ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog
โรคผิวหนัง หลังน้ำท่วมดูแลป้องกันก่อนเรื้อรัง...!!
โรคผิวหนังเป็นโรคที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยมักจะพบเสมอหลังเกิดภาวะน้ำท่วม แต่หลายคนมักไม่ค่อยใส่ใจดูแลเท่าที่ควรจนทำให้เกิดปัญหาเรื่องเท้าเปื่อย เป็นแผล ลอก คันและเจ็บแสบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจจะกลายเป็นโรคเรื้อรังที่เป็น ๆ หาย ๆ และรักษาไม่หายขาด ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน




แพทย์หญิงวลัยอร ปรัชญพฤทธิ์ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ความรู้ว่า หลังจากเกิดภาวะน้ำท่วมทำให้ผู้ประสบภัยต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพหลากหลาย ด้าน เนื่องจากเมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วจะส่งผลให้แหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคปน เปื้อนกระแสน้ำที่พัดพาสิ่งสกปรก เชื้อโรค ของเสียที่เคยถูกเก็บไว้ในที่มิดชิดหรือสารเคมีกระจายออกเป็นวงกว้างทำให้ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป สัตว์และแมลงไม่มีที่อยู่อาศัยจึงออกจากถิ่นที่อยู่เพ่นพ่านทั่วไปและกลาย เป็นพาหะนำเชื้อโรคในที่สุด ที่สำคัญพาหะนำโรคต่าง ๆ ยังสามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้ปริมาณเชื้อโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้นและแพร่ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสเกิดโรคระบาดได้ง่าย โดยสภาพผิวดินหลังน้ำท่วมมีความเหมาะสมสำหรับการแพร่พันธุ์ของยุง ซึ่งโรคหลายชนิดที่เกิดจากยุงเป็นพาหะจึงมีโอกาสระบาดสูงขึ้นหลังน้ำท่วม

ปัญหาด้านสุขภาพที่จะเกิดหลังน้ำท่วมนั้นมีทั้งอาการเจ็บป่วยในระยะแรกและ ระยะยาว ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น โรคท้องร่วงจากการติดเชื้อจากอาหารเป็นพิษ โรคเลปโตสไปโรซิส (หรือโรคฉี่หนู) โรคผิวหนังจากการสัมผัสกับสารเคมีสิ่งสกปรกหรือติดเชื้อที่ผิวหนังไม่ว่าจะ เป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือหนอนพยาธิ โรคผิวหนังจากแมลง สัตว์มีพิษกัดต่อยซึ่งนอกจากจะทำให้ไม่สบายจากการถูกกัดต่อยแล้ว ในภายหลังหากได้รับเชื้อโรคเข้าไปด้วยอาจทำให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

โรคผิวหนังมักพบหลังน้ำท่วม เรียกว่า “โรคน้ำกัดเท้า” เนื่องจากเราเดินย่ำน้ำบ่อย ๆ หรือยืนแช่น้ำนาน ๆ จนเท้าเปื่อย โดยเฉพาะบริเวณซอกเท้าบริเวณที่ผิวหนังเปื่อยนี้เป็นจุดอ่อนทำให้เชื้อโรค ที่มากับน้ำเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ดังนั้นหลังเสร็จกิจธุระนอกบ้านแล้วควรรีบล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่แล้ว เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า หากเท้ามีบาดแผลควรชะล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งโรคน้ำกัดเท้าในระยะแรกนี้ยังไม่มีเชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้นและสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คันและแสบ การรักษาในระยะนี้ควรใช้ยาทาสเตียรอยด์อ่อน ๆ เช่น 0.02 Triamcinolone cream หรือ 3% vioform in 0.02% Triamcinolone cream ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา เพราะยาเชื้อราบางชนิดจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบมากขึ้น

สำหรับผิวที่เปื่อยเป็นแผล เมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ในน้ำจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อมีการติดเชื้อ แบคทีเรียจะทำให้เกิดอาการอักเสบ บวมแดง เป็นหนองและปวด ต้องให้การรักษาโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมกับการชะล้างบริเวณแผลด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำด่างทับทิม แล้วทายาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ หากปล่อยให้มีอาการโรคน้ำกัดเท้าอยู่นาน ผิวที่ลอกเปื่อยและชื้นจะติดเชื้อรา ทำให้เป็นโรคเชื้อราที่ซอกเท้ามีอาการบวมแดง มีขุยขาวเปียก มีกลิ่นเหม็นและถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง เชื้อราจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผิวหนังรักษาหายยาก ถึงแม้จะใช้ยาทาจนอาการดีขึ้นดูเหมือนหายดีแล้ว แต่มักจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่ เมื่อเท้าอับชื้นขึ้นเมื่อใดก็จะเกิดเชื้อราลุกลาม ขึ้นมาใหม่ทำให้เกิดอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นประจำไม่หายขาด

ดังนั้นการดูแลป้องกันโรคเชื้อราที่เท้าไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกต้องรักษา ความสะอาดให้เท้าแห้งอยู่เสมอเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรค นี้ และควรให้ความสนใจเป็นพิเศษที่บริเวณซอกนิ้วเท้า เมื่อเช็ดให้แห้งแล้วให้ทายารักษาโรคเชื้อรา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเรื้อรัง ทายาไม่ได้ผลควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อตับและไต ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าจะดีขึ้นแล้วก็ตาม การหยุดยาเร็วเกินไปขณะที่เชื้อยังไม่หมดก็มีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีกได้ง่าย นอกจากนี้ผู้ประสบกับปัญหาน้ำท่วมควรระมัดระวังเมื่อเดินลุยน้ำเพราะอาจถูก ของมีคมทิ่ม ตำ ทำให้เกิดบาดแผลและติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน รวมทั้งอาจติดเชื้อบาดทะยักตามมาได้ เมื่อประสบเหตุดังกล่าวควรไปทำแผลที่หน่วยบริการสาธารณสุขทันที และยิ่งถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อบาดทะยักมาก่อนควรปรึกษา แพทย์

อย่างไรก็ตามการป้องกันมักดีกว่าและมีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยการหลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนาน ๆ หากจำเป็นต้องลุยน้ำให้สวมรองเท้าบู๊ต กันน้ำสกปรกกัดเท้า อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันของมีคมในน้ำทิ่มตำเท้าหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย หลังจากลุยน้ำให้รีบทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ เช็ดเท้าให้แห้ง หากมีบาดแผลที่ผิวหนังไม่ควรสัมผัสถูกน้ำสกปรก หากลุยน้ำแล้วเกิดผื่นที่ผิวหนังควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและทายา หรือรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อให้อาการโรคผิวหนังหายขาด ไม่เป็นเรื้อรังสร้างความรำคาญเจ็บปวดและเสียเวลาในการรักษาในภายหลัง.





ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
//www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=172778



Create Date : 30 ตุลาคม 2554
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2554 14:18:55 น.
Counter : 1980 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments