สิงหาคม 2552

 
 
 
 
 
 
 
 
All Blog
คุณทำร้ายกระดูกของคุณหรือเปล่า?

ช่วงอายุ 25-35 ปี กระดูกจะมีความแข็งแรงมากที่สุด หลังจากนั้นความแข็งแรงของกระดูก็จะค่อยๆลดลง ในขณะที่อายุคุณมากขึ้น คุณต้องดูแลกระดูกของคุณด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้







อาหารขยะ
จากสถิติพบว่า การมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่ควร ทำให้กระดูกเสื่อม การอดอาหารมากเกินไปอาจทำให้ร่างากยได้รับไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไม่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นผลให้ประจำเดือนขาดหายไป และเป็นผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนอื่นๆที่ผลิตในรังไข่มีปริมาณลดลง ฮอร์โมนเหล่านี้จำเป็นต่อการรักษาระดับความหนาแน่นของกระดูก คุณจึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และอุดมไปด้วยแคลเซียม







เครื่องดื่มที่มีฟองฟู่
เครื่องดื่มพวกคาร์บอเนตจะผสมกรดฟอสฟอริก ซึ่งสามารถทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เพราะดึงเอาแคลเซียมออกมา ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทมีฟองที่ผสมด้วยคาเฟอีนด้วย เพราะคาเฟอีนจะทำให้แคลเซียมดูดซึมได้น้อยลง และเลือกดื่มแต่เครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อกระดูก เช่น นมไขมันต่ำ นมถั่วเหลือง โยเกิร์ตปั่น


โปรตีนมากเกินไป
โปรตีนจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนสึกหรอกของร่างกาย แต่โปรตีนจากสัตว์มีผลเสียต่อความหนาแน่นของกระดูก ด้วยการเพิ่มความเป็นกรดในเลือด โปรตีนทำให้ร่างกายคุณ "ขโมย" แคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อทำให้กรดเหล่านั้นมีความเป็นกลางเพิ่มขึ้น







การสูบบุหรี่จะทำให้แคลเซียมดูดซึมได้น้อยลง และลดปริมาณของเอสโตรเจนนิโคตินจะไปขัดขวางออกซิเจนที่ไปเลี้ยงกระดูก และมีผลเป็นพิษต่อเซลล์กระดูกและมันยังทำให้เซลล์ที่ใช้ในการสร้างกระดูก (ออสติโอบลาส) มีการผลิตที่ช้าลง รวมทั้งยับยั้งขบวนการต่างๆของกระดูกด้วย จากการศึกษาพบว่า กระดูกของพวกที่สูบบุหรี่มีคุณสมบัติทางไบโอเคมีด้อยกว่ากระดูกของพวกที่ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้นมันจึงหักง่าย การดื่มไวน์มากกว่าสองแก้วต่อวันก็สามารถทำให้กระดูกของคุณเปราะบางได้






ชีวิตที่เคร่งเครียด
เพื่อที่จะต่อสู้กับความเครียด ร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นในรูปของน้ำตาลกลูโคส ดังนั้นมันจึงปล่อยฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอลออกมา "คอร์ติซอลทำให้กล้ามเนื้อของคุณปลดปล่อยโปรตีนออกมากเพื่อใช้ในการผลิตกลูโคส" สิ่งนี้จะนำไปสู่การที่กล้ามเนื้อค่อยๆเล็กลงและทำให้มีการสูญเสียแร่ธาตุของกระดูก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องลดระดับความเครียดลง และออกกำลังกายช่วย


ยาบางชนิด
ยาบางอย่างรบกวนการดูดซึมของแคลเซียม ซึ่งได้แก่ยาขับปัสสาวะ ยาแก้อักเสบที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ ยารักษาโรคหืดหอบที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ และยาปฎิชีววนะหลายชนิด การที่รับประทานยาตัวใหม่ๆให้หาดูว่ามันจะรบกวนการดูดซึมของแคลเซียมหรือไม่ ถ้าใช่ และคุณก็จำเป็นต้องใช้ ให้ปรึกษาแพทย์ดูว่าคุณจะหาอะไรที่ดีที่สุดแทนได้บ้าง



ข้อมุลจาก pooyingnaka.com



Create Date : 15 สิงหาคม 2552
Last Update : 15 สิงหาคม 2552 6:00:10 น.
Counter : 1446 Pageviews.

2 comments
  
ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ
ว่าทำร้ายกระดูกตัวเองไปแค่ไหนแล้ว
แต่ตอนนี้พยายามออกกำลังกายทุกวัน
ไม่รู้จะแก้ไขทันหรือนะคะ

โดย: ชวนชมนะ วันที่: 15 สิงหาคม 2552 เวลา:6:14:40 น.
  
แวะมาทักทายค่ะ
โดย: CrackyDong วันที่: 16 สิงหาคม 2552 เวลา:0:13:42 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments