม 2564 16:34:58 น.
Counter : 634 Pageviews.

0 comment
"กรมชลฯ"ร่วมบูรณาการรับมือฤดูฝนตามนโยบายกอนช.
"กรมชลประทาน"ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงหน่วยงานส่วนกลางและระดับพื้นที่ทั่วประเทศ ขับเคลื่อน 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 “บูรณาการเชื่อมโยงจัดการน้ำทั่วไทยด้วย 10 มาตรการรับมือฝน 64” โดยมี นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

เพื่อนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของการจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 63/64 และความพร้อมดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือช่วงฤดูฝนปี 64 รวมถึงหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ ว่า สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (18 พ.ค. 64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 35,953 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำใช้การ 12,024 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 มากกว่าปีที่แล้ว 1,661 ล้าน ลบ.ม. ยังสามารถรับน้ำได้อีก 40,114  ล้าน ลบ.ม.





 






 
สำหรับมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 ในส่วนของกรมชลประทาน ได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อรองรับน้ำหลาก โดยการจัดสรรน้ำในต้นฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2564 รวมทั้งสิ้น 1,900 ล้าน ลบ.ม.

แบ่งเป็น น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ พืชต่อเนื่อง 1,655 ล้าน ลบ.ม. และจัดสรรน้ำให้พื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำอีก 245 ล้าน ลบ.ม. จนถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2564 ก่อนจะใช้พื้นที่ทุ่งบางระกำเป็นพื้นที่รับน้ำหลากได้ประมาณ 400 ล้าน ลบ.ม.

ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา การทำนาปีได้เน้นย้ำให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก หากมีฝนที่ตกสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ลุ่มต่ำอีกหลายแห่งที่จะใช้เป็นพื้นที่รับน้ำนอง ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากทุกภาคส่วนแล้ว อาทิ ทุ่งบางพลวง จ.ปราจีนบุรี ทุ่งลุ่มน้ำยัง จ.ร้อยเอ็ด ทุ่งประตูระบายน้ำบ้านยางซ้ายและทุ่งปากพระ จ.สุโขทัย และทุ่งทรายทองวัฒนา จ.กำแพงเพชร เป็นต้น  

นอกจากนี้ กรมชลประทานได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมทั้งเขื่อนระบายน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน ช่วยลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำให้มากที่สุด และเตรียมการในการรับมือในกรณีน้ำหลาก





 






รวมถึงกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการภายใต้ กนช.สำหรับมาตรการซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตร นั้น กรมชลประทานได้รับการจัดสรรงบประมาณตาม พ.ร.บ. 2564 เพื่อดำเนินการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงการชลประทานจำนวน 5,721 รายการ งบประมาณ 13,538 ล้านบาท

โดยทุกรายการจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2564 ทั้งนี้ หากเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถบริหารจัดการน้ำในฤดูน้ำหลากได้เต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีกประมาณ 835,337 ไร่


 
 
 
 






 



Create Date : 19 พฤษภาคม 2564
Last Update : 19 พฤษภาคม 2564 19:23:26 น.
Counter : 653 Pageviews.

0 comment
เกษตรกรทำนาปีได้เลย !! "กรมชลประทาน"ย้ำจัดการน้ำเต็มศักยภาพ
"กรมชลประทาน"ย้ำพร้อมบริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รณรงค์ให้เกษตรกรทำนาปีและปลูกพืชฤดูฝนพร้อมกัน ให้ทันเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนน้ำหลากจะมา ลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย ตามนโยบายของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนปี 2564 อย่างเป็นทางการไปแล้ว นั้น โดยคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 5-10  ประกอบกับหลายพื้นที่มีปริมาณฝนเพียงพอสำหรับการทำนาปีแล้ว

จึงได้สั่งการไปยังโครงการชลประทานทุกแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ให้ประสานจังหวัดเพื่อประชาสัมพันธ์ไปยังเกษตรกรในพื้นที่ ให้เริ่มทำนาปีหรือเพาะปลูกพืชพร้อมกันโดยให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งในปีนี้ได้วางแผนเพาะปลูกพืชทั้งประเทศรวม 16.65 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีแผนเพาะปลูกพืช 7.97 ล้านไร่





 






 
ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกพืชไปแล้วประมาณ 543,725 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของแผนฯ ทั้งนี้ จะรณรงค์ให้เกษตรกรที่พร้อมทำนาปี เร่งเพาะปลูกเพื่อให้เก็บเกี่ยวแล้วเสร็จทั้งหมดก่อนฤดูน้ำหลากในช่วงเดือนตุลาคม เป็นการลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย

ทั้งยังสามารถใช้พื้นที่ที่เก็บเกี่ยวแล้วเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ หรือตัดยอดน้ำจากทางตอนบน ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำหลากที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชนเมือง ได้กำชับให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ บริหารจัดการน้ำตามมาตรการที่วางไว้ ด้วยการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี วางแผนการปลูกพืชโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก





 






 
เน้นย้ำบริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่ากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งเก็บกักน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ควบคู่ไปกับการวางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย การกำหนดพื้นที่เสี่ยง กำหนดเจ้าหน้าที่ กำหนดเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าไปประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

กรมชลประทาน จะเฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมบริหารจัดการน้ำในทุกช่วงเวลาให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด หากหน่วยงานหรือประชาชนท่านใดต้องการความช่วยเหลือ สามารถร้องขอไปได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร 1460 สายด่วนกรมชลประทาน ได้ตลอดเวลา





 




 



Create Date : 18 พฤษภาคม 2564
Last Update : 18 พฤษภาคม 2564 18:58:13 น.
Counter : 404 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments