All Blog
เตือน !! 14 เขื่อนน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30%
สทนช.เตือนเขื่อนใหญ่ – กลาง 105 แห่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย วอนทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้ามาตรการลดผลกระทบประชาชน พร้อมย้ำ 3 หน่วยหลักคุมแผนจัดสรรน้ำลุ่มเจ้าพระยา – โขง ชี มูล หวั่นปริมาณน้ำลากยาวไม่ถึงสิ้นแล้ง

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมทั้งประเทศขณะนี้ว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 49,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% เป็นปริมาณน้ำใช้การ 25,714 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44


 




 
โดยล่าสุดมีเขื่อนขนาดใหญ่ 14 แห่งที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30%  ได้แก่ เขื่อนแม่กวง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนหนองปลาไหล ขณะที่แหล่งน้ำขนาดกลาง 354 แห่ง จากทั้งหมด 660 แห่งที่มีระบบติดตามได้ พบว่า อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อยจำนวน 91 แห่ง

แบ่งเป็น ภาคเหนือ 29 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 10 แห่ง ภาคตะวันตก 2 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้มีการปรับแผนการดำเนินงาน โดยใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานในการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานที่สามารถเร่งรัดดำเนินการได้ทันทีภายในระยะ 1 – 2 เดือนนี้



 




 
ขณะเดียวกัน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เป็นไปตามแผน และไม่ส่งผลกระทบกับแผนการจัดสรรน้ำตลอดฤดูแล้ง สทนช.ได้มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบแผนและผลการจัดสรรน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำและสอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ได้แก่ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการปรับแผนจัดสรรน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่-กลางแล้ว 25 แห่ง แบ่งเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันตก 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องประหยัดน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้  



 




 
จากการติดตามแผน-ผลการจัดสรรน้ำสะสมรายวัน (1 พ.ย.62 – 2 ม.ค.63 ) ในลุ่มน้ำสำคัญ 4 ลุ่มน้ำ พบว่า มี 2 ลุ่มน้ำที่มีการจัดสรรน้ำเกินแผน ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (4 เขื่อนหลัก) จัดสรรน้ำแล้ว 1,398 ล้าน ลบ.ม. จากแผนจัดสรรน้ำ 1,268 ล้าน ลบ.ม. เกินแผน 130 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำ โขง ชี มูล จัดสรรน้ำแล้ว 385 ล้าน ลบ.ม. จากแผน 379 ล้าน ลบ.ม.  เกินแผน 6 ล้าน ลบ.ม.

ขณะที่ลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำภาคตะวันออก (EEC) แม้ยังมีการจัดสรรน้ำน้อยกว่าแผน แต่คาดว่ามีแนวโน้มจะจัดสรรน้ำเกินแผน ดังนั้น สทนช.ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานคำนึงถึงลำดับความสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ เป็นหลัก โดยเฉพาะการรักษาคุณภาพน้ำ



 




 
ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ค่าความเค็มน้ำด้านอุปโภค บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึงสถานีสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด  ขณะที่คุณภาพน้ำด้านการเกษตร แม่น้ำแม่กลอง และเพชรบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำท่าจีน บางปะกง อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันผลกระทบพื้นที่เกษตรในพื้นที่ด้วย

อย่างไรก็ตาม สทนช.จะบูรณาการการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาแล้งของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นผู้บัญชาการ เพื่อติดตามผลการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของทุกหน่วยงานแบบเบ็ดเสร็จ  เพื่อติดตามประเมินสถานการณ์ ผลกระทบรายพื้นที่ รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด








 








 



Create Date : 03 มกราคม 2563
Last Update : 3 มกราคม 2563 21:04:42 น.
Counter : 798 Pageviews.

0 comment
กรมชลฯเร่งผันน้ำแม่กลอง ไล่น้ำเค็มรุกแม่น้ำเจ้าพระยา
นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าจากปรากฎการณ์น้ำทะเลหนุนสูงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าเกณฑ์  ทั้งนี้หากค่าความเค็มสูงมากจะทำให้ความสมดุลของระบบนิเวศในแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับความเสียหาย ไม่สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้  มีความห่วงใยประชาชน จึงหมอบหมายให้ นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นผู้ประสานและติดตามการดำเนินการตามมาตราการควบคุมค่าความเค็ม ให้คุณภาพน้ำกลับเป็นปกติโดยเร็วที่สุด

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่าจากการลงพื้นที่ติดตามมาตราการควบคุมค่าความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บริเวณประตูระบายน้ำบางสาม ในแม่น้ำท่าจีน พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี ว่า ล่าสุดค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ อยู่ที่0.18 กรัม/ลิตร

ส่วนบริเวณท่าน้ำนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และท่าน้ำนนทบุรี 2.80 กรัมต่อลิตร สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าน้ำกรมชลประทานสามเสน กรุงเทพฯพบค่าความเค็มยังคงสูงกว่าเกณฑ์ 4.13 กรัม/ลิตร สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานในส่วนของมาตรการควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยค่าความเค็มของน้ําสําหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร  และค่าความเค็มของน้ําสําหรับการผลิตน้ําประปาไมเกิน/ 0.25 



 



 
กรมชลประทาน ได้ดำเนินการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง ลงคลองจระเข้สามพันเชื่อมคลองสองพี่น้อง ลงสู่แม่น้ำท่าจีน จากนั้น จะสูบน้ำเข้าสู่คลองพระยาบรรลือ ด้วยเครื่องสูบน้ำ จำนวน 10 เครื่อง ที่ประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ พร้อมกับเร่งผลักดันน้ำ โดยเครื่องผลักดันน้ำที่ติดตั้งไว้ในคลองพระยาบรรลือ จำนวน 6 เครื่อง บริเวณอำเภอลาดบัวหลวง เพื่อเร่งผลักดันน้ำ ไปให้เครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง ที่ประตูระบายน้ำสิงหนาท 2 สูบต่อลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อควบคุมความเค็มไม่ให้รุกล้ำเข้าไปพื้นที่ตอนบน เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูง ส่วนด้านท้ายน้ำ ได้ดำเนินการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองผ่านคลองท่าสาร-บางปลา ลงสู่แม่น้ำท่าจีน เพื่อควบคุมความเค็มไม่ให้รุกล้ำขึ้นไปในพื้นที่ตอนบนเช่นกัน

นอกจากนี้ กรมชลประทาน โดยสำนักเครื่องจักรกล และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต ร่วมกันติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 4 เครื่อง บริเวณประตูระบายน้ำบางขนาก เพื่อผลักดันน้ำจืดจากแม่น้ำบางปะกงเข้าคลองบางขนาก ในช่วงที่ค่าความเค็มต่ำหรือช่วงน้ำทะเลลง เพื่อให้ประชาชนที่ใช้น้ำจากคลองบางขนาก สามารถนำน้ำไปใช้ในอุปโภคบริโภค และยังเป็นการรักษาระบบนิเวศในคลอง  บางขนากอีกด้วย





 






 



Create Date : 17 ธันวาคม 2562
Last Update : 17 ธันวาคม 2562 8:16:12 น.
Counter : 664 Pageviews.

1 comment
แล้งยังวิกฤติเขื่อนทั่วประเทศรับน้ำได้อีก4หมื่นกว่าล้านลบ.ม.
แล้งยังวิกฤติเขื่อนทั่วประเทศรับน้ำได้อีก4หมื่นกว่าล้านลบ.ม.

ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่ารายงานล่าสุด เมื่อเวลา 11:50 ศูนย์กลาง พายุ วิภา เข้ามา ประเทศไทย ที่ อ.แม่จริม จ.น่าน แล้ว รวมทั้งที่ผ่านมาอิทธิพลของพายุ ได้ส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนใหญ่35แห่งทั่วประเทศกว่า 189ล้านลบ.ม.(3ส.ค.) และ155ล้านลบ.ม.(2 ส.ค.)129ล้านลบ.ม.(1ส.ค.) 56ล้านลบ.ม.(31ก.ค.) รวม 530ล้านลบ.ม.

“พายุ วิภา เข้าไทย จะส่งผลดีแก้ภัยแล้ง ช่วยพื้นที่เกษตรจำนวนมากที่กำลังรอฝน เติมน้ำเขื่อนใหญ่และเขื่อนขนาดกลา 447แห่งทั่วประเทศ ได้มีน้ำทุกกิจกรรม โดยเขื่อนรับน้ำได้อีกกว่า4หมื่นล้านลบ.ม.“นายทองเปลว กล่าว
 


 





















 



Create Date : 05 สิงหาคม 2562
Last Update : 5 สิงหาคม 2562 9:06:12 น.
Counter : 701 Pageviews.

0 comment
ดึงเทคโนโลยี"อียู"บริหารจัดการน้ำ
"สทนช."ถกบัวแก้วเล็งดึงเทคโนโลยี อียู ปรับระบบป้องกันน้ำท่วม จัดการอุทกภัย พื้นที่แก้มลิงทั้งบนดินและใต้ดินใช้ในไทย หวังแก้น้ำท่วม กทม.แบบเบ็ดเสร็จ

NB140นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช.ได้หารือร่วมกับ นายศศิวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์ อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางผลักดันกรอบความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU)

ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การติดตามพยากรณ์ฝน อากาศ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบบประมวลผลที่แม่นยำ รวมถึงโครงสร้างในการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขน้ำท่วม น้ำแล้งอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย
 
NB140โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครแบบเบ็ดเสร็จ โดยเบื้องต้นกรมยุโรป พร้อมสนับสนุนและอำนวยการในเรื่องการทำบันทึกความเข้าใจระหว่าง สทนช. กับประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปภายใต้ความร่วมมือแบบทวิภาคี ซึ่ง สทนช. ได้มอบหมายให้กองการต่างประเทศ

 


 
ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นใหม่ที่มีภารกิจในการจัดทำความตกลงด้านทรัพยากรน้ำกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ตามร่างกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ...... เป็นหน่วยประสานงานหลักกับกรมยุโรป เพื่อพิจารณาหารือในรายละเอียดก่อนเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และนายกรัฐมนตรีต่อไป

NB140สำหรับเทคโนโลยีด้านน้ำที่ประเทศไทยให้ความสนใจจากกลุ่มประเทศอียูซึ่งมีความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ 1.ระบบการติดตามพยากรณ์สถานการณ์ฝน น้ำท่วม พื้นที่เสี่ยง การจัดทำฐานข้อมูลระบบน้ำ

 2. เครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ในโครงข่ายระบบส่งและระบายน้ำ กำแพงป้องกันตลิ่งทั้งแบบถาวรและถอดประกอบ การพัฒนาระบบท่อระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ รวมถึงคู คลอง เพื่อผันน้ำลงสู่แม่ให้เร็วขึ้น 3.ระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันอุทกภัย อาทิ พื้นที่ซับน้ำในพื้นที่เมือง เทคโนโลยีการจัดการพื้นที่แก้มลิงทั้งผิวดินและน้ำใต้ดิน ตามแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ความเสี่ยงและการปรับปรุงแม่น้ำ เพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัย การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย เป็นต้น


 


 
NB140การนำเอานวัตกรรม เทคโนโลยีที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างและหลากหลายมาแลกเปลี่ยนความร่วมมือผ่านเอ็มโอยูระหว่างกันในรูปแบบทวิภาคี จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านน้ำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาในกรุงเทพฯ เขตชุมชนเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น สทนช.จะมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยน หารือ กรอบแนวทางความร่วมมือในโครงการที่ประเทศไทยมีความต้องการและจำเป็น และสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานปฏิบัติที่รับผิดชอบงานด้านน้ำในแต่ละด้านนำไปปรับใช้ 


NB140โดยพิจารณาคัดเลือกเทคโนโลยีจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาใกล้เคียงกับที่ประเทศไทยประสบอยู่ และมีกรณีศึกษาให้ไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม


 





 

 



Create Date : 30 มิถุนายน 2562
Last Update : 30 มิถุนายน 2562 13:51:03 น.
Counter : 718 Pageviews.

0 comment
อากาศแปรปรวนหวั่นฝนทิ้งช่วงเตือนใช้น้ำประหยัด
กรมชลฯเร่งช่วยเหลือภัยแล้งพื้นที่แปลงอพยพท้ายเขื่อนสิริกิติ์ ฝนตกน้อยด้านเหนือเขื่อน ส่งผลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างน้อยมาก ระดับน้ำในเขื่อนลด กระทบราษฎร ร่วมกฟผ. ระดมเครื่องสูบน้ำวยเร่งด่วน

NB128นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าสถานการณ์น้ำในเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ อยู่ในเกณฑ์น้อย จากสภาพฝนทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก

โดยปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำในอ่างฯเพียง 3,710 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ และมีน้ำใช้การได้คงเหลือประมาณ 860 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น จากสถานกาณ์ที่เกิดขึ้น



 



 
NB128ส่งผลให้ระดับน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับอาคารระบายน้ำคลองสิงห์ ซึ่งใช้สำหรับส่งน้ำสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร ของราษฎรในพื้นที่แปลงอพยพท้ายเขื่อนสิริกิติ์ ที่มีจำนวนประมาณ 6,000 ครัวเรือน

มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 30,000 ไร่ คลอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอท่าปลา และอีก 3 ตำบลของอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เบื้องต้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขื่อนสิริกิติ์ ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำพลังไฟฟ้าขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง สูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. 62 เป็นต้นมา แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของราษฎร์



 



 
NB128กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ ได้ประสานไปยังส่วนเครื่องจักรกล สำนักงานชลประทานที่ 3 นำเครื่องสูบน้ำ ขนาด 12 นิ้ว พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้งบริเวณจุดสูบน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ต.ท่าปลา อ.ท่าปลา

รวมทั้งมีแผนที่จะติดตั้งเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ขนาด 10 นิ้ว เพิ่มเติมอีก 4 เครื่อง เพื่อสูบน้ำไปช่วยเหลือราษฎรและพื้นที่การเกษตรดังกล่าว ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2562 หรือจนว่าสถานการณ์ฝนจะเข้าสู่ภาวะฝนตกชุกตามฤดูกาลปกติ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรได้เป็นอย่างมาก



 



 
NB128จากสภาวะอากาศที่แปรปรวน ประกอบกับรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง หรือมีฝนตกน้อยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในยามขาดแคลนให้มากที่สุดด้วย

 



 



Create Date : 30 มิถุนายน 2562
Last Update : 30 มิถุนายน 2562 13:16:57 น.
Counter : 699 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments