All Blog
ชป.เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำหน้าแล้ง 3 จังหวัดใต้
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้(นราธิวาส ยะลา และปัตตานี) มีปริมาณฝนลดลง และเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งแล้ว จึงได้ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง โดยใช้อาคารชลประทานเก็บกักน้ำไว้ในคลองต่างๆ และเตรียมพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำไว้ในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รวมทั้งวางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้การส่งน้ำเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  ตลอดจนได้ดำเนินการก่อสร้างทำนบชั่วคราว เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดินและป้องกันการเกิดปัญหาไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง และพื้นที่โครงการพรุบาเจาะ-ไม้แก่นอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วย  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ได้สั่งการให้ทุกโครงการชลประทาน วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมกับประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ให้รับทราบอย่างต่อเนื่อง หากหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อไปยังโครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ชลประทานบริการประชาชน

 
 
 



Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2564 17:06:36 น.
Counter : 442 Pageviews.

0 comment
"ปลัดเกษตรฯ"จี้กรมชลฯเร่งแก้น้ำทะเลเข้าระบบผลิตประปา
"ปลัดเกษตรฯ"จี้กรมชลฯเร่งแก้น้ำทะเลเข้าระบบผลิตประปา หวั่น 12 ก.พ.น้ำทะเลหนุนสูงสุด ดึงน้ำแม่กลองไล่ลิ่มความเค็ม ยันน้ำไม่วิกฤติสุดซ้ำรอยปี 58

นายทองเปลว  กองจันทร์  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ค่าความเค็มลุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยา กระทบระบบผลิตประปานครหลวง สถานีสูบน้ำสำแล สูงถึง2.53 กรัมต่อลิตร เมื่อวันที่30ม.ค.ที่ผ่านมา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  รมว.เกษตรฯมีความเป็นห่วงมากได้มอบหมายให้ตนมาติดตามสถานการณ์ความเค็มและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกจากที่เกิดปัญหาเดือนม.ค. และ น้ำทะเลหนุนสูงอีก6รอบช่วงเดือนก.พ.ถึงมิ.ย. 
 
ผู้บริหารต้องใส่ใจแก้ไขปัญหาเพราะเป็นช่วงเวลาต้องเกิด รวมทั้งการใช้น้ำมากดึงน้ำไปทำนาปี ดังนั้นกรมชลฯทำหน่วยงานเดียวไม่ได้ ต้องมีหนังสือออกไปถึงผู้ว่าราชการ 22จังหวัดและหน่วยงานท้องถิ่น ในการดูแลกำชับเรื่องการสูบน้ำขององค์กรท้องถิ่น จะกระทบปริมาณน้ำมาผลักดันน้ำเค็ม ช่วงจากวันที่4ก.พ.-12ก.พ.นี้ก่อนวันวาเลนไทส์ จะมีน้ำทะเลหนุนสูงต้องป้องกันล่วงหน้าไม่ให้น้ำเค็มลุกล้ำระบบประปา โดยให้ผันน้ำจากแม่กลองมาช่วยผลักดันน้ำเค็มซึ่งกว่าปริมาณน้ำเดินทางมาถึงใช้เวลา3วัน 

เกิดคำถามว่าก่อนหน้านี้ไม่ผันน้ำแม่กลอง ที่เตรียมไว้ช่วงฤดูแล้ง 500 ล้านลบ.ม.ติดใจตรงนี้ ถ้าไม่เอามาจะใช้ผิดจังหวะเวลา เพื่อให้ปริมาณน้ำที่อ.บางไทร มีปริมาณ100 ลบ.ม.ต่อวินาทีขึ้นไป จากปัจจุบันอยู่ที่ 70 ลบ.ม.ต่อวินาที ไม่พอจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนและปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูง 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จึงให้ผันน้ำจากเขื่อนป่าสักเพิ่ม30ลบ.ม.ต่อวินาทีเป็น40-50ลบ.ม.ต่อวินาที และระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มากกว่า 13 เมตรระดับน้ำทะเลปานกลาง(ม.รทก.)รวมกับการปฏิบัติการวอเตอร์แฮมเมอร์ เพื่อดันลิ่มความเค็มสะสมอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาและ สถานีสูบน้ำสำแลให้หลุดออกอ่าวไทย ต้องทำตรงนี้ให้เกิดผลสำฤทธิ์ และมีความเข้มข้นขึ้น รวมกับการบริหารจัดการเปิดปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ซึ่งจุดนี้ขอให้การประปานครหลวง ร่วมมือกับกรมชลฯให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น
 
น่าเป็นห่วงปริมาณน้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักฯณ วันที่ 1 พ.ค.เหลือ 1.9 พันล้านลบ.ม.จะอยู่รอดถึงฤดูฝนหรือไม่ ซึ่งจะต้องนำเอาปริมาณน้ำ 500 ล้านลบ.ม.จากลุ่มแม่กลอง มาใช้ตอนนี้ ตนสงสัยว่าทำไมไม่ดึงน้ำแม่กลอง มาผลักดันน้ำเค็ม เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี รองนายกฯและรมว.เกษตรฯมีความเป็นห่วงมาก 
 
ต้องเตรียมรับมือน้ำทะเลหนุนสูงถึงช่วงกลางเดือนก.พ.ไม่อย่างนั้นจะหมดน้ำใช้การ ขอให้ ผอ.สำนักชลประทานที่ 11 และ13 ให้ดึงน้ำมาจากแม่กลอง มาเตรียมไว้ ช่วงเวลานี้ไปจัดการเครื่องสูบน้ำคลองพระยาบรรลือ ไปเปิดไว้เลยต้องใช้ทำวิธีการวอเตอร์แฮมเมอร์ กระแทกน้ำเค็ม 
 
อความร่วมมือไป ยังจังหวัดตลอดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ถึงสถานีสูบน้ำสำแล ขอให้ชะลอสูบน้ำช่วงน้ำทะเลหนุนสูง และลดระบายน้ำเสียลงแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งลุ่มน้ำท่าจีนด้วย แม้กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าเดือนเม.ย.ฝนจะมา แต่ให้ใช้ของจริงมาจัดการความเสี่ยงจะดีกว่าการคาดการณ์

“ยืนยันน้ำประปา รสชาดไม่เค็มไม่กร่อย แต่เหตุการณ์เมื่อวันที่30ม.ค.ค่าความเค็มไปอยู่ระดับ2.53กรัมต่อลิตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ10ปี ต้องเร่งวางแผนระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสัก ตั้งแต่วันที่4ก.พ. อีกทางผันน้ำจากแม่กลอง ป้องกันช่วงสูงสุดที่คาดว่าจะเกิด 6 ครั้ง ในปีนี้สถานการณ์น้ำวิกฤติที่สุดในปี58 มีน้ำใช้การได้ใน4เขื่อนหลัก 1,800ล้านลบ.ม.ปีนี้2.4พันล้านลบ.ม.รวมผันน้ำจากลุ่มแม่กลอง จะทำให่ผ่านพ้นไปได้”นายทองเปลว กล่าว
 
 
 

 



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2564 16:01:25 น.
Counter : 433 Pageviews.

0 comment
เปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้งประจำปี 2564 พร้อมด้วย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ และนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สนามบินนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 
 
เพื่อแสดงถึงความพร้อมของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทุกหน่วยที่จะออกปฏิบัติการฝนหลวง และสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ โดยในช่วงเช้าได้มีการจัดพิธีสงฆ์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หลังจากนั้นประธานได้ตรวจแถวชุดปฏิบัติการฝนหลวง 10 ชุด และคล้องพวงมาลัยให้กับนักบินที่ไปประจำการ ณ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภูมิภาคต่าง ๆ
 
ประกอบด้วย ชุดปฏิบัติการของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร 7 ชุด ชุดปฏิบัติการฝนหลวงกองทัพอากาศ 1 ชุด ชุดปฏิบัติการฝนหลวงกองทัพบก 1 ชุด และชุดอากาศยานปีกหมุน 1 ชุด จากนั้นประธานในพิธีพร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้ร่วมกันปล่อยขบวนคาราวานเครื่องบินฝนหลวงออกปฏิบัติการทั่วประเทศ  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าวว่า ตามที่สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2564 มีแนวโน้มที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ส่งผลกระทบเรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคน้ำเพื่อทำการเกษตร รวมถึงเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่มีปริมาณน้ำน้อยในขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
 
จึงได้มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะหน่วยงานดูแลบริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศ เร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้รวดเร็วมากขึ้น จากปกติที่มีการเริ่มปฏิบัติการฝนหลวงในวันที่ 1 มีนาคมของทุกปี มาเป็นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ในวันนี้ 
 
โดยได้น้อมนำศาสตร์ตำราฝนหลวงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่เกษตรกรและผู้ใช้น้ำทั่วทั้งประเทศ รวมถึงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศด้วย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สำหรับในปี 2564 มีแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง และสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้ การเติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ ของประเทศ ป้องกันการเกิดไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน 
 
รวมทั้งสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินเกณฑ์มาตรฐานซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไปพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ประจำปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค จำนวน 7 ศูนย์  
 
ประกอบด้วย 1.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ ณ สนามบินกองบิน 41 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CASA จำนวน 2 ลำ และเครื่องบินกองทัพอากาศ ชนิด ALPHA JET จำนวน 1  และตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดตาก ณ สนามบินท่าอากาศยานตาก อำเภอเมือง จังหวัดตาก โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CASA จำนวน 2 ลำ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก ณ กองบิน 46 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CASA จำนวน 2 ลำ และชนิด Super King Air จำนวน 1 ลำ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

3. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์ ณ สนามบินนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CARAVAN จำนวน 2 ลำ และเครื่องบินของกองทัพบก ชนิด CASA  จำนวน 1 ลำ และตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี ณ สนามบินกาญจนบุรี ค่ายสุรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีเครื่องบินของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CARAVAN จำนวน 2 ลำ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 

4. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุดรธานี ณ สนามบินกองบิน 23 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CN จำนวน 1 ลำ และ ตั้งฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดขอนแก่น ณ สนามบินท่าอากาศยานขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดบุรีรัมย์ ณ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CARAVAN จำนวน 2 ลำ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
 
6. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดระยอง ณ สนามบินอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CARAVAN จำนวน 2 ลำ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
 
7. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ กองบังคับการกองบิน 7 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CN จำนวน 1 ลำ และ ตั้งหน่วยปฏิบัติการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ ท่าอากาศยานหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ชนิด CARAVAN 2 ลำ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป 
 
 
 

 



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2564 17:08:04 น.
Counter : 604 Pageviews.

0 comment
เพิ่มการระบายน้ำลดค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา
นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดี กรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการติดตามการตรวจวัดค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2564 เวลา 20.00 น. 
 
พบว่ามีค่าความเค็มอยู่ที่ 2.50 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติ ส่งผลกระทบต่อ   การผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง(บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี)และการเพาะปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น กรมชลประทาน ได้เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนพระรามหกจากเดิมระบาย 20 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 25 ลบ.ม.ต่อวินาที ตั้งแต่วันนี้(31 ม.ค. 64) 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นอกจากนี้จะทยอยปรับการระบายเพิ่มขึ้นเป็น 30 ลบ.ม.ต่อวินาที ไปจนถึงวันที่  2 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อประหยัดน้ำต้นทุน โดยเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จาก 35 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 45 ลบ.ม.ต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนบน 

เพื่อให้การควบคุมค่าความเค็มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม จึงขอความร่วมมือประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทุกแห่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาจรดอ่าวไทย ให้งดการรับน้ำหรือสูบน้ำในระยะนี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ได้สั่งการให้โครงการชลประทานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำสายหลักต่างๆ อย่างใกล้ชิด พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำโดยใช้อาคารชลประทานควบคุมการรับน้ำ เพื่อป้องกันความเค็มไม่ให้รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่การเกษตร ลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

 
 

 



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2564 11:21:06 น.
Counter : 540 Pageviews.

0 comment
"กรมชลฯ"จับมือท้องถิ่นลุ่มเจ้าพระยาบริหารน้ำลดขาดแคลน
"กรมชลประทาน"จับมือท้องถิ่นในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งนี้ ตามแผนฯหวังลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ พร้อมย้ำน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคต้องเพียงพอ

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน(30 ม.ค. 64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่/ขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 44,547 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯรวมกัน  เป็นน้ำใช้การได้ 20,616 ล้าน ลบ.ม. 
 
ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ มีการใช้น้ำไปแล้ว 7,658 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45 ของแผนฯ  เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 11,075 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ เป็นปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 4,378 ล้าน ลบ.ม. มีการใช้น้ำไปแล้ว 2,200 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 55 ของแผนฯ 
 
เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีจำนวนจำกัด จำเป็นต้องจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้น ตามลำดับความสำคัญโดยเน้นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศตลอดจนรักษาเสถียรภาพของคันคลอง และสำรองน้ำไว้สำหรับช่วงต้นฤดูฝนหน้า
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทั้งนี้ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฤดูแล้งปีนี้ มีปริมาณน้ำต้นทุนค่อนข้างน้อย ได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทุกแห่ง ปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด พร้อมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 
 
อาทิ การกำหนดให้ประตูระบายน้ำและอาคารเชื่อมต่อที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดรับน้ำเฉพาะเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นครั้งคราว และขอความร่วมมือสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อการเกษตรไม่สูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก ส่วนสถานีสูบน้ำของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนท้องถิ่น สามารถทำการสูบน้ำได้ตามแผนการสูบน้ำที่ได้แจ้งไว้กับกรมชลประทาน 
 
พร้อมขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำ คู คลอง และแหล่งน้ำต่างๆ เนื่องจากจะทำให้ต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อเจือจางน้ำที่เน่าเสีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่ต้องสำรองไว้ให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศตลอดฤดูแล้งนี้ รวมทั้งให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำให้แก่เกษตรกรและประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

อย่างไรก็ตามกรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยความเป็นธรรมและทั่วถึง เพื่อให้ทุกพื้นที่มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคตลอดในช่วงฤดูแล้งนี้ หากประชาชนหรือหน่วยใดต้องการความช่วยเหลือ สามารถร้องขอไปยังโครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร.1460 สายด่วนกรมชลประทานได้ตลอดเวลา
 
 

 



Create Date : 31 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 16:30:09 น.
Counter : 554 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments